ฉบับร่าง:พระยาสุริยสุนทรบวรภักดี (หนิแปะ)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

พระยาสุริยสุนทรบวรภักดี ศรีมหารายา มัตตาอับดุลวิบูลย์ขอบเขตประเทศมลายูวิเศษวังษา[1] (หนิแปะ หรือ ตนกูอับดุลย์กอเดร์) (มลายู : Nik Pah หรือ Tengku Abdul Kadir) เป็นเจ้าเมืองสายบุรีคนที่ 3 ต่อจากพระยาสายบุรี (หนิละไม หรือ ตนกูยาลาลุดดิน) ผู้เป็นบิดา

ประวัติ[แก้]

พระวิเศษวังษา (หนิแปะ หรือ ตนกูอับดุลย์กอเดร์) ผู้ช่วยราชการเมืองสายบุรี เป็นบุตรของพระยาสายบุรี (หนิละไม หรือ ตนกูยาลาลุดดิน) ครั้นผู้เป็นบิดาถึงแก่พิราลัย จึงได้โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง หนิแปะ หรือ ตนกูอับดุลย์กอเดร์ เป็นพระยาสายบุรี โดยได้รับบรรดาศักดิ์เป็นพระยาสุริยสุนทรบวรภักดี ศรีมหารายา มัตตาอับดุลวิบูลย์ขอบเขตประเทศมลายูวิเศษวังษา เมื่อได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองสายบุรีแล้ว หนิแปะ ได้ย้ายเมืองจากยี่งอ มาอยู่ที่บริเวณอำเภอไม้แก่น ตั้งวังอยู่ที่ริมแม่น้ำกอตอ ช่วงหลังแม่น้ำเกิดตื้นเขิน จึงได้ย้ายเมืองและตั้งวังใหม่อีกครั้งที่ สลินดงบายู ตำบลตะลุบัน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี[2] ในปัจจุบัน ต่อมาเมื่อพระยาสุริยสุนทรบวรภักดี ศรีมหารายา มัตตาอับดุลวิบูลย์ขอบเขตประเทศมลายูวิเศษวังษา (หนิแปะ) ถึงแก่พิราลัย จึงได้โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง หนิวิตำนาเซร์ หรือ เต็งกูอับดุลมุฏฏอเล็บ ผู้เป็นบุตรชายเป็นเจ้าเมืองสายบุรีแทน

ปรากฏในบันทึกการเดินทางมายังเมืองสายบุรีของนายเฮนรี่ หลุยส์ (Henry Louise) ในปี 2437 ได้บันทึกไว้ว่า “Jeringo (Jeringa)” , which had at one time been the capital of the state of Sai (Saiburi / Taluban). There are here remains of an old brick – built palace, which must have had at one time a rather fine gateway. It is said to have been left by the present Rajah some twenty years ago. And is now in a state of extreme decay. แปลความหมายเป็นภาษาไทยได้ว่า “ยี่งอ” ครั้งหนึ่งเคยเป็นเมืองหลวงของเมืองสาย ยังคงมีร่องรอยหลงเหลือของวังเก่าที่สร้างด้วยอิฐ ครั้งหนึ่งทางเข้าค่อนข้างงดงาม กล่าวกันว่ามีการย้ายโดยเจ้าเมืองคนปัจจุบันเมื่อ 20 ปีที่แล้วมา และในปัจจุบันเป็นเมืองที่เสื่อมลง

อีกหลักฐานหนึ่งที่แสดงถึงการย้ายศูนย์อำนาจจากเมืองยี่งอไปยังเมืองใหม่ที่ตะลุบันหรือสายบุรี เป็นบันทึกของรัชกาลที่ 5 ครั้งเสด็จประพาสปักษ์ใต้ มีความว่า “ลำน้ำเมืองสายนี้มีทางแยกไปได้ 3 ทาง คือทางยี่งอเมืองเก่า ซึ่งอยู่สูงขึ้นไประยะทางวันหนึ่ง พระยาสายเห็นว่าฤดูแล้งน้ำแห้งเรือเดินไม่ตลอด จึงได้เลื่อนลงมาตั้งเสียที่เมืองใหม่ได้ 18 ปี มาแล้ว

อ้างอิง[แก้]

  1. บรรดาศักดิ์
  2. มูลนิธิ ประไพ วิริยะพันธ์ ราชนิกุลสายบุรี หนีราชภัยไปเมืองกลันตัน