ข้ามไปเนื้อหา

มอริส ฟาร์ก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก มอริส ฟาร์ค)
มอริส ฟาร์ก
มอริส ฟาร์ก ก่อนการดำน้ำครั้งสุดท้ายของเขา
เกิด23 เมษายน ค.ศ. 1913
อาวีญง, ประเทศฝรั่งเศส
เสียชีวิต17 กันยายน ค.ศ. 1947 (อายุ 34 ปี)
ตูลง, ประเทศฝรั่งเศส

มอริส ฟาร์ก (ฝรั่งเศส: Maurice Fargues; 23 เมษายน ค.ศ. 1913 — 17 กันยายน ค.ศ. 1947) เป็นนักดำน้ำในสังกัดกองทัพเรือฝรั่งเศส และเป็นเพื่อนสนิทของฌัก กุสโต[1] ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1946 ฟาร์กได้ช่วยชีวิตกุสโต และเฟรเดริก ดูว์มา ในขณะที่พวกเขากำลังดำน้ำเข้าไปในฟงแตนเดอโวกลูซ เมื่อวันที่ 17 กันยายน ค.ศ. 1947 ในความพยายามที่จะบันทึกสถิติความลึกใหม่ ฟาร์กเป็นนักดำน้ำคนแรกที่เสียชีวิตขณะใช้ถังออกซิเจน[2]

GERS กับฟงแตนเดอโวกลูซ[แก้]

ใน ค.ศ. 1945 [ต้องการอ้างอิง] เจ้าหน้าที่ฟาร์กได้เข้าร่วมกลุ่มการศึกษาและการวิจัยใต้น้ำ (GERS) ที่จัดตั้งขึ้นใหม่ โดยได้รับคำสั่งจากฟีลิป ตาเย พร้อมด้วยกุสโต ในฐานะรองผู้บัญชาการ กับเฟรเดริก ดูว์มา ในฐานะที่ปรึกษาพลเรือนและหัวหน้านักดำน้ำ ดูว์มาได้ฝึกฟาร์กรวมถึงสองสมาชิกที่รับเข้ามาใหม่ของ GERS ซึ่งได้แก่เจ้าหน้าที่ ฌ็อง ปีนาร์ และกีย์ โมร็องดีแยร์ ในฐานะนักประดาน้ำ[2] ฟาร์กกลายมาเป็นผู้บังคับบัญชาของหน่วยดำน้ำ VP 8 [3]

ในวันที่ 27 สิงหาคม ค.ศ. 1946 กุสโตและดูว์มาได้ดำน้ำเข้าไปในฟงแตนเดอโวกลูซ ซึ่งเป็นบ่อน้ำพุลึกลับในหมู่บ้านของจังหวัดโวกลูซ โดยหวังว่าจะค้นพบความลับของการที่เกิดน้ำพุพวยพุ่งขึ้นมาในแต่ละช่วงปี ฟาร์กเป็นผู้บัญชาการภาคพื้นดินของการดำเนินการในการหย่อนเชือกนำ โดยให้กุสโตและดูว์มาสามารถใช้ติดต่อภาคพื้นดินได้ เมื่อกุสโตและดูว์มาได้รับผลกระทบจากคาร์บอนมอนอกไซด์ในถังอากาศของพวกเขา ฟาร์กได้ช่วยชีวิตพวกเขาโดยการดึงพวกเขากลับขึ้นมาสู่ภาคพื้นดิน[2][3]

การเสียชีวิต[แก้]

ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1947 GERS ได้วางแผนที่จะใช้ชุดของการดำน้ำเพื่อตรวจสอบระดับความลึกสูงสุดที่นักดำน้ำลึกสามารถเข้าถึงได้ วันที่ 17 กันยายน ฟาร์กทำการดำน้ำครั้งแรกใกล้กับฐานทัพเรือฝรั่งเศสที่ตูลง[4] เขาลงสายสมอโดยทำเครื่องหมายตามระยะห่าง โดยได้เซ็นชื่อของเขาเพื่อรับรองความลึกที่เขาสามารถไปถึงได้ และระยะลากจูงในระดับที่ปลอดภัยซึ่งแนบไปกับเข็มขัดของเขา เพื่อให้เพื่อนที่อยู่ภาคพื้นดินได้รู้ว่าเขายังมีชีวิตอยู่ หลังจากนั้นสามนาที ที่การบันทึกระดับความลึก 385 ฟุต ฟาร์กได้หยุดการส่งสัญญาณ ตาเยจึงได้สั่งให้ดึงเขาขึ้นมา ส่วนฌ็อง ปีนาร์ ได้ดำน้ำลงไปเพื่อหาเขา ซึ่งนั่นได้พบกับฟาร์กที่อยู่ในสภาพหมดสติ โดยหลอดปิดปากแขวนอยู่บนหน้าอกของเขา ความพยายามในการช่วยเหลือชีวิตเป็นไปอย่างต่อเนื่องถึงสิบสองชั่วโมง แต่ฟาร์กก็ได้เสียชีวิตลง อาการเมาไนโตรเจนเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของเขาโดยหลอดปิดปากได้หลุดออกและจมน้ำตาย[2][3][4]

ลายเซ็นลวก ๆ ของฟาร์กบนกระดานชนวนที่ระดับ 385 ฟุต ได้เป็นเครื่องยืนยันการบันทึกระดับความลึกของเขา กุสโตและกลุ่มของเขาได้สรุปว่าที่ระดับ 300 ฟุต คือความลึกสูงสุดของนักดำน้ำที่ใช้เครื่องอัดอากาศสามารถเข้าถึงได้[2][3] ฌัก กุสโต ยังกล่าวอีกด้วยว่า: "ดูว์มาและผมต่างเป็นหนี้ชีวิตของมอริส ฟาร์ก ผู้ซึ่งได้ช่วยชีวิตพวกเราให้พ้นความตายจากถ้ำที่โวกลูซ เราไม่สามารถเรียกขวัญกลับคืนมาได้ เนื่องด้วยเราไม่สามารถเป็นฝ่ายช่วยเหลือเขาไว้ได้เลย"[3]

สิ่งสืบเนื่อง[แก้]

วันที่ 17 กันยายน ค.ศ. 2007 ซึ่งเป็นการครบรอบหกสิบปีการจากไปของฟาร์ก ได้มีการจัดห้องสำหรับการอุทิศเพื่อเป็นเกียรติแก่เขาในชื่อ "ห้องมอริส ฟาร์ก" ที่พิพิธภัณฑ์นานาชาติแห่งการดำน้ำเฟรเดริก ดูว์มา ในซานารี-ซูร์-แมร์ ประเทศฝรั่งเศส ลูก ๆ ของฟาร์ก ซึ่งได้แก่ ร็อซลีนและหลุยส์ ฟาร์ก ต่างได้รับการเสนอตัวในพิธี[1][5] ที่ห้องนี้มีภาพถ่ายของฟาร์กก่อนการดำน้ำครั้งสุดท้าย และสำเนาลายเซ็นครั้งสุดท้าย[1][5][6]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 "INAUGURATION DE LA SALLE MAURICE FARGUES" เก็บถาวร 2012-03-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน scuba-museum.com (Retrieved on June 16, 2011)
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 Matsen, Brad (2009). Jacques Cousteau: The Sea King. New York: Pantheon Books. pp. 73, 76–79, 85. ISBN 978-0-375-42413-7.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 Cousteau, J. Y., with Dumas, Frédéric (1953). The Silent World, New York: Harper & Brothers Publishers. Library of Congress 52-5431
  4. 4.0 4.1 Ecott, Tim (2001). Neutral Buoyancy: Adventures in a Liquid World. New York: Atlantic Monthly Press. pp. 124–125. ISBN 0-87113-794-1.
  5. 5.0 5.1 "Nouvelle salle au Musée International de la Plongée Frédéric Dumas » plongee sous-marine" plongeur.com (Retrieved on June 23, 2011)
  6. "Philippe.Tailliez.net - Naissance du GERS et des premiers plongeurs démineurs" philippe.tailliez.net (Retrieved on June 23, 2011)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]