พารากอน ฮอลล์

พิกัด: 13°44′49″N 100°32′06″E / 13.746993°N 100.534945°E / 13.746993; 100.534945
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก รอยัลพารากอนฮอลล์)
พารากอน ฮอลล์
บรรยากาศภายในรอยัล พารากอน ฮอลล์ เมื่อปี พ.ศ. 2565 (ก่อนปรับปรุง)
แผนที่
ที่ตั้ง991 ศูนย์การค้าสยามพารากอน ชั้น 5 ถนนพระรามที่ 1 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
พิกัด13°44′49″N 100°32′06″E / 13.746993°N 100.534945°E / 13.746993; 100.534945
เจ้าของบริษัท รอยัล พารากอน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด
ผู้ดำเนินการบริษัท สยามอัลไลแอนซ์ แมเนจเม้นท์ จำกัด
เริ่มสร้างพ.ศ. 2548
เปิดใช้งานกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549
ปรับปรุงพ.ศ. 2566 – 2567
งบประมาณในการก่อสร้าง
800 ล้านบาท
ชื่อเดิมรอยัล พารากอน ฮอลล์
ที่นั่งแบบโรงละคร
7,200 ที่นั่ง
พื้นที่ปิดล้อม
พื้นที่ทั้งหมด12,000 ตารางเมตร
ที่จอดรถ4,000 คัน
ขนส่งมวลชน สยาม
เว็บไซต์
www.paragonhall.com

พารากอน ฮอลล์ (อังกฤษ: Paragon Hall; ชื่อเดิม: รอยัล พารากอน ฮอลล์ (Royal Paragon Hall)) เป็นศูนย์แสดงสินค้า การประชุม และโถงคอนเสิร์ตในประเทศไทย ตั้งอยู่ที่ชั้น 5 ศูนย์การค้าสยามพารากอน ถนนพระรามที่ 1 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร แบ่งเป็นโถงประชุมหลัก 3 ห้อง และห้องประชุมย่อยอีก 6 ห้อง เนื่องจากทำเลที่ตั้งอยู่ในศูนย์การค้าสยามพารากอน ศูนย์การค้าหลักของย่านสยาม ย่านการค้าสำคัญใจกลางกรุงเทพมหานคร พารากอน ฮอลล์ จึงมักถูกใช้เป็นสถานที่จัดงานสำคัญต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก เช่น การประกวด/แข่งขัน, งานแสดงสินค้า และคอนเสิร์ต เป็นต้น

ประวัติ[แก้]

โลโก้ของรอยัล พารากอน ฮอลล์ เดิม

พารากอน ฮอลล์ มีชื่อเดิมว่า รอยัล พารากอน ฮอลล์ (Royal Paragon Hall) เป็นศูนย์ประชุมหลักภายในศูนย์การค้าสยามพารากอน เป็นเจ้าของโดย บริษัท รอยัล พารากอน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด[1] ปัจจุบันดำเนินการโดย บริษัท สยามอัลไลแอนซ์ แมเนจเม้นท์ จำกัด (ผู้บริหารเดียวกับทรู ไอคอน ฮอลล์ ในศูนย์การค้าไอคอนสยาม)[2] ซึ่งทั้ง 2 บริษัทอยู่ในเครือสยามพิวรรธน์ โดยใช้งบประมาณก่อสร้าง 800 ล้านบาท[3] เปิดดำเนินการครั้งแรกเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549[1]

ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2566 สยามพิวรรธน์ได้ประกาศปรับปรุงรอยัล พารากอน ฮอลล์ เพื่อรองรับรูปแบบการจัดงานให้มากขึ้น เป็น "ศูนย์กลางสถานที่จัดอีเวนต์และความบันเทิง" (Extraordinary Eventainment) โดยปิดปรับปรุงตั้งแต่เดือนธันวาคม และกลับมาเปิดให้บริการอีกครั้งในชื่อ พารากอน ฮอลล์ (Paragon Hall) ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2567[4] โดยงานแรกที่จัดที่พารากอน ฮอลล์ โฉมใหม่นี้ คือ งานออกร้านคณะภริยาทูต ครั้งที่ 57 ของสภากาชาดไทย[5]

องค์ประกอบ[แก้]

พารากอน ฮอลล์ มีพื้นที่รวม 12,000 ตารางเมตร ออกแบบและการตกแต่งภายในอย่างพิถีพิถัน และจัดสรรพื้นที่อย่างลงตัว เพื่อให้เหมาะสมกับการจัดกิจกรรมทุกรูปแบบ เช่น คอนเสิร์ต การแสดงสินค้า นิทรรศการ การประชุม การเลี้ยงโต๊ะ และกิจกรรมพิเศษ เป็นต้น ประกอบด้วยพื้นที่สำคัญ ได้แก่[1][3]

  • โถงประชุมหลัก 3 โถง
    • พารากอน ฮอลล์ 1 ออกแบบเป็นรูปเหลี่ยมเพชร ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า "พารากอน" ที่สะท้อนความงดงามของแสงธรรมชาติในยามกลางวัน และแสงไฟในยามกลางคืน มีพื้นที่ 2,000 ตารางเมตร รองรับคนได้มากกว่า 2,000 คน เพดานสูง 8 เมตร ผนังทั้ง 3 ด้านล้อมรอบด้วยกระจกใส ทำให้แสงจากภายนอกผ่านเข้ามาในโถงได้อย่างเต็มที่ สามารถมองเห็นสวนธรรมชาติภายนอกโถงได้
    • พารากอน ฮอลล์ 2 และ 3 มีพื้นที่รวม 5,100 ตารางเมตร สามารถแบ่งเป็น 2 โถงได้โดยใช้ผนังเลื่อนเก็บเสียง (Portable partition) ความสูง 12.5 เมตร รองรับการจัดงานทุกรูปแบบ โดยเฉพาะคอนเสิร์ต ซึ่งสามารถรองรับคนได้มากกว่า 5,000 คน พร้อมด้วยจุดยึดแขวนรับน้ำหนักได้ 500 กิโลกรัมต่อจุด สำหรับแขวนป้ายตกแต่งและอุปกรณ์อื่น ๆ
  • ห้องประชุมย่อย 6 ห้อง ขนาด 50 - 300 ตารางเมตร สำหรับการประชุมและสัมมนาต่าง ๆ

การใช้งาน[แก้]

พารากอน ฮอลล์ เคยเป็นสถานที่ในการจัดกิจกรรมบันเทิงต่าง ๆ หลากหลายรูปแบบ เช่น งานประกาศผลรางวัล การประกวด งานแสดงสินค้า การแสดงสด คอนเสิร์ต และละครเวที ดังนี้

งานประกาศผลรางวัลและการประกวด[แก้]

งานแสดงสินค้า[แก้]

  • เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติกรุงเทพฯ (พ.ศ. 2548 และ พ.ศ. 2550; ตลาดซื้อขายภาพยนตร์)
  • งานแสดงตราไปรษณียากรภาคพื้นเอเชีย 2550 (3-12 สิงหาคม พ.ศ. 2550)
  • Bangkok Interactive Game Festival (BIG Festival) 2008 (3-6 เมษายน พ.ศ. 2551) และ 2009 (15-18 ตุลาคม พ.ศ. 2552)
  • งานคอมเวิลด์ ไทยแลนด์
  • งานแสดงสินค้าอุตสาหกรรมบันเทิงไทย 2551 (24-28 กันยายน พ.ศ. 2551) และ พ.ศ. 2552 (16-20 กันยายน พ.ศ. 2552)
  • Thailand ICT Contest Festival 2008 และ 2009
  • Thailand Internet Expo 2009
  • Thailand Software Fair 2009
  • SET In the City 2009
  • Bangkok International Game Festival 2009-2012 (BIG Festival 2009-2012)
  • Japan Expo in Thailand 2012-2017
  • Thailand Game Show BIG Festival 2013
  • งานแสดงตราไปรษณียากรโลก กรุงเทพ พ.ศ. 2556
  • Thailand Comic Con 2014
  • Bangkok Comic Con 2014
  • Thailand Comic Con 2015 X Anime Idol Asia 2015
  • Bangkok Comic Con X Thailand Comic Con 2018
  • Toyotsu Japan Festival
  • Nippon Haku Bangkok

คอนเสิร์ต ไลฟ์โชว์ และละครเวที[แก้]

งานอื่น ๆ[แก้]

ระเบียงภาพ[แก้]

รางวัล[แก้]

  • ป้ายมาตรฐานอาคารปลอดภัย ประจำปี 2554
  • รางวัลธรรมาภิบาลดีดเด่น ประจำปี 2558
  • TCC Best 2014
  • Thailand MICE Venue Standard 2014
  • Thailand MICE Venue Standard 2015
  • Thai Chamber Of Commerce Best Award 2016
  • TBCSD Green Meetings
  • ISO 22301 การบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ[10]
  • ISO 20121 การบริหารการจัดงานอย่างยั่งยืน[10]
  • TIS 22300 การจัดการด้านการรักษาความปลอดภัยสำหรับการจัดประชุม สัมมนาและนิทรรศการ[10]
  • Superbrands Award 2017
  • ตราสัญลักษณ์มาตรฐานสถานที่จัดงานประเทศไทย
  • ตราสัญลักษณ์มาตรฐานสถานที่จัดงานอาเซียน ประเภท สถานที่จัดงานแสดงสินค้า[2]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 "สยามพารากอน ตอกย้ำความภาคภูมิแห่งสยามผงาด "รอยัล พารากอน ฮอลล์"". Positioning Magazine. 19 กรกฎาคม 2006. สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  2. 2.0 2.1 "สยามอัลไลแอนซ์ แมเนจเม้นท์ นำ รอยัล พารากอน ฮอลล์ และ ทรู ไอคอน ฮอลล์ คว้าสองตรามาตรฐาน ตอกย้ำการเป็นผู้นำสถานที่จัดงานระดับโลก". ผู้จัดการออนไลน์. 30 กันยายน 2020. สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  3. 3.0 3.1 เทง, ทาลูน (4 กรกฎาคม 2017). "'ทีมเวิร์ค-นวัตกรรม' หัวใจสำคัญของ รอยัล พารากอน ฮอลล์ World Class Venue ที่สุดของไทย". Marketing Oops! (Interview). สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2024.
  4. "BABYMONSTER ประกาศเพิ่มรอบแฟนมีตติ้งในไทย เจอกันแน่ 29-30 มิถุนายน นี้". สปริงนิวส์. 4 พฤษภาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  5. "ตื่นตาสินค้าพื้นเมือง 57 ชาติ งาน'ออกร้านคณะภริยาทูต'". ไทยโพสต์. 6 พฤษภาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 8 พฤษภาคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  6. "สยามพารากอนเปิดพื้นที่ทางเลือกให้บริการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ให้ประชาชน ใจกลางกรุงเทพมหานคร". THE STANDARD. 2021-05-21.
  7. "สยามพารากอน ร่วมกับ โรงพยาบาลสมิติเวช เปิดหน่วยบริการฉีดวัคซีนโควิด-19 เข็มกระตุ้นฟรี ระหว่างวันที่". ryt9.com.
  8. ""วัยรุ่น" แห่ใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้าคึกคักแน่นพารากอนฮอลล์". https://www.tnnthailand.com. 2023-05-07. {{cite web}}: แหล่งข้อมูลอื่นใน |website= (help)
  9. ""ม.ราม-รอยัล พารากอนฮอลล์-เขตห้วยขวาง" คนแห่เลือกลงทะเบียนใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้า 7 พ.ค. มากสุด". mgronline.com. 2023-04-26.
  10. 10.0 10.1 10.2 "'รอยัล พารากอน ฮอลล์' ประกาศยึดตำแหน่ง 'ศูนย์กลางสถานที่จัดงานระดับโลกใจกลางกรุงเทพมหานคร'". สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน). 7 พฤศจิกายน 2017. สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

13°44′49″N 100°32′06″E / 13.746993°N 100.534945°E / 13.746993; 100.534945