ศักราชของจีน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก รัชศก)
ศักราชของจีน
อักษรจีนตัวเต็ม年號
อักษรจีนตัวย่อ年号
ฮั่นยฺหวี่พินอินniánhào
ความหมายตามตัวอักษรชื่อปี

ศักราชของจีน หรือ เหนียนเฮ่า (จีนตัวย่อ: 年号; จีนตัวเต็ม: 年號; พินอิน: niánhào) บ้างก็เรียก รัชศก เป็นตำแหน่งที่ใช้งานโดยหลายราชวงศ์และการปกครองในจีนสมัยจักรวรรดิ เพื่อจุดประสงค์ในการระบุปีและหมายเลขปี เริ่มใช้ครั้งแรกในรัชสมัยจักรพรรดิฮั่นอู่เมื่อ 140 ปีก่อนคริสต์ศักราช[1][2] และระบบนี้ยังคงเป็นวิธีระบุปีและหมายเลขอย่างเป็นทางการจนกระทั่งสถาปนาสาธารณรัฐจีนใน ค.ศ. 1912 ที่แทนที่ระบบศักราชของจีนด้วยปฏิทินสาธารณรัฐจีน หน่วยการเมืองอื่น ๆ ในเขตวัฒนธรรมเอเชียตะวันออก เช่น เกาหลี เวียดนาม และญี่ปุ่น ก็รับแนวคิดศักราชของจีน อันเป็นผลจากอิทธิพลทางการเมือง-วัฒนธรรมของจีน[2][3][4]

รายละเอียด[แก้]

ศักราชของจีนเป็นตำแหน่งที่ใช้ในการระบุและนับจำนวนปีในจีนสมัยจักรวรรดิ ศักราชมีต้นดำเนิดจากคำขวัญหรือคติพจน์ที่กษัตริย์ที่ครองราชย์ทรงเลือก และส่วนใหญ่สะท้อนภูมิทัศน์ทางการเมือง เศรษฐกิจ และ/หรือสังคมในขณะนั้น เช่น จักรพรรดิฮั่นอู่ประกาศศักราชแรกของจีนเป็น เจี้ยนหยวน (建元; แปล. "สถาปนาต้นกำเนิด") สะท้อนถึงสถานะชื่อศักราชแรก เช่นเดียวกันกับศักราช เจี้ยนจงจิ้งกั๋ว (建中靖國; แปล. "สถาปนาประเทศอันเป็นกลางและสงบสุข") ที่ใช้งานโดยจักรพรรดิซ่งฮุ่ยจง เป็นการบ่งบอกถึงอุดมคติของฮุ่ยจงต่อการกลั่นกรองการแข่งขันเกี่ยวกับการปฏิรูปการเมืองและสังคมระหว่างกลุ่มอนุรักษ์นิยมและกลุ่มก้าวหน้า

ศักราชของจีนส่วนใหญ่มีอักษรจีน 2 ตัว แม้ว่าจะมีศักราชที่มีอักษรจีนถึง 3, 4 และ 6 ตัวอยู่ด้วย ตัวอย่างศักราชที่ใช้อักษรจีนมากกว่า 2 ตัว ได้แก่ ฉื่อเจี้ยนกั๋ว (始建國; แปล. "the beginning of establishing a country") แห่งราชวงศ์ซิน เทียนเซ่อว่านซุ่ย (天冊萬歲; แปล. "Heaven-conferred longevity") แห่งราชวงศ์อู่โจว และ เทียนซื่อหลี่เชิ่งกั๋วชิ่ง (天賜禮盛國慶; แปล. "Heaven-bestowed ritualistic richness, nationally celebrated") แห่งราชวงศ์เซี่ยตะวันตก

ศักราชเป็นสัญลักษณ์แห่งความถูกต้องและความชอบธรรมทางการเมือง ดังนั้น เมื่อมีการสถาปนาราชวงศ์ใหม่ กษัตริย์/จักรพรรดิจีนส่วนใหญ่จะประกาศศักราชใหม่ ผู้นำกบฏที่พยายามสร้างรัฐเอกราชและความชอบธรรมก็ประกาศชื่อศักราชของตนเองด้วย รัฐบริวารและรัฐบรรณาการจีนสมัยจักรวรรดิส่วนใหญ่จะรับศักราชของกษัตริน์/จักรพรรดิจีนที่ครองราชย์อย่างเป็นทางการ ถือเป็นสัญลักษณ์การอยู่ใต้บังคับบัญชา—การปฏิบัตินี้รู้จักกันในชื่อ เฟิ่งเจิงชั่ว (奉正朔; แปล. "การตามเดือนแรกของปีและวันแรกของเดือน")[5][6] เช่น ระบอบการปกครองของเกาหลีอย่างชิลลา, โครยอ และโชซ็อนรับศักราชของจีนหลายครั้งด้วยจุดประสงค์ทั้งในประเทศและการทูต

ประวัติ[แก้]

จักรพรรดิฮั่นอู่ถือเป็นผู้ปกครององค์แรกที่ประกาศใช้ชื่อศักราช[1][2] ก่อนหน้าการใช้งานศักราชแรกเมื่อ 140 ปีก่อน ค.ศ. กษัตริย์จีนใช้ระบบ เฉียนหยวน (前元), จงหยวน (中元) และ โฮ่วหยวน (後元) ในการระบุและนับจำนวนปี

ก่อนหน้าราชวงศ์หมิง เป็นเรื่องทั่วไปที่ผู้ปกครองจีนเปลี่ยนชื่อศักราชในรัชสมัยของพระองค์ ทำให้มีศักราชมากกว่าหนึ่งชื่อสำหรับผู้ปกครองหนึ่งพระองค์ เช่น จักรพรรดิฮั่นเซฺวียนมีศักราชในรัชสมัยของพระองค์ถึง 7 ชื่อ

จักรพรรดิหงอู่เริ่มต้นธรรมเนียมหนึ่งศักราชต่อหนึ่งกษัตริย์/จักรพรรดิ ซึ่งรู้จักกันในชื่อ อี๋ชื่ออี้หยวนจื้อ (一世一元制; แปล. "ระบบหนึ่งชื่อศักราชต่อรัชกาล")[7] ทำให้นักประวัติศาสตร์สมัยใหม่มักเรียกจักรพรรดิในราชวงศ์หมิงถึงชิงตามชื่อศักราช ผู้ที่อยู่ในข้อยกเว้นธรรมเนียม "หนึ่งชื่อศักราช" ได้แก่ จู ฉีเจิ้นที่มีสองศักราชในสองรัชกาลที่แตกต่างกัน หฺวัง ไท่จี๋ที่ใช้สองศักราชเพื่อสะท้องตำแหน่งข่านแห่งราชวงศ์จินยุคหลัง และภายหลังในฐานะจักรพรรดิแห่งราชวงศ์ชิง

เมื่อมีการสถาปนาสาธารณรัฐจีนใน ค.ศ. 1912 ศักราชของจีนจึงแทนที่ด้วยปฏิทินหมินกั๋วซึ่งยังคงใช้งานในไต้หวัน เผิงหู จินเหมิน และหมู่เกาะหมาจู่ ปฏิทินหมิงกั๋วอิงจากระบบชื่อศักราชของจีนสมัยจักรวรรดิ แม้ว่าจะไม่ใช่ชื่อศักราชก็ตาม

แนวคิดศักราชของจีนเริ่มมีการใช้งานในเกาหลีและเวียดนามตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 6 และญี่ปุ่นนับตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 7[2][3][4] ประเทศญี่ปุ่นยังคงใช้งานชื่อศักราชในปัจจุบัน[4]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Lü, Zongli (2003). Power of the words: Chen prophecy in Chinese politics, AD 265-618. Peter Lang. ISBN 9783906769561.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 Sogner, Sølvi (2001). Making Sense of Global History: The 19th International Congress of the Historical Sciences, Oslo 2000, Commemorative Volume. Universitetsforlaget. ISBN 9788215001067.
  3. 3.0 3.1 "International Congress of Historical Sciences". 19. 2000. ISBN 9788299561419. สืบค้นเมื่อ 29 December 2019. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  4. 4.0 4.1 4.2 "Ancient tradition carries forward with Japan's new era". สืบค้นเมื่อ 29 December 2019.
  5. Yang, Haitao (2017). 郑和与海. Beijing Book Co. ISBN 9787541598883.
  6. Kang, Etsuko Hae-Jin (2016). Diplomacy and Ideology in Japanese-Korean Relations: From the Fifteenth to the Eighteenth Century. Springer. ISBN 9780230376939.
  7. "中國學術". 6 (4). 2005. ISBN 9787100051965. สืบค้นเมื่อ 29 December 2019. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]