ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

พิกัด: 13°43′26″N 100°33′33″E / 13.723992°N 100.559224°E / 13.723992; 100.559224
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
อาคารหลังปัจจุบัน
แผนที่
ที่ตั้ง60 ถนนรัชดาภิเษก แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร  ไทย
พิกัด13°43′26″N 100°33′33″E / 13.723992°N 100.559224°E / 13.723992; 100.559224
เจ้าของกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง
ผู้ดำเนินการบริษัท เอ็น.ซี.ซี. แมนเนจเม้นท์ แอนด์ ดิเวลลอปเม้นท์ จำกัด
เริ่มสร้าง1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 - 29 สิงหาคม พ.ศ. 2534
สถาปนิกนพดล ตันพิวัฒน์[1]
พิธีเปิด29 สิงหาคม พ.ศ. 2534 (อาคารหลังเดิม)
15 ตุลาคม พ.ศ. 2565 (อาคารปัจจุบัน)
ปรับปรุง26 เมษายน พ.ศ. 2562 - 11 กันยายน พ.ศ. 2565[2]
งบประมาณในการก่อสร้าง
15,000 ล้านบาท
ที่นั่งแบบห้องเรียน
3,564-3,888 ที่นั่ง
ที่นั่งแบบห้องประชุม
36-144 ที่นั่ง
ห้องจัดเลี้ยง/ห้องบอลรูม2,640-3,120 ที่นั่ง
ที่นั่งแบบโรงละคร
5,214-5,688 ที่นั่ง
พื้นที่ปิดล้อม
พื้นที่ทั้งหมด78,500 ตารางเมตร (845,000 ตารางฟุต)
พื้นที่โถงนิทรรศการ5,305–5,863 ตารางเมตร (57,100–63,110 ตารางฟุต) (8 ห้อง)
ห้องประชุมย่อย75–164 ตารางเมตร (810–1,770 ตารางฟุต) (50 ห้อง)
ห้องบอลรูม1,045–1,194 ตารางเมตร (11,250–12,850 ตารางฟุต) (4 ห้อง)
ที่จอดรถ3,000 คัน
ที่จอดรถจักรยาน
จุดจอดจักรยาน
ขนส่งมวลชน ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
เว็บไซต์
www.qsncc.com

ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ (อังกฤษ: Queen Sirikit National Convention Center - QSNCC) เป็นศูนย์ประชุมหลักแห่งหนึ่งของประเทศไทย ตั้งอยู่บนที่ดินของกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง บริเวณถนนรัชดาภิเษก แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร ติดกับสวนเบญจกิติ การยาสูบแห่งประเทศไทย และอยู่ใกล้กับสวนป่าเบญจกิติ ปัจจุบันบริหารงานโดยบริษัท เอ็น.ซี.ซี. แมนเนจเม้นท์ แอนด์ ดิเวลลอปเม้นท์ จำกัด[3] ซึ่งเป็นกิจการในกลุ่มทีซีซี[4]

ประวัติ[แก้]

ภูมิหลัง[แก้]

ในอดีต การประชุมต่าง ๆ ในประเทศไทย ส่วนใหญ่จะจัดขึ้นที่ศูนย์ประชุมภายในโรงแรมหรูในกรุงเทพมหานคร เนื่องจากประเทศไทยไม่มีศูนย์ประชุมอิสระหรือสิ่งอำนวยความสะดวกที่ให้บริการในระดับเดียวกับโรงแรม แต่หลังจากที่คณะกรรมการบริหารธนาคารโลกได้เลือกให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพการประชุมประจำปีสภาผู้ว่าการธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศครั้งที่ 46 ณ กรุงเทพมหานคร รัฐบาลไทยจึงมีมติเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2532 ให้ก่อสร้างสถานที่จัดงานประชุมแห่งชาติที่ได้มาตรฐานสากลขึ้นเพื่อรองรับการประชุมครั้งสำคัญดังกล่าว[5] โดยกำหนดรูปทรงทางสถาปัตยกรรมที่แสดงถึงเอกลักษณ์ความเป็นไทย พร้อมกับใช้เทคนิค "สร้างและออกแบบ" เพื่อให้ศูนย์ประชุมของชาติแห่งแรกนี้สามารถเสร็จทันตามกำหนดเวลา

อาคารหลังแรก (พ.ศ. 2534–2562)[แก้]

ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์หลังแรก

การก่อสร้างศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์หลังแรก เริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532[5] จากนั้นสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินวางศิลาฤกษ์ก่อสร้างอาคารบนพื้นที่ 53 ไร่ 15 ตารางวา[6] ซึ่งอยู่ติดกับโรงงานยาสูบ เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2533 หลังจากนั้น นักออกแบบจำนวนกว่า 100 คน และคนงานก่อสร้างอีกกว่า 1,000 คน ต่างทุ่มเททำงานทั้งกลางวันและกลางคืน เพื่อให้การก่อสร้างแล้วเสร็จทันตามกำหนดเวลา[3]

จากความมุ่งมั่น และพยายามของทุกฝ่าย ทำให้การก่อสร้างตัวอาคารแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2534 หมายความว่าใช้เวลาเพียง 20 เดือน จากเดิมที่กำหนดไว้ 40 เดือน ด้วยงบประมาณเพียง 90 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งน้อยกว่าที่กำหนด[5] ส่วนการตกแต่งภายในนั้นแล้วเสร็จหลังผ่านไปอีก 1 เดือนเศษ[3]

ในวันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2534 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธีเปิดศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์[7] และได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง พระราชทานพระราชานุญาตให้ใช้พระนามเป็นชื่อของศูนย์ประชุม เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 12 สิงหาคม 2535

นับตั้งแต่เริ่มให้บริการอย่างเป็นทางการ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ได้รองรับผู้เข้าร่วมการประชุมสภาผู้ว่าการกองทุนการเงินระหว่างประเทศและธนาคารโลกครั้งที่ 46 กว่า 10,000 คน จาก 154 ประเทศ ระหว่างวันที่ 1-15 ตุลาคม พ.ศ. 2534 ซึ่งได้รับคำชื่นชมจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง จากความสำเร็จดังกล่าวทำให้ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์มีบทบาทสำคัญในการเป็นผู้นำด้านธุรกิจไมซ์ (MICE ย่อมาจาก Meeting, Incentive travel, Convention และ Exhibition) ในประเทศไทยตลอดมา

อาคารหลังที่สอง (พ.ศ. 2565–ปัจจุบัน)[แก้]

อาคารหลังการปรับปรุง

ภายหลังที่ บจก. เอ็น.ซี.ซี.ฯ ได้รับการต่อสัญญาบริหารและดำเนินกิจการศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์[8] บริษัทฯ จึงได้ดำเนินการปรับปรุงครั้งใหญ่ โดยปิดอาคารตั้งแต่วันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2562 เพื่อดำเนินการรื้อถอนอาคารหลังเดิม และก่อสร้างอาคารหลังใหม่ โดยใช้เวลารวมทั้งสิ้น 3 ปี[9]

ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ในปัจจุบัน มีเป้าหมายเป็น "ที่สุดของพื้นที่จัดกิจกรรมที่สร้างแรงบันดาลใจให้กับทุกคน" (The Ultimate Inspiring World Class Event Platform for All) โดยมีการจัดสรรพื้นที่เพื่อครอบคลุมธุรกิจไมซ์ให้มากยิ่งขึ้น รวมถึงมีการพัฒนาพื้นที่ค้าปลีกเต็มรูปแบบสำหรับกลุ่มผู้รักสุขภาพ รองรับผู้ที่เข้ามาใช้บริการสวนเบญจกิติและสวนป่าที่อยู่ติดกัน[10]

ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์หลังใหม่กลับมาเปิดให้บริการอีกครั้งอย่างไม่เป็นทางการในวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2565[11] และต่อมาเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดอาคารศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์หลังใหม่อย่างเป็นทางการ[12]

การจัดสรรพื้นที่[แก้]

อาคารปัจจุบันของศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ออกแบบโดยใช้สถาปัตยกรรมไทยร่วมสมัย โดยได้แรงบันดาลใจจากพระปฐมบรมราชโองการในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว "สืบสาน รักษา ต่อยอด" และลายผ้าไทยซึ่งปรากฏในฉลองพระองค์ของสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง[6][13]

ภายในศูนย์ประชุม ประกอบด้วยโถงประชุมและนิทรรศการจำนวน 8 ฮอลล์, ห้องเพลนารีฮอลล์, ห้องบอลรูม, อีเวนต์ฮอลล์, ห้องประชุมย่อย, พื้นที่ค้าปลีก และร้านอาหาร โดยเป็นที่ตั้งของภัตตาคารเรด ล็อบสเตอร์ สาขาแรกในประเทศไทย[14] และร้านคาเฟ่ % อะราบิกา ซึ่งเป็นสาขาแรกในโลกที่ตั้งอยู่ภายในพื้นที่ศูนย์ประชุม[15][16][17]

งานที่จัดในศูนย์ประชุม[แก้]

งานที่จัดหรือเคยจัดเป็นประจำอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง[แก้]

งานอื่น ๆ[แก้]

การเดินทาง[แก้]

ระเบียงภาพ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Aunjai, Nara (14 กันยายน 2022). "'ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์' เมื่อผ้าไทยถูกตีความใหม่ สู่อาคารระดับสากลโลก". Dsign Something. สืบค้นเมื่อ 9 พฤษภาคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  2. กรุงเทพธุรกิจ: ศูนย์ฯ สิริกิติ์โฉมใหม่ จ่อดีเดย์ ก.ย.นี้ พร้อมรับ APEC 2022 ปักธงสร้างอีเวนท์แพลตฟอร์มใหม่แห่งเอเชีย
  3. 3.0 3.1 3.2 "QSNCC HISTORY". dev1.colorpack.net/QSNCC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-08-20. สืบค้นเมื่อ 2022-08-19.
  4. isranews (2017-01-24). "พลิกปูม บ.เอ็น.ซี.ซี.ฯ'เสี่ยเจริญ' รับอานิสงส์ แก้สัญญาเช่าศูนย์ฯสิริกิติ์ 50 ปี?". สำนักข่าวอิศรา.
  5. 5.0 5.1 5.2 Pongcharoenkiat, Nongluk (1992-05-18). "กรณีศึกษา : ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์". สถาบันเทคโนโลยีโรเชสเตอร์ (ภาษาอังกฤษ): 3–4. สืบค้นเมื่อ 2022-08-19 – โดยทาง งานวิชาการ.
  6. 6.0 6.1 ""ในหลวง-พระราชินี" ทรงเปิดอาคารศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ที่ปรับปรุงใหม่". Thai PBS.
  7. "ในหลวงทรงเปิดศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์". ยูทูบ. 2013-10-11. สืบค้นเมื่อ 2022-11-19.
  8. isranews (2020-02-25). "แกะคำพูด 'วิษณุ' บุพเพสันนิวาสแก้สัญญาเช่าศูนย์สิริกิติ์ฯ ถ้าเอื้อปย.เริ่มตั้งแต่ รบ.ไหน?". สำนักข่าวอิศรา.
  9. ปิดปรับปรุงศูนย์ฯสิริกิติ์ ตั้งแต่ 26 เม.ย.62 , จส.100
  10. เอ็น.ซี.ซี.ฯ เปิดตัว “ศูนย์ประชุมสิริกิติ์” โฉมใหม่ มากกว่าศูนย์การประชุม , ประชาชาติธุรกิจ
  11. Banking, Money and. ""ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์" พร้อมเปิดให้บริการ 12 กันยายน 2565". Money and Banking (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-08-18. สืบค้นเมื่อ 2022-08-18.
  12. "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดอาคารศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร". หน่วยราชการในพระองค์. 2022-10-16.
  13. "คุยกับผู้อยู่เบื้องหลังการรีโนเวตศูนย์ฯ สิริกิติ์ จากผ้าไทย ความร่วมสมัย สู่โอกาสของไทยในเวทีโลก". Urban Creature (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2022-08-09.
  14. Admin (2022-09-07). "Red Lobster ร้านอาหารทะเลชื่อดังอเมริกา เปิดบริการแล้วที่ ศูนย์ประชุมฯ สิริกิติ์ 12 ก.ย.นี้". carlifeway.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  15. Pattarat (2022-08-18). "พาชมจัดเต็มทุกมุม! "ศูนย์ฯ สิริกิติ์" โฉมใหม่ อลังการกลิ่นอายสถาปัตยกรรมไทย พร้อมเปิดกันยายน'65". Positioning Magazine (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  16. เผยโฉมใหม่ ศูนย์ฯสิริกิติ์ 15,000 ล้าน ใหญ่กว่าเดิม 5 เท่า เปิดตัว 12 ก.ย.นี้ ค่าเช่าขยับขึ้น 5-15% ผู้ใช้บริการ 13 ล้านคนต่อปี
  17. "% Arabica เปิดสาขาใหม่ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ⁣⁣⁣⁣ | แกลเลอรีที่โพสต์โดย Rattomarty". Lemon8.
  18. การเปลี่ยนแปลงบทบาทของนางสาวไทยระหว่าง พ.ศ. 2477-2542 ปริญญานิพนธ์หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  19. "ชวนไปงาน "สัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 47" ภายใต้แนวคิด "รักคนอ่าน"". workpointTODAY.
  20. "งานหนังสือ 2565 จัดที่ไหน เช็กเวลาเปิด-ปิด วิธีการเดินทางไปได้ที่นี่". tnnthailand. 2022-10-13.
  21. "สองพันธมิตรประกาศความพร้อมจัดมหกรรมเกมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของไทย Thailand Game Show 2007 วันเด็ก". ryt9.com.
  22. "เจาะทุกไฮไลท์ Thailand Game Show 2022 คัมแบ็คยิ่งใหญ่สมการรอคอย!". mgronline.com. 2022-10-08.
  23. "เออาร์ไอพีแถลงจัดใหญ่ ก่อนส่งท้ายศูนย์ ฯ สิริกิติ์ – www.aripplc.com".
  24. "“แอ๊ด คาราบาว” ชวนมันส์ส่งท้ายปี "CARABAO NEW YEAR EXPO" 7 วัน 7". ryt9.com.
  25. "APEC THAILAND 2003: Programme for Saturday, 18 October". ryt9.com.
  26. ไทยพร้อมดูแล “ผู้เข้าร่วมการประชุม APEC 2022” มุ่งรักษาความปลอดภัย ใส่ใจอาหารไทยคุณภาพ
  27. "Michelle Mclean: One of the most successful beauty queens from Namibia | Angelopedia". www.angelopedia.com (ภาษาอังกฤษ).
  28. "FIFA Council appoints United States as host of new and expanded FIFA Club World Cup". www.fifa.com (ภาษาอังกฤษ).
  29. ไทยได้เป็นเจ้าภาพ FIFA Congress​ 2024 ศูนย์สิริกิติ์-โรงแรมเฮ รับผู้ร่วมงานหลายพันคน

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

13°43′26″N 100°33′33″E / 13.723992°N 100.559224°E / 13.723992; 100.559224