บลูอะเกน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Blue Again)
บลูอะเกน
กำกับฐาปณี หลูสุวรรณ
บทภาพยนตร์ฐาปณี หลูสุวรรณ
อำนวยการสร้างชลสิทธิ์ อุปนิกขิต
ฐาปณี หลูสุวรรณ
สุภัชา ทิพเสนา
ธรรศพลฐ์ เอี่ยมรานนท์
นักแสดงนำ
  • ตะวัน จริยาพรรุ่ง
  • ศรัณย์เมศ รัตนพงษ์
  • อสมาภรณ์ สมัครพันธ์
กำกับภาพชลสิทธิ์ อุปนิกขิต
ตัดต่อชลสิทธิ์ อุปนิกขิต
ดนตรีประกอบชัพวิชญ์ เต็มนิธิกุล
ใจเทพ ร่าเริงใจ
บริษัทผู้สร้าง
บริษัท ตัดอยู่ จำกัด
กรูฟวินแมน โปรดักชั่นเฮาส์ แอนด์ สตูดิโอ
วันฉาย7 ตุลาคม ค.ศ. 2022 (2022-10-07)(เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติปูซาน, เกาหลีใต้)
8 ธันวาคม ค.ศ. 2022 (2022-12-08)(เข้าฉายแบบจำกัดโรงภาพยนตร์, ไทย)[1]
ความยาว190 นาที
ประเทศไทย
ภาษาภาษาไทย

บลูอะเกน (อังกฤษ: Blue Again) เป็นภาพยนตร์ไทยอิสระแนวดราม่า ความยาว 3 ชั่วโมง 10 นาที เขียนบทและกำกับภาพยนตร์ โดย ฐาปณี หลูสุวรรณ ได้รับเลือกให้ฉายรอบปฐมทัศน์โลกที่เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติปูซาน ครั้งที่ 27 ประเทศเกาหลีใต้ โดยเข้าประกวดในสาย New Currents Award (สำหรับผู้กำกับภาพยนตร์หน้าใหม่) ซึ่งเป็นสายประกวดหลักของเทศกาลภาพยนตร์นี้ [2]

หลังจากนั้นได้เข้าฉายแบบจำกัดโรงภาพยนตร์ในประเทศไทย เฉพาะที่โรงภาพยนตร์เฮ้าส์สามย่าน, เอสเอฟ ซีเนม่า(เฉพาะสาขาเซ็นทรัลเวิลด์และเชียงใหม่) [3], โรงภาพยนตร์ลิโด้ และ Doc Club and Pub [4]

เรื่องย่อ[แก้]

บนโลกที่ไม่ได้ใจดีกับเราเท่าไหร่ ‘เอ’ (ตะวัน จริยาพรรุ่ง) หญิงสาวลูกครึ่งอีสาน-ตะวันตก จากหมู่บ้านคาทอลิกที่ใหญ่ที่สุดในไทย เธอดิ้นรนเข้ามาเรียนออกแบบแฟชั่นในกรุงเทพฯ โดยหวังว่าจะสามารถชุบชีวิตโรงย้อมครามของครอบครัวที่กําลังจะตาย

‘แพร’ (อสมาภรณ์ สมัครพันธ์) เพื่อนสนิทคนแรกในมหาวิทยาลัยถูกดึงดูดเข้ามาอยู่ในวงโคจรของเธอ ด้วยต้นทุนทางสังคมและความฝันที่คล้ายกัน ในขณะที่ เอพยายามปกป้องความฝันของตัวเอง ไปพร้อมๆ กับถักทอความสัมพันธ์กับคนรอบข้างเอาไว้ แต่เหมือนเส้นด้ายกลับจะขาดลง

‘สุเมธ’ (ศรัณย์เมศ รัตนพงษ์) เพื่อนรักคนเดียวในวัยเด็กผู้เป็นเซฟโซน ก็ได้กลับมาในวงโคจรของเธออีกครั้งในค่ำคืนวันคริสต์มาสตามสัญญา แต่มันยิ่งกลับทําให้เอตั้งคําถามกับตัวเองว่า ‘บนโลกนี้...ที่ตรงไหนคือที่ของเธอจริงๆ’

รางวัล[แก้]

ปี รางวัล สาขา เสนอชื่อเข้าชิง ผล
2565 เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติปูซาน ครั้งที่ 27 (Busan International Film Festival: BIFF) New Currents Award บลูอะเกน เสนอชื่อเข้าชิง
เทศกาลภาพยนตร์โลกแห่งกรุงเทพฯ ครั้งที่ 15 (15th World Film Festival of Bangkok) [5] Lotus Award บลูอะเกน เสนอชื่อเข้าชิง
2566 38th edition of Cinema Jove - Valencia International Film Festival [6] Luna de Valencia Award for Best Feature Film บลูอะเกน ชนะ
CIMA Award for Best Film Directed by Women บลูอะเกน ชนะ
20th Asian Film Festival (Rome, Italy) [7] Most Original Film บลูอะเกน ชนะ
11th Asian Film Festival Barcelona [8] NECPAC Section Awards บลูอะเกน เสนอชื่อเข้าชิง
รางวัลชมรมวิจารณ์บันเทิง ครั้งที่ 31 [9][10] ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม บริษัท ตัดอยู่ จำกัด และ กรูฟวินแมน โปรดักชั่นเฮ้าส์ แอนด สตูดิโอ ชนะ
ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ฐาปณี หลูสุวรรณ เสนอชื่อเข้าชิง
บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ฐาปณี หลูสุวรรณ ชนะ
นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม ตะวัน จริยาพรรุ่ง เสนอชื่อเข้าชิง
นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม อสมาภรณ์ สมัครพันธ์ ชนะ
นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม ณพรรธน์ ตรีผลาวิเศษกุล ชนะ
ลำดับภาพยอดเยี่ยม ชลสิทธิ์ อุปนิกขิต เสนอชื่อเข้าชิง
นักทำหนังหน้าใหม่ยอดเยี่ยม ฐาปณี หลูสุวรรณ ชนะ
รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ครั้งที่ 31 [11][12] ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม บริษัท ตัดอยู่ จำกัด และ กรูฟวินแมน โปรดักชั่นเฮ้าส์ แอนด สตูดิโอ เสนอชื่อเข้าชิง
บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ฐาปณี หลูสุวรรณ ชนะ
นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม ตะวัน จริยาพรรุ่ง เสนอชื่อเข้าชิง
นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม อสมาภรณ์ สมัครพันธ์ ชนะ
ลำดับภาพยอดเยี่ยม ชลสิทธิ์ อุปนิกขิต เสนอชื่อเข้าชิง
กำกับภาพยอดเยี่ยม ชลสิทธิ์ อุปนิกขิต เสนอชื่อเข้าชิง
ดนตรีประกอบยอดเยี่ยม ชัพวิชญ์ เต็มนิธิกุล , ใจเทพ ร่าเริงใจ เสนอชื่อเข้าชิง
บันทึกเสียงและผสมเสียงยอดเยี่ยม ณพวัฒน์ ลิขิตวงศ์ , ชลสิทธิ์ อุปนิกขิต , One Cool Sound Studio Co., Ltd. เสนอชื่อเข้าชิง
รางวัลสตาร์พิกส์ไทยฟิล์มอะวอดส์ ครั้งที่ 20 [13] ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม บริษัท ตัดอยู่ จำกัด และ กรูฟวินแมน โปรดักชั่นเฮ้าส์ แอนด สตูดิโอ เสนอชื่อเข้าชิง
ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ฐาปณี หลูสุวรรณ เสนอชื่อเข้าชิง
นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม อสมาภรณ์ สมัครพันธ์ ชนะ
นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม ณพรรธน์ ตรีผลาวิเศษกุล เสนอชื่อเข้าชิง
บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ฐาปณี หลูสุวรรณ เสนอชื่อเข้าชิง
ลำดับภาพยอดเยี่ยม ชลสิทธิ์ อุปนิกขิต ชนะ
ดนตรีประกอบยอดเยี่ยม ชัพวิชญ์ เต็มนิธิกุล , ใจเทพ ร่าเริงใจ เสนอชื่อเข้าชิง

อ้างอิง[แก้]

  1. "SF Cinema".
  2. "ภาพยนตร์ไทย Blue Again กำกับโดย ฐาปณี หลูสุวรรณ ได้เข้าชิงสาขา New Currents เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติปูซาน ครั้งที่ 27". The Standard. 2022-08-10.
  3. "1 เรื่องย่อ กับ 5 ภาพนิ่ง จากภาพยนตร์เรื่อง Blue Again". หน้าเพจเฟซบุ๊คของผู้กำกับฯ. 2022-11-19.
  4. "Doc Club and Pub". 2022-11-19.
  5. "เทศกาลภาพยนตร์โลกแห่งกรุงเทพ ครั้งที่ 15 (The 15th World Film Festival of Bangkok) 2-11 ธันวาคม 2565". ryt9.com.
  6. "LIST OF WINNERS 38TH EDITION CINEMA JOVE - Cinema Jove" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2023-07-01.
  7. "19° edizione Vincitori - I premi". Asian Film Festival (ภาษาอังกฤษแบบบริติช).
  8. "Blue Again". Asian Film Festival Barcelona (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  9. "เปิดรายชื่อผู้เข้าชิงรางวัลชมรมวิจารณ์บันเทิง ครั้งที่ 31 ประจำปี 2565 One for the Road เข้าชิงมากที่สุด 13 รางวัล". เดอะสแตนดาร์ด. 2023-06-13. สืบค้นเมื่อ 2023-06-15.
  10. "สรุปผลรางวัล ชมรมวิจารณ์บันเทิง ครั้งที่ 31 ประจำปี 2565 Blue Again คว้าภาพยนตร์ยอดเยี่ยม". เดอะสแตนดาร์ด. 2023-07-13. สืบค้นเมื่อ 2023-07-15.
  11. "เปิดโผ 'สุพรรณหงส์ครั้งที่ 31 ประจำปี 2565…Season Change'". เวิร์คพอยท์ทูเดย์. 2023-07-21. สืบค้นเมื่อ 2023-07-22.
  12. "สรุปผลรางวัลสุพรรณหงส์ ครั้งที่ 31 One for the Road คว้าภาพยนตร์ยอดเยี่ยม". เดอะสแตนดาร์ด. 2023-08-21. สืบค้นเมื่อ 2023-08-21.
  13. "Starpics Thai Film Critics Choices ครั้งที่ 20". 2023-06-28. สืบค้นเมื่อ 2023-07-03.