เขตผู้ว่าราชการมอนเตเนโกรของอิตาลี

พิกัด: 42°23′22″N 18°55′23″E / 42.38944°N 18.92306°E / 42.38944; 18.92306
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Italian governorate of Montenegro)
เขตผู้ว่าราชการมอนเตเนโกร

ค.ศ. 1941–1943
ธงชาติ
เขตผู้ว่าราชการมอนเตเนโกรใน ค.ศ. 1942
เขตผู้ว่าราชการมอนเตเนโกรใน ค.ศ. 1942
เมืองหลวงเซติเญ
42°23′22″N 18°55′23″E / 42.38944°N 18.92306°E / 42.38944; 18.92306
ภาษาทั่วไปอิตาลี, เซอร์เบีย-โครเอเชีย
ศาสนา
อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์
โรมันคาทอลิก
ซุนนี
การปกครองเขตผู้ว่าราชการ
ผู้ว่าราชการ 
• ค.ศ. 1941
เซราฟีโน มัซโซลีนี[a]
• ค.ศ. 1941–1943
อาเลสซันโดร ปีร์ซีโอ บีโรลี
• ค.ศ. 1943
กูรีโอ บาร์บาเซตตี ดี ปรุน
นายกรัฐมนตรี 
• กรกฎาคม ค.ศ. 1941
Sekula Drljević[1]
ประธานคณะกรรมการแห่งชาติ 
• ค.ศ. 1942–1943
Blažo Đukanović
ยุคประวัติศาสตร์สงครามโลกครั้งที่สอง
18 เมษายน ค.ศ. 1941
• ประกาศอิสรภาพ
12 กรกฎาคม ค.ศ. 1941
13 กรกฎาคม ค.ศ. 1941
• ยกเลิกความเป็นอิสรภาพ
24 กรกฎาคม ค.ศ. 1941
• ก่อตั้งเขตผู้ว่าราชการ
3 ตุลาคม ค.ศ. 1941
12 กันยายน ค.ศ. 1943
ประชากร
• ค.ศ. 1941
411,000 คน
สกุลเงินดีนาร์ยูโกสลาฟ
ลีรา
ก่อนหน้า
ถัดไป
ราชอาณาจักร
ยูโกสลาเวีย
มอนเตเนโกรในการยึดครองของเยอรมนี
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของมอนเตเนโกร
เซอร์เบีย

เขตผู้ว่าราชการมอนเตเนโกรของอิตาลี (อิตาลี: Governatorato del Montenegro) เป็นดินแดนยึดครองภายใต้รัฐบาลทหารของฟาสซิสต์อิตาลีในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ดำรงอยู่ระหว่างเดือนตุลาคม ค.ศ. 1941 ถึงเดือนกันยายน ค.ศ. 1943 แม้ว่าอิตาลีจะมีความปรารถนาที่จะจัดตั้งราชอาณาจักรมอนเตเนโกรในฐานกึ่งเอกราช แต่แผนการนี้ได้ยุติลงอย่างถาวรภายหลังการก่อการกำเริบของประชาชนในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1941[2][3][4] และหลังจากการยอมจำนนของอิตาลีในเดือนกันยายน ค.ศ. 1943 กองทัพเยอรมันจึงเข้ายึดครองมอนเตเนโกรจนกระทั่งถอนทัพออกไปในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1944

การบริหาร[แก้]

การแบ่งเขตการปกครองของเขตผู้ว่าราชการมอนเตเนโกร (ค.ศ. 1941)

ในช่วงแรกดินแดนอยู่ภายใต้การยึดครองทางทหาร ซึ่งความตั้งใจของอิตาลีในช่วงต้นนั้น คือการทำให้มอนเตเนโกรเป็นรัฐกึ่งเอกราชที่มีความเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับอิตาลี และได้มีการแต่งตั้งมัซโซลีนีเป็นกรรมาธิการเพื่อจัดการกิจการพลเรือน แต่หลังจากการประกาศเอกราชที่ล้มเหลวและการปราบปรามการจลาจลที่เกิดขึ้น บีโรลีจึงได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ว่าราชการดินแดน[3] ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อ "เขตผู้ว่าราชการมอนเตเนโกร" (อิตาลี: Governatorato del Montenegro)[3][5] บีโรลีและผู้สืบทอดตำแหน่งต่อมาอย่างเคานต์ กูรีโอ บาร์บาเซตตี ดี ปรุน มีอำนาจควบคุมทางทหารและพลเรือนของดินแดนอย่างเบ็ดเสร็จ[3] และในส่วนของการบริหารราชการพลเรือน ยังคงมีการใช้ระบบเขตและเทศบาลที่ใช้มาตั้งแต่สมัยยูโกสลาเวีย เพื่อหลีกเลี่ยงความโกลาหลในการบริหาร โดยอิตาลีจะเข้ามามีอำนาจแทนที่ทางการของแคว้นนั้น ๆ[6]

หมายเหตุ[แก้]

  1. ในฐานะข้าหลวงใหญ่

อ้างอิง[แก้]

  1. Roberts 2007, p. 353.
  2. Rodogno 2006, pp. 134–136.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 Tomasevich 1975, p. 103.
  4. Lemkin 2008, p. 590.
  5. Pavlowitch 2007, p. 113.
  6. Rodogno 2006, p. 101.

บรรณานุกรม[แก้]