กระต่ายน้อยปีเตอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กระต่ายน้อยปีเตอร์
The Tale of Peter Rabbit  
ตีพิมพืครั้งแรก, ตุลาคม ค.ศ. 1902
ผู้ประพันธ์บีทริกซ์ พอตเตอร์
ผู้วาดภาพประกอบบีทริกซ์ พอตเตอร์
ประเทศอังกฤษ
ภาษาอังกฤษ
ประเภทวรรณกรรมเยาวชน
สำนักพิมพ์เฟรเดอริกโวร์นแอนด์โค
วันที่พิมพ์ตุลาคม ค.ศ. 1902
ชนิดสื่อสิ่งพิมพ์ (ปกแข็ง)
หน้า56
OCLC12533701
เรื่องถัดไปเรื่องเล่าของกระรอกนัตกิ้น 

กระต่ายน้อยปีเตอร์[1][2] หรือ เรื่องเล่าของปีเตอร์ แรบบิท[3] (อังกฤษ: The Tale of Peter Rabbit) เป็นวรรณกรรมเยาวชน เขียนและวาดภาพประกอบโดยบีทริกซ์ พอตเตอร์[4][5] เนื้อหาเป็นเรื่องราวของกระต่ายปีเตอร์ กระต่ายน้อยผู้ซุกซน โดยแม่กระต่ายผู้มารดาจะออกไปซื้อของ จึงบอกให้ลูก ๆ เล่นในทุ่ง แต่ห้ามไปเล่นในสวนของนายแม็กเกรเกอร์ เพราะพ่อกระต่ายเคยเข้าไปในนั้นแล้วถูกจับไปทำเป็นพายเนื้อกระต่าย แต่กระต่ายปีเตอร์ไม่เกรงกลัว ลอบเข้าไปในสวนนั้นและถูกนายแม็กเกรเกอร์ไล่ล่า[6] ที่สุดเขาฝ่าฟันอันตรายจนกลับไปถึงบ้าน แม่กระต่ายไม่ตำหนิเขาสักคำเดียว ทั้งยังชงชาคาโมมายล์ให้ปีเตอร์ดื่ม แล้วพูดสั้น ๆ ว่า "หนึ่งช้อนโต๊ะก่อนนอนนะจ๊ะ"[1] จำเดิมนางพอตเตอร์แต่งนิทานเรื่องนี้แก่โนเอล มัวร์ บุตรของแอนนี คาร์เตอร์ มัวร์ เมื่อ ค.ศ. 1893 ต่อมาพอตเตอร์นำนิทานนี้ไปพิมพ์เองขายเองใน ค.ศ. 1901 สำนักพิมพ์หลายแห่งปฏิเสธที่จะตีพิมพ์ กระต่ายน้อยปีเตอร์ หากแต่มีเพียงเฟรเดอริกโวร์นแอนด์โคที่ยอมรับผลงานของเธอไปตีพิมพ์ ปรากฏว่าขายดีมาก[4] หลังจากนั้นจึงตีพิมพ์ซ้ำหลายครั้ง และได้รับการแปลถึง 36 ภาษา[7] ถือเป็นหนึ่งในหนังสือที่ขายดีที่สุดในประวัติศาสตร์[8]

ในประเทศไทย มีการแต่งนิทานที่เขียนตามเค้าโครงเรื่อง กระต่ายน้อยปีเตอร์ นี้ เป็นหนังสือส่งเสริมการอ่านชั้นประถมศึกษา ใช้ชื่อเรื่องว่า กระต่ายน้อยเนตรแดง แต่งโดยหม่อมหลวงมณีรัตน์ บุนนาค ในรูปแบบร้อยกรอง โดยมีกำชัย ทองหล่อตรวจแก้คำประพันธ์ในหนังสือ ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2504[9] มีการเปลี่ยนแปลงชื่อตัวละครหลักเช่น "ปีเตอร์" เป็น "เนตรแดง" และ "นายแม็กเกรเกอร์" เป็น "นายสุข"[10]

เชิงอรรถ[แก้]

อ้างอิง
  1. 1.0 1.1 ธีรวงศ์ ธนิษฐ์เวธน์. "กระต่ายน้อยปีเตอร์". สมาคมไทสร้างสรรค์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-05-05. สืบค้นเมื่อ 29 เมษายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "บีทริกซ์ พ็อตเตอร์". ร้านนายอินทร์. สืบค้นเมื่อ 30 เมษายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. "THE TALE OF PETER RABBIT เรื่องเล่าของปีเตอร์ แรบบิท". Meb's Pick. สืบค้นเมื่อ 30 เมษายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. 4.0 4.1 เนตรทราย อินทรเจริญศักดิ์ (30 เมษายน 2550). "Miss Potter". คมชัดลึก. สืบค้นเมื่อ 29 เมษายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  5. "ค้นพบนิทานของผู้เขียน "กระต่ายน้อยปีเตอร์ แรบบิท" หลังผ่านไปกว่าร้อยปี!". เอ็มไทย. 28 มกราคม 2559. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-15. สืบค้นเมื่อ 29 เมษายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. "วรรณกรรมเยาวชนคลาสิก The Tale of Peter Rabbit". บีบีซีไทย. 16 กันยายน 2548. สืบค้นเมื่อ 29 เมษายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. Mackey 2002, p. 33
  8. Worker's Press
  9. มณีรัตน์ บุนนาค, หม่อมหลวง. กระต่ายน้อยเนตรแดง. กรุงเทพฯ : บำรุงสาส์น, 2526, คำนำ
  10. มณีรัตน์ บุนนาค, หม่อมหลวง. กระต่ายน้อยเนตรแดง. กรุงเทพฯ : บำรุงสาส์น, 2526, หน้า 2-3
บรรณานุกรม