ข้ามไปเนื้อหา

การท่องเที่ยวในประเทศภูฏาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ผู้โดยสารขณะลงฝั่งจากแอร์บัส เอ319 ของดรุคแอร์ ที่ท่าอากาศยานพาโร
ภาพทิวทัศน์ของอารามทาชิโชซอง ที่ทิมพู
อารามวัดทักซัง ในมณฑลพาโร

การท่องเที่ยวในประเทศภูฏานเริ่มในปี ค.ศ. 1974 เมื่อรัฐบาลภูฏานพยายามที่จะยกระดับของรายได้และส่งเสริมวัฒนธรรมรวมถึงประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ของประเทศสู่โลกภายนอก ซึ่งเป็นการเปิดประเทศบางแห่งให้แก่ชาวต่างชาติ ในปี ค.ศ. 1974 มีนักท่องเที่ยวเข้าเยี่ยมชมประเทศภูฏาน 287 คน ตั้งแต่นั้นมาจำนวนนักท่องเที่ยวที่มาเยือนประเทศภูฏานได้เพิ่มขึ้นเป็น 2,850 คน ในปี ค.ศ. 1992 แล้วเพิ่มขึ้นอย่างมากเป็น 7,158 คนในปี ค.ศ. 1999 [1] ในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1980 การท่องเที่ยวได้มีส่วนช่วยในการสร้างรายได้ประจำปีเกินกว่า 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

แม้จะมีการเปิดประเทศให้แก่ชาวต่างชาติ แต่รัฐบาลก็ตระหนักถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อให้นักท่องเที่ยวจึงสามารถพบความเป็นเอกลักษณ์ รวมถึงภูมิทัศน์และวัฒนธรรมที่สวยงามอย่างแท้จริง ดังนั้น พวกเขาจึงมีการจำกัดระดับของกิจกรรมการท่องเที่ยวตั้งแต่เริ่ม โดยมุ่งเน้นไปที่นักท่องเที่ยวที่มีคุณภาพสูงกว่า กระทั่งปี ค.ศ. 1991 สมาคมการท่องเที่ยวประเทศภูฏาน (BTC) ซึ่งเป็นฝ่ายบริหารกึ่งอิสระที่บริหารการเงินของตนเอง ได้ออกนโยบายการท่องเที่ยวของรัฐบาล[1] อย่างไรก็ตาม ก็ได้มีการทำสู่ภาคเอกชนในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1991 เพื่ออำนวยความสะดวกในการลงทุนและกิจกรรม เป็นผลให้มีบริษัทท่องเที่ยวที่ได้รับใบอนุญาตกว่า 75 รายมาดำเนินงานในประเทศ[1] นักท่องเที่ยวทุกคน (กลุ่มหรือบุคคล) ต้องเดินทางโดยวางแผนไว้ล่วงหน้า, ชำระเงินล่วงหน้า, จัดไกด์แพคเกจทัวร์ หรือโปรแกรมการเดินทางที่ออกแบบเอง โดยชาวต่างชาติส่วนใหญ่ไม่สามารถเดินทางได้อย่างอิสระในราชอาณาจักร ซึ่งการเตรียมการจะต้องทำผ่านผู้ประกอบการทัวร์อนุมัติอย่างเป็นทางการโดยตรงหรือผ่านตัวแทนในต่างประเทศ

จุดสำคัญที่สุดสำหรับการท่องเที่ยวคือทิมพูซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศภูฏาน และในเมืองทางตะวันตกของพาโรซึ่งอยู่ใกล้กับประเทศอินเดีย ส่วนวัดทักซัง (หรือเรียกในชื่อ"รังเสือ") เป็นอารามที่อยู่บนผา สามารถมองเห็นได้จากหุบเขาพาโร ก็เป็นหนึ่งในสถานที่สำคัญของประเทศ โดยวัดนี้เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อทางพุทธศาสนา ที่ถ้ำภายในวัดยังมีพุทธเทพประดิษฐาน ตามตำนานกล่าวว่า เขาเป็นผู้นำพุทธศาสนามาเผยแพร่ที่ประเทศภูฏาน และทำการอดอาหารเป็นเวลา 90 วันในขณะที่เขาต่อสู้กับเหล่ามารที่อาศัยอยู่ในหุบเขาแห่งนี้ วัดแห่งนี้ยังคงได้รับความศรัทธาเป็นเวลากว่าพันปี กระนั้น ก็ยังเคยได้รับความเสียหายจากเพลิงลุกไหม้สองครั้งซึ่งได้รับการซ่อมแซมแล้ว ส่วนดรุคแอร์เป็นสายการบินปฏิบัติการเพียงรายเดียวในประเทศภูฏาน อย่างไรก็ตาม ในตอนนี้ก็มีการให้บริการโดยภูฏานแอร์ไลน์ด้วยเช่นกัน[2]

ทั้งนี้ การขอวีซ่าไปยังประเทศภูฏานจะได้รับผ่านสถานทูตหรือสถานกงสุลในประเทศบ้านเกิดเพียงแห่งเดียว

การมาเยือนแบ่งตามประเทศ[แก้]

นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ที่เดินทางมาเยือนประเทศภูฏานในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ มาจากประเทศต่อไปนี้ (นอกเหนือจากประเทศบังคลาเทศ, อินเดีย และมัลดีฟส์):[3][4]

อันดับ ประเทศ ค.ศ. 2013 ค.ศ. 2015
1  จีน 4,827 9,399
2  สหรัฐ 6,997 7,137
3  ไทย 3,527 3,778
4  สหราชอาณาจักร 2,309 2,958
6  สิงคโปร์ 2,051 2,587
5  เยอรมนี 2,770 2,498
7  ญี่ปุ่น 4,035 2,437
8  ออสเตรเลีย 2,062 1,833
9  ฝรั่งเศส 1,572 1,563
10  มาเลเซีย 2,054 1,546

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 Dorji, Tandi. "Sustainability of Tourism in Bhutan" (PDF). Digital Himalaya. สืบค้นเมื่อ August 10, 2008.
  2. Ionides, Nicholas (9 April 2008). "Bhutan's Druk Air looks to expand". Airline Business. สืบค้นเมื่อ 2008-08-10.
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-11-15. สืบค้นเมื่อ 2016-10-17.
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-10-09. สืบค้นเมื่อ 2016-10-17.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]