การามง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Garamond
ชนิดSerif
รูปแบบย่อยGaralde
Old-style
ออกแบบโดยClaude Garamond
Also:
Robert Granjon
Jean Jannon
การแสดงผลAdobe Garamond Pro (regular style based on Garamond's work; italic on the work of Robert Granjon)

การามง (ฝรั่งเศส: Garamond) เป็นกลุ่มของไทป์เฟซแบบมีเชิงจำนวนมาก ตั้งชื่อตามโกลด การามง ช่างแกะลายชาวปารีสในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ไทป์เฟซการามงเป็นที่นิยมและมักใช้สำหรับการพิมพ์หนังสือและข้อความเนื้อหา

ไทป์เฟซการามงได้รับการออกแบบตามรูปแบบไทป์เฟซอันโด่งดังที่ฟรันเชสโก กริฟโฟ ช่างแกะแบบกดรอย แกะให้อัลดุส มานูติอุส ช่างพิมพ์ชาวเวนิสในปี 1495 และอยู่ในรูปแบบที่ปัจจุบันเรียกว่าการออกแบบตัวอักษรเชิงเก่า อันเป็นตัวอักษรที่มีโครงสร้างค่อนข้างเป็นธรรมชาติคล้ายกับการเขียนด้วยลายมือกับปากกา แต่ต่างกันตรงที่การออกแบบรูปอักขระในไทป์เฟซนั้นมีโครงสร้างตั้งตรงมากขึ้นเล็กน้อย

หลังจากเสื่อมความนิยมไปในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 ไทป์เฟซสมัยใหม่หลายรูปแบบในสไตล์การามงก็ได้รับการพัฒนาขึ้น เป็นเรื่องปกติที่จะจับรูปแบบเหล่านี้กับตัวเอียงแท้โดยอิงจากผลงานร่วมสมัยที่สร้างขึ้นโดยรอแบร์ กร็องฌง ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีจากความเชี่ยวชาญของเขาในแนวนี้[1] อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการามงเองยังคงถือเป็นบุคคลสำคัญในการพิมพ์ภาษาฝรั่งเศสในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 แต่ผลการวิจัยทางประวัติศาสตร์ได้ชี้เปลี่ยนไปในทิศทางที่ทำให้การามงเป็นช่างฝีมือคนหนึ่งในบรรดาช่างจำนวนมากที่กระตือรือร้นในช่วงเวลาของการผลิตไทป์เฟซใหม่อย่างรวดเร็วในฝรั่งเศสสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 16 รอเบิร์ต บริงเฮิสต์ ให้ความเห็นว่า "เป็นธรรมเนียมที่แพร่หลายมานานหลายปีที่จะยกย่องฟอนต์ภาษาฝรั่งเศสดี ๆ ในศตวรรษที่ 16 เกือบทั้งหมด ให้เป็นฝีมือการามง"[2] [3] [4] ด้วยเหตุนี้ แม้ว่า "การามง" จะเป็นคำทั่วไปในอุตสาหกรรมการพิมพ์ แต่ก็มีการนำศัพท์ "French Renaissance antiqua" และ "Geralde" มาใช้ในการเขียนเชิงวิชาการเพื่ออ้างอิงถึงแบบอักษรโดยทั่วไปในตัวแบบ Aldus-French Renaissance โดยการามงและคนอื่น ๆ[5] [6]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Just what makes a Garamond a Garamond?". Linotype. สืบค้นเมื่อ 11 December 2015.
  2. Johnson, Alfred F. (1936). "Sources Of Roman And Italic Types Used By English Printers In The Sixteenth Century". The Library. Series 4. XVII (1): 70–82. doi:10.1093/library/s4-XVII.1.70.
  3. Carter, Matthew (1985). "Galliard: A Revival of Types of Robert Granjon". Visible Language. 19 (1): 77–98. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-30. สืบค้นเมื่อ 19 May 2017.
  4. Amert 2012.
  5. Phil Baines; Andrew Haslam (2005). Type & Typography. Laurence King Publishing. pp. 50–51. ISBN 978-1-85669-437-7.
  6. Mosley, James (1960). "New Approaches to the Classification of Typefaces". The British Printer (Reprinted for the United States House Committee on the Judiciary).

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

เกี่ยวกับการามง:

เกี่ยวกับการฟื้นฟู: