กิตติศักดิ์ ไชยชนะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ต๊ะ กิตติศักดิ์ ไชยชนะ
เกิดกิตติศักดิ์ ไชยชนะ
อำเภอบ้านนาเดิม จังหวัดสุราษฎร์ธานี
อาชีพนักดนตรี
อาชีพทางดนตรี
แนวเพลงลูกทุ่ง • เพื่อชีวิต
เครื่องดนตรีขับร้อง
ช่วงปีพ.ศ. 2547–ปัจจุบัน
ค่ายเพลงแกรมมี่โกลด์ (2547-2556)
เซอร์ลาว มิวสิค (2560-ปัจจุบัน)

ต๊ะ กิตติศักดิ์ ไชยชนะ หรือชื่อในวงการคือ กิตติศักดิ์ ไชยชนะ เป็นนักร้องเพลงลูกทุ่งเพื่อชีวิตนักดนตรีชายซุปเปอร์สตาร์ชาวไทย อดีตสังกัดแกรมมี่โกลด์ ปัจจุบันสังกัดเซอร์ลาว มิวสิค

เกิดที่อำเภอบ้านนาเดิม จังหวัดสุราษฎร์ธานี จบระดับชั้นปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต เธอเริ่มร้องเพลงอย่างจริงจังตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากการที่เธอเข้าร่วมกับวงดนตรีโปงลางของโรงเรียน เมื่อเธอศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย เธอได้รับงานร้องเพลงกับวงดนตรีในจังหวัดพิจิตรเพื่อหารายได้ และยังโคฟเวอร์เพลงในยูทูบ จนกระทั่งสลา คุณวุฒิเห็นความสามารถและแววของเธอ จึงชักชวนเธอเข้าสู่การเป็นศิลปินในสังกัดแกรมมี่โกลด์

ประวัติและวงการบันเทิง[แก้]

เขาเกิดที่อำเภอบ้านนาเดิม จังหวัดสุราษฎร์ธานี เขาก็ได้หารายได้พิเศษด้วยการร้องเพลงกับวงดนตรีที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี และยังมีผลงานโคฟเวอร์เพลงลงในยูทูบ จนกระทั่งสลา คุณวุฒิเข้ามาเห็นความสามารถและแววของเขา เขาจึงเข้าสู่วงการบันเทิงโดยการเป็นศิลปินสังกัดแกรมมี่โกลด์ ในโอกาสครบรอบ 20 ปี GMM เปิดห้องแกรนด์ บอลรูม ณ ศูนย์ประชุมสิริกิติ์ เปิดตัวนักร้องหน้าใหม่ร่วม 140 คนที่เตรียมออกอัลบั้มตั้งแต่ปีนี้จนถึงต้นปีหน้า พร้อมเปิดตัวทีมบริหารใหม่ โดยผู้บริหารหน้าเดิมมาทำหน้าที่วางกลยุทธ์ให้กับทั้ง 17 ค่าย ซึ่งเป็นผลจากการปรับโครงสร้างองค์กรใหม่ ได้แก่ กิตติศักดิ์ ช่วงอรุณ, อัสนี โชติกุล, นิติพงษ์ ห่อนาค, วิเชียร ฤกษ์ไพศาล และกริช ทอมมัส พ.ศ. 2545 จากการออกอัลบั้มในแนวลูกทุ่งชุดแรก ไอ้เท่งมันชวน ภายใต้สังกัดแกรมมี่โกลด์ และเป็นอัลบั้มเดียวที่เขาออกกับค่ายนี้ จนกระทั่งหายหน้าจากวงการไปช่วงหนึ่ง และกลับเข้าสู่วงการโดยการเป็นศิลปินสังกัดเซอร์ลาว มิวสิค ออกซิงเกิ้ล 2 เพลง ได้แก่ เรา ก่อนที่เขาจะหมดสัญญากับ แกรมมี่โกลด์ ตั้งแต่ปี 2556[1]

งานเพลงชุดแรก-ชุดที่ 2 ของต๊ะ ไม่ได้ออกมาในแนวลูกทุ่งสำเนียงใต้ตามสมัยนิยม หากแต่เป็นลูกทุ่งสำเนียงทั่วไป อัลบั้มชุดที่ 3 ออกมาในแนวลูกทุ่งเพื่อชีวิตสำเนียงใต้ ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง

ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2556 ต๊ะ กิตติศักดิ์ ได้เซ็นสัญญากับค่ายใหม่ศิลปินอิสระ ในสังกัดอิสระ หลังจากที่ค่ายเดิมคือแกรมมี่โกลด์ปิดตัวลง และหลังหมดสัญญากับค่ายแกรมมี่โกลด์เมื่อ9ปี ปัจจุบันศิลปินอิสระ

ผลงานเพลง[แก้]

อัลบั้มเดี่ยว[แก้]

สังกัด แกรมมี่โกลด์[แก้]

ชุดที่ 1 ไอ้เท่งมันชวน (15 มิถุนายน 2547)[แก้]

  1. ไอ้เท่งมันชวน
  2. วอนขอให้รอสี่ปี
  3. ไม่หาญสบตา
  4. ฝากใจใส่ซอง
  5. ใบ้รับทาน
  6. ยักษ์ใจมด
  7. หมดทางเพราะยางลง
  8. หนุ่มเมืองตอ
  9. น้ำตาไอ้เท่ง
  10. ถ้ากัน

ชุดที่ 2 สุดทางรักจุดพักรถ (28 มีนาคม 2549)[แก้]

  1. สุดทางรักจุดพักรถ
  2. บังสะหม้อขอร้อง
  3. แกงคั่วกลางกรุง
  4. กามเทพอู้งาน
  5. อ้อมแขนว่างงาน
  6. ไม่ต้องตกใจ
  7. สัญญาครับแม่
  8. ฝากย้ำคำรัก
  9. เถ้าแก่แบกะดิน
  10. คำรักคนโซ
  • เพลงที่เปิด ทางช่อง ช่อง 5 (ตามลำดับการออกอากาศ)
  1. สุดทางรักจุดพักรถ
  2. อ้อมแขนว่างงาน

ชุดที่ 3 อยู่ใกล้ก็หวง อยู่ไกลก็ห่วง (11 ธันวาคม 2551)[แก้]

  1. อยู่ใกล้ก็หวง อยู่ไกลก็ห่วง (เพื่อชีวิต)
  2. ซ้อนคันอื่นได้ไหม (เพื่อชีวิต)
  3. ละครรักสามเศร้า (เพื่อชีวิต)
  4. ยังรอที่หน้าร้านเก่า (เพื่อชีวิต)
  5. ปลายฝนต้นหนาว (เพื่อชีวิต)
  6. แขกรับเชิญ (เพื่อชีวิต)
  7. นิสัยเสีย (เพื่อชีวิต)
  8. ไอ้หนุ่มมอไซค์ (เพื่อชีวิต)
  9. บ้าหวันรักเธอ (เพื่อชีวิต)
  10. น้ำตาผ้าเย็น (เพื่อชีวิต) (ต้นฉบับ ไมค์ ภิรมย์พร)
  • เพลงที่เปิด ทางช่อง ช่อง 5 (ตามลำดับการออกอากาศ) และเปิด ทางช่อง แฟนทีวี (ทดลองออกอากาศ)
  1. น้ำตาผ้าเย็น
  2. อยู่ใกล้ก็หวง อยู่ไกลก็ห่วง

ผลงานร่วมศิลปินอื่น[แก้]

  • เพลง วอนขอให้รอสี่ปี อัลบั้ม ดาวรุ่งลูกทุ่งกีตาร์หวาน (2549)
  • เพลง ยังไม่ตายอีกหรือ อัลบั้ม 25 ปี แกรมมี่ โกลด์ 25 ปี แห่งความผูกพัน ฉันและเธอ (ต้นฉบับ แช่ม แช่มรัมย์) (2563)

เพลงประกอบละคร[แก้]

  • เพลง สิงห์สองล้อ เพลงประกอบละคร เทพบุตรชุดวิน (2552)

สังกัด เซอร์ลาว มิวสิค[แก้]

ซิงเกิล[แก้]

  • ยอมเจ็บเก็บไว้คนเดียว (2560)
  • อกหักข้างชักโครก (2560)
  • เรา (2561)
  • หลงมนต์โนราห์ (2562)
  • อกหักถูกพักงาน (2562)
  • หลวงพรพ่อภัตร (2563)
  • ทุ่มทุ่ม (2563)
  • สมหวัง (2563)
  • ห้ามความคิดถึงไม่ได้ (2563)

ผลงานที่ศิลปินอื่นนำไปขับร้องใหม่[แก้]

  • ไอ้เท่งมันชวน - โกไข่กับนายสน

ผลงานการแสดง[แก้]

ละครโทรทัศน์[แก้]

โฆษณา[แก้]

  • ช่องแกรมมี่ 4 ช่อง (ช่อง Fan TV., ช่อง Bang Channel, ช่อง Green Channel และช่อง Acts Channel) ร่วมด้วย ไมค์ ภิรมย์พร,ต่าย อรทัย,เอิร์น สุรัตน์ติกานต์ และศิลปิน นักร้อง นักแสดงอีกมากมาย (2552)

รางวัล[แก้]

  • ได้รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ประกวดบทเพลงประเภท เพลงสากลในโครงการ "HAPPY TIME SINGING CONTEST" ในเพลง ONLY LOVE รางวัล รองชนะเลิศอันดับ 2 ในการประกวดร้องเพลงในโครงการ Souten Expo 2001 โดยบริษัท แกรมมี่ Special Skills MC - พิธีกร Other - อื่นๆ ตีกลอง
  • ปี 2548 ได้รับรางวัลพระพิฆเนศทองพระราชทานจากสมเด็จพระเทพฯ ในสาขา เพลงพื้นบ้านภาคใต้ยอดเยี่ยม
  • เพชรในเพลง 2549 จากกรมศิลปากร ในสาขา นักร้องชายที่ใช้ภาษาไทยยอดเยี่ยม 2 ปี ซ้อน จากเพลง แกงคั่วกลางกรุง ในอัลบั้มชุดที่ 2 สุดทางรักจุดพักรถ
  • เพชรในเพลง 2550 จากกรมศิลปากร ในสาขา นักร้องชายที่ใช้ภาษาไทยยอดเยี่ยม 2 ปี ซ้อน จากเพลง อ้อมแขนว่างงาน ในอัลบั้มชุดที่ 2 สุดทางรักจุดพักรถ

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]