กูปุม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กูปุมแห่งกยังเจ ซึ่งมักถือว่าเป็นกูปุมที่เป็นที่รู้จักมากที่สุด[1]
กูปุมแห่งโชนัง

กูปุม (ทิเบต: སྐུ་འབུམ་, ไวลี: sku 'bum; "หนึ่งแสนภาพศักดิ์สิทธิ์", อักษรโรมัน: Kumbum) เป็นโครงสร้างในศาสนาพุทธแบบทิเบตที่มีการใช้งานเทียบเคียงกับโบสถ์น้อย มีลักษณะเป็นสถูปที่มีหลายชั้นลดหลั่นกันไป

กูปุมที่เป็นที่รู้จักดีที่สุดคือกูปุมแห่งกยังเจ (Gyantse Kumbum) ซึ่งสร้างขึ้นโดยเจ้าชายแห่งกยังเจ[1] ในปี 1427 ซึ่งเป็นปีแกะไฟ[2] ประกอบไปด้วยเก้าชั้น มีความสูง 35 เมตร (115 ฟุต) และบนยอดเป็นทองคำ ภายในประกอบด้วยโบสถ์น้อยรวม 77 แห่ง อย่างไรก็ตาม ประติมากรรมภายในกูปุมนี้ได้รับความเสียหายในสมัยการปฏิวัติวัฒนธรรม และการบูรณะในภายหลังใช้เทวรูปจากดินเหนียวมาประดิษฐาน แค่ก็ไม่สามารถกู้คืนความวิจิตรของศิลปกรรมในกูปุมยุคก่อนได้ ส่วนภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในซึ่งได้รับอิทธิพลเนวาร์และจีนยังคงสภาพค่อนข้างดี[3][4] ลักษณะแปลนของกูปุมเป็นสถูปที่แทนมณฑลสามมิติ บนยอดสุดเป็นพระวัชราธร ลักษณะมณฑลของกูปุมทั้งเก้าชั้นเมื่อรวมกันเป็นภาพแทนถึงหนทางสู่การตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าไปตามมณฑลตันตระที่มีขนาดค่อย ๆ ย่อลงจนถึงยอด[5]

นอกจากที่กยังเจแล้ว ยังมีกูปุมแห่งโชนัง (Jonang Kumbum) ซึ่งสร้างขึ้นในปี 1333 และจุงรีโวเจกูปุม (Chung Riwoche Kumbum) ที่ปยัลรีโวเจ ซึ่งสร้างขึ้นในปี 1449[6][7]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Tibet: A Fascinating Look at the Roof of the World, Its People and Culture, p. 120. (1986). Elizabeth B. Booz. Passport Books. Chicago.
  2. Vitali, Roberto. Early Temples of Central Tibet, p. 133. (1990). Serindia Publications. London. ISBN 0-906026-25-3.
  3. Tibet, p. 167. 6th edition. (2005). Bradley Mayhew and Michael Kohn. Lonely Planet. ISBN 1-74059-523-8.
  4. Dowman, Keith. 1988. The Power-places of Central Tibet: The Pilgrim's Guide. Routledge & Kegan Paul, London and New York. ISBN 0-7102-1370-0, p. 270
  5. Dowman, Keith. 1988. The Power-places of Central Tibet: The Pilgrim's Guide. Routledge & Kegan Paul, London and New York. ISBN 0-7102-1370-0, p. 270
  6. Vitali, Roberto. Early Temples of Central Tibet, p. 127. (1990) Serindia Publications. London. ISBN 0-906026-25-3.
  7. Gerner, Manfred Chakzampa Thangtong Gyalpo - Architect, Philosopher and Iron Chain Bridge Builder เก็บถาวร 2008-06-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, p. 15. Thimphu: Center for Bhutan Studies 2007. ISBN 99936-14-39-4

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • von Schroeder, Ulrich. 2006. Empowered Masters: Tibetan Wall Paintings of Mahasiddhas at Gyantse. (p. 224 pages with 91 colour illustrations). Chicago: Serindia Publications. ISBN 1-932476-24-5