คีตาญชลี ราว (นักวิทยาศาสตร์)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

คีตาญชลี ราว (อังกฤษ: Gitanjali Rao; เกิด 19 พฤศจิกายน 2005) เป็นนักประดิษฐ์, นักเขียน, นักวิทยาศาสตร์ และผู้สนับสนุนการศึกษาระบบสะเต็มชาวอเมริกัน เธอชนะการแข่งขันนักวิทยาศาสตร์เยาวชนดิสคัฟเวอรีเอดูเคชั่น 3 เอ็มเมื่อปี 2017 เธอมีรายชื่อปราฏในฟอบส์ 30 ที่อายุต่ำกว่า 30 ปี (Forbes 30 Under 30) จากผลงานประดิษฐ์ของเธอ[1] เธอเป็นนักประดิษฐ์เยาว์อันดับต้นของไทม์ (TIME Top young innovator) ในปี 2020 จากผลงานพัฒนาและ "การเวิร์กช็อปการพัฒนา" ของเธอที่จัดขึ้นทั่วโลก[2] ในวันที่ 4 ธันวาคม 2020 เธอได้รับเกียรติปรากฏบนปกของ ไทม์ ในฐานะ "เด็กแห่งปี" (Kid of the Year)[3]

ชีวิตช่วงต้น[แก้]

คีตาญชลีมาจากโลนทรี คอลอราโด เธอเข้าโรงเรียนสะเต็มไฮแลนส์แรนช์[4] เธอมีความฝันจะศึกษาต่อในด้านพันธุศาสตร์และวิทยาการระบาดที่สถาบันเอ็มไอที[5][6][7]

การงาน[แก้]

คีตาญชลีได้รู้ถึงกรณีวิกฤตน้ำที่ฟลินท์จากการชมข่าว[8][9][10] เธอจึงเริ่มมีความสนใจเกี่ยวกับวิธีในการตรวจวัดระดับตะกั่วในน้ำ เธอได้พัฒนาอุปกรณ์ซึ่งใช้คาร์บอนนาโนทูบที่สามารถส่งข้อมูลด้วยระบบบลูทูธ[11] คีตาญชลีมีโอกาสได้ร่สมงานกับนักวิทยาศาสตร์วิจัยที่ 3M[12] ในปี 2017 เธอชนะการแข่งขันนักวิทยาศาสตร์เยาวชนดิสคัฟเวอรีเอดูเคชั่น 3 เอ็ม และได้รับเงินรางวัล $25,000 จากผลงานสิ่งประดิษฐ์ของเธอ เทธิส (Tethys)[5][13][14] เทธิส ประกอบด้วยแบตเตอรีขนาด 9 โวลต์, หน่อยตรวจจับตะกั่ว, ส่วนต่อขยายบลูทูธ และโปรเซสเซอร์[5] สิ่งประดิษฐ์นี้ใช้คาร์บอนนาโนทูบ (carbon nanotubes) ซึ่งค่าความต่างศักย์จะเปลี่ยนเมื่อถูกตะกั่ว[4][15] เธอเรียนรู้เรื่องคาร์บอนนาโนทูบจากเว็บไซต์ของสถาบันเอ็มไอที[16]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Gitanjali Rao". Forbes (ภาษาอังกฤษ).
  2. "Seven Young Inventors Who See a Better Way". Time (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-24. สืบค้นเมื่อ 2020-12-06.
  3. "Meet TIME's First-Ever Kid of the Year". Time. สืบค้นเมื่อ 2020-12-04.
  4. 4.0 4.1 Prisco, Jacopo (February 15, 2018). "Gitanjali Rao wants to make polluted water safer with lead detection system". CNN. สืบค้นเมื่อ August 12, 2019.
  5. 5.0 5.1 5.2 "Lone Tree girl named America's Top Young Scientist after inventing lead-detecting sensor to help residents of Flint, Mich". The Denver Post (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2017-11-23. สืบค้นเมื่อ 2018-10-23.
  6. "What teachers can learn from America's top young scientist, 12-year-old Gitanjali Rao" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2018-10-23.
  7. "Indian American Gitanjali Rao is the winner of 2017 Discovery Education 3M Young Scientist Challenge". The American Bazaar (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2017-10-19. สืบค้นเมื่อ 2018-10-23.
  8. "Finding Solutions to Real Problems: An Interview With Gitanjali Rao - Rookie". Rookie (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2018-01-11. สืบค้นเมื่อ 2018-10-23.
  9. Ryan, Lisa. "11-Year-Old Creates Lead-Detection Device to Help With Flint Water Crisis". The Cut (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-10-23.
  10. "Testing the Waters". sn56.scholastic.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-12-07. สืบค้นเมื่อ 2018-10-23.
  11. The Discovery Education 3M Young Scientist Challenge (2017-07-18), 2017 National Finalist: Gitanjali Rao, สืบค้นเมื่อ 2018-10-23
  12. "Dr. Kathleen Shafer | Young Scientist Lab". www.youngscientistlab.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-10-23.
  13. "The 12 year old inventor protecting your drinking water". BBC (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2018-10-23.
  14. News, ABC. "Video: Meet the 11-year-old who developed a new method of testing for lead in water". ABC News (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-10-23. {{cite web}}: |last= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  15. Great Big Story (2018-03-08), This 12-Year-Old Scientist is Taking On Flint's Water Crisis, สืบค้นเมื่อ 2018-10-23
  16. "This 11-Year-Old Invented A Cheap Test Kit For Lead In Drinking Water". Fast Company (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2017-07-13. สืบค้นเมื่อ 2018-10-23.