จังหวัดสิงห์บุรี

พิกัด: 14°53′N 100°24′E / 14.89°N 100.4°E / 14.89; 100.4
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สำหรับความหมายอื่นของ สิงห์บุรี ดูที่ สิงห์บุรี (แก้ความกำกวม)
จังหวัดสิงห์บุรี
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันChangwat Sing Buri
จากซ้ายไปขวา บนลงล่าง:
  • วัดพระปรางค์
  • วัดพระนอนจักรสีห์
  • ศาลจังหวัดสิงห์บุรี
  • วัดโพธิ์เก้าต้น
คำขวัญ: 
ถิ่นวีรชนคนกล้า คู่หล้าพระนอน
นามกระฉ่อนช่อนแม่ลา เทศกาลกินปลาประจำปี


คำขวัญเดิม: ถิ่นวีรชนคนกล้า คู่หล้าพระนอน นามกระฉ่อนปลาแม่ลา ย่านการค้าภาคกลาง
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดสิงห์บุรีเน้นสีแดงประเทศมาเลเซียประเทศพม่าประเทศลาวประเทศเวียดนามประเทศกัมพูชาจังหวัดนราธิวาสจังหวัดยะลาจังหวัดปัตตานีจังหวัดสงขลาจังหวัดสตูลจังหวัดตรังจังหวัดพัทลุงจังหวัดกระบี่จังหวัดภูเก็ตจังหวัดพังงาจังหวัดนครศรีธรรมราชจังหวัดสุราษฎร์ธานีจังหวัดระนองจังหวัดชุมพรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์จังหวัดเพชรบุรีจังหวัดราชบุรีจังหวัดสมุทรสงครามจังหวัดสมุทรสาครกรุงเทพมหานครจังหวัดสมุทรปราการจังหวัดฉะเชิงเทราจังหวัดชลบุรีจังหวัดระยองจังหวัดจันทบุรีจังหวัดตราดจังหวัดสระแก้วจังหวัดปราจีนบุรีจังหวัดนครนายกจังหวัดปทุมธานีจังหวัดนนทบุรีจังหวัดนครปฐมจังหวัดกาญจนบุรีจังหวัดสุพรรณบุรีจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจังหวัดอ่างทองจังหวัดสิงห์บุรีจังหวัดสระบุรีจังหวัดลพบุรีจังหวัดนครราชสีมาจังหวัดบุรีรัมย์จังหวัดสุรินทร์จังหวัดศรีสะเกษจังหวัดอุบลราชธานีจังหวัดอุทัยธานีจังหวัดชัยนาทจังหวัดอำนาจเจริญจังหวัดยโสธรจังหวัดร้อยเอ็ดจังหวัดมหาสารคามจังหวัดขอนแก่นจังหวัดชัยภูมิจังหวัดเพชรบูรณ์จังหวัดนครสวรรค์จังหวัดพิจิตรจังหวัดกำแพงเพชรจังหวัดตากจังหวัดมุกดาหารจังหวัดกาฬสินธุ์จังหวัดเลยจังหวัดหนองบัวลำภูจังหวัดหนองคายจังหวัดอุดรธานีจังหวัดบึงกาฬจังหวัดสกลนครจังหวัดนครพนมจังหวัดพิษณุโลกจังหวัดอุตรดิตถ์จังหวัดสุโขทัยจังหวัดน่านจังหวัดพะเยาจังหวัดแพร่จังหวัดเชียงรายจังหวัดลำปางจังหวัดลำพูนจังหวัดเชียงใหม่จังหวัดแม่ฮ่องสอน
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดสิงห์บุรีเน้นสีแดง
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดสิงห์บุรีเน้นสีแดง
ประเทศ ไทย
การปกครอง
 • ผู้ว่าราชการ สุเมธ ธีรนิติ[1]
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2566)
พื้นที่[2]
 • ทั้งหมด822.478 ตร.กม. (317.561 ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่อันดับที่ 74
ประชากร
 (พ.ศ. 2566)[3]
 • ทั้งหมด201,439 คน
 • ความหนาแน่น244.92 คน/ตร.กม. (634.3 คน/ตร.ไมล์)
 • อันดับความหนาแน่นอันดับที่ 13
รหัส ISO 3166TH-17
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
 • ต้นไม้มะกล่ำตาช้าง
 • ดอกไม้ดอกทองอุไร
 • สัตว์น้ำปลาช่อน
ศาลากลางจังหวัด
 • ที่ตั้งภายในศูนย์ราชการจังหวัดสิงห์บุรี ถนนสิงห์บุรี-บางพาน ตำบลบางมัญ อำเภอเมืองสิงห์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี 16000
 • โทรศัพท์0 3650 7112
 • โทรสาร0 3651 1621
เว็บไซต์http://www.singburi.go.th/
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

สิงห์บุรี เป็นจังหวัดหนึ่งที่ตั้งอยู่ในภาคกลางของประเทศไทย ในอดีตเคยเป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ โดยเป็นที่ตั้งของค่ายบางระจันในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย

ภูมิศาสตร์[แก้]

จังหวัดสิงห์บุรีตั้งอยู่ภาคกลางของประเทศไทย ห่างจากกรุงเทพมหานคร 142 กิโลเมตร มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 822.478 ตารางกิโลเมตร หรือ 514,049 ไร่ มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียงดังนี้

ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไป เป็นที่ราบลุ่มและพื้นที่ลูกคลื่นลอนตื้น ซึ่งเกิดจากการทับถมของตะกอนริมแม่น้ำเป็นอย่างมาก มีแม่น้ำสำคัญไหลผ่าน 3 สาย คือ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำน้อย และแม่น้ำลพบุรี นอกจากนี้ยังมีลำน้ำสายอื่น ๆ คือ ลำแม่ลา ลำการ้อง ลำเชียงราก และลำโพธิ์ชัย ไม่มีพื้นที่เป็นภูเขาและป่าไม้และไม่มีแร่ธาตุที่สำคัญ

ลักษณะของภูมิอากาศโดยทั่วไปแบ่งออกเป็น

  • ฤดูร้อน ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์-เมษายน อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 34.30-37.34 องศาเซลเซียส
  • ฤดูฝน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-ตุลาคม ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,047.27 มิลลิเมตรต่อปี
  • ฤดูหนาว ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน-มกราคม อุณหภูมิเฉลี่ย ประมาณ 27-18 องศาเซลเซียส

ประวัติศาสตร์[แก้]

พระนอนจักรสีห์

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงเล่าถึงเมืองสิงห์ถวายสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ไว้ในสาสน์สมเด็จว่า "...เมืองสิงห์บุรีเป็นเมืองใหญ่และเก่า มีป้อมปราการ วัง วัดมหาธาตุ และของสำคัญ คือ พระนอนจักรสีห์ ใหญ่ยาวกว่าพระนอนองค์อื่น ๆ ในเมืองไทย ทำเป็นแบบพระนอนอินเดียเหมือนเช่นที่ถ้ำคูหาภิมุข วัดคูหาภิมุข อำเภอเมืองยะลา คือ พระกรขวาศอกยื่นไปทางด้านหน้า ไม่ทำงอพระกรตั้งขึ้นรับพระเศียรแบบพระนอนไทย เมืองสิงห์เรียกชื่อต่าง ๆ ดังนี้ เมืองสิงหราชาธิราช เมืองสิงหราชา เป็นเมืองตั้งอยู่ริมแม่น้ำจักรสีห์อันเป็นลำน้ำใหญ่ ห่างแม่น้ำเจ้าพระยา 200 เส้น เพราะแม่น้ำจักรสีห์ตื้นเขิน เมืองสิงห์จึงกลายเป็นเมืองอยู่ลับลี้..." ก็แสดงว่า สิงห์บุรีเป็นเมืองที่ยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ มีอดีตยาวนาน จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีพบว่า มีการตั้งถิ่นฐานของชุมชนโบราณมาเป็นเวลานานหลายยุคหลายสมัย

ยุคก่อนประวัติศาสตร์[แก้]

พบร่องรอยหลักฐานมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่บ้านชีน้ำร้าย อำเภออินทร์บุรี บ้านบางวัว ตำบลไม้ดัด อำเภอบางระจัน บ้านคู ตำบลพักทัน อำเภอบางระจัน คือ ขวานหิน แวดินเผา หินดุ ชิ้นส่วนกำไลสำริด ค้นพบโดยพระเจ้าแสนภูมิ

สมัยทวารวดี[แก้]

พบหลักฐานที่เมืองโบราณบ้านคูเมือง ตำบลห้วยชัน อำเภออินทร์บุรี เป็นการตั้งถิ่นฐานแบบ "เมืองคูคลอง" มีแผนผังเกือบเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีคูน้ำ คันดินล้อมรอบ โบราณวัตถุที่ขุดพบ เช่น ภาชนะดินเผา ลูกปัด แท่นหินบด แวดินเผา ตะคัน ฯลฯ ส่วนหนึ่งจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อินทร์บุรี ปัจจุบันสถานที่ดังกล่าวเป็นสวนรุกขชาติและที่ตั้งหน่วยอนุรักษ์พันธุ์ไม้จังหวัดสิงห์บุรี

เมืองวัดพระนอนจักรสีห์ ที่ตำบลจักรสีห์ อำเภอเมืองสิงห์บุรี รูปแบบเมืองเป็นเมืองซ้อน มีเมืองชั้นในรูปค่อนข้างกลมและเมืองชั้นนอกล้อมรอบรูปสี่เหลี่ยมมน ไม่ปรากฏร่องรอยกำแพงเมือง (ที่ทำด้วยดินพูนสูง) แต่คูเมืองบางด้านยังปรากฏให้เห็น สิ่งที่พบคือ ลูกปัด แวดินเผา เศษภาชนะ ฯลฯ

แหล่งโบราณคดีบ้านคีม ที่ตำบลสระแจง อำเภอบางระจัน มีสภาพเป็นเนินดินรูปรี กว้าง 200 เมตร ยาว 500 เมตร มีคูน้ำขนาดกว้าง 5 เมตร

สมัยสุโขทัย[แก้]

มีการค้นพบเครื่องสังคโลกสมัยสุโขทัยตามวัดร้างและแม่น้ำเจ้าพระยา แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าชุมชนต่าง ๆ นั้นมีความสำคัญมากน้อยเพียงไร เพราะในช่วงที่อาณาจักรสุโขทัยรุ่งเรืองนั้นได้มีอำนาจแผ่ขยายอาณาเขตครอบคลุมในบริเวณภาคกลางและลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา

สมัยอยุธยา[แก้]

ปรากฏเหตุการณ์ที่สำคัญคือ สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ได้ตั้งเมืองสิงห์บุรีเป็นเมืองลูกหลวง และทรงตั้งเมืองอินทร์บุรีและเมืองพรหมบุรีเป็นเมืองหลานหลวง นอกจากนี้แล้ว เมืองทั้งสามยังเป็นหัวเมืองชั้นในและหัวเมืองหน้าด่านรายทางด้านทิศเหนืออีกด้วย โดยมีเมืองลพบุรีเป็นเมืองหน้าด่านหลัก แสดงให้เห็นว่า เมืองสิงห์บุรี เมืองอินทร์บุรี และเมืองพรหมบุรี มีอยู่แล้วเมื่อตั้งกรุงศรีอยุธยา ก่อนหน้านั้นเมืองทั้งสามอาจอยู่ในการปกครองของอาณาจักรสุโขทัยก็ได้ แต่ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าเมืองทั้งสามสร้างขึ้นในสมัยไหน

สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถได้ทรงจัดการปกครองใหม่ โดยกำหนดให้หัวเมืองชั้นในเป็นหัวเมืองจัตวา ดังนั้น เมืองอินทร์บุรี เมืองพรหมบุรี และเมืองสิงห์บุรีจึงเปลี่ยนฐานะเป็นหัวเมืองจัตวา

ในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ เมื่อปี พ.ศ. 2086 เมืองสิงห์เป็นเมืองที่สมเด็จพระมหาธรรมราชาให้ทหารไปสืบข่าวเรืองศึกสงครามกับพม่า ขณะเดียวกันก็ได้ยกกองทัพไปตั้งที่เมืองอินทร์บุรี เพื่อหยั่งเชิงดูข้าศึกอีกด้วย ดังปรากฏในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา สมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชา

ในปี พ.ศ. 2127 หลังจากสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงประกาศอิสรภาพได้ไม่นาน พม่าก็ได้ยกกองทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาอีกครั้ง ครั้งนี้พม่ายกกองทัพมาสองทาง คือ ทางเหนือมีพระเจ้าเชียงใหม่เป็นแม่ทัพ และทางตะวันตกมีพระยาพะสิมเป็นแม่ทัพ แต่ทัพของพระยาพะสิมถูกกองทัพกรุงศรีอยุธยาตีแตกไปก่อน โดยที่พระเจ้าเชียงใหม่ยังไม่ทราบ เมื่อกองทัพพระเจ้าเชียงใหม่ยกมาถึงเมืองชัยนาท ก็ให้แต่งทัพหน้ามาตั้งที่บางพุทรา ซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา (ภายหลังคือ ตัวจังหวัดสิงห์บุรี)

อนุสาวรีย์วีรชนค่ายบางระจัน

พ.ศ. 2308 สมัยพระเจ้าเอกทัศ ในขณะที่พม่าตั้งค่ายล้อมกรุงศรีอยุธยาอยู่ ชาวบ้านบางระจันได้รวมตัวกันต่อสู้กับพม่าที่บ้านบางระจัน เมืองสิงห์บุรี ซึ่งมีผู้นำสำคัญของชาวบ้านและปรากฏชื่อ คือ

  1. พระอาจารย์ธรรมโชติ
  2. นายแท่น
  3. นายโชติ
  4. นายอิน
  5. นายเมือง
  6. นายทองแก้ว
  1. นายดอก
  2. นายจันหนวดเขี้ยว
  3. นายทองแสงใหญ่
  4. นายทองเหม็น
  5. ขุนสรรค์
  6. พันเรือง

โดยชาวบ้านบางระจันได้ต่อสู้กับพม่าและสามารถเอาชนะกองทัพพม่าได้ถึง 7 ครั้ง จนถึงครั้งที่ 8 ชาวบ้านบางระจันจึงพ่ายแพ้ในวันจันทร์ แรม 2 ค่ำ เดือน 8 ปีจอ พ.ศ. 2309 รวมเวลาที่ไทยรบกับพม่าทั้งสิ้น 5 เดือน คือ ตั้งแต่เดือน 4 ปลายปีระกา พ.ศ. 2308 ถึงเดือน 8 ปีจอ พ.ศ. 2309 (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมใน วีรชนบ้านบางระจัน)

สมัยธนบุรี[แก้]

เมืองอินทร์บุรี เมืองพรหมบุรี เมืองสิงห์บุรี ขึ้นกับกรุงธนบุรี ในประชุมพงศาวดารฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) กล่าวถึงสำเนาท้องตรา พ.ศ. 2316 เกณฑ์ผู้รักษาเมืองสิงห์บุรี เมืองพรหมบุรี เมืองอินทร์บุรี ยกทัพไปสกัดข้าศึกด้านตะวันออกและคุมพรรคพวกซ่องสุมกำลังยกไปขุดคูเลนพระนครกรุงธนบุรี

สมัยรัตนโกสินทร์[แก้]

มีหลักฐานที่ปรากฏคือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้จัดการปกครองมณฑลเทศาภิบาล เมืองสิงห์บุรี เมืองอินทร์บุรี และเมืองพรหมบุรีเข้าอยู่ในมณฑลกรุงเก่า (ในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นมณฑลอยุธยา) และปี พ.ศ. 2439 ยุบเมืองอินทร์บุรีและเมืองพรหมบุรีเป็นอำเภออินทร์บุรีและอำเภอพรหมบุรีขึ้นกับเมืองสิงห์บุรี พร้อมกับตั้งเมืองสิงห์บุรีขึ้นใหม่ที่ตำบลบางพุทรา ส่วนเมืองสิงห์บุรีเดิมยุบเป็น "อำเภอสิงห์" และต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอบางระจัน

ปี พ.ศ. 2444 อำเภอเมืองสิงห์บุรีเปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอบางพุทรา และในปี พ.ศ. 2481 ทางราชการสั่งให้เปลี่ยนชื่อที่ว่าการอำเภอที่ตั้งอยู่ในเมืองให้เป็นชื่อของจังหวัดนั้น ๆ อำเภอบางพุทราจึงได้กลับไปใช้ชื่ออำเภอเมืองสิงห์บุรีมาจนถึงปัจจุบัน

สัญลักษณ์ประจำจังหวัด[แก้]

การเมืองการปกครอง[แก้]

หน่วยการปกครอง[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

แผนที่อำเภอในจังหวัดสิงห์บุรี

การปกครองแบ่งออกเป็น 6 อำเภอ 43 ตำบล 364 หมู่บ้าน

  1. อำเภอเมืองสิงห์บุรี
  2. อำเภอบางระจัน
  3. อำเภอค่ายบางระจัน
  4. อำเภอพรหมบุรี
  5. อำเภอท่าช้าง
  6. อำเภออินทร์บุรี

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

พื้นที่จังหวัดสิงห์บุรีประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 42 แห่ง แบ่งตามประเภทและอำนาจบริหารจัดการภายในท้องที่ได้เป็น องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง เทศบาลเมือง 2 แห่ง เทศบาลตำบล 6 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 33 แห่ง[4]

ข้อมูลเทศบาลในจังหวัดสิงห์บุรี
ลำดับ ชื่อเทศบาล พื้นที่
(ตร.กม.)
ตั้งเมื่อ
(พ.ศ.)[# 1]
อำเภอ ครอบคลุมตำบล ประชากร (คน)
(ณ สิ้นปี 2555) [5]
ทั้งตำบล บางส่วน รวม
เทศบาลเมือง
1
7.81
2478 เมืองฯ 1 4 5
18,102
2
22.80
2556 บางระจัน
14,772
เทศบาลตำบล
3 (1)
  เทศบาลตำบลโพสังโฆ
2542 ค่ายบางระจัน - 1 1
2,217
4 (2)
  เทศบาลตำบลปากบาง
2542 พรหมบุรี 1 - 1
3,345
5 (3)
  เทศบาลตำบลบางน้ำเชี่ยว
2542 พรหมบุรี 1 - 1
3,528
6 (4)
  เทศบาลตำบลถอนสมอ
2542 ท่าช้าง 2 - 1
9,306
7 (5)
2542 อินทร์บุรี - 1 1
5,247
8 (6)
24.27
2552 อินทร์บุรี 1 - 1
  1. หมายถึงปีที่ได้รับการยกฐานะเป็นเทศบาลในระดับปัจจุบัน

รายชื่อผู้ว่าราชการจังหวัด[แก้]

  1. จมื่นสมุห์พิมาน (เจิม) 
  2. หลวงอนุรักษ์ภูเบศร์รักษา (โดม) 
  3. พระราชพินิจจัย (เหม) พ.ศ. 2448
  4. หลวงเสนานนท์ (อรุณ) 
  5. หม่อมอมรวงษ์วิจิตร (หม่อมราชวงศ์ปฐม คเนจร) พ.ศ. 2448[6][7]
  6. หลวงบาทศุภกิจ 
  7. พระทรงสุรเดช (เตน) 
  8. หม่อมเจ้านพมาศ นวรัตน พ.ศ. 2450 - พ.ศ. 2452
  9. พระพรหมประสาทศิลป์ (ลี) พ.ศ. 2452 - พ.ศ. 2455
  10. พระพิศาลสงคราม (ผล) พ.ศ. 2455 - พ.ศ. 2458
  11. พระสิงห์บุรีตรีนัทยเขตร (หม่อมราชวงศ์กมล นพวงษ์) พ.ศ. 2458 - พ.ศ. 2461
  12. พระยาสิงห์บุรานุรักษ์ (สะอาด บูรณะสมภพ) พ.ศ. 2461 - พ.ศ. 2472
  13. พระประชากรบริรักษ์ พ.ศ. 2472 - พ.ศ. 2476
  14. พระยาประเสริฐสุนทราศรัย 18 ม.ค. 2476 - พ.ศ. 2476
  15. พระกำแพงพราหม พ.ศ. 2476 - พ.ศ. 2476
  16. หลวงอรรถวิจิตรจรรยารักษ์ มี.ค. 2476 - พ.ศ. 2478
  17. หลวงอรรถสิทธิสุนทร พ.ศ. 2478 - พ.ศ. 2480
  18. หลวงสรรคประศาสน์ 27 ม.ค. 2480 - พ.ศ. 2486
  19. ขุนบริรักษ์บทวลัญช์ 1 พ.ย. 2486 - 15 ส.ค. 2490
  20. นายเวช เพชรานนท์ 15 ส.ค. 2490 - ธ.ค. 2490
  21. นายสนิท วิไลจิตต์ ม.ค. 2491 - เม.ย. 2493
  22. ขุนบริรักษ์บทวลัญช์ 17 เม.ย. 2493 - ก.ย. 2500
  23. นายพุก ฤกษ์เกษม 21 ก.ย. 2500 - 27 พ.ย. 2506
  24. ร้อยตำรวจโท ปิ่น สหัสโชติ 30 พ.ย. 2506 - 6 พ.ย. 2507
  25. นายพัฒน์ พินทุโยธิน 7 พ.ย. 2507 - 1 มี.ค. 2509
  26. นายเกษม จียะพันธ์ 8 มี.ค.2509 - 22 พ.ค. 2512
  27. นายเอี่ยม เกรียงศิริ 26 พ.ค. 2512 - 30 ก.ย. 2518
  28. นายบรรโลม ภุชงคกุล 14 ต.ค. 2518 - 1 ธ.ค. 2521
  29. นายชิต นิลพานิช 1 ธ.ค. 2521 - 1 ต.ค. 2523
  30. นายชำนาญ เรืองเผ่าพันธุ์ 1 ต.ค. 2523 - 30 ก.ย. 2526
  31. นายวิชิต แสงทอง 1 ต.ค. 2526 - 15 ม.ค. 2528
  32. นายจำนงค์ อยู่โพธิ์ 16 ม.ค. 2528 - 30 ก.ย. 2530
  33. นายชนะศักดิ์ ยุวบูรณ์ 1 ต.ค. 2530 - 30 ก.ย. 2533
  34. นายปรีดี ตันติพงศ์ 1 ต.ค. 2533 - 30 ก.ย. 2534
  35. ร้อยตรี สมพร กุลวานิช 1 ต.ค. 2534 - 30 ก.ย. 2535
  36. ร้อยตรี อุทัย ใจหงษ์ 1 ต.ค. 2535 - 30 ก.ย. 2538
  37. นายวิพัฒน์ คงมาลัย 1 ต.ค. 2538 - 30 เม.ย. 2541
  38. นายนิคม บูรณพันธ์ศรี 16 เม.ย. 2541 - 30 ก.ย. 2542
  39. นายพยูณ มีทองคำ 1 ต.ค. 2542 - 30 ก.ย. 2544
  40. นายนิวัตน์ สวัสดิ์แก้ว 1 ต.ค. 2544 - 30 ก.ย. 2546
  41. นายพระนาย สุวรรณรัฐ 1 ต.ค. 2546 - 30 ก.ย. 2547
  42. นางจุฑามาศ ประทีปะวณิช 1 ต.ค. 2547 - 30 ก.ย. 2549
  43. นายประภาศ บุญยินดี 16 ต.ค. 2549 - 19 ต.ค. 2551
  44. นายวิชัย ไพรสงบ 20 ต.ค. 2551 - 15 มี.ค. 2552
  45. นายชุมพร พลรักษ์ 16 มี.ค. 2552 - 30 ก.ย. 2552
  46. นายชิดพงษ์ ฤทธิประศาสน์ 1ต.ค. 2552 - 30 ก.ย. 2553
  47. นายพิเชษฐ ไพบูลย์ศิริ 1 ต.ค. 2553 - 7 ต.ค. 2555
  48. นายสุรพล แสวงศักดิ์ 19 พ.ย. 2555 - 30 ก.ย. 2557
  49. นายชโลธร ผาโคตร 1ต.ค. 2557 - 30 ก.ย. 2558
  50. นายอัครเดช เจิมศิริ 1ต.ค. 2558 - 30 ก.ย. 2559
  51. นายพศิน โกมลวิชญ์ 1 ต.ค. 2559 - 4 เม.ย. 2560
  52. นายสุทธา สายวาณิชย์ 1 ต.ค. 2560 - 30 ก.ย. 2561
  53. นายชำนาญวิทย์ เตรัตน์ 1 ต.ค. 2561 - 30 ก.ย. 2564
  54. นายชัยชาญ สิทธิวิรัชธรรม 1 ต.ค. 2564 - 30 ก.ย. 2565
  55. นายสุพจน์ ยศสิงห์คำ 1 ต.ค. 2565 - 30 ก.ย. 2566
  56. นายสุเมธ ธีรนิติ 17 ธ.ค. 2566 - ปัจจุบัน

ประชากร[แก้]

สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎรจังหวัดสิงห์บุรี
ปีประชากร±%
2553 214,661—    
2554 213,587−0.5%
2555 213,216−0.2%
2556 212,690−0.2%
2557 212,158−0.3%
2558 211,426−0.3%
2559 210,588−0.4%
2560 210,088−0.2%
2561 209,377−0.3%
2562 208,446−0.4%
2563 205,898−1.2%
2564 204,526−0.7%
2565 202,797−0.8%
2566 201,439−0.7%
อ้างอิง:กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย[8]

จังหวัดสิงห์บุรีมีประชากร ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2566 รวมทั้งสิ้น 201,439 คน แยกเป็นชาย 95,652 คน หญิง 105,787 คน[9] สำหรับอำเภอที่มีประชากรมากที่สุด ได้แก่ อำเภอเมืองสิงห์บุรี มีจำนวน 52,839 คน รองลงมาได้แก่ อำเภออินทร์บุรี จำนวน 52,114 คน และอำเภอบางระจัน จำนวน 32,547 คน สำหรับอำเภอที่มีความหนาแน่นของประชากรมากที่สุดคือ อำเภอเมืองสิงห์บุรี 462.89 คนต่อตารางกิโลเมตร รองลงมาได้แก่ อำเภอค่ายบางระจัน 310.70 คนต่อตารางกิโลเมตร และอำเภอท่าช้าง 287.23 คนต่อตารางกิโลเมตร

ศาสนา[แก้]

จังหวัดสิงห์บุรีมีวัดในศาสนาพุทธ จำนวน 178 แห่ง โบสถ์คริสต์ 2 แห่ง วัดคริสต์ 1 แห่ง มัสยิด 2 แห่ง จำนวนผู้นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 98.80 จำนวนผู้นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 1.02 จำนวนผู้นับถือศาสนาคริสต์ ร้อยละ 0.18

พระอารามหลวง

  • วัดพระนอนจักรสีห์วรวิหาร (พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร) ตำบลจักรสีห์ อำเภอเมืองสิงห์บุรี
  • วัดพิกุลทอง (พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ) ตำบลพิกุลทอง อำเภอท่าช้าง
  • วัดโบสถ์ (พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ) ตำบลอินทร์บุรี อำเภออินทร์บุรี (ธรรมยุติกนิกาย)

สำนักปฏิบัติธรรม

  • วัดอัมพวัน (สำนักปฏิบัติธรรมแห่งที่ ๑) ตำบลบ้านแป้ง อำเภอพรหมบุรี

การขนส่ง[แก้]

การคมนาคมของจังหวัดสิงห์บุรี มี 2 ทาง คือ

ระยะทางจากตัวเมืองไปยังอำเภอต่างๆ[แก้]

สถานที่ท่องเที่ยว[แก้]

  • วัดพระนอนจักรสีห์วรวิหาร
  • วัดอัมพวัน
  • พระเจดีย์ธรรมสิงหบุราจริยานุสรณ์
  • พระพรหมเทวาลัย
  • อนุสาวรีย์ชาวบ้านบางระจันและวัดโพธิ์เก้าต้น
  • แหล่งเตาเผาแม่น้ำน้อย
  • อุทยานแม่ลามหาราชานุสรณ์
  • คูค่ายพม่า อำเภอพรหมบุรี
  • เมืองโบราณบ้านคูเมือง
  • พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอินทร์บุรี และหอสมุดแห่งชาติอินทร์บุรี อำเภออินทร์บุรี
  • วัดพิกุลทอง หลวงพ่อแพ เขมังกโร อำเภอท่าช้าง
  • เมืองสิงห์บุรี
  • ลำแม่ลา
  • วัดหน้าพระธาตุ
  • หนังใหญ่ วัดสว่างอารมณ์ อำเภอเมืองสิงห์บุรี
  • พระสิงห์ใหญ่ วัดม่วงชุม อำเภอบางระจัน
  • วัดดาวเรือง
  • โครงการฟาร์มตัวอย่างตามพระราชดำริหนองลาด
  • ศาลหลักเมืองสิงห์บุรีและศาลาเก้าสิงหเกจิอาจารย์ อำเภอเมืองสิงห์บุรี
  • ศาลากลางจังหวัดสิงห์บุรีและศาลจังหวัดสิงห์บุรีหลังเก่า อำเภอเมืองสิงห์บุรี
  • ไกรสรราชสีห์ อำเภอเมืองสิงห์บุรี
  • หลวงพ่อทรัพย์ หลวงพ่อสิน วัดประโชติการาม
  • พระพุทธฉาย วัดสิงห์ อำเภอพรหมบุรี
  • หลวงพ่อซวง อภโย วัดชีปะขาว อำเภอพรหมบุรี
  • วัดโคกงู
  • วัดไทร อำเภออินทร์บุรี
  • วัดพระแก้ว เจดีย์กลางทุ่ง
  • ตลาดบ้านแป้ง อำเภอพรหมบุรี
  • ตลาดปากบาง อำเภอพรหมบุรี
  • ตลาดไทยย้อนยุคบ้านระจัน
  • ตลาดเกษตร (วันอาทิตย์ช่วงเช้า) อำเภอเมืองสิงห์บุรี
  • ตลาดนัดคลองถมสอง (วันเสาร์และวันอาทิตย์ช่วงเย็น) อำเภอเมืองสิงห์บุรี
  • ตลาดผ้า (วันจันทร์ช่วงเช้า) อำเภอเมืองสิงห์บุรี
  • เทศกาลกินปลาและงานกาชาดจังหวัดสิงห์บุรี (ช่วงปลายเดือน ธ.ค.) อำเภอเมืองสิงห์บุรี
  • แนวเขื่อนเลียบแม่น้ำเจ้าพระยา (เหมาะสำหรับออกกำลังกายช่วงเช้าและเย็น) อำเภอเมืองสิงห์บุรี
  • หลวงพ่อทองคำ วัดเสถียรวัฒนดิษฐ์ (วัดท่าควาย) อำเภอเมืองสิงห์บุรี
  • โรงเจฮั้วเอียะตั้ว ศาลเจ้าแม่ทับทิม และศาลบุญเถ้ากงม่า อำเภอเมืองสิงห์บุรี

บุคคลที่มีชื่อเสียง[แก้]

ด้านศาสนา
การเมืองการปกครอง
วงการบันเทิง
ด้านกีฬา
ด้านทั่วไป
  • ชม้อย ทิพย์โส – ผู้ต้องหาคดีในข้อหาร่วมกันฉ้อโกงประชาชนเมื่อปี พ.ศ. 2527

อ้างอิง[แก้]

  1. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 140 ตอน 318 ง หน้า 14 วันที่ 19 ธันวาคม 2566
  2. ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm เก็บถาวร 2016-03-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
  3. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk_66.pdf 2566. สืบค้น 16 มีนาคม 2567.
  4. กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. กระทรวงมหาดไทย. "สรุปข้อมูล อปท ทั่วประเทศ." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dla.go.th/work/abt/index.jsp 2556. สืบค้น 20 กันยายน 2556.
  5. สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "รายงานสถิติจำนวนประชากร และบ้าน ทั่วประเทศ และรายจังหวัด ณ เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2555." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/xstat/pop55_1.html 2556. สืบค้น 1 เมษายน 2556.
  6. แจ้งความกระทรวงมหาดไทย
  7. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงมหาดไทย [ให้หม่อมอมรวงษ์วิจิตรเป็นผู้ว่าราชการเมืองอ่างทอง ให้พระราชพินิจจัยเป็นผู้ว่าราชการเมืองสิงห์บุรี ให้พระมนตรีพจนกิจเป็นเลขานุการกระทรวงมหาดไทย ให้พระองค์เจ้ากัลยาณประวัติปลัดบัญชี], เล่ม 22, ตอน 39, 24 ธันวาคม พ.ศ. 2448, หน้า 951
  8. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ ข้อมูลประชากร2560
  9. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่างๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2024-01-01. สืบค้นเมื่อ 2024-03-16.

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

14°53′N 100°24′E / 14.89°N 100.4°E / 14.89; 100.4