ฉบับร่าง:นายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รุ่งเรือง กิจผาติ
เกิด
สัญชาติไทย
การศึกษาคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
อาชีพแพทย์
มีชื่อเสียงจากอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ โฆษกกระทรวงสาธารณสุข
คู่สมรสวรวรรณ กิจผาติ
บุตรศศิชา กิจผาติ
บิดามารดานายวิญญู และนางอุไรวรรณ กิจผาติ

นายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ[1] กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม อดีตหัวหน้าที่ปรึกษาระดับกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ระดับ 11)[2]

ครอบครัว[แก้]

คุณหมอรุ่งเรือง เป็นบุตร นายวิญญู และนางอุไรวรรณ กิจผาติ สมรสกับ ผศ.ดร.ภญ.วรวรรณ กิจผาติ อาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีบุตรสาว 1 คน คือ แพทย์หญิงศศิชา กิจผาติ

ประวัติ[แก้]

เข้าศึกษาคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ระหว่างเป็นนักศึกษาแพทย์ได้รับรางวัลนักศึกษาแพทย์ดีเด่น และรางวัลนักศึกษาตัวอย่างด้านบำเพ็ญประโยชน์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เมื่อสำเร็จการศึกษาปี พ.ศ. 2537 ได้เข้ารับราชการตำรวจที่งานพิสูจน์หลักฐานฯ สถาบันนิติเวชวิทยา กรมตํารวจ ในตำแหน่ง นพ.โท (ยศ ร้อยตำรวจเอก นพ.โท สารวัตร พิสูจน์หลักฐานฯ)

ในปี พ.ศ.  2537 ถึง 2540 ได้ปฏิบัติราชการตำรวจด้วยความอุทิศตน ทุ่มเท คุณหมอได้ทำคดีสำคัญระดับชาติและนานาชาติ สามารถพิสูจน์หลักฐานทางการแพทย์ ส่งผลให้ผู้ต้องหาถูกดำเนินคดีและได้รับการลงโทษประหารชีวิต เช่น คดีฆ่าข่มขืนเด็กหญิงอายุ 5 ขวบ คดีฆาตกรต่อเนื่องในหลายประเทศ แต่การรวบรวมพยานหลักฐานในประเทศไทยส่งผลให้ศาลอาญาประเทศสิงคโปร์ตัดสินประหารชีวิตฆาตกร ได้รับรางวัลตำรวจดีเด่นในการปฏิบัติราชการ จากสถานทูตแคนาดาจากกรมตํารวจ ประเทศสิงคโปร์ และตำแหน่งพยานแพทย์ผู้เชี่ยวชาญฯ ศาลอาญา ประเทศสิงคโปร์ 

ปี พ.ศ 2540 เข้ารับราชการที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข และศึกษาต่อแพทย์ประจำบ้านด้านระบาดวิทยาภาคสนาม (FETP) คุณหมอได้รับรางวัลบุคลากรดีเด่นจากการปฏิบัติราชการ รางวัล “คนดีศรีกรม” จากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ มีผลงานสำคัญการสอบสวนโรค และผ่าพิสูจน์เก็บหลักฐานศพผู้เสียชีวิตจากโรคไข้หวัดนกที่เป็นการติดต่อจากคนสู่คน ซึ่งน่าเชื่อว่าเป็นรายแรกของโลก ข้อมูลการพิสูจน์ส่งผลให้ รัฐบาลในขณะนั้นปรับเปลี่ยนนโยบายและมาตรการในการควบคุมไข้หวัดนกอย่างเข้มข้นเพื่อควบคุมการระบาดใหญ่ จนประสบความสําเร็จ  

ได้รับรางวัลพัฒนาระบบราชการและคุณภาพการให้บริการประชาชนระดับชาติ ในเรื่องการพัฒนาระบบประสานงานการตรวจวิเคราะห์และเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนก และโรคติดต่ออุบัติใหม่ทางห้องปฏิบัติการ จาก สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ซึ่งผลงานเป็นส่วนสําคัญส่งผลให้เกิดความสําเร็จในการ ควบคุมการะบาดของโรคไข้หวัดนกขณะนั้น (ปี พ.ศ. 2546 ถึง 2552) และพัฒนาระบบเป็นจนเป็นต้นแบบระบบห้องปฏิบัติการในการรับมือกับโรคอุบัติใหม่ในปัจจุบัน ได้รับยอมรับในระดับชาติและนานาชาติ

ปี พ.ศ. 2552 ถึง 2561

ได้ดํารงตําแหน่งผู้บริหารระดับผู้อํานวยการในหน่วยงาน สําคัญของกรมควบคุมโรค อาทิ เช่น ผู้อํานวยการสํานักโรคติดต่ออุบัติใหม่ ผู้อำนวยการสํานักโรคติดต่อทั่วไป ผู้อำนวยการกองป้องกันควบคุมโรคด้วยวัคซีน ผู้อำนวยการสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง

ผลงานโดดเด่นสําคัญ[แก้]

- การจัดทําและขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์เตรียมความพร้อม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ ซึ่งเป็นการวางรากฐานการรับมือโรคติดต่ออุบัติใหม่ เช่น โรคไข้หวัดนก ไข้หวัดใหญ่ระบาดใหญ่ โรคเมอร์ส โรคโควิด 19 ในปัจจุบัน

- การจัดทําและขับเคลื่อน แผนยุทธศาสตร์ ทศวรรษกําจัดพยาธิใบไม้ในตับและมะเร็งท่อน้ําดี ส่งผลให้การแก้ไขและลดปัญหาโรคมะเร็งท่อน้ําดีอย่างเป็นรูปธรรม

- การพัฒนาระบบด่านควบคุมโรคติดต่อ 68 แห่งทั่วประเทศ

- การพัฒนาและขับเคลื่อนในฐานะเลขานุการคณะอนุกรรมการวัคซีนแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2556 ถึง 2559 ส่งผลให้เกิดความสำเร็จในการยอมรับการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ การบรรจุวัคซีนป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกและโรต้าไวรัสในแผนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค

- เป็นผู้รับผิดชอบ “โครงการรณรงค์ให้วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ 22 ล้านเข็มเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ส่งผลให้สามารถควบคุมโรคคอตีบประสพความสำเร็จ ไม่เป็นปัญหาในปัจจุบัน

- ได้ปฏิบัติราชการเพื่อสนับสนุนโครงการพระราชดําริฯ การควบคุมโรคในถิ่นทุรกันดาร

ปี พ.ศ. 2562 ได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้ดํารงตําแหน่ง นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ระดับ 10) ที่ปรึกษาระดับกระทรวงสาธารณสุข เป็นและปฎิบัติหน้าที่ผู้บริหารระดับสูงกระทรวงสาธารณสุข รับผิดชอบหน่วยงานสำคัญ เช่น สํานักวิชาการสาธารณสุข ศูนย์บริหารจัดการเรื่องราวร้องทุกข์ ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต IHPP, HITAP

ดำรงตำแหน่งโฆษกกระทรวงสาธารณสุขซึ่งได้รับการยอมรับจากสื่อมวลชนและประชาชน โดยเฉพาะการออกมาชี้แจงตอบโต้สถานการณ์ จนได้รับการยอมรับว่าเป็นโฆษกกระทรวงสาธารณสุขที่ดีสุดท่านหนึ่ง

รับผิดชอบศูนย์บริหารจัดการเรื่องราวร้องทุกข์ กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งมีการพัฒนาระบบในการดูแลประชาชน และทำหน้าที่เจรจา ควบคุมสถานการณ์การประท้วง การรับเรื่องร้องทุกข์ ซึ่งได้รับการยอมรับทั้งจากผู้มาร้องทุกข์และผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข

ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการ MIU : MOPH Intelligence Unit กระทรวงสาธารณสุข ในจัดทําข้อเสนอเชิงนโยบายยุทธศาสตร์และมาตรการ

ต่อผู้บริหารระดับสูง มีผลงานสําคัญในการรับมือสถานการณ์ และควบคุมโรคโควิด 19 เช่น

- การปฏิบัติงานในระดับพื้นที่ พัฒนาต้นแบบหน่วยปฏิบัติการเชิงรุก CCRT (Covid 19 Comprehensive Response Team) ทั้งการดูแลผู้ป่วยและส่งต่อ การให้วัคซีนโควิดเชิงรุกในพื้นที่เป็นครั้งแรกของประเทศ

- การสร้างการมีส่วนร่วมจากหน่วยงานภาครัฐ เอกชนและประชาชนในระดับพื้นที่ต้นแบบ ส่งผลให้เกิด ความสําเร็จในการควบคุมสถานการณ์ เริ่มจากพื้นที่กรุงเทพมหานคร ขยายไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ

ปี พ.ศ. 2564

ได้รับการคัดเลือกให้ดํารงตําแหน่งคณะกรรมการจริยธรรม กระทรวงสาธารณสุข และแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งหัวหน้าที่ปรึกษาระดับกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ระดับ 11) คุณหมอได้จัดทำข้อเสนอเพื่อขอทุนวิจัยภารกิจสาธารณสุขที่มีความสำคัญอย่างต่อเนื่องทุกปีจาก กระทรวงอุดมศึกษา ฯ ในการวิจัยและพัฒนาภารกิจด้านสาธารณสุข ได้จัดตั้ง สำนักงานบริหารงานวิจัย และนวัตกรรมสาธารณสุข (สบวส.) มีผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติจำนวนมาก มีส่วนสำคัญในการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบาย และมาตรการสาธารณสุข เป็นต้นแบบการบริหารจัดการทุนวิจัยให้กับหน่วยงานอื่นๆ

นอกจากนี้ เมื่อมีเวลาว่างจากการปฏิบัติราชการคุณหมอจะใช้เวลาว่างตอนเย็นและวันหยุดเปิดคลินิก (มูลนิธิสุขภาพตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง) รักษาผู้ป่วยฐานะยากจน พระภิกษุสงฆ์โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย และการออกหน่วยแพทย์อาสา คุณหมอเป็นที่รักเคารพของคนไข้และบุคลากรเป็นจำนวนมาก ด้วยอุปนิสัยเมตตา เสียสละ ชอบช่วยเหลือผู้อื่น และยังทำงานภาคประชาสังคมในตำแหน่งประธานมูลนิธิสุขภาพตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง

ในปี พ.ศ.2565 คุณหมอได้รับรางวัลแพทย์ในดวงใจ ในโอกาสครบรอบ 50 ปี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และรางวัลศิษย์เก่าดีเด่น

ปี พ.ศ.2566 ได้รับรางวัลศิษย์เก่าดีเด่น จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณการทําความดี และได้รับรางวัลจากกระทรวงสาธารณสุขในฐานะเป็นผู้กระทําความดีนํามาซึ่งชื่อเสียงแก่กระทรวงสาธารณสุข ถือเป็นแบบอย่างที่ดีกับบุคลากรท่านอื่น

คุณหมอเป็นผู้สนใจในการศึกษาและพัฒนาตนเองตลอดเวลา ได้รับหนังสืออนุมัติแพทย์ (อว.) ผู้เชี่ยวชาญจากแพทยสภาในสาขาต่างๆ เช่น ระบาดวิทยา เวชศาสตร์ครอบครัว สาธารณสุขศาสตร์ สุขภาพจิตชุมชน เวชศาสตร์ป้องกันคลินิก เวชศาสตร์การเดินทางและท่องเที่ยว เวชศาสตร์การจราจร เวชศาสตร์วิถีชีวิตใหม่ และสำเร็จการศึกษา ในหลักสูตร ปรม. (14) ผู้นำเมือง (3)  Cert. Public Health Emergency Management (US.CDC, USA) ปธพ. (9) ปปร.สถาบันพระปกเกล้า (26.) และขณะนี้กำลังศึกษาหลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร วปอ.(66)

คุณหมอได้รับเชิญเป็นอาจารย์พิเศษ และประธานสอบวิทยานิพนธ์นักศึกษาระดับปริญญาโทและเอก เช่น คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล สถาบันพระบรมราชชนก


อ้างอิง[แก้]

  1. มติชนออนไลน์, ครม.มีมติตั้ง “หมอรุ่งเรือง” ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรม วศ. กระทรวง อว.,
  2. ราชกิจานุเบกษา, เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ, เล่ม ๑๓๖ ตอนพิเศษ ๒๗๒ ง หน้า ๑๑, ๖ พศจิกายน ๒๕๖๒