ข้ามไปเนื้อหา

ฉบับร่าง:วัดไม้รวกสุขาราม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วัดไม้รวกสุขาราม เป็นวัดราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย อยู่ที่เลขที่ ๙๕ หมู่ที่ ๑ ตำบลบ้านลาด อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี เนื้อที่ ๒๔ ไร่ ๓ งาน ๕๐ ตารางวา ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเพชรบุรี ฝั่งตรงข้ามกับวัดโพธาวาส(วัดโพธิ์) และท่าน้ำวัดท่าไชยศิริ(วัดใต้) โดยบริเวณวัดไม้รวกฯนั้น มีต้นไผ่รวกขึ้นรอบวัดและริมฝั่งแม่น้ำเป็นจำนวนมาก ผู้คนจึงเรียกวัดนี้ว่า "วัดท่าไม้รวก" (ชื่อเก่าตามระวางที่ดินจังหวัดเพชรบุรี) หรือ "วัดไม้รวก"

วัดไม้รวกสุขาราม สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยใดไม่ปรากฎหลักฐานแน่ชัด มีเพียงหลักฐานของทะเบียนวัดของสำนักงานศึกษาธิการอำเภอบ้านลาด ได้ระบุว่า ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. ๒๓๓๖ สมัยสมเด็จพระสังฆราชศรี ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โดยหลักฐานอื่นจากสิ่งก่อสร้าง ได้แก่ พระพุทธรูปในพระอุโบสถหลังเก่า (พระพุทธเวฬุวัน หรือ หลวงพ่อไม้รวก) เป็นศิลปะอยุธยาตอนปลาย คาดว่าอาจสร้างขึ้นในสมัยที่ยังมีกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี แล้วได้มาบูรณะและผูกพัทธสีมาอีกครั้งในยุครัตนโกสินทร์

หลักฐานอื่นที่ปรากฎจากการรื้อถอนพระอุโบสถและเจดีย์ล้อมรอบพระอุโบสถหลังเก่า เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๙ ได้พบเงินพดด้วงและเบี้ยจั่นเป็นจำนวนมาก ฝังในหลุมลูกนิมิตและภายในเจดีย์ที่ล้อมรอบพระอุโบสถ จึงทำให้แน่ชัดว่ามีการก่อสร้างในยุครัตนโกสินทร์ตอนต้นจริง ภายหลังการก่อสร้างพระอุโบสถหลังใหม่เสร็จสิ้น ได้ผูกพัทธสีมาเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๐

เสนาสนะภายในวัด[แก้]

- พระอุโบสถ[แก้]

ภายในประดิษฐานพระประธาน จำลองจากพระพุทธชินราช มีจิตรกรรมฝาผนัง ภายนอกมีจิตรกรรมปูนปั้นฝีมือช่างเพชรบุรี

เริ่มก่อสร้างในสมัยหลวงพ่อเพลิน โชติปุญฺโญ เป็นเจ้าอาวาส ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๙ จนถึง พ.ศ. ๒๕๓๐ โดยเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๗ หลวงพ่อเพลินได้มรณภาพลงเสียก่อน หลวงพ่อช่วง วิสุทฺโธ เจ้าอาวาสรูปที่ ๗ จึงได้ดำเนินการก่อสร้างต่อมาจนแล้วเสร็จใน พ.ศ. ๒๕๒๙ และได้จัดงานผูกพัทธสีมา เมื่อวันที่ ๒๗ มกราคม - ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๐ โดยเป็นพระอุโบสถหลังที่ ๒ นับจากครั้งเมื่อได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อสมัยรัชกาลที่ ๑

- วิหาร[แก้]

ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะอยุธยาตอนปลาย สร้างจากปูนปั้นลงรักปิดทอง ชื่อว่า "พระพุทธเวฬุวัน" เดิมเป็นพระประธานของพระอุโบสถหลังเก่า และประดิษฐานรูปเหมือนอดีตเจ้าอาวาส ๒ รูป ได้แก่ หลวงปู่วรรณ สุวณฺโณ เจ้าอาวาสรูปที่ ๓ และ หลวงพ่อช่วง วิสุทฺโธ เจ้าอาวาสรูปที่ ๗ เมื่อถึงงานประเพณีสงกรานต์ จะมีการแห่รูปเหมือนอดีตเจ้าอาวาสทั้ง ๒ รูปขึ้นมาที่หอสวดมนต์มาให้สรงน้ำและปิดทองเป็นประจำทุกปี

วิหารได้เริ่มก่อสร้างเมื่อปี ๒๕๕๕ ในสมัยหลวงพ่อช่วง วิสุทฺโธ เป็นเจ้าอาวาส โดยเมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๖ หลวงพ่อช่วงได้มรณภาพลง หลวงพ่อสุทิน อคฺคธมฺโม เจ้าอาวาสรูปที่ ๘ จึงได้ดำเนินการก่อสร้างต่อมาจนแล้วเสร็จใน พ.ศ. ๒๕๕๘

- กุฏิสงฆ์,หอสวดมนต์,หอฉัน,หอระฆัง[แก้]

เป็นอาคารครึ่งปูนครึ่งไม้สองชั้นยกถุนสูงแบบคณะกุฏิ แยกเป็นกุฏิสงฆ์ชั้นล่างกับกุฏิสงฆ์ชั้นบน โดยชั้นบนกุฎิจะเป็นห้องแยกแต่ละห้อง ล้อมรอบโถงกลางที่ใช้เป็นหอสวดมนต์และหอฉัน ด้านทิศตะวันตกของอาคารจะเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป,โกศอัฐิอดีตเจ้าอาวาสและผู้มีคุณแก่วัด,รูปถ่ายอดีตเจ้าอาวาส และรูปเหมือนหุ่นขี้ผึ้งของหลวงพ่อช่วง วิสุทฺโธ อดีตเจ้าอาวาสรูปที่ ๗ ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือจะเป็นหอระฆัง

อาคารคณะกุฏินี้ เริ่มก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๖ จนเสร็จสิ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๓ ในสมัยหลวงพ่อช่วง วิสุทฺโธ เป็นเจ้าอาวาส

- ศาลาการเปรียญ[แก้]

เป็นอาคารไม้ยกถุนสูง เดิมใช้เป็นศาลาสำหรับเรียนนักธรรมของวัดและที่เก็บธรรมาสน์ เริ่มก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๒ จนเสร็จสิ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๕ ในสมัยหลวงพ่อเพลิน โชติปุญฺโญ เป็นเจ้าอาวาส

ความสำคัญของศาลาการเปรียญแห่งนี้ ได้ใช้เป็นที่รับเสด็จสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี (ขณะนั้นมีพระอิสริยศที่"สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ") ครั้งเมื่อเสด็จมาประกอบพิธี"หลั่งน้ำคืนชีวิต"อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> เปิดผิดรูปหรือมีชื่อที่ใช้ไม่ได้ ที่แม่น้ำเพชรบุรี บริเวณรามราชนิเวศน์(พระราชวังบ้านปืน) เมื่อวันที่ ๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๑ จากนั้นพระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินทางชลมารคตามลำน้ำเพชรบุรี ขึ้นที่ท่าน้ำของวัดไม้รวก โดยมีหลวงพ่อช่วง วิสุทฺโธ และคณะสงฆ์วัดไม้รวก พร้อมประชาชนเฝ้าละอองธุลีพระบาทรับเสด็จ

- ฌาปนสถาน[แก้]

โดยจะรวมส่วนของเมรุและศาลาสวดศพด้วยกัน ภาษาท้องถิ่นจะเรียกว่า "โรงทึม"

ความสำคัญของฌาปนสถาน ในส่วนพลับพลาหน้าเมรุ ใช้เป็นที่รับเสด็จสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี (ขณะนั้นมีพระอิสริยศที่"สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ") ครั้งเมื่อเสด็จไปพระราชทานเพลิงศพ หลวงพ่อช่วง วิสุทฺโธ เมื่อวันที่ ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๑อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> เปิดผิดรูปหรือมีชื่อที่ใช้ไม่ได้

ลำดับเจ้าอาวาส[แก้]

๑. พระอธิการวัตร (ไม่ทราบฉายาทางธรรม และช่วงปีที่เป็นเจ้าอาวาส)

๒. พระอธิการโต๊ะ (ไม่ทราบฉายาทางธรรม และช่วงปีที่เป็นเจ้าอาวาส)

๓. พระอธิการวรรณ สุวณฺโณ ไม่ทราบปี - พ.ศ. ๒๔๘๒

๔. พระครูพัชรธรรม (ยุ้ย ถามิโก) พ.ศ. ๒๔๘๒ - ไม่ทราบปี

๕. พระอธิการละม้าย สทฺธมฺมรํสี ไม่ทราบปี - พ.ศ. ๒๕๑๓

๖. พระอธิการเพลิน โชติปุญฺโญ พ.ศ. ๒๕๑๔ - พ.ศ. ๒๕๒๗

๗. พระอธิการช่วง วิสุทฺโธ พ.ศ. ๒๕๒๗ - พ.ศ. ๒๕๕๖

๘. พระอธิการสุทิน อคฺคธมฺโม พ.ศ. ๒๕๕๖ - ปัจจุบัน

https://www.petburi.go.th/web/index.php?option=com_content&view=article&id=1014:2017-08-10-08-29-02&catid=45:2014-07-28-11-12-17

https://www.youtube.com/watch?v=LIE9fwZKNdo