ฉบับร่าง:โรงเรียนพุทธชินราชพิทยา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
  • ความคิดเห็น: เนื้อหาไม่เป็นสารานุกรม เช่น มีเนื้อหา พันธกิจ โครงสร้างการบริหารงาน เพลงมาร์ชโรงเรียนพุทธชินราชพิทยา และอ้างอิงก็มาจากแหล่งเดียวคือเว็บโรงเรียน Sry85 (คุย) 21:16, 24 มกราคม 2567 (+07)

โรงเรียนพุทธชินราชพิทยา
Buddhachinnarajpittaya School
ที่ตั้ง
39/1 ถนนธรรมบูชา ตำบลในเมือง อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก 65000
ข้อมูล
ชื่ออื่นพ.ช./ bdc / พุทธา
ประเภทโรงเรียนรัฐ สังกัด สพฐ.
คำขวัญเรียนดี มีคุณธรรม ก้าวล้ำเทคโนโลยี
นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา
(แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มี)
สถาปนา18 พฤษภาคม 2502
หน่วยงานกำกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 39 ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
ผู้อำนวยการโรงเรียนนายธนู เมฆี
ระดับปีที่จัดการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6
สีเหลืองแดง   
เพลงมาร์ชพุทธชินราช
เว็บไซต์http://www.bdc.ac.th https://www.facebook.com/bdc.ac.th

ประวัติ[แก้]

โรงเรียนพุทธชินราชพิทยา [1] โรงเรียนพุทธชินราชพิทยาได้รับอนุมัติจัดตั้งเมื่อ ปี พ.ศ. 2502 ตามใบอนุญาตที่ 2/2502 ลงวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2502 ประเภท มัธยมศึกษาวิสามัญศึกษาปีที่ 1 (ป.5) ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (ป.7) หยุดเรียนวันธรรมสวนะ (วัดพระ) และวันอาทิตย์ ต่อมาหยุดเรียนวันเสาร์และวันอาทิตย์

การจัดตั้งครั้งแรกอยู่ในความอุปถัมภ์และดูแลของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร โดยมีคณะผู้ดําเนินการจัดตั้งโรงเรียน ดังนี้ 1. พระพิษณุบูราจารย์ เจ้าอาวาส และเจ้าคณะจังหวัด 2. พระราชรัตนมุนี (แช่ม จันทราโภ ) 3. พระธัมมานันทะ 4. พระปลัดพุทธิวัฒน์ 5. ดร.มังกร ทองสุกดี 6. อาจารย์ครองศักดิ์ ขันธเลิศ ครั้งแรกมีครู 13 คน นักเรียน 156 คน โดย มีนายอุดม ผุดเหล็ก เป็นครูใหญ่คนแรก และได้มีการพัฒนาดําเนินการสอนมาตามลําดับ

ปี โรงเรียนพุทธชินราชพิทยา พ.ศ.2533 ได้ดําเนินการขอโอนมาสังกัดกรมสามัญศึกษา ตามประกาศ กระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 22 มกราคม พ.ศ.2533 เรื่องตั้งโรงเรียนรัฐบาล โดยใช้ชื่อว่า  โรงเรียนพุทธชินราชพิทยา ตั้งแต่ วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ.2533

ปัจจุบัน โรงเรียนพุทธชินราชพิทยา ตั้งอยู่เลขที่ 39/1 ถนนธรรมบูชา ตําบลในเมือง อําเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งเป็นพื้นที่ธรณีสงฆ์ของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร มีเนื้อที่ 9 ไร่ 3 งาน 72 ตารางวา[1]

พันธกิจ[แก้]

1.พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล

2.ส่งเสริมผู้เรียนให้มีทักษะชีวิต และจิตอาสา

3.ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม และมีค่านิยมที่พึงประสงค์แก่ผู้เรียน ดำรงความเป็นไทยตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

4.พัฒนาบุคลากรให้ความรู้ ความสามารถ มีทักษะในการจัดการเรียนการสอนตามมาตรฐานสากล

5.ส่งเสริมการวิจัย การใช้สื่อเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษามาใช้ในการพัฒนาการศึกษาอย่างเหมาะสม

6.ส่งเสริมให้มีการบริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพ(TQM)

7.ระดมทรัพยากรในชุมชนเพื่อสนับสนุนการจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพตามมาตรฐานสากล[2]

อาคารและสถานที่ภายในโรงเรียน[แก้]

โรงเรียนพุทธชินราชพิทยา มีอาคารทั้งสิ้น 5 อาคารดังนี้

  1. อาคารเรียนแบบพิเศษทรงไทย 4 ชั้น (อาคารชินราช) งบประมาณจากกรมสามัญศึกษา จํานวน 22,842,000 บาท  
  2. อาคารเรียนแบบพิเศษทรงไทย 3 ชั้น (อาคารชินสีห์) งบประมาณจากกรมสามัญศึกษา จํานวน 15,358,000 บาท  
  3. อาคารเรียนพิเศษทรงไทย 5 ชั้น (อาคารศรีศาสดา) งบประมาณจากกรมสามัญศึกษา จํานวน 32,885,000 บาท  
  4. อาคารสมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนพุทธชินราชพิทยา อาคารสมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนพุทธชินราชพิทยา
  5. อาคารหลังคาคลุมสนามอเนกประสงค์ (โดมศรีพุทธา คณาพัฒน์)

แผนการเรียน[แก้]

โรงเรียนพุทธชินราชพิทยา แบ่งแผนการเรียนเป็น 2 ระดับชั้น โดยจัดเป็นระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย มีแผนการเรียนดังนี้

ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น[แก้]

  1. ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ ได้แก่ ห้อง 1
  2. ห้องแผนการเรียนวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ ได้แก่ ห้อง 2-3
  3. ห้องแผนการเรียนศิลป์-ภาษา ได้แก่ ห้อง 4-5
  4. ห้องแผนการเรียนศิลปะ-ดนตรี ได้แก่ ห้อง 6-7
  5. ห้องแผนการเรียนการงานพื้นฐานอาชีพ ได้แก่ ห้อง 8-9
  6. ห้องแผนการเรียนพลศึกษา ได้แก่ ห้อง 10-11

ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย[แก้]

  1. ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ ได้แก่ ห้อง 1
  2. ห้องแผนการเรียนวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ ได้แก่ ห้อง 2-3
  3. ห้องแผนการเรียนศิลป์-ภาษา ได้แก่ ห้อง 4
  4. ห้องแผนการเรียนการงานพื้นฐานอาชีพ ได้แก่ ห้อง 5

โครงสร้างการบริหารงาน[แก้]

โรงเรียนพุทธชินราชพิทยา แบ่งโครงสร้างการบริหารงานออกเป็น 5 ฝ่ายงานและ 1 สำนักงานได้แก่

  1. ฝ่ายบริหารวิชาการ
  2. ฝ่ายบริหารกิจการนักเรียน
  3. ฝ่ายบริหารงบประมาณและแผนงาน
  4. ฝ่ายบริหารทั่วไป
  5. ฝ่ายบริหารงานบุคคล
  6. สำนักงานเลขานุการ

รายชื่อผู้บริหารตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน[แก้]

1. นายประเสริฐ บุญฤทธิ์ พ.ศ. 2533 - 2539

2. นายประถม ทองคําพงษ์ พ.ศ. 2539 - 2540

3. นายวัฒนา ภาวะไพบูลย์ พ.ศ. 2540 - 2546

4. นางสาวดวงรัตน์ พูลสวัสดิ์ พ.ศ. 2546 - 2552

5. นายสัมฤทธิ์ ทองรัตน์ พ.ศ. 2553 - 2554

6. นายเดชา สมบูรณ์พงษ์กิจ พ.ศ. 2554 - 2558

7. นางสาวอรุณศรี เงินเสือ พ.ศ. 2558 - 2561

8. นายสรปรัชญ์ ไวกสิกรณ์ พ.ศ. 2561 - 2564

9. นายเฉลียว คำดี พ.ศ. 2564 - 2566

10. นายธนู เมฆี พ.ศ. 2566 - ปัจจุบัน

เพลงมาร์ชโรงเรียนพุทธชินราชพิทยา[แก้]

คำร้อง : โรงเรียนพุทธชินราชพิทยา

ทำนอง : วรณัฐ พันธุ,กฤษดา ใจทอง

พุทธชินราชพิทยามาสร้างสรรค์

พร้อมใจกันมุ่งมาตรปรารถนา

ดั่งอาวุธสุดสว่างทางปัญญา

เสริมคุณค่าเปี่ยมคุณธรรมนำทุกคน

เราเหลืองแดงตั้งใจใฝ่ศึกษา

เน้นวิชาการกีฬามาฝึกฝน

พัฒนาคุณค่าเยาวชน

ให้เกิดผลก้าวหน้าลือชาไกล

** นตฺถิ ปญฺญา สมาอาภา

คือปรัชญาที่เราเทิดไว้

องค์พุทธชินราชงามวิไล

เราภูมิใจงามสง่าสถาบัน

ธงเหลืองแดงพลิ้วแรงลมไสว

รวมน้ำใจพร้อมพรรคสมัครมั่น

เกริกเกรียงไกรยิ่งใหญ่ใครเทียมทัน

ผูกสัมพันธ์ผองเราชาว พ.ช. (ซ้ำ) **[3]

อ้างอิง[แก้]

  1. "ประวัติโรงเรียน". www.bdc.ac.th.
  2. "พันธกิจ / เป้าหมาย". www.bdc.ac.th.
  3. "เพลงมาร์ชโรงเรียน". www.bdc.ac.th.