ตำบลหนองเดิ่น

พิกัด: 18°19′05.4″N 103°58′00.5″E / 18.318167°N 103.966806°E / 18.318167; 103.966806
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตำบลหนองเดิ่น
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันTambon Nong Doen
ประเทศไทย
จังหวัดบึงกาฬ
อำเภอบุ่งคล้า
พื้นที่
 • ทั้งหมด59.000 ตร.กม. (22.780 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2563)
 • ทั้งหมด3,797 คน
 • ความหนาแน่น64.35 คน/ตร.กม. (166.7 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 38000
รหัสภูมิศาสตร์380802
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
องค์การบริหารส่วนตำบลหนองเดิ่น
อบต.หนองเดิ่นตั้งอยู่ในจังหวัดบึงกาฬ
อบต.หนองเดิ่น
อบต.หนองเดิ่น
ที่ตั้งที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลหนองเดิ่น
พิกัด: 18°19′05.4″N 103°58′00.5″E / 18.318167°N 103.966806°E / 18.318167; 103.966806
ประเทศ ไทย
จังหวัดบึงกาฬ
อำเภอบุ่งคล้า
พื้นที่
 • ทั้งหมด59.000 ตร.กม. (22.780 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2563)
 • ทั้งหมด3,797 คน
 • ความหนาแน่น64.35 คน/ตร.กม. (166.7 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.06380801
ที่อยู่ที่ทำการเลขที่ 145 หมู่ที่ 1 ตำบลหนองเดิ่น อำเภอบุ่งคล้า จังหวัดบึงกาฬ 38000
เว็บไซต์nongdoen.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

หนองเดิ่น เป็นตำบลในอำเภอบุ่งคล้า จังหวัดบึงกาฬ เป็นที่ตั้งของที่ว่าการอำเภอบุ่งคล้า สถานีตำรวจภูธรบุ่งคล้า สำนักงานเกษตรอำเภอบุ่งคล้า นอกจากนี้ยังเป็นที่ตั้งของหาดสีดา ซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของอำเภอบุ่งคล้า

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

ตำบลหนองเดิ่นตั้งอยู่ทางทิศเหนือของอำเภอบุ่งคล้า มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

ประวัติ[แก้]

ตำบลหนองเดิ่นเดิมเป็นตำบลหนึ่งอยู่ในเขตของอำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย ซึ่งตำบลหนองเดิ่นตั้งขึ้นเป็นตำบลในปี พ.ศ. 2444[1] ซึ่งเขตตำบลหนองเดิ่นครอบคลุมพื้นที่อำเภอบุ่งคล้าทั้งหมดในปัจจุบัน และในวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2522 มีประกาศกระทรวงมหาดไทยให้แยกบางหมู่บ้านออกมาจากการปกครองของตำบลหนองเดิ่น รวมตั้งเป็นตำบลโคกกว้าง[2] และในวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2533 ได้แยกบางหมู่บ้านออกมาจากการปกครองของตำบลหนองเดิ่นอีกครั้ง รวมตั้งเป็นตำบลบุ่งคล้า[3]

ต่อมาทางราชการได้แบ่งพื้นที่การปกครองของตำบลบุ่งคล้า ตำบลหนองเดิ่น และตำบลโคกกว้าง อำเภอบึงกาฬ มาจัดตั้งเป็น กิ่งอำเภอบุ่งคล้า ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2533 โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2534[4] และต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะกิ่งอำเภอบุ่งคล้า อำเภอบึงกาฬ ขึ้นเป็น อำเภอบุ่งคล้า ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน[5] ตำบลหนองเดิ่น จึงย้ายมาขึ้นกับอำเภอบุ่งคล้า

ต่อมาในปี พ.ศ. 2554 ได้มีการจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬขึ้น ตำบลหนองเดิ่น อำเภอบุ่งคล้า จึงเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดบึงกาฬตามพระราชบัญญัติตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. 2554 อันมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นมา[6]

การปกครอง[แก้]

ตำบลหนองเดิ่นทั้งตำบลอยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองเดิ่นซึ่งเดิมมีฐานะเป็นสภาตำบลหนองเดิ่น ก่อนที่ต่อมาจะได้รับการจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลหนองเดิ่นในวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2542[7] ซึ่งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลที่จัดตั้งลำดับสุดท้ายในอำเภอบุ่งคล้า

ตำบลหนองเดิ่นประกอบด้วยหมู่บ้านทั้งสิ้นจำนวน 7 หมู่บ้าน มีจำนวนประชากร 3,797 คน แบ่งเป็นชาย 1,918 คน หญิง 1,879 คน (ปี 2563)

      หมายถึงจำนวนประชากรได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน
      หมายถึงจำนวนประชากรได้คงเดิมเมื่อเทียบกับปีก่อน
      หมายถึงจำนวนประชากรได้ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน

* ปี พ.ศ. 2558 มีการรวมผู้ที่ไม่ได้สัญชาติไทยในทะเบียนราษฎร ส่งผลให้ข้อมูลจำนวนประชากรปีดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก

หมู่บ้าน พ.ศ. 2563 [8] พ.ศ. 2562[9] พ.ศ. 2561[10] พ.ศ. 2560[11] พ.ศ. 2559[12] พ.ศ. 2558[13] พ.ศ. 2557[14] พ.ศ. 2556[15] พ.ศ. 2555[16]
หนองคังคา 1,003 997 997 987 990 983 970 956 946
หนองเดิ่นท่า 709 715 724 726 714 708 714 714 702
หนองเดิ่นเหนือ 644 646 657 667 662 658 654 655 646
หนองเดิ่นทุ่ง 516 518 515 521 523 522 522 517 516
ห้วยเล็บมือ 347 358 358 347 356 356 350 346 347
ภูสวาท 302 301 300 294 290 282 279 276 273
เทพมีชัย 276 273 277 284 284 275 263 258 253
รวม 3,797 3,808 3,828 3,826 3,819 3,784 3,752 3,722 3,683

อ้างอิง[แก้]

  1. "ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. ๒๔๖๔ ในท้องที่มณฑลอุดร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 38 (0 ก): 551–570. February 12, 1921.
  2. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอท่าบ่อ อำเภอศรีเชียงใหม่ อำเภอสังคม อำเภอบึงกาฬ และกิ่งอำเภอพรเจริญ อำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 96 (181 ง): 3770–3780. October 23, 1979. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-12-03. สืบค้นเมื่อ 2021-08-19.
  3. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 107 (149 ง): (ฉบับพิเศษ) 98-105. August 17, 1990. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-07-17. สืบค้นเมื่อ 2021-08-19.
  4. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย ตั้งเป็นกิ่งอำเภอบุ่งคล้า" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 108 (15 ง): 1072. January 31, 1991. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-02-24. สืบค้นเมื่อ 2021-08-19.
  5. "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอเหนือคลอง อำเภอนายายอาม อำเภอท่าตะเกียบ อำเภอขุนตาล อำเภอแม่ฟ้าหลวง อำเภอแม่ลาว อำเภอรัษฎา อำเภอพุทธมณฑล อำเภอวังน้ำเขียว อำเภอเจาะไอร้อง อำเภอชำนิ อำเภอโนนดินแดง อำเภอปางมะผ้า อำเภอลำสนธิ อำเภอหนองม่วง อำเภอเบญจลักษ์ อำเภอโพนนาแก้ว อำเภอบุ่งคล้า อำเภอดอนมดแดง และอำเภอลืออำนาจ พ.ศ. ๒๕๓๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (62 ก): 5–8. November 20, 1996. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-05-21. สืบค้นเมื่อ 2021-08-19.
  6. "พระราชบัญญัติตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. 2554" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 128 (18 ก): 1. March 22, 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-04-09. สืบค้นเมื่อ 2021-08-19.
  7. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (ตอนพิเศษ 82 ง): 3–38. October 15, 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-25. สืบค้นเมื่อ 2021-08-20.
  8. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [1] 2564. สืบค้น 18 มีนาคม 2564.
  9. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [2] 2563. สืบค้น 10 มกราคม 2563.
  10. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/036/T_0032.PDF 2562. สืบค้น 12 กุมภาพันธ์ 2562.
  11. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/041/22.PDF 2561. สืบค้น 26 กุมภาพันธ์ 2561.
  12. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat59.htm 2560. สืบค้น 3 มีนาคม 2560.
  13. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat58.htm 2558. สืบค้น 16 กุมภาพันธ์ 2559.
  14. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk_57.pdf 2558. สืบค้น 1 มีนาคม 2558.
  15. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเนกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่างๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๖, เล่ม ๑๓๑, ตอน ๔๑ ง , ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๗, หน้า ๑
  16. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat55.html 2555. สืบค้น 3 เมษายน 2556.