ตู สามุต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตู สามุต
ประธานาธิบดีกัมพูชา
ดำรงตำแหน่ง
29 กันยายน พ.ศ. 2519 – 3 มกราคม พ.ศ. 2524
นายกรัฐมนตรีฮู ยวน
รองประธานาธิบดีเซิน หง็อก มิญ
ผู้นำตัวเอง (ประธานพรรค)
ก่อนหน้าตัวเอง (ในฐานะประธานคณะรัฐมนตรีฯ)
ถัดไปเขียว สัมพัน
ประธานคณะรัฐมนตรีปฏิวัติแห่งชาติกัมพูชา
ดำรงตำแหน่ง
17 เมษายน พ.ศ. 2518 – 29 กันยายน พ.ศ. 2519
ก่อนหน้าสถาปนาตำแหน่ง
ถัดไปยกเลิกตำแหน่ง (ตัวเอง ในฐานะประธานาธิบดี)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมกัมพูชา
ดำรงตำแหน่ง
17 เมษายน พ.ศ. 2518 – 26 มิถุนายน พ.ศ. 2523
ก่อนหน้าไม่มี
ถัดไปซาลต ซอ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด26 กันยายน พ.ศ. 2458 กำปงโสม กัมพูชาในอารักขาของฝรั่งเศส
เสียชีวิต3 มกราคม พ.ศ. 2524 (65 ปี) พนมเปญ สาธารณรัฐประชาธิปไตยกัมพูชา
พรรคการเมืองพรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชา
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ กัมพูชา
ยศ จอมพล
สงคราม/การสู้รบ

จอมพล ตู สามุต (เขมร: ទូ សាមុត) เป็นนายทหารและนักการเมืองชาวกัมพูชาที่นิยมคอมมิวนิสต์ เกิดประมาณ พ.ศ. 2458 ที่เมืองกำปงโสม ในยุคที่กัมพูชายังอยู่ภายใต้ฝรั่งเศส โดยพ่อเป็นนายทหารชาวกัมพูชาประจำกองทัพฝรั่งเศส เป็นหนึ่งในสมาชิกร่วมก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชา เคยดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของสาธารณรัฐประชาธิปไตยกัมพูชา ประธานคณะรัฐมนตรีปฏิวัติแห่งชาติกัมพูชา และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของกัมพูชา

ความร่วมมือกับขบวนการต่อต้าน[แก้]

สามุตเป็นชาวแขมร์กรอมในเวียดนามใต้และบวชเป็นพระภิกษุ ในพ.ศ. 2488 ได้เป็นอาจารย์สอนภาษาบาลีที่วัดอุณาโลมในพนมเปญ ซึ่งเป็นช่วงที่สหรัฐส่งเครื่องบินมาทิ้งระเบิดโจมตีกองทัพญี่ปุ่นทำให้มีคนตายมาก สามุตได้หนีออกไปสู่ชนบท ไปยังเวียดนามและเข้าร่วมกับเวียดมิญในที่สุด[1]

สามุตเข้าร่วมกับพรรคปฏิวัติประชาชนเขมรซึ่งต่อมาจะกลายเป็นพรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชาโดยร่วมมือกับเซิง งอกมิญหรืออาจารย์เมียน เขายังเป็นผู้นำสมาคมเขมรอิสระซึ่งเป็นองค์กรฝ่ายซ้ายขนาดใหญ่ที่แยกตัวมาจากเขมรอิสระ นอกจากนั้น ยังมีการจัดตั้งรัฐบาลของฝ่ายต่อต้าน สามุตได้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

ตำแหน่งในพรรค[แก้]

ในฐานะที่เป็นหัวหน้าองค์กรในเมืองของพรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชาที่เวียดนามให้การสนับสนุน สามุตเป็นที่นิยมในหมู่พระภิกษุ พรรคคอมมิวนิสต์ในเมืองเป็นภาพตรงข้ามกับกลุ่มในชนบทของเซียว เฮง นโยบายของเขาจัดว่าเป็นกลาง สนับสนุนการมีอยู่ของพระมหากษัตริย์และสนับสนุนเวียดนามเหนือในการรวมเวียดนาม กลุ่มของพล พตซึ่งเป็นอดีตนักศึกษาปารีสได้เข้าร่วมกับฝ่ายของสามุต

กลุ่มชนบทของเซียวเฮงถูกปราบปรามโดยฝ่ายของพระสีหนุตั้งแต่ พ.ศ. 2502 พรรคได้ประชุมลับที่สถานีรถไฟในกรุงพนมเปญเมื่อ พ.ศ. 2503 สามุตซึ่งมีนโยบายร่วมมือกับสีหนุได้เป็นเลขาธิการทั่วไป พล พตเป็นผู้นำลำดับที่สามรองจากสามุตและนวน เจีย[2]

เสียชีวิต[แก้]

สามุตหายตัวไปอย่างลึกลับในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2505 ส่วนใหญ่เชื่อว่าสามุตถูกสังหารโดยตำรวจลับของสีหนุ แต่ก็มีผู้สงสัยว่าเกิดจากการจัดการของพล พตที่ต้องการตำแหน่งสูงขึ้นในพรรค พล พตออกมาปฏิเสธข้อหานี้และกล่าวว่าสามุตซึ่งออกจากบ้านไปซื้อยาให้เด็กที่ป่วยถูกจับโดยคนของลน นลและถูกสังหารในที่สุด."[3] นักประวัติศาสตร์ เบน เคียร์แนนกล่าวว่าเขาพบหลักฐานว่าพล พตมีส่วนเกี่ยวข้องกับการตายของสามุต ในรายงานเกี่ยวกับการกำจัดศัตรูภายใน พบว่า สมเจีย เลขาธิการใหญ่ของจังหวัดกันดาลเป็นผู้ฆ่าสามุต จากนั้นสมเจียถูกกลุ่มของพล พตฆ่าใน พ.ศ. 2505.[4]

หลังการเสียชีวิตของสามุต พล พตขึ้นเป็นผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์ใน พ.ศ. 2506 และตัดความสัมพันธ์กับพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม หันไปรับความช่วยเหลือจากจีนแทน

อ้างอิง[แก้]

  1. Dommen, A. The Indochinese experience of the French and the Americans, Indiana University Press, 2001, p.63
  2. Ross, R. (ed) The KPRP Second Congress in Cambodia: A Country Study, Washington: GPO for the Library of Congress, 1987
  3. Thayer, N. Day of Reckoning เก็บถาวร 2009-09-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, accessed 26-05/09
  4. Kiernan, p.241
  • Kiernan, B. How Pol Pot Came to Power. London: Verso, 1985