ธรรมนูญสภายุโรป

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ธรรมนูญสภายุโรป
ประเภทสนธิสัญญาพหุภาคี
วันลงนาม5 พฤษภาคม ค.ศ. 1949 (1949-05-05)
ที่ลงนามลอนดอน ประเทศอังกฤษ สหราชอาณาจักร
ผู้ลงนามแรกเริ่มเบลเยียม เดนมาร์ก ฝรั่งเศส ไอร์แลนด์ อิตาลี ลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ สวีเดน และสหราชอาณาจักร
ผู้ให้สัตยาบัน46 รัฐ

ธรรมนูญสภายุโรป (อังกฤษ: Statute of the Council of Europe; หรือที่รู้จักกันในชื่อ สนธิสัญญาลอนดอน (ค.ศ. 1949)) เป็นสนธิสัญญาพหุภาคีที่ลงนามเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม ค.ศ. 1949 ซึ่งนำไปสู่การจัดตั้งสภายุโรป ซึ่งเป็นองค์กรระหว่างประเทศสำหรับทุกรัฐในทวีปยุโรปที่ได้อุทิศให้กับ "การแสวงหาสันติภาพบนพื้นฐานของความยุติธรรมและความร่วมมือระหว่างประเทศ"[1] ภายในธรรมนูญมีการกำหนดหลักการชี้นำขององค์กร อันเพื่อรักษาสิทธิมนุษยชน ประชาธิปไตย และหลักนิติธรรม รวมถึงการมอบอำนาจและการปฏิบัติงานของหน่วยงานคณะกรรมการรัฐมนตรีและรัฐสภาสมัชชาอีกด้วย

ประเทศผู้ลงนามดั้งเดิมใน ค.ศ. 1949 ได้แก่ เบลเยียม เดนมาร์ก ฝรั่งเศส ไอร์แลนด์ อิตาลี ลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ สวีเดน และสหราชอาณาจักร แม้ว่าปัจจุบันจะมีผู้ลงนามและให้สัตยาบันธรรมนูญทั้งหมด 46 รัฐในยุโรป มีเพียงเบลารุส คาซัคสถาน และนครรัฐวาติกัน (สันตะสำนัก) เท่านั้นที่มิได้เป็นสมาชิก ในขณะที่รัสเซียถูกขับออกจากสภายุโรปเมื่อวันที่ 16 มีนาคม ค.ศ. 2022 หลังจากเป็นสมาชิกได้ 26 ปี (เป็นเพียงประเทศเดียวเท่านั้นที่ถูกขับไล่ออกจากองค์กร) เนื่องจากการรุกรานยูเครนที่เป็นประเทศสมาชิก ซึ่งถือเป็นการละเมิดธรรมนูญอย่างโจ่งแจ้ง[2]

สนธิสัญญาได้รับการจดทะเบียนกับสหประชาชาติเมื่อวันที่ 11 เมษายน ค.ศ. 1951 ภายใต้หมายเลขสนธิสัญญา I:1168 เล่ม 87 หน้า 103[3][4]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. [1]
  2. "The Russian Federation is excluded from the Council of Europe - Portal - www.coe.int".
  3. "UN Cumulative Treaty Index" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 19 May 2014. สืบค้นเมื่อ 12 September 2013.
  4. "Statute of the Council of Europe as registered with the UN" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 19 May 2014. สืบค้นเมื่อ 14 September 2013.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]