ปริญญา นาคฉัตรีย์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปริญญา นาคฉัตรีย์
คณะกรรมการการเลือกตั้ง
ดำรงตำแหน่ง
21 ตุลาคม พ.ศ. 2544 – 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2549
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด24 มีนาคม พ.ศ. 2484 (83 ปี)
อำเภอสวี จังหวัดชุมพร

นายปริญญา นาคฉัตรีย์ ประธานกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น[1] อดีตกรรมการการเลือกตั้ง ฝ่ายบริหารการเลือกตั้ง เป็นหนึ่งในกรรมการการเลือกตั้งที่ถูกศาลอาญา พิพากษาให้จำคุก 4 ปี จากการปฏิบัติหน้าที่

ประวัติ[แก้]

นายปริญญา เกิดเมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2484 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี การศึกษาบัณฑิต (กศ.บ.) จากวิทยาลัยวิชาการศึกษา (มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ) ปริญญาตรีศิลปศาสตรบัณฑิต สาขารัฐศาสตร์ (การบริหารรัฐกิจ) จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง เศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และปริญญาโท สาขาเศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย สหรัฐอเมริกา

การทำงาน[แก้]

ปริญญา นาคฉัตรีย์ เข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงมหาดไทย ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี ชุมพร สระบุรี เป็นรองปลัดกระทรวงมหาดไทย อธิบดีกรมที่ดิน กรมการปกครอง กรมการผังเมือง

ต่อมาในปี พ.ศ. 2544 ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ฝ่ายบริหารการเลือกตั้ง จนกระทั่งพ้นจากตำแหน่ง เนื่องจากศาลอาญา มีคำพิพากษาให้ตัดสิทธิการเลือกตั้ง และให้จำคุก

คดีความ[แก้]

กรณีจัดการเลือกตั้ง[แก้]

ศาลอาญา มีคำพิพากษา เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 ให้ตัดสิทธิการเลือกตั้ง เขาพร้อมกับ พล.ต.อ.วาสนา และนายวีระชัย แนวบุญเนียร เป็นเวลา 10 ปี และให้จำคุกเป็นเวลา 4 ปี ในคดีที่สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ฟ้องในข้อหาปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ มีความผิดตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งปี 2541 มาตรา 24, 42 ประกอบ ป.อาญามาตรา 83 (ร่วมกันทำผิด)[2] ต่อมาเมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2551 ศาลอุทธรณ์ มีคำพิพากษายืนตามศาลชั้นต้น[3] แต่ในวันที่ 13 มิถุนายน 2556 ศาลฎีกาพิพากษากลับ เนื่องจากศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่าโจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายโดยตรง จึงไม่มีอำนาจในการฟ้อง จึงมีคำพิพากษาให้ยกฟ้อง

กรณีที่ไม่เร่งสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงการว่าจ้างพรรคเล็ก[แก้]

ศาลฎีกา มีคำพิพากษาในการที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เป็นโจทย์ยื่นฟ้อง เขาพร้อมกับ พล.ต.อ.วาสนา และนายวีระชัย แนวบุญเนียร (เสียชีวิต) ในความผิดฐานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และพระราชบัญญัติคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2541 มาตรา 24 และ 42 กรณีที่ไม่เร่งสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริง ข้อร้องเรียนกล่าวหาพรรคไทยรักไทย ว่าจ้างพรรคแผ่นดินไทย และพรรคพัฒนาชาติไทย ลงรับสมัครเลือกตั้งในวันที่ 2 เม.ย. 2549 โดยพลันตามระเบียบ กกต.ว่าด้วยการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงและการวินิจฉัย พ.ศ. 2542 มาตรา 37, 48 โดยให้จำคุก 2 ปี[4]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/E/036/15.PDF
  2. "เพิกถอนสิทธิ์ 10 ปี 3 กกต.จบ จำคุกอีกคนละ 4 ปี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-06. สืบค้นเมื่อ 2010-09-30.
  3. ศาลอุทธรณ์สั่งคุก 3 หนา 4 ปี ทำชาติแตกแยกใหญ่หลวง![ลิงก์เสีย]
  4. "คุมตัว "วาสนา-ปริญญา" เข้าเรือนจำ ศาลฎีกายืนจำคุกคนละ 2 ปี ถ่วงคดี ทรท.จ้างพรรคเล็กลงเลือกตั้งปี 49". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-06-28. สืบค้นเมื่อ 2016-06-21.
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๒๔๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๓
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๘ ข หน้า ๒, ๙ พฤษภาคม ๒๕๓๗
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๘๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๒๗, ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๓๓
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๑๐๑ ตอนที่ ๑๘๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๐, ๑๔ ธันวาคม ๒๕๒๗