ผู้ใช้:Adisak69/ทดลองเขียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ฐานันดรศักดิ์มลายูปัตตานี[แก้]

ฐานันดรศักดิ์มลายูปัตตานี หมายถึง ระบบชนชั้น และชั้นยศของเจ้านายมลายู ซึ่งหมายความเฉพาะบริเวณ ปัตตานี ยะลา นราธิวาส รวมทั้งรัฐกลันตัน เนื่องจากในอดีตแต่ละรัฐของมลายูจะมีชั้นยศที่แตกต่างกันไม่มากนัก ชั้นยศเหล่านี้มีการสืบทอดกันมาตั้งแต่โบราณสมัยนครรัฐมลายูรุ่งเรือง

ยุคเริ่มแรกฐานันดรศักดิ์มลายู จนถึงสมัยปัจจุบัน ได้แก่[แก้]

ในสมัยเริ่มแรกชั้นยศ 1.นิ(Nik) 2.วัน(Wan) 3.หลง(Long) เป็นยศชั้นเดียวกันทั้งหมด หมายถึงพระเจ้าแผ่นดิน สุลต่าน ตลอดจนเชื้อพระวงศ์และบรรดาอนุเจ้าเมืองต่างๆ โดยถือว่าเป็นเจ้าแต่ประสูติ เช่น หลงยูนุส แห่งกลันตัน (เว้นแต่ยศ "วัน" อาจหมายถึงขุนนางที่ได้รับแต่งตั้งด้วย) ต่อมามีการเปลี่ยนแปลงชั้นยศตามกาลเวลาจนมาสู่ชั้นยศมลายูแบบ 3 ชั้น ดังนี้



(1) ต่วนกู(Tuanku) ถือเป็นชั้นยศสูงสุด หมายถึงพระเจ้าแผ่นดิน สุลต่าน ตลอดจนองค์ประมุข เช่น ตวนกู อิสมาอิล เปตรา อดีตสุลต่านแห่งรัฐกลันตัน

(2) ตนกู เต็งกู หรือเติงกู(Tengku),อังกู(Ungku),ตุนกู(Tunku),ต่วน(Tuan),ตูแว(Tuwea),รายา(Raja),กู(Ku) ถือเป็นชั้นยศเดียวกันทั้งหมด เป็นชั้นยศรองลงมา ชั้น ยศนี้ถือว่าเป็นเจ้าแต่ประสูติ เมื่อเที่ยบในพระยศเจ้านายไทย ชั้นยศนี้หมายถึงชั้นหม่อมเจ้าขึ้นไปเพราะยังถือว่าเป็นเจ้า (อดีตรัฐกลันตันนิยมใช้ยศ ต่วน จนกระทั้งปี ค.ศ.1944 จึงเปลี่ยนค่านิยมตามกาลเวลามาใช้ยศ ตนกู,เติงกู,เต็งกู ส่วนในปัตตานียังนิยมใช้ ต่วน, กู ,นิ ตามเดิม เช่น

1.(เจ้าหญิง) รายา บีรู แห่งราชวงศ์ศรีวังสา ปัตตานี

2.เจ้าชาย ตนกูมูฮัมมัด ฟาอิซ เปตรา แห่งรัฐกลันตัน

3.ต่วนไซนัลอาบิดิน โอรสใน สุลต่านมูฮัมหมัดชาร์ที่3แห่งรัฐกลันตัน

(3) นิ(Nik),วัน(Wan)  เป็นชั้นยศสุดท้าย และถือว่าเป็นสามัญชน เว้นแต่เป็นการสืบชั้นยศแบบโบราณยุคเริ่มแรกโดยไม่ขาดสายจึงจะถือว่าเป็นเจ้า เช่น

1.นิสุไลมาน ดาตูปูยุด

2.วันดาอิม ดาตูยามู-จามปา

3.นิมุสตอฟา หรือ สุลต่านอับดุลฮามิดชาร์ ตาดูยามู-จามปา

ปัจจุบันชั้นยศ "นิ" จะใช้เพื่อให้เกียรติสำหรับการสืบเชื้อสายเจ้าทางพระมารดา เช่น ฝ่ายหญิงเป็นเจ้าชั้นยศ "ต่วน" สมรสกับชายสามัญชน บุตรที่เกิดมาใช้ชั้นยศ "นิ" เป็นต้น

ปัจจุบันชั้นยศ "วัน" หากเป็นการสืบชั้นยศแบบโบราณไม่ขาดสายจึงจะถือว่าเป็นเจ้า หรืออาจจะหมายถึงขุนนางในราชสำนักที่มีความดีความชอบ จึงได้รับแต่งตั้งเพื่อเป็นการให้เกียรติกรณีนี้ไม่ถือว่าเป็นเจ้า

ชั้นยศเหล่านี้จะสืบทอดกันทางฝ่ายชายเป็นหลัก เช่น ฝ่ายชายเกิดเป็นเจ้าชั้น เต็งกู โอรสประสูตรมาจะใช้ เต็งกู ตามฝ่ายชายตลอดสาย และชั้นยศจะลดลงมาหนึ่งชั้นเมื่อ ฝ่ายหญิงเป็นเจ้า ไปสมรสกับชายสามัญชน เช่น ฝ่ายหญิงเป็นเจ้าชั้น ตนกู สมรสกับชายสามัญ บุตรที่เกิดจะใช้ยศ นิ

ฐานันดรศักดิ์มลายูเหล่านี้ ก็ยังมีการรักษาสืบทอดกันเรื่อยมาจนถึงยุคปัจจุบันนี้เป็นการบ่งบอกถึงการสืบเชื้อสายราชวงศ์เดิมเจ้าประเทศราชหรือเจ้าเมืองเท่านั้น



บุตร-ธิดา[แก้]

พระยายะหริ่ง (นิติมุง) มีทายาทจากคุณหญิงกวน 3 คน ได้แก่

1.พระวิเศษวังสา (นิกวน สนิบุตร หรือ นิกูวง) มีบุตร 3 คน คือ นิสกู นิติมุง(นิเดร์) และนิเนาะ

2.ตวนเซาะ

3.กูบอซู (รายาปาตา) มีบุตร 3 คน คือ ตวนสปีเย๊าะ ตวนตือเงาะห์ และตวนกือจิ

อ้างอิง[1][2][3][แก้]

  1. พระยาหัวเมืองปัตตานีทั้ง7 ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
  2. พงศาวดารเมืองปัตตานี
  3. รายนามเจ้าเมืองยะหริ่ง "อำเภอยะหริ่ง"