ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:Cfipsusurat

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

มลพิษจากอุตสาหกรรมที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

ปัญหามลพิษจากอุตสาหกรรมต่อระบบนิเวศ

มลพิษสิ่งแวดล้อม หมายถึง สภาวะที่สิ่งแวดล้อมที่มีอยู่ตามธรรมชาติ เช่น ดิน น้ำ อากาศ ที่ถูกปนเปื้อนด้วยสิ่งแปลกปลอมหรือสารพิษและทำให้คุณภาพของสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมหรือจากธรรมชาติด้วยการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่เลวลง หรือคุณภาพเสื่อมโทรมลง ส่งผลให้การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางสิ่งแวดล้อมนั้นลดลงไปหรือใช้ประโยชน์ไม่ได้เลยรวมทั้งมีผลเสียต่อสุขภาพและอนามัย

มลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรม หมายถึง การจัดการของเสียอันตราย ต้องมีการปฏิบัติอย่างเหมาะสม โดยเริ่มตั้งแต่เมื่อของเสียถูกผลิตออกมา จนกระทั่งของเสียดังกล่าวได้รับการกำจัดในขั้นสุดท้ายอย่างสมบูรณ์ โดยขั้นตอนในการจัดการควรทำให้เป็นระบบครบวงจร ตั้งแต่การผลิตของเสีย การกักเก็บ การขนส่ง การบำบัด การนำมาใช้ประโยชน์ และการกำจัดในขั้นสุดท้าย

มลพิษจากอุตสาหกรรมที่ส่งผลเสียต่อระบบนิเวศ แบ่งออกเป็น 4 ประเภท

มลพิษทางอากาศ

มลพิษทางน้ำ

มลพิษทางดิน

มลพิษทางเสียง

มลพิษทางอากาศ[แก้]

ความหมายของมลพิษทางอากาศ[แก้]

มลพิษทางอากาศ คือ ภาวสะของอากาศที่ีมีการเจือปนของสารพิษในปริมาณความเข้มข้นสูงกว่าปกติเป็นเวลานานพอที่จะทำให้เกิดอันตรายแก่มนุษย์ สัตว์ พืช หรือทรัพย์สินต่างๆ เช่น อาคารบ้านเรือน โบราณสถาน โบราณวัตถุ ภาชนะเครื่องใช้ เครื่องจักรกลที่เป็นโลหะ ยานพาหนะต่างๆทำให้เกิดความสกปรกและเกิดการกัดกร่อนผุพังทรุดโทรมอาจใช้การไม่ได้ อาจเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ฝุ่นละอองจากลมพายุ แผ่นดินไหว ไฟไหม้ป่า ก๊าซธรรมชาติของอากาศเสียที่เกิดขึ้น โดยธรรมชาติเป็นอันตรายต่อมนุษย์น้อยมากเพราะแหล่งกำเนิดอยู่ไกลและปริมาณที่เข้าสู่สภาพแวดล้อมของมนุษย์และสัตว์มีน้อย กรรีที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ ได้แก่ มลพิษจากท่อไอเสียของรถยนต์ จากโรงงานอุตสาหกรรม จากกระบวนการผลิต จากกิจกรรมด้านการเกษตร จากการระเหยของก๊าซบางชนิด เป็นต้น

ปัญหามลพิษทางอากาศ[แก้]

ปัญหามลพิษทางอากาศเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ เนื่องมาจากจำนวนประชากรโลกที่มีเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้เป็นเครื่องอำนวยความสะดวกมากขึ้น ขบวนการผลิตทางอุตสาหกรรมขยาายตัวเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดของเสียที่ปล่อยออกมาสู่อากาศภายนอกจากโรงงานอุตสาหกรรมมากยิ่งขึ้น รนวมทั้งจำนวนยานพาหนะบนท้องถนนที่นับว่าเป็นตัวการสำคัญในการทำให้เกิดมลพิษทางอากาศ จากควันเสียและัก๊าซพิษ มลพิษทางอากาศเกิดขึ้นโดยควันเป็นผลเนื่องมาจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ของถ่านหินที่ใช้ในบ้านเรือนและในโรงงานอุตสาหกรรม สำหรับออกไซด์จของซัลเฟอร์นั้นส่วนใหญ่จะเกิดจากการใช้ถ่านหิน และการน้ำมันปิโตรเลี่ยมมาใช้เป็นเชื้อเพลิง ซึ่งมีผลให้มีปริมาณของออกไซด์ของซัลเฟอร์ที่ถูกปล่อยออกมามีปริมาณเพิ่มมากขึ้น และได้มีการนำเอาน้ำมันเบนซิลและน้ำมันดีเซลมาใมช้ในยานพาหนะซึ่งทำให้เกิดมวลสารอันเป็นผลมาจากยานพาหนะทางบก ได้แก่ คาร์บอนมอนอกไซด์ ไฮโดรคาร์บอน อัลดีไฮน์ ออกไซด์ ออกไซด์ของไนโตรเจน และออกไซด์ของซัลเฟอร์ ซึ่งปัญหาของมลพิษทางอากาศจะมากน้อยเพียงใดพิจารณาได้จากระดับหรือปริมาณของมวลสารในอากาศ

ระบบภาวะมลพิษอากาศ[แก้]

ระบบภาวะมลพิษอากาศ มีส่วนประกอบ 3 ส่วน ที่มีความสัมพันธ์กัน คือ

1. แหล่งกำเนิดสาร

2. มลพิษอากาศหรือบรรยากาศ

3. ผู้รับผลเสียหรือผลกระทบ

แหล่งกำเนิดสารมลพิษทางอากาศ[แก้]

แบ่งออกเป็น 2 แหล่งด้วยกันคือ

แหล่งกำเนิดที่เกิดจากการกระทำของธรรมชาติ[แก้]

เป็นแหล่งกำเนิดที่ก่อให้เกิดสารมลพิษอากาศตามกระบวนการธรรมชาติ ไม่มีการกระทำของมนุษย์เข้าไปเกี่ยวข้องแต่อย่างใด เช่น ภูเขาไฟระเบิด ไฟป่าทะเล และมหาสมุทร ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดของละอองเกลือ เป็นต้น

1. ภูเขาไฟ เป็นแหล่งที่ก่อให้เกิดมลพิษโดยทางธรรมชาติ มักจะปล่อยสารมลพิษได้แก่ ฟลูมควัน หรือ แก๊สต่างๆ

2. ไฟไหม้ป่า เป็นการเกิดขึ้นโดยธรรมชาติโดยเฉพาะฤดูร้อนซึ่งในบรรยากาศมีอุณหภูมิสูงและการเสียดสีของต้นไม้ใบหญ้าที่อยู่ในป่าทำให้เกิดการลุกไหม้เป็นไฟขึ้น

3. การเน่าเปื่อยและการหมัก เป็นสารอินทรีย์หรือสารจุลินทรีย์หรือปฏิกิริยาเคมีอาจทำให้เกิดสารมลพิษออกสู่บรรยากาศ

แหล่งกำเนิดที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์[แก้]

แหล่งกำเนิดที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ อาจแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1. แหล่งกำเนิดที่เคลื่อนที่ได้(Mobile Sources) ได้แก่ รถยนต์ เรือยนต์ เครื่องบิน เป็นต้น

2. แหล่งกำเนิดที่อยู่กับที่(Stationary Sources) หมายถึงแหล่งกำเนิดที่ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ เช่นโรงงานอุตสาหกรรม โรงงานไฟฟ้า การใช้เชื้อเพลิงภายในบ้าน การเผาขยะมูลฝอย