ผู้ใช้:Choppaksron

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
 อง คาวาระ (On Kawara) เป็นศิลปินแนวคอนเซ็ปชวลอาร์ต ชาวญี่ปุ่นที่อาศัยอยู่ในเมืองนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ปี 1965 จากความเป็นศิลปินที่เน้นเรื่องแนวคิด ซึ่งเป็นศิลปะแนวหนึ่งที่แสดงออกถึงความคิดของศิลปินและลดความสำคัญของวัตถุในงานศิลปะลง เขาได้สร้างผลงานที่มีชื่อเสียงเป็นจำนวนมาก โดยลักษณะเด่นของผลงานของ อง คาวาระคือการใช้เรื่องของเวลามาเป็นสื่อในการสร้างผลงานศิลปะ1

เขามีงานนิทรรศการของตนเองมากมายและมีส่วนร่วมในการจัดนิทรรศการกลุ่มรวมถึงงานมหกรรมศิลปะร่วมสมัย เวนิช เบียนนาเล่ ในปี ค.ศ. 1976

ประวัติ[แก้]

 อง คาวาระ (On Kawara) มีชีวิตอยู่ตั้งแต่ 24 ธันวาคม ค.ศ. 1964 – 28 มิถุนายน ค.ศ. 2014 เขาสำเร็จการศึกษาจาก Kariya Highschool ในปี 1951 หลังจากนั้นจึงย้ายไปอยู่ที่เมืองโตเกียว2 เขาจัดแสดงผลงานครั้งแรกในชีวิตที่นั่น ผลงานในช่วงปี 1950s คาวาระได้รับแรงบันดาลใจมาจากเหตุการณ์ระเบิดที่เมืองฮิโรชิม่าและนางาซากิ ซึ่งเกิดขึ้นช่วงที่เขาเป็นวัยรุ่น ผลงาน The Bathroom(1953-54) แสดงถึงภาพบุคคลที่ไม่สมประกอบหลายคน อยู่ในห้องน้ำ จากนั้น เขาไปเม็กซิโกในปี 1959 และเดินทางไปทั่วยุโรป ก่อนจะตัดสินใจตั้งถิ่นฐานอยู่ที่นิวยอร์คในปี 19653 ผลงานที่มีชื่อเสียงที่สุดของคาวาระ คือ Date Paintings (1965)ซึ่งอยู่ในชุดผลงาน Today Series ซึ่งเป็นรูปแบบงานที่คาวาระนิยม เขาเสียชีวิตเมื่ออายุ 81 ปี โดยที่ยังทำผลงาน I am still alive ในทวิตเตอร์ของเขา4

ผลงานตัวอย่าง[แก้]

ผลงานที่ญี่ปุ่นก่อนย้ายไปนิวยอร์ค (1950-1959)[แก้]

Absentees (1956)[แก้]

  เป็นผลงานของเขาตอนเข้าร่วมเป็นศิลปินหน้าใหม่ใน Discussion Group เป็นภาพของแขนผู้คนที่ยืดตรงแข็งแรงยื่นออกมาจากลูกกรงของอาคาร ด้วยลักษณะท้าทาย แต่สื่ออยู่บนพื้นฐานของความสิ้นหวัง เป็นงานที่สะท้อนถึงระเบิดปรมาณูในที่เกิดขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 25

The Bathroom series (1953-54)[แก้]

  เป็นชุดผลงานที่ประกอบไปด้วยภาพวาด 28 ภาพของผู้คนเปลือยที่พิการ ลักษณะไม่สมประกอบ แขนขาโดนตัดขาด อยู่ในห้องที่ปูด้วยกระเบื้อง โดยแต่ละบุคคลไม่มีความปฏิสัมพันธ์กัน เป็นงานที่สะท้อนถึงอารมณ์ความรู้สึกของผู้คนที่ได้รับผลกระทบจากสงคราม มนุษย์ได้รับบาดเจ็บจากสงคราม รู้สึกสิ้นหวัง ไม่มีความสุข6 เขายังมีผลงานอื่นๆ ในช่วงนี้ ซึ่งอยู่ในลักษณะเดียวกัน เช่น Butcher’s wife (1952) Event in warehouse (1954) Black Soldier (1955)

Today series (1965)[แก้]

หลังจากเขาตัดสินใจตั้งถิ่นฐานที่นิวยอร์ค คาวาระได้สร้าง ผลงาน Today Series ซึ่งเป็นหนึ่งผลงานที่มีชื่อเสียงที่สุดของเขา โดยผลงานนี้จะเกี่ยวข้องกับเรื่องของ วัน เวลาและสถานที่ เป็นโปรเจ็คต่อเนื่อง โดยเริ่มต้นเมื่อวันที่ 4 มกราคม ค.ศ. 1966 เป็นงานตลอดช่วงชีวิตของเขา ผลงานนี้มีชื่อเรียกอีกชื่อว่า ‘Date Paintings’ หรือ ‘วันที่วาดภาพ’ 7 รายละเอียดของภาพ เป็นภาพที่ประกอบด้วยวันที่ เดือน และปี โดยวาดด้วยอักษรสีขาวบนพื้นหลังที่ใช้สีเดียว ส่วนมากจะเป็นสีแดง สีฟ้า สีดำหรือสีเทา8 วันที่ที่ถูกวาดลงบนภาพจะเป็นภาษาและมีรูปแบบไวยากรณ์ตามรูปแบบการใช้ของประเทศที่เขาอาศัยอยู่ในขณะวาดภาพนั้นๆ9 ชิ้นงานของเขามีหลายขนาด ติดตั้งไว้บนผนังเป็นแถวตามแนวนอน คาวาระใส่ใจกับผลงานแต่ละชิ้นของเขามาก ตัวอักษรบนภาพถูกวาดขึ้นด้วยมือโดยผ่านการคำนวณและจัดรูปแบบมาอย่างดี 0 ในช่วงแรก ผลงานจะมีความฉูดฉาดมากกว่าผลงานในช่วงสมัยหลังที่ใช้โทนสีเข้มขึ้น เขามักจะทาสีพื้นหลังทับกันจำนวน 4-5 ชั้น และถูพื้นผิวให้เรียบเพื่อเขียนตัวอักษร คาวาระปฏิเสธรูปแบบการเขียนที่เป็นลายมือ เขาเลือกใช้ตัวอักษรที่เป็นฟ้อนท์ ซึ่งเป็นแบบแผนมากกว่า คาวาระมีความตั้งใจในงานแต่ละชิ้นมาก ถ้าหากว่าเขาไม่สามารถวาดภาพวันที่เสร็จภายในวันนั้นๆ ภาพจะถูกทำลายทิ้งทันที คาวาระวาดภาพเป็นจำนวน 63-241 ภาพในแต่ละปี11 ภาพที่ไม่ได้ถูกนำมาจัดแสดงจะถูกนำไปเก็บไว้ในกล่องกระดาษที่ทำขึ้นสำหรับภาพแต่ละชิ้น ภายในกล่องจะติดภาพข่าวที่คาวาระตัดมาจากหนังสือพิมพ์ของเมืองที่เขาอยู่ขณะนั้นและต้องเป็นฉบับวันที่ตรงกับวันที่บนภาพ12 ดังนั้นกล่องจึงเป็นส่วนหนึ่งของผลงานเช่นกันแต่มีการนำไปจัดแสดงเพียงบางครั้งเท่านั้น13 คาวาระได้วาดภาพ “วันที่วาดภาพ” (Date Paintings) ในแต่ละประเทศมากกว่า 112 ประเทศทั่วโลก นับเป็นผลงานที่มีความยาวนานเป็นอย่างมาก

Title[แก้]

ผลงานที่แสดงออกถึงการต่อต้านสงครามเวียดนาม รูปแบบของผลงานพัฒนามาจากผลงานชื่อ ‘Nothing Something Everything’ ใช้อักษรสีขาวเขียนเวลาและชื่อสถานที่บนพื้นหลังสีแดง โดยหมายเลข 1965 เป็นปีคริสต์ศักราชที่ประเทศสหรัฐอเมริกาทิ้งระเบิดลงที่ประเทศเวียดนามเนื่องจากเหตุการณ์ในสงครามเวียดนาม ขณะนั้นเขาอาศัยอยู่ในสหรัฐอเมริกา เหตุการณ์นี้อาจทำให้เขานึกถึงเหตุการณ์การทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ลงที่ฮิโรชิมาและนางาซากิในสงครามโลกครั้งที่ 2 คำว่า “Viet-nam” คล้ายกับว่าเป็นการอุทานที่ปราศจากเครื่องหมายอุทาน และการใช้สีพื้นหลังแสดงถึงความรู้สึกของศิลปินที่อาจจะเป็นการเน้นย้ำเหตุการณ์ในอดีตของคาวาระก็เป็นได้ อาจจะเป็นแนวคิดเดียวกันผลงานชื่อ “The Bathroom” ที่เขาทำขึ้นสมัยยังอาศัยอยู่ที่โตเกียว14

I got up, I met, I went[แก้]

I Got up คาวาระเริ่มทำผลงานสามชุดนี้ในช่วงสิบสองเดือนที่เขากลับไปเยือนเม็กซิโกช่วงปี 1968-69 โดยเขาจะส่งโปสการ์ดที่แสตมป์ตรายางจากเมืองที่เขาอาศัยอยู่ในขณะนั้น โดยมีรายละเอียดบนโปสการ์ดเป็นเวลาที่เขาตื่นจากที่นอนในทุกๆวัน เขาทำงานนี้พร้อมกับผลงาน ‘I Met’ และ ‘I Went’ โดย ‘I Met’ คาวาระจะบันทึกรายชื่อของบุคคลที่เขาพบเจอในแต่ละวันลงในกระดาษ และกำกับวันที่ลงในกระดาษเช่นเดียวกัน ส่วน ‘I Went’ คาวาระใช้เส้นสีแดงลากไปตามทางเดินบนแผนที่ท้องถิ่นในเมืองที่เขาอาศัยอยู่ในขณะนั้น ซึ่งจะแตกต่างกันไป คาวาระทำผลงานเหล่านี้ขึ้นทุกวันจนกระทั่งวันที่ 17 กันยายน ค.ศ. 197915

One Million Years[แก้]

ผลงานที่โดดเด่นอีกชิ้นหนึ่งของ อง คาวาระ ถูกจัดแสดงครั้งแรกในประเทศอังกฤษเป็นเวลา 7 วัน 7 คืน ที่แยก Trafalgar ช่วงต้นปี 2014 ผลงานชิ้นนี้ถูกนำไปจัดแสดงทั่วโลก อาทิ ปารีส นิวยอร์ค บรัซเซล และกวางจู16 เป็นการใช้ความเป็น Performance Art เข้ามาร่วมด้วย โดยให้ผู้ชมหรืออาสาสมัครมีส่วนร่วมกับงาน คาวาระนำปีคริสต์ศักราชมาบันทึกลงเป็นหนังสือโดยย้อนกลับจากปัจจุบันไปสู่อดีตเป็นเวลาหนึ่งล้านปี และนับจากปัจจุบันไปสู่อนาคตอีกหนึ่งล้านปี เล่มอดีตมีจำนวน 10 เล่ม เล่มอนาคตมีจำนวน 10 เล่ม การจัดแสดงผลงานชิ้นนี้ได้จัดแจงให้อาสาสมัครหรือผู้ชมที่เป็นผู้ชายและผู้หญิงนั่งข้างกันบนโต๊ะ มีหนังสือ 2 เล่มให้เปิดอ่าน ซึ่งเล่มหนึ่งเป็นเล่มอดีตและอีกเล่มคือเล่มอนาคต โดยที่ทั้งสองจะอ่านไล่ปีคริสต์ศักราชตั้งแต่ปีปัจจุบันไปพร้อมกัน17

100 Years Calendar[แก้]

ผลงานมีความเกี่ยวข้องกับงาน ‘Date Paintings’ คาวาระสร้างปฏิทินที่มีช่วงเวลาจำนวนหนึ่งร้อยปี โดยมีวันเวลาของชีวิตของศิลปินอยู่ในนั้น คาวาระใช้จุดสีเหลืองแสดงวันที่เขาเริ่มมีชีวิตกระทั่งถึงวันที่ผลงานถูกจัดแสดงในนิทรรศการ คาวาระใช้จุดสีอื่นทับบนตัวเลขวันที่เขาวาดงาน ‘Date Paintings’ ซึ่งจุดสีนั้นก็จะมีความแตกต่างกันไปตามพื้นหลังงานที่เขาวาด ผลงานชิ้นนี้เปรียบได้กับชีวประวัติของคาวาระที่ถูกเปิดเผยในงานนิทรรศการ แสดงออกว่าเขาทำอะไรบ้างในแต่ละวัน18

Pure Consciousness[แก้]

นิทรรศการที่เกิดขึ้นพร้อมกับงาน ‘Date Paintings’ นิทรรศการเกิดขึ้นในหลายเมือง เช่น ซิดนีย์ (1998) เซี่ยงไฮ้ (2000) อาไบจัน (2000) อย่างไรก็ตามแทนที่จะจัดแสดงรวมกันผลงานชิ้นอื่นๆที่เกิดขึ้นในพิพิธภัณฑ์หรือห้องแสดงงาน คาวาระ นำงาน ‘Date Paintings’ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 7 มกราคม ค.ศ. 1997 ไปประดับในห้องเรียนของโรงเรียนอนุบาล ผลที่ปรากฏคือเด็กๆที่เรียนอยู่ในห้อง ไม่มีใครสนใจงานของเขา ไม่มีใครเข้าใจความหมายในผลงานของเขาเลยสักคน19

I AM STILL ALIVE[แก้]

ในช่วงปี 1970s คาวาระได้ใช้โทรเลข ส่งข้อความว่า ‘ฉันยังมีชีวิตอยู่’ ให้เหล่าเพื่อนๆ ของเขาทุกวัน โดยสาเหตุที่เขาเลือกใช้คำนี้ เนื่องจากเป็นคำพูดที่ดูจริงจังไม่ได้ใช้ในเหตุการณ์ธรรมดาทั่วไป (จะถูกใช้ก็ต่อเมื่อผ่านเหตุการณ์เลวร้ายมา) แต่คาวาระกลับนำมาเขียนเป็นข้อความธรรมดาทั่วไปปรกติ การสื่อสารทางโทรเลขในสมัยนั้นเป็นช่องทางการสื่อสารที่รวดเร็วที่สุด เสมือนเป็นการเน้นย้ำถึงความมีชีวิตของตนเอง แต่เมื่อคำพูดนี้ถูกนำใช้เป็นข้อความ ก็กลายเป็นคำที่ดูไร้ชีวิตชีวา ตรงข้ามกับความหมายของคำนั้นๆ