ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:Khoratguys/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

แม่แบบ:'''ตำบลโคราช'''[แก้]

ตำบลโคราช ได้ชื่อว่าเป็นส่วนหนึ่งของ เมืองโคราชเก่า ก่อนที่จะย้ายไปตั้งอยู่ที่ในตัวเมืองนครราชสีมาในปัจจุบัน

เมืองโคราชเกิดขึ้นช่วงในสมัยประวัติศาสตร์ [1]ได้มีความเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่สมัยทวารวดี ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองเสมา ตั้งอยู่บริเวณ ตำบลเสมา อำเภอสูงเนินในปัจจุบัน เป็นเมืองใหญ่ ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นที่ตั้งของเมืองโบราณที่ชื่อ ศรีจนาศะ ต่อมาในสมัยขอมพระนครมีการสร้าง เมืองโคราช หรือ นครราช อยู่ในบริเวณเดียวกัน และ มีเมืองพิมายเป็นเมืองสำคัญของขอมในบริเวณนี้[2]

ตำบลโคราชครอบคลุมพื้นที่ในความรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลโคราช  จำนวน  ๘  หมู่บ้าน 

คือ

  1. บ้านเมืองเก่า
  2. บ้านวังวน
  3. บ้านโบสถ์
  4. บ้านนาตะโคก
  5. บ้านหัวบึง
  6. บ้านหัวนา
  7. บ้านกกกอก
  8. บ้านกุดหิน

มีทั้งหมด 744 ครัวเรือน สภาพภูมิประเทศ ส่วนใหญ่จะเป็นที่ราบลุ่ม  ดินส่วนใหญ่เป็นดินเหนียวและดินร่วน และทางตอนใต้ของตำบลจะเป็นดินร่วนปนทราย  มีลำน้ำสายหลักของประชากรที่อาศัยอยู่ทางตอนเหนือ คือ  ลำตะคอง และมีเขื่อนกักกั้นน้ำขนาดเล็กชื่อ เขื่อนบ้านกุดหิน ซึ่งจะติดกับบรเวณ วัดกุดหิน

ณ ที่ตำบลโคราชนี้ บ้างก็เรียกว่าเมืองโคราฆปุระ เชื่อว่าเป็นเมืองเก่าแก่โบราณแห่งหนึ่งมาตั้งแต่สมัยโบราณ มีมีโบราณสถานและศาสนสถานที่สำคัญ ๓ แห่ง และยังเป็นสถานที่เที่ยวเมืองโคราชเก่า  อีกด้วย คือ

  1. ปราสาทโนนกู่ หรือที่ชาวบ้านจะเรียกกันติดมามาโน่นนาน ว่า ปรางค์กู่ เซึ่งมีลักษณะป็นปรางค์ปราสาทหินทราย   สร้างขึ้นในราว พุทธศตวรรษที่ ๑๖- ๑๗
  2. ปราสาทเมืองแขก หรือรู้จักและรียกกันติดปากว่า ปรางค์แขก ซึ่งมีลักษณะเป็นปรางค์ที่สร้างด้วยศิลาทรายสีเทา  สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๕-๑๖
  3. ปราสาทเมืองเก่า หรือปรางค์เมืองเก่า  เป็นเทวสถานของศาสนา พราหมณ์ ซึ่งภายในปราสาทมีรอยพระพุทธบาท
  1. จากหลักฐานทางโบราณคดีพบว่า มีชุมชนโบราณซึ่งเป็นร่องรอยของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ตั้งแต่ยุคหินใหม่ต่อเนื่องมาถึงยุคสำริด และยุคเหล็ก กระจายอยู่ทั่วไปในจังหวัดนครราชสีมา โดยมีแหล่งโบราณคดีที่สำคัญคือ ชุมชนบ้านปราสาท ชุมชนบ้านโนนวัด แหล่งภาพเขียนสีเขาจันท์งาม ซึ่งกำหนดอายุได้ประมาณ 4,500 ปีมาแล้ว
  2. มีผู้เสนอว่าอาจมีความเป็นไปได้ที่ เมืองนครราช คือเมืองเดียวกันกับเมืองราด ของพ่อขุนผาเมือง เนื่องจากมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับเมืองพระนครหลายประการ นอกจากนี้รูปสลักกองทัพชาวสยามบนระเบียงด้านหนึ่งของ นครวัด อาจเป็นชาวสยามจากลุ่มแม่น้ำมูลที่เกี่ยวข้องกับเมืองนครราช และยังมีการกล่าวถึงเมืองนครราชสีมาในพงศาวดารของกัมพูชาหลายครั้งด้วย อย่างไรก็ตาม ผู้ที่มีมุมมองอีกด้านหนึ่งก็ว่า นครราชสีมา นั้นเป็นคำไทยเป็นคำใหม่ แยกเป็นคำได้คือ นคร, ราช และ สีมา หมายความว่า "เมืองใหญ่อันเป็นขอบขัณฑสีมาของราชอาณาจักร" (ราช+สีมา) ส่วนคำว่า โคราช (สำเนียงถิ่น: โค-หฺราด , ไทยกลาง: โค-ราด, เขมร: โก-เรียช ) นั้น น่าจะเพี้ยนมาจาก นครราช (อ่านตามสำเนียงว่า คอน-หฺราด ซึ่งเป็นคำเรียกนครราชสีมาแบบย่อ ๆ ของชาวบ้าน) หรือ อังกอร์เรียจ ต่อมาลดรูปเป็น กอร์เรียจ และเพี้ยนเป็นโคราช ในที่สุด และไม่ได้เพี้ยนมาจากชื่อเมืองโคราฆปุระ (Gorakhpur) ที่เป็นชื่อเมืองสมัยใหม่ในแคว้นเดียวกับเมืองอโยธยา (Ayodhya) ในอินเดีย ตามข้อสันนิษฐานของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ