ผู้ใช้:NICHAPHAT CHUNCHAROEN/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ระบบบริหาราชการของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

ประวัติและข้อมูลของรัฐบาลโดยย่อ[แก้]

การปกครองประเทศ[แก้]

สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เป็นรัฐเดี่ยว มีรูปแบบการปกครองแบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ (ทางการลาวใช้คำว่า ระบบประชาธิปไตยประชาชน) มีการแบ่งเขตการปกครองเป็น 16 แขวง [1] และ 1 เขตการปกครองพิเศษ( นครเวียงจันทร์ ) ได้แก่ แขวงอัตตะปือ แขวงบ่อแก้ว แขวงบอลิไซ แชวงจำปาสัก แขวงหัวพัน แขวงคำม่วน แขวงหลวงน้ำทา แขวงหลาวงพระบาง แขวงอุดมไซ แขวงพงสาลี แขวงสาละวัน แขวงสะหวันนะเขต นครเวียงจันทร์(เขตการปกครองพิเศษ) แขวงเวียงจันทร์ แขวงไซยะบูลี แขวงเซกอง แขวงเชียงของ [2] แขวงต่างๆ เหล่านี้ มีข้าราชการระดับต่างๆควบคุมดูแลและบริหารงานในส่วนต่างๆ รวมถึงให้บริการสาธารณะแก่ประชาชนในพื้นที่ ให้เกิดประสิทธิภาพ ตรงตามวัตถุประสงค์ของรัฐบาลสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวลาว

การบริหารประเทศ[แก้]

สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวได้แบ่ง อำนาจออกเป็น 3 ฝ่าย คือ ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายตุลาการ

  • ฝ่ายนิติบัญญัติ ตามรัฐธรรมนูญถือว่าเป็นกฎหมายพื้นฐานแห่งรัฐในการดำเนินงานของสภาแห่งชาติ เป็นองค์การที่เป็นตัวแทนของประชาชน เป็นองค์การแห่งสิทธิอำนาจ ทำหน้าที่ดำเนินงานตามหลักประชาธิปไตยและดำเนินงานตามระเบียบการประชุม
  • ฝ่ายบริหาร เป็นฝ่ายที่มีอำนาจมาก แบ่งได้ 2 ส่วน คือ องค์การบริหารส่วนกลาง เป็นการบริหารประเทศโดยสภารัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรี และองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ได้แบ่งส่วนการบริหาร เป็น 3 ระดับ คือ ระดับแขวง เทียบเท่าจังหวัด ระดับเมืองเทียบเท่ากับอำเภอ ระดับตาแสงเทียบเท่ากับตำบล
  • ฝ่ายตุลาการ มีการจัดการโครงสร้างตุลาการ แบ่งเป็น 2 องค์กร คือ
    • ระบบศาลประชาชน แบ่งเป็น 5 ประเภท ได้แก่ ศาลประชาชนสูงสุดเทียบเท่ากับศาลฎีกา ของประเทศไทย ศาลแขวง ศาลประชาชนเมือง ศาลกำแพงหรือนครเวียงจันทร์ และศาลทหาร ผู้พิพากษาของศาลทุกระดับจะต้องได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการประจำสภาแห่งชาติ
    • องค์การอัยการประชาชน เป็นองค์การที่คู่ขนานกับศาลประชาชน มาจากการแต่งตั้งจากสภาแห่งชาติตามกรรมการเสนอของคณะกรรมการประจำสภาแห่งชาติ

วิสัยทัศน์ เป้าหมาย ยุทธศาสตร์[แก้]

วิสัยทัศน์[แก้]

สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จะต้องเป็น ประเทศที่มีความเจริญก้าวหน้า มั่งคง จะนำพาประชาชนหลุดพ้นจากความยากจน พร้อมทั้งพัฒนาประเทศให้พ้นจาการเป็น ประเทศที่กำลังพัฒนา ในปี พ.ศ. 2563 โดยอาศัยการพัฒนาเพื่อเป็นแบตเตอรี่ของเชีย ภายในปี พ.ศ.2573 [3]

เป้าหมาย[แก้]

เป้าหมาย คือ แก้ปัญหาความยากจน สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีแก่ประชาชน และหลุดพ้นจากการเป็นประเทศที่มีการพัฒนาน้อยที่สุด มีเป้าหมายอยู่ 3 เรื่องใหญ่ๆที่จะต้องทำ คือ 1.แก้ไขปัญหาความยากจน 2.แก้ไขความอ่อนแอทางเศรษฐกิจ 3.การทำให้รายได้เฉลี่ยของประชาชนมากกว่า 1,086 ดอลลาร์สหรัฐ

ยุทธศาสตร์[แก้]

ปัจจุบันประเทศลาว อยู่ภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 7 (พ.ศ.2554-2558) การดำเนินการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมตามยุทธศาสตร์ เพื่อที่จะนำประเทศลาว ไปสู่การพัฒนาและเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคม อุตสาหกรรมที่ทันสมัย

ประวัติ ความเป็นมาของระบบราชการ[แก้]

ลาวภายใต้การปกครองของฝรั่งเศส[แก้]

ประเทศลาวสมัยก่อนมีเมืองหลวงอยู่ที่ หลวงพระบาง มีกษัตริย์ที่ปกครองสืบต่อกันมาจนถึงกษัตริย์องค์ที่ 41 คือ พระเจ้าชัยเชรษฐาธิราช ที่ 1 ขึ้นครองกรุงหลวงพระบาง ตั้งแต่ปี พ.ศ.2092 พระเจ้าชัยเชษฐาธิราชที่ 41 เกิดกลัวพม่าจะยกทัพมาโจมตีเมืองหลวงพระบางจึงอพยพราษฎรมาตามแม่น้ำโขง แล้วสร้างเมืองเวียงจันทร์ ขึ้นเป็นราชธานี ในปี พ.ศ.2101 สร้างเสร็จในปี พ.ศ.2103 มีการขนานนามว่า "กรุงเวียงจันทร์ศรีสัตนาคณะหุต อุตมะราชธานีล้านช้างร่มขาวเวียงจันทร์ หรือเรียกอีกอย่างว่า กรุงเวียงจันทร์"[4] ลาวได้ตกเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศส ในปี พ.ศ.2450 ขณะนั้นพระเจ้าศรีสว่างเป็นผู้ปกครองนครหลาวพระบางฝรั่งเศสได้ให้ครองราชย์อยู่ต่อไปในราชสำนัก แต่กษัตริย์ไม่มีอำนาจใดๆทั้งสิ้น เนื่องจากตั้งไว้เพื่อแสดงให้เห็นถึงสถาบันกษัตริย์เป็นสถาบันที่สูงสุดของ ประเทศลาว และเป็นศูนย์รวมจิตใจ ของปวงชนชาวลาว ฝรั่งเศสได้แบ่งลาวออกเป็น 9 แขวง คือ แขวงนครเวียงจันทร์ หลวงพระบาง พวน หัวพัน หัวของ คำมวน สุวรรณเขต สาละวัน และจำปาศักดิ์ และอีก 1 เขต คือ เขตพงสาลี โดยมีชาวฝรั่งเศสเป็นเจ้าแขวงหรือข้าหลวงคอยควบคุมเจ้าเมืองชาวลาวอีกต่อหนึ่ง ซึ่งเก็บส่วยจากชายฉกรรจ์ให้ข้าหลวงฝรั่งเศสตลอดเวลาที่ลาวตกเป็นเมืองขึ้น ฝรั่งเศสไม่รักษาโบราณสถานและโบราณวัตถุ เพราะฝรั่งเศสเห็นว่า เป็นดินแดนบ้านป่า ล้าสมัย ไม่มีคุณค่าในเชิงเศรษฐกิจ ในปีพ.ศ. 2495 ลาวในหัวเมืองด้านตะวันออกเฉียงเหนือเริ่มก่อการจลาจลต่อต้านการปกครองของฝรั่งเศสภายใต้การสนับสนุนจากรัฐบาลกรุงฮานอย เมื่อฝรั่งเศสแพ้สงครามที่ค่ายเดียนเบียนฟู ลาวจึงได้รับเอกราชอย่างสมบูรณ์ ฝรั่งเศสถอนกำลังออกจากประเทศลาวซึ่งแตกเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายสนับสนุนระบบกษัตริย์ในนครเวียงจันทร์(ฝ่ายขวา)ฝ่ายขบวนการประเทศลาว(ฝ่ายซ้าย)

ลาวยุคสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว[แก้]

ช่วงระยะเวลาหลัง ของทศวรรษ 1980 ต่อมาเมื่อเจ้าสุภานุวงศ์สละตำแหน่งจากประธาน ผู้ดำรงตำแหน่งประธานประเทศ คือ ท่านไกสอน พมวิหาน (พ.ศ. 2535) เมื่อประธานประเทศผู้มีความเชื่อมั่นในระบอบคอมมิวนิสต์ถึงแก่อสัญกรรม นายหนูฮัก พูมสะหวัน ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งแทน การจำกัดเสรีภาพค่อยๆ ถูกยกเลิกไป ชาวลาวที่อพยพไปอยู่ต่างประเทศได้รับการเชื้อเชิญให้กลับคืนสู่บ้านเกิดเมืองนอน ลาวเริ่ม เปิดประเทศ และฟื้นฟูความสัมพันธ์กับประเทศไทย และเมื่อท่านไกสอน ได้ถึงแก่กรรมกระทันหัน ท่าน หนูฮัก พูมสะหวัน ก็ได้ดำรงตำแหน่งประธานประเทศต่อ ยุคนี้ลาวกับไทยเปิดสะพานมิตรภาพ ไทย – ลาว ในปี พ.ศ. 2538 ต่อมา ท่านหนูฮัก ได้สละตำแหน่ง ท่านคำไต สีพันดอน รับดำรงตำแหน่งประธานประเทศต่อ จนถึงปี พ.ศ. 2549 ท่านคำไต ลงจากตำแหน่ง ท่านจูมมะลี ไซยะสอน จึงเป็นผู้รับตำแหน่งประธานประเทศลาวคนปัจจุบัน [5]

  • หลักการพัฒนาระบบราชการหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง

สปป.ลาวได้มีการปรับปรุงกลยุทธ์การพัฒนาประเทศตามหลักการพัฒนาระบบราชการ 5 ปี (ค.ศ. 1998-2002) โดยมีหลักการปรับปรุงดังนี้

  1. ปรับเปลี่ยนโครงสร้างของอัตราเงินเดือนข้าราชการลาวให้สอดคล้องกับระบบเศรษฐกิจ
  2. ปรับเปลี่ยนวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ในการบริหารราชการ โดยมีการตั้งสถาบันอบรมและพัฒนาคุณภาพข้าราชการตามพื้นที่ต่างๆในประเทศ เพื่ออบรมข้าราชการให้มีความทันสมัย และเป็นไปตามนโยบายเดียวกัน
  3. แต่งตั้งคณะกรรมการร่างกฎหมายใหม่สำหรับใช้ในการบริหารและพัฒนาคุณภาพข้าราชการ เพื่อให้กฎหมายที่ร่างขึ้นใหม่มีคุณภาพและเป็นประโยชน์สูงสุดในการพัฒนาประเทศ
  4. สนับสนุนโครงการด้านสาธารณูปโภค เพื่อลดอัตราการเสียชีวิตของข้าราชการ
  5. เปิดโอกาสให้ชาวลาวที่เป็นชนกลุ่มน้อยให้ได้รับราชการเพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกัน
  6. พัฒนาด้านการสื่อสารในพื้นที่ห่างไกล โดยเฉพาะพัฒนาระบบไฟฟ้า สัญญาณคลื่นวิทยุเพื่อกระจายความเจริญ เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงการเปลี่ยนแปลงต่างๆ
  7. พัฒนาศักยภาพของสภาแห่งชาติโดยแต่งตั้งคณะกรรมการใหม่เพื่อเป็นตัวแทนของสภาแห่งชาติให้เข้าไปรับหน้าที่ในชนบท
  8. รัฐบาลจะสนับสนุนโครงการวิจัยในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาประเทศในทุกด้าน เพื่อใช้ในการปรับปรุงประเทศและปรับคุณภาพของข้าราชการให้ตรงจุดของปัญหา
  9. จัดสรรนโยบายทางการเงินและการคลังให้มีความเหมาะ เพื่อความโปร่งใสในการบริหารประเทศ
  10. ประสานงานขอความช่วยเหลือด้านเงินทุนจากต่างประเทศ
  • ความเสี่ยงในการพัฒนาในช่วงเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง

ภายหลังจากมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง รัฐบาลใหม่เริ่มดำเนินการพัฒนาระบบราชการ สปป.ลาว ได้พบปัญหาดังนี้

  1. กฎหมายที่ร่างขึ้นมาใหม่ไม่ตอนสนองต่อความเป็นจริงในสังคม เนื่องจากประชาชนขาดความรู้ความเข้าใจในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงในระบบต่างๆ
  2. เกิดปัญหาการคอร์รัปชั่นในการจัดเก็บภาษี ทำให้รายได้ของรัฐน้อยกว่าจำนวนที่ตั้งเป้าหมายเอาไว้ จึงส่งผลกระทบต่องบประมาณในโครงการอื่นๆ โดยเฉพาะงบประมาณในการพัฒนาระบบราชการ
  3. ปัญหาการเข้ารับราชการ เพราะคุณสมบัติของข้าราชการต่ำกว่าเกณฑ์ และประชาชนขาดคุณสมบัติในการดำรงตำแหน่งต่างๆ
  4. การขาดแหล่งเงินทุนในการพัฒนาจากต่างประเทศ เนื่องจากปัญหาของข้าราชการที่ขาดความรู้ความสามารถ ในทางภาษาในการเจรจาติดต่อสื่อสาร

ภาพรวมของระบบราชการ[แก้]

รัฐบาล นโยบายรัฐบาล และนโยบายการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน[แก้]

  • นโยบายรัฐบาล

พรรคประชาชนปฏิวัติลาวซึ่งเป็นองค์กรที่มีอำนาจสูงสุด โดยผูกขาดการปกครองประเทศตามระบอบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ พรรคดังกล่าว ได้กำหนดนโยบายและเป้าหมายการพัฒนาประเทศไว้ในการประชุมสมัชชาพรรค ครั้งที่ 8 เพื่อให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยึดถือและปฏิบัติ ดังนี้[6]

    • ในปี พ.ศ.2563 ต้องพ้นจากสถานการณ์การเป็นประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุด ต้องมีความมั่นคงทางการเมือง เศรษฐกิจในประเทศจะต้องขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ประชาชนต้องมีการเป็นอยู่ที่ดีกว่าปัจจุบัน 3 เท่าตัว
    • ในปี พ.ศ.2549-2553 เป็นช่วงการเสริมสร้างพื้นฐานเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาประเทศที่กำหนดไว้ในปี พ.ศ.2563 สปป.ลาว ดำเนินนโยบายต่างประเทศที่มุ่งสร้างเสริมความสัมพันธ์แบบรอบด้านกับทุกประเทศบนพื้นฐานของการอยู่ร่วมกันอย่างสันติโดยไม่แบ่งแยกอุดมการณ์และลัทธิ โดยจะให้ความสำคัญกับประเทศเพื่อนบ้านเป็นหลัก

จำนวนข้าราชการทั่วประเทศ[แก้]

สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ถือว่าเป็นประเทศหนึ่งที่มีขนาดเล็กมีประชากรรวมทั้งประเทศจำนวนกว่า 6,000,000 คนโดยประมาณ ส่วนใหญ่แล้วประชากรในประเทศนิยมประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำให้ข้าราชการในประเทศมีจำนวนน้อยมาก รัฐบาลจึงมีความจำเป็นต้องเร่งปฏิรูปและพัฒนาอาชีพข้าราชการในประเทศลาว เพื่อให้ประชาชนเกิดความสนใจมากขึ้น จากการศึกษาพบว่าในปี 2550-2551 มีจำนวนข้าราชการทั้งหมด 109,359 คน ในแต่ละปีจะมีจำนวนข้าราชการเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ข้าราชการทั้งหมดแบ่งเป็น 6 ระดับ ได้แก่ ข้าราชการระดับ 1 และ 2 จัดเป็นเจ้าหน้าที่ทั่วไป ข้าราชการระดับ 3 และ 4 เป็นเจ้าหน้าที่ผู้มีความเชี่ยวชาญ ข้าราชการระดับ 5 เป็นผู้เชี่ยวชาญระดับผู้บริหาร/หัวหน้างาน ข้าราชการระดับ 6 เป็นผู้บริหารระดับสูงในภาครัฐ เช่น รัฐมนตรี

คุณลักษณะหลักของข้าราชการในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน[แก้]

  • มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับอาเซียนและประชาคมอาเซียนรวมทั้งประเทศสมาชิก
  • มีทักษะความรู้ด้านภาษาอังกฤษในระดับดีมากในการสนทนาเจรจาต่อรอง
  • มีทักษะการเจรจาต่อรองอย่างมีกลยุทธ์ รู้เทคนิคการเจรจา และปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ต่างๆ ได้
  • มีความเชี่ยวชาญในงานที่เกี่ยวข้องกับภารกิจของอาเซียน และมีความสามารถถ่ายทอดความรู้ความเชี่ยวชาญนั้นๆ แก่เพื่อนร่วมงานได้
  • มีจิตสำนึกในการทำงานเป็นทีม มีการสร้างเครือข่ายกับทุกภาคส่วน และกับประเทศสมาชิก
  • มีภาวะความเป็นผู้นำ โดยมียุทธศาสตร์ในการเป็นผู้นำภาคส่วนต่างๆ ของสังคมให้ตระหนักและเข้าใจเรื่องอาเซียนและประชาคมอาเซียน
  • สามารถให้บริการได้อย่างมีมาตรฐานระดับสากล โปร่งใส คล่องตัว มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล[7]

ระบบการพัฒนาข้าราชการ[แก้]

ภาพรวมการพัฒนาข้าราชการ[แก้]

การบริหารราชการของประเทศลาว เป็นการบริหารราชการในรูปแบบรวมศูนย์( Centralized ) โดยมี การแบ่งระดับการบริหารงาน ได้แก่ ระดับส่วนกลาง ( Central )ประกอบไปด้วย สำนักนายกรัฐมนตรี ระดับภาคส่วน ( Sectoral ) ประกอบไปด้วย กระทรวง สำนักประธานประเทศ องค์การพรรคการเมือง กลุ่มแนวลาวสร้างชาติ ศาลประชาชน และศาลอุทธรณ์ ระดับท้องถิ่น ( Local ) ข้าราชการในประเทศลาว หมายถึงเจ้าหน้าที่ในองค์การพรรครัฐบาล กลุ่มแนวลาวสร้างชาติ องค์กรการมวลชนทั้งใน ส่วนกลาง แขวง และ เมืองรวมถึงสำนักงานตัวแทนของ สปป.ลาว ในต่างประเทศ

กลยุทธ์การพัฒนาข้าราชการ[แก้]

การจัดฝึกอบรมด้านการพัฒนาข้าราชการ มีความสำคัญอย่างมากเนื่องจาก สปป.ลาวอยู่ในช่วงของการปฏิรูประบบราชการให้เกิดความทันสมัย มีความสอดคล้องกับสภาพการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมปัญหาที่ภาคราชการประสบอยู่ คือ การสรรหาบุคลากรที่มีความรู้เข้ามาเป็นข้าราชการ โดยเฉพาะ ราชการส่วนท้องถิ่น จึงจำเป็นที่จะต้องพัฒนาและอบรมข้าราชการให้มีทักษะที่ดีและมีประสิทธิภาพ การฝึกอบรมข้าราชการใน สปป.ลาว แบ่งเป็น 3 ประเภท

  1. การฝึกอบรมขั้นพื้นฐาน (Basic Training) เป็นการให้ข้าราชการใหม่ได้เข้าใจและเรียนรู้เกี่ยวกับกฎระเบียบของข้าราชการใน สปป.ลาว
  2. การฝึกอบรมระหว่างการประจำการ (Regular In-Service Train-ing) เป็นการฝึกอบรมที่เสริมสร้างขีดความสามารถด้านทฤษฎีทางการเมือง และความรู้ด้านเทคนิคแก่ข้าราชการ ประเมินจากการทำงาน ประจำปีและแผนฝึกอบรม
  3. การฝึกอบรมก่อนเข้ารับตำแหน่งใหม่ (Training Prior to Assuming New Duty and Position) เป็นกาฝึกอบรมที่สร้างขีดความสามารถด้านทฤษฎีการเมือง ความรู้ด้านเทคนิค และความรู้พื้นฐานที่จำเป็น เพื่อ เตรียมความพร้อมสำหรับตำแหน่งใหม่

การพัฒนาคุณภาพของข้าราชการ ถือเป็นเรื่องที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากในกระบวนการปฏิรูประบบราชการ ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อสร้างการบริการของรัฐที่มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ผ่านการอบรม สุจริต และมีจรรยาบรรณซึ่งสามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนใน สปป.ลาว ที่มีหลากหลายภายในสังคมที่มั่นคงและสันติ และสามารถสร้างการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืน ซึ่งเป็นพื้นฐานในการกำจัดความยากจนและสร้างประเทศให้ทันสมัย

หน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการพัฒนาข้าราชการ[แก้]

  1. กระทรวงภายใน มีหน้าที่ดังนี้
    1. ออกกฎระเบียบเกี่ยวกับการบริหารราชการ
    2. มีหน้าที่ประกาศนโยบายของพรรคและรัฐบาล
    3. ตรวจสอบการดำเนินงานของภาครัฐ
    4. รับผิดชอบงานอื่นๆที่ได้รับมอบรัฐมนตรี
  2. สำนักข้าราชการพลเรือนและการบริหารรัฐกิจ

เป็นองค์กรของรัฐในระดับกลางมีหน้าที่เป็นที่ปรึกษาแก่รัฐบาลในเรื่องของการบริหารจัดการและพัฒนาองค์การภาครัฐในระดับส่วนกลางและท้องถิ่น

อุปสรรคและปัญหาในการพัฒนาข้าราชการในปัจจุบัน[แก้]

  1. ค่าตอบแทนอยู่ในระดับต่ำ ทำให้เกิดความยากลำบากในการคัดเลือกพนักงานที่มีคุณภาพ
  2. การบริหารทรัพยากรบุคคลไม่มีความสอดคล้องกับผลการปฏิบัติงาน
  3. การบริหารงานไม่มีมาตรฐาน
  4. การกระจายข้าราชการทั่วประเทศไม่เหมาะสม
  5. ฐานข้อมูลของข้าราชการทั่วประเทศไม่มีคุณภาพเท่าที่ควร

อ้างอิง[แก้]

  1. สำนักงานคณะกรรมการพลเรือน(ก.พ.),ระบบบริหารราชการของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว,กรกรนกการพิมพ์,หน้า 38
  2. พยนต์ ทิมเจริญ,สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว การเมืองการปกครอง,สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน,2537,หน้า 54
  3. สำนักงานคณะกรรมการพลเรือน(ก.พ.),ระบบบริหารราชการของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว,กรกนกการพิมพ์,หน้า 70
  4. พยนต์ ทิมเจริญ,สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว การเมืองการปกครอง,สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน,2537,หน้า 10
  5. http://www.baanjomyut.com/library/laos/04.html,ค้นเมือ 29-04-60
  6. สำนักงานคณะกรรมการพลเรือน(ก.พ.),ระบบบริหารราชการของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว,กรกนกการพิมพ์,หน้า 84
  7. http://thailand.prd.go.th/1700/ewt/aseanthai/ewt_news.php?nid=5795&filename=index, สำนักงานก.พ.,สืบค้นเมื่อ01-04-60