ผู้ใช้:Patsungnoen wuttichai/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ระบบราชการสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว[แก้]

ระบบราชการ คือคำว่าระบบราชการ (Bureaucracy) เป็นคำที่มีความหมายได้หลายทัศนะ  และลักษณะของระบบราชการก็แตกต่างกันไปในแต่ละชาติแต่ละกาลเวลา  ดังนั้น  จึงขอนำทัศนะของนักวิชาการหลายสาขามาเสนอเพื่อพิจารณาความหมายของระบบราชการ ศาสตราจารย์ Harold J.Laski ได้ให้ความหมายของระบบราชการในเชิงปรากฎการณ์ของสังคมในองค์การขนาดใหญ่ที่มีลักษณะซับซ้อนว่า หมายถึงระบบบริหารราชการของรัฐที่ตกอยู่ในมือของข้าราชการโดยเด็ดขาด และอาจก่อให้เกิดอำนาจอันอาจทำลายเสรีภาพของประชาชนได้  ซึ่งหมายถึงการปฏิบัติงานประจำวันของข้าราชการที่ดำเนินไปตามระเบียบแบบแผนตายตัว  ไม่มีการยืดหยุ่นผ่อนสั้นผ่อนยาว  การวินิจฉัยสั่งการก็เต็มไปด้วยความลังเล ชักช้า  ขาดความริเริ่ม  เป็นผลให้เกิดการแบ่งชั้นวรรณะและประพฤติปฏิบัติเพื่อประโยชน์ส่วนตนเป็นสำคัญ ส่วนศาสตราจารย์ Victor A. Thompsan ได้ให้ความหมายของระบบราชการไปในลักษณะพื้นฐานโครงสร้างขององค์การว่า “ระบบราชการ คือองค์การที่ประกอบด้วยสายการบังคับบัญชาที่จัดไว้อย่างละเอียดรัดกุม   โดยอาศัยหลักของการแบ่งแยกการทำงาน (Division of work) สำหรับผู้เขียนมีความเห็นว่า  ถ้าพิจารณาระบบราชการในลักษณะโครงสร้างขององค์การหรือสถาบัน  ระบบราชการก็คือองค์การ (Bureaucracy is a form of organization) [1]

ข้อมูลทั่วไป[แก้]

ประเทศลาวหรือชื่อเป็นทางการ คือสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล มีพื้นที่ 236,800 ตารางกิโลเมตร มีพรมแดนติดต่อกับหลายประเทศ ทางทิศเหนือติดต่อกับประเทศจีน ทิศตะวันตกเฉียงเหนือติดต่อกับประเทศพม่า ทิศตะวันตกติดต่อกับประเทศเวียดนาม ทิศใต้ติดต่อกับประเทศกัมพูชา และทิศตะวันตกติดต่อกับประเทศไทย[2][3] ประเทศลาวมีรูปแบบการปกครองแบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ มีการแบ่งเขตการปกครองเป็นทั้งหมด 16 แขวง แขวงเวียงจันทน์ แขวงหลวงพระบาง แขวงหลวงน้ำทา แขวงอุดมไชย แขวงบ่อแก้ว แขวงพงสาลี แขวงหัวพัน แขวงเชียงขวาง แขวงไชยบุรี แขวงบอลิคำไซ แขวงคำม่วน แขวงสะหวันนะเขต แขวงสาละวัน แขวงอัดตะปือ แขวงจำปาสัก แขวงเซกองและ1 เขตการปกครองแบบพิเศษคือ นครหลวงเวียงจันทน์ การบริหารงานของข้าราชการของลาวจึงมีความสำคัญอย่างมากที่จะไปดูแลแขวงต่างๆอย่างทั่วถึง เพื่อที่จะตอบสนองความต้องการของประชาชนอย่างทั่วถึงและเป็นระบบ


ข้อมูลทางการเมือง[แก้]

ประเทศลาวมีการบริหารประเทศเหมือนกันกับประเทศไทย โดยมีการแบ่งอำนาจออกเป็น 3 ฝ่าย คือ ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการ

1.ฝ่ายนิติบัญญัติ มีการดำเนินงานโดยสภาประชาชนสูงสุด

2.ฝ่ายบริหาร แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ

  • องค์การบริหารส่วนกลาง เป็นการบริหารประเทศโดยสภารัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรี
  • องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น โดยประเทศลาวแบ่งการบริหารส่วนท้องถิ่นออกเป็น 3 ระดับ
  1. ระดับแขวง เทียบเท่ากับจังหวัด (ปัจจุบันมีทั้งหมด 16 แขวง)
  2. ระดับเมือง เทียบเท่ากับอำเภอ (ปัจจุบันมีทั้งหมด 154 เมือง)
  3. ระดับตาแสง เทียบเท่ากับตำบล

3.ฝ่ายตุลาการ ได้มีการจัดโครงสร้างของส่วนตุลาการ แบ่งเป็น 2 องค์กร

  1. ระบบศาลประชาชน แบ่งเป็น 5 ประเภท ได้แก่ ศาลประชาชนสูงสุด ศาลประชาชนแขวง ศาลประชาชนเมือง ศาลกำแพงหรือนครเวียงจันทน์ และศาลทหาร
  2. องค์กรอัยการประชาชน เป็นองค์กรที่ทำงานคู่ขนานกับศาลประชาชนสูงสุด[4]

วิสัยทัศน์ เป้าหมายและยุทธศาสตร์[แก้]

  • วิสัยทัศน์

สปป.ลาว ต้องการเป็นประเทศที่มีความเจริญก้าวหน้าอย่างมั่นคง จะนำพาประชาชนหลุดพ้นจากความยากจนภายในปี พ.ศ.2558 พร้อมทั้งพัฒนาประเทศให้พ้นจากการเป็นประเทศกำลังพัฒนาภายในปี พ.ศ.2563

  • เป้าหมาย

เป้าหมายหลักของลาวคือ ต้องการขจัดความยากจน สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่ประชาชน และการหลุดพ้นจากการเป็นประเทศกำลังพัฒนาน้อยที่สุด ซึ่งมีสามเรื่องใหญ่ๆที่ทางลาวจะต้องทำให้ได้คือ

  1. แก้ไขความอ่อนแอด้านทรัพยากรมนุษย์
  2. แก้ไขความอ่อนแอทางเศรษฐกิจ
  3. การทำให้รายได้เฉลี่ยสามปีของประชาชนทั้งประเทศมากกว่า 1086 ดอลล่าห์สหรัฐ
  • ยุทธศาสตร์

ปัจจุบันลาว อยู่ภายใต้แผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 7 (พ.ศ.2554-2558) การดำเนินการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมตามยุทธศาสตร์ เพื่อนำประเทศลาวไปสู่การพัฒนาและเปลี่ยนประเทศเข้าสู่สังคมอุตสาหกรรมที่ทันสมัยจากประเทศที่ด้อยพัฒนา แผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 7 (พ.ศ.2554-2558) สามารถสรุปเป้าหมายที่สำคัญของแผนฯได้ดังนี้

  1. การขยายตัวทางเศรษฐกิจในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 8 ต่อปีและรายได้ต่อหัวของประชากรอยู่ที่ระดับ 1,700 ดอลล่าห์สหรัฐต่อคนต่อปีในปี พ.ศ.2558
  2. บรรลุเป้าหมาย Millennium Development Goals (MDGs) ในปี พ.ศ.2558 และพัฒนาประเทศเพื่อให้พ้นจากสภาพประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุด(LDC)ในปี พ.ศ.2563
  3. มุ่งการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนควบคู่ไปกับความก้าวหน้าทางสังคมและวัฒนธรรม การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  4. รักษาเสถียรภาพทางการเมือง เพื่อให้เกิดความสันติและความสงบเรียบร้อยในสังคม[5]

ประวัติความเป็นมาของระบบราชการ[แก้]

ลาวภายใต้การปกครองของฝรั่งเศส[แก้]

ครั้นถึงช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 24 ต่อช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 25 ประเทศฝรั่งเศสเริ่มให้ความสนใจที่จะขยายอำนาจเข้ามาสู่ดินแดนในแถบลุ่มแม่น้ำโขง เพื่อหาทางเข้าถึงดินแดนตอนใต้ของจีนเพื่อเปิดตลาดการค้าแห่งใหม่แข่งกับอังกฤษ ซึ่งสามารถยึดเวียดนามได้ก่อนหน้านั้นแล้ว โดยฝรั่งเศสเริ่มจากการยึดครองแคว้นโคชินจีนหรือเวียดนามใต้ก่อนในปี พ.ศ. 2402รุกคืบเข้ามาสู่ดินแดนเขมรส่วนนอกซึ่งไทยปกครองในฐานะประเทศราชในปี พ.ศ. 2406 (ไทยตกลงยอมสละอำนาจเหนือเขมรส่วนนอกอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2410) จากนั้นจึงได้ขยายดินแดนในเวียดนามต่อจนกระทั่งสามารถยึดเวียดนามได้ทั้งประเทศในปี พ.ศ. 2426 พรมแดนของสยามทางด้านประเทศราชลาวจึงประชิดกับดินแดนอาณานิคมของฝรั่งเศสอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในระยะเวลาเดียวกัน ในประเทศจีนได้เกิดเหตุการณ์กบฏไท่ผิงต่อต้านราชวงศ์ชิง กองกำลังกบฏชาวจีนฮ่อที่แตกพ่ายได้ถอยร่นมาตั้งกำลังซ่องสุมผู้คนอยู่ในแถบมณฑลยูนนานของจีน ดินแดนสิบสองจุไทย และตามแนวชายแดนประเทศราชลาวตอนเหนือ กองกำลังจีนฮ่อได้ทำการปล้นสะดมราษฏรตามแนวพื้นที่ดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง สร้างปัญหาต่อการปกครองของทั้งฝ่ายไทยและฝรั่งเศสอย่างยิ่ง เพราะส่งกำลังไปปราบปรามหลายครั้งก็ยังไม่สงบ เฉพาะกับอาณาจักรหลวงพระบางนั้น ทางกรุงเทพถึงกับต้องปลดพระเจ้ามหินทรเทพนิภาธร เจ้าผู้ครองนครหลวงพระบางออกจากตำแหน่ง เนื่องจากไม่สามารถรักษาเมืองและปล่อยให้กองทัพฮ่อเข้าปล้นสะดมและเผาเมืองหลวงพระบางลง และตั้งเจ้าคำสุกขึ้นเป็นพระเจ้าสักรินทรฤทธิ์ปกครองดินแดนแทน ไทย (หรือสยามในเวลานั้น)จึงร่วมกับฝรั่งเศสปราบฮ่อจนสำเร็จ โดยทั้งสองฝ่ายไล่ตีกองกำลังจีนฮ่อจากอาณาเขตของแต่ละฝ่ายให้มาบรรจบกันที่เมืองแถง (เดียนเบียนฟูในปัจจุบัน) แต่ก็เกิดปัญหาใหม่ คือ ฝ่ายฝรั่งเศสฉวยโอกาสอ้างสิทธิปกครองเมืองแถงและสิบสองจุไทย โดยไม่ยอมถอนกำลังทหารออกจากเมืองแถงเพราะอ้างว่าเมืองนี้เคยส่งส่วยให้เวียดนามมาก่อน ปัญหาดังกล่าวนี้มีที่มาจากภาวะการเป็นเมืองสองฝ่ายฟ้าของเมืองปลายแดน ซึ่งจะส่งส่วยให้แก่รัฐใหญ่ทุกรัฐที่มีอิทธิพลของตนเองเพื่อความอยู่รอด พระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต) แม่ทัพฝ่ายไทย เห็นว่าถ้าตกลงกับฝรั่งเศสไม่ได้จะทำให้ปัญหาโจรฮ่อบานปลายแก้ยาก จึงตัดสินใจทำสัญญากับฝรั่งเศสในวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2431 ให้ฝ่ายไทยตั้งกำลังทหารที่เมืองพวน (เชียงขวาง) ฝรั่งเศสตั้งกำลังทหารที่สิบสองจุไทย ส่วนเมืองแถงเป็นเขตกลางให้มีทหารของทั้งสองฝ่ายดูแลจนกว่ารัฐบาลทั้งสองชาติจะเจรจาเรื่องปักปันเขตแดนได้ ผลจากสนธิสัญญานี้แม้จะทำให้ฝ่ายไทยร่วมมือปราบฮ่อกับฝรั่งเศสจนสำเร็จ และสามารถยุติความขัดแย้งเรื่องแคว้นสิบสองจุไทย เมืองพวน และหัวพันทั้งห้าทั้งหกยุติลงไปชั่วคราว แต่ก็ต้องเสียดินแดนสิบสองจุไทยโดยปริยายไปวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 ดินแดนลาวทั้งหมดก็เปลี่ยนไปตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของ ประเทศฝรั่งเศส จากการใช่เล่ห์เหลี่ยมของโอกุสต์ ปาวี กงสุลฝรั่งเศส โดยการใช้เรือรบมาปิดอ่าวไทยเพื่อบังคับให้ยกดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง รวมทั้งดินแดนอื่น ๆ ลาวถูกรวมเข้าเป็นอินโดจีนของฝรั่งเศส เมื่อ พ.ศ. 2436[6]

ลาวยุคสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว[แก้]

ในระยะหลังทศวรรษ 1980 สภาพการปกครองและกาบริหารดารเศรษฐกิจของลาวเริ่มผ่อนคลายมากขึ้น ต่อมาเมื่อเจ้าสุภานุวงศ์สละตำแหน่งจากประธานประเทศ ผู้ดำรงตำแหน่งต่อมาคือท่านไกสอน พมวิหาน ซึ่งเป็นประธานประเทศผู้มีความเชื่อมั่นในระบอบการปกครองแบบคอมมิวนิสต์ หลังจากการอสัญกรรมของท่านไกสอน พมวิหาน ในปี พ.ศ.2535 ท่านหนูฮัก พูมสะหวัน ขึ้นดำรงตำแหน่งแทน และได้มีนโยบายลดหย่อนการจำกัดเสรีภาพของชาวลาว จึงเป็นผลให้ชาวลาวที่อพยพไปอยู่ต่างประเทศได้รับการเชิญชวนกลับคืนสู่บ้านเกิด ทางลาวเริ่มเปิดประเทศและฟื้นฟูความสัมพันธ์กับประเทศไทย และเมื่อท่านไกสอนถึงแก่กรรมกระทันหัน ท่านหนูฮัก พูมสะหวัน ก็ได้ดำรงตำแหน่งประธานประเทศต่อมา ยุคนี้ทางลาวกับไทยเปิดสะพานมิตรภาพไทย-ลาว ในปี พ.ศ.2538 ต่อมาท่านหนูฮักสละตำแหน่งท่านคำไต สีพันดอน รับดำรงตำแหน่งประธานประเทศต่อจนถึงปี พ.ศ.2549 ท่านคำไตลงจากตำแหน่ง และในปัจจุบันคือพันเอกบุนยัง วอละจิด ดำรงตำแหน่งประธานประเทศลาวคนปัจจุบัน[7]

หลักการพัฒนาของระบบราชการหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง[แก้]

  • ดำเนินการปรับเปลี่ยนโครงสร้างอัตราเงินเดือนข้าราชการลาวให้สอดคล้องกับระบบเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงตามนโยบายของรัฐบาลใหม่
  • ปรับเปลี่ยนวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ในการบริหารข้าราชการ
  • แต่งตั้งคณะกรรมการร่างกฎหมายใหม่สำหรับใช้ในการบริหารและพัฒนาคุณภาพข้าราชการ
  • สนับสนุนโครงการด้านสาธารณสุข
  • เปิดโอกาสให้ชาวลาวที่เป็นชนกลุ่มน้อยให้ได้รับโอกาสในการรับราชการเพื่อให้เกิดความเท่าเทียม
  • พัฒนาด้านการสื่อสารในพื้นที่ห่างไกล
  • พัฒนาศักยภาพของสภาแห่งชาติ
  • รัฐบาลจะสนับสนุนโครงการวิจัยในด้านต่างๆ
  • จัดสรรนโยบายทางการเงินและการคลังให้มีความเหมาะ
  • ประสานงานขอความช่วยเหลือด้านเงินทุนจากต่างประเทศ

ความเสี่ยงในการพัฒนาในช่วงเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง[แก้]

  • กรอบของกฎหมายที่ร่างขึ้นใหม่ยังไม่ตอบสนองต่อความเป็นจริง
  • เกิดปัญหาการคอร์รัปชั่นในการจัดเก็บภาษี
  • ปัญหาการเข้ารับราชการ
  • การแหล่งเงินทุนในการพัฒนาจากต่างประเทศ

ภาพรวมของระบบราชการ[แก้]

รัฐบาล นโยบายรัฐบาล และนโยบายการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน[แก้]

นโยบายรัฐ[แก้]

พรรคประชาชนปฏิวัติลาวเป็นองค์การที่มีอำนาจสูงสุด ผูกขาดการปกครองประเทศตามระบอบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ พรรคฯ ได้กำหนดนโยบายและเป้าหมายการพัฒนาประเทศในการประชุมสมัชชาพรรคฯ ครั้งที่ 8 เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ 2549 ให้รัฐบาลและหน่วยงาน

  • ปี พ.ศ. 2563 ต้องพ้นจากสถานการณ์เป็นประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุด ต้องมีความมั่นคงทางการเมือง เศรษฐกิจต้องขยายตัวอย่างต่อเนื่องประชาชนต้องมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นจากปัจจุบัน 3 เท่าตัว
  • ปี พ.ศ. 2549-2553 เป็นช่วงการเสริมสร้างพื้นฐานเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาประเทศที่กำหนดไว้สำหรับปี พ.ศ. 2563 เศรษฐกิจต้องมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องในอัตราไม่ต่ำกว่าร้อยละ 7.5 ต่อปี ยุติการตัดไม้ทำลายป่าเพื่อทำไร่เลื่อนลอย แก้ไขปัญหาความยากจนให้หมดสิ้นไปเตรียมพัฒนาบุคลากรรองรับการเปลี่ยนแปลงไปสู่การเป็นประเทศอุตสาหกรรม ประชากรมีรายได้เฉลี่ยมากกว่า 1,086 ดอลลาร์สหรัฐต่อปีทางลาว ดำเนินนโยบายต่างประเทศที่มุ่งสร้างเสริมความสัมพันธ์

แบบรอบด้านกับทุกประเทศบนพื้นฐานของการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ โดยไม่แบ่งแยกลัทธิและอุดมการณ์ เพื่อขอรับการสนับสนุนและความช่วยเหลือในการพัฒนาประเทศให้บรรลุเป้าหมายตามที่พรรคฯ ได้กำหนดไว้ ทั้งนี้ ทางลาว ให้ความสำคัญกับประเทศเพื่อนบ้านเป็นลำดับแรก ได้แก่ ประเทศเวียดนาม ประเทศจีน ประเทศพม่า ประเทศกัมพูชา และประเทศไทย รองลงมาเป็นประเทศร่วมอุดมการณ์ ได้แก่ ประเทศรัสเซีย ประเทศเกาหลีเหนือ และประเทศคิวบา อย่างไรก็ดีแม้ว่าทางสปป.ลาวจะพยายามดำเนินความสัมพันธ์กับประเทศต่างๆ ให้สมดุล เพื่อลดการพึ่งพาประเทศใดประเทศหนึ่งเป็นหลัก แต่ด้วยข้อจำกัดของทางสปป.ลาวที่ไม่มีทางออกทะเล และระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่ด้อยอยู่ประกอบกับความใกล้ชิดด้านอุดมการณ์และประวัติศาสตร์การต่อสู้เพื่อเอกราช ทำให้ทางสปป.ลาวมีความสัมพันธ์พิเศษกับเวียดนามและจีน อันเป็นผลให้ประเทศทั้งสองสามารถรักษาและขยายอิทธิพลในลาว ได้ต่อไป

สรุปนโยบายหลักเพื่อการเตรียมพร้อมของ AEC[แก้]

นโยบายต่างๆ เหล่านี้ จะเป็นนโยบายที่ทางสปป.ลาวจะต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายใน พ.ศ. 2558 หรือก่อนการเปิดประเทศที่เป็นสมาชิกอาเซียนเพื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

  • กำจัดปัญหาความยากจน
  • จัดการแก้ไขปัญหาการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ประชาชนมีการศึกษาที่เท่าเทียมกัน
  • ส่งเสริมสิทธิสตรีต่างๆ เพื่อให้เกิดความเสมอภาคในสตรี
  • ลดอัตราการตายของเด็ก
  • พัฒนาความรู้ของมารดา เพื่อใช้ในการอบรมเลี้ยงดูบุตร-ธิดาให้มีคุณภาพ
  • ขจัดปัญหาโรคร้าย เช่น โรคเอดส์ โรคมาลาเรีย เป็นต้น
  • ดำเนินการพัฒนาประเทศ พร้อมกับส่งเสริมสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติอย่างยั่งยืน
  • พัฒนาความสัมพันธ์กับประเทศต่างๆ เพื่อเป็นแรงสนับสนุนการพัฒนาประเทศของลาว[8]

จำนวนและรายชื่อกระทรวง[แก้]

รายชื่อกระทรวง[แก้]

ทางประเทศลาว มีกระทรวงที่ทำหน้าที่ในการดูแลกิจการต่างๆทั้งภายในและภายนอกประเทศรวมทั้งหมด 18 กระทรวงและอีกองค์การเทียบเท่าอีก 4 แห่ง มีดังนี้

  1. กระทรวงป้องกันประเทศ (Ministry of national Defence, Laos PDR)
  2. กระทรวงป้องกันความสงบ (Ministry of Public Security, Lao PDR)
  3. กระทรวงโยธาธิการและการขนส่ง (Ministry of Public Works and Transport, Laos PDR)
  4. กระทรวงแผนการและการลงทุน (Ministry of Planning and Investment, Laos PDR)
  5. กระทรวงศึกษาธิการและกีฬา (Ministry of Education and Sports, Laos PDR)
  6. กระทรวงสาธารณสุข (Ministry of Public Heath (MOH), Laos PDR)
  7. กระทรวงแถลงข่าว วัฒนธรรม และการท่องเที่ยว (Ministry of Information, Culture and Tourism, Lao PDR)
  8. กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม (Ministry of Labour Socail Welfare, Laos PDR)
  9. กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Ministry of Science and Technology, Laos PDR)
  10. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (Ministry of Natural Resources and Environment, Laos PDR)
  11. กระทรวงไปรษณีย์ โทรคมนาคมและการสื่อสาร (Ministry of Post, Telecommunication and Communication, Laos PDR)
  12. กระทรวงยุติธรรม (Ministry of Justice, Laos PDR)
  13. กระทรวงกสิกรรม และป่าไม้ (Ministry of Agriculture and Forestry, Laos PDR)
  14. กระทรวงพลังงาน และบ่อแร่ (Ministry of Energy and Mines, Laos PDR)
  15. กระทรวงการเงิน (Ministry of Finance, Laos PDR)
  16. กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า (Ministry of Industry and Commerce, Laos PDR)
  17. กระทรวงภายใน (Ministry of Home Affairs)
  18. กระทรวงต่างประเทศ (Ministry of Foreign Affairs, Laos PDR)
  19. ห้องว่าการประธานประเทศ (Presidential Office)
  20. ห้องว่าการรัฐบาล (Government's Office )
  21. องค์การตรวจตรารัฐบาล (Government Inspection Authority)
  22. ธนาคารแห่ง สปป.ลาว (Bank of Lao PDR)[9]

คุณลักษณะของข้าราชการและคุณลักษณะหลักในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน[แก้]

คุณลักษณะของข้าราชการ[แก้]

ระบบราชการของทางสปป.ลาว ได้แบ่งประเภทข้าราชการออกเป็น 6 ระดับ คือ ข้าราชการระดับที่ 1 และ 2 จัดเป็นเจ้าหน้าที่ทั่วไป ข้าราชการระดับที่ 3 และ 4 จัดให้เป็นเจ้าหน้าที่ผู้มีความเชี่ยวชาญ ข้าราชการระดับที่ 5 จัดเป็นผู้เชี่ยวชาญระดับผู้บริหาร/หัวหน้างาน และข้าราชการระดับที่ 6 จัดเป็นผู้บริหารระดับสูงในรัฐบาล

คุณลักษณะหลักของข้าราชการในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน[แก้]

มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับอาเซียนและประชาคมอาเซียนรวมทั้งประเทศสมาชิก

  • มีทักษะความรู้ด้านภาษาอังกฤษในระดับที่ดีมากในการสนทนา เจรจาต่อรอง การเขียนข้อกฎหมาย และการจัดทำข้อเสนอโครงการเป็นต้น
  • มีทักษะการเจรจาต่อรองอย่างมีกลยุทธ์ รู้เทคนิคการเจรจา และปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ต่างๆได้
  • มีความเชี่ยวชาญในงานที่เกี่ยวข้องกับภารกิจของอาเซียน และมีความสามารถถ่ายทอดความรู้ความเชี่ยวชาญนั้นๆ แก่เพื่อนร่วมงานได้
  • มีจิตสำนึกในการทำงานเป็นทีม มีการสร้างเครือข่ายกับทุกภาคส่วน และกับประเทศสมาชิก
  • มีภาวะความเป็นผู้นำ โดยมียุทธศาสตร์ในการเป็นผู้นำภาคส่วนต่างๆ ของสังคมให้ตระหนักและเข้าใจเรื่องอาเซียนและประชาคมอาเซียน
  • สามารถให้บริการได้อย่างมีมาตรฐานระดับสากล โปร่งใส คล่องตัว มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

ระบบการพัฒนาข้าราชการ[แก้]

ภาพรวมการพัฒนาข้าราชการ[แก้]

การบริหารราชการในประเทศลาวเป็นการบริหารแบบรวมศูนย์(Centralized) โดยมีการดำเนินการแบบเดียวกันทั่วประเทศ โดยมีการแบ่งระดับการบริหารงาน ได้แก่

  • ระดับส่วนกลาง (Central) ประกอบด้วย สำนักนายกรัฐมนตรี
  • ระดับภาคส่วน (Sectoral) ประกอบด้วย กระทรวงหรือองค์การที่อยู่ในระดับเดียวกัน สำนักงานประธานประเทศ องค์การพรรคการเมืองกลุ่มแนวลาวสร้างชาติ ศาลประชาชน และศาลอุทธรณ์ และ
  • ระดับท้องถิ่น (Local)

ข้าราชการในสปป.ลาว หมายถึง เจ้าหน้าที่ในองค์การพรรครัฐบาลกลุ่มแนวลาวสร้างชาติ องค์การมวลชนทั้งในระดับส่วนกลาง แขวง และเมือง รวมถึงสำนักงานตัวแทนของสปป.ลาวในต่างประเทศ ซึ่งไม่รวมถึงสมาชิกสภาที่มิได้เป็นสมาชิกพรรค ทหาร ตำรวจ พนักงานรัฐวิสาหกิจและลูกจ้างชั่วคราว โดยข้าราชการในสปป.ลาวแบ่งออกเป็น 6 ระดับได้แก่ ระดับ 1 และ 2 เป็นกลุ่มพนักงานธุรการ ระดับ 3 4 และ 5 เป็นกลุ่มพนักงานระดับผู้เชี่ยวชาญ และระดับ 6 เป็นระดับสูงสุดสำหรับตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงในรัฐบาล เช่น รัฐมนตรี ผู้ช่วยรัฐมนตรี และที่ปรึกษาอาวุโสในสปป.ลาวนอกจากข้าราชการที่มีตำแหน่งถาวร (การจ้างงานตลอดชีพ) ที่ได้รับค่าตอบแทนและผลประโยชน์อื่นๆ ตามที่กำหนดอย่างเป็นทางการแล้ว ยังมีตำแหน่งในระบบข้าราชการสปป.ลาวอีก 3 ประเภท

  • ประเภทแรก คือ แบบสัญญาร้อยละ 95 โดยผู้ปฏิบัติงานจะได้ระบบบริหารราชการของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 127รับเงินค่าจ้างคิดเป็นร้อยละ 95 ของตำแหน่งถาวร แต่ไม่ได้รับประโยชน์ด้านสวัสดิการอื่นๆ ผู้ปฏิบัติงานแบบการทำสัญญานี้ ส่วนใหญ่จะถือว่ามีคุณสมบัติเพียงพอที่จะบรรจุเข้าในตำแหน่งแบบถาวร แต่จำเป็นต้องรอเนื่องจากอัตราการจ้างมีจำกัด
  • ประเภทที่ 2 คือ แบบอาสาสมัคร ไม่มีการการันตีรายรับ แต่ผู้ปฏิบัติงานจะได้รับเงินค่าจ้างตามงานที่ทำและตามงบประมาณที่มีในหน่วยงานนั้น
  • ประเภทสุดท้าย คือ แบบสัญญาจ้างงานชั่วคราว การจ้างงานรูปแบบนี้เคยบรรจุอย่างเป็นทางการ ซึ่งรัฐบาลสปป.ลาว ค่อยๆ ลดจำนวนลงตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 แต่ยังคงพบการจ้างงานประเภทนี้อยู่ในบางจังหวัดและบางภาคส่วน ผู้ปฏิบัติงานรูปแบบนี้จะได้รับเงินเดือนต่ำกว่าระดับสัญญาร้อยละ 95 และไม่ได้รับสิทธิประโยชน์อื่นๆ และระยะเวลาของสัญญามีจำกัด แม้ว่าส่วนใหญ่จะมีการต่อสัญญาเสมอก็ตาม

กลยุทธ์การพัฒนาข้าราชการ[แก้]

การจัดฝึกอบรมด้านการพัฒนาข้าราชการ[แก้]

รายงานของ สปป.ลาว ระบุว่า สปป.ลาวอยู่ในช่วงของการปฏิรูประบบราชการให้มีความทันสมัยสอดคล้องกับสภาพที่เปลี่ยนแปลงไป อย่างไรก็ตามปัญหาที่ภาคราชการ สปป.ลาว กำลังประสบอยู่ คือ การสรรหาบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถเข้าสู่ภาคราชการ ดังนั้นการพัฒนาข้าราชการให้มีทักษะและภาวะผู้นำโดยวิธีการพัฒนาในการจัดหลักสูตรการศึกษา การจัดฝึกอบรม การฝึกอบรมข้าราชการใน สปป.ลาว แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่

  1. การฝึกอบรมขั้นพื้นฐาน (Basic Training) หมายถึง การอธิบายให้ข้าราชการเข้าใหม่ใจเกี่ยวกับกฎระเบียบสำหรับข้าราชการใน สปป.ลาว
  2. การฝึกอบรมระหว่างการประจำการ (Regular ln-service Training) หมายถึง การฝึกอบรม การเสริมสร้างขีดความสามารถเกี่ยวกับทฤษฎีด้านกรเมือง ความรู้ด้านเทคนิคเฉพาะสำหรับข้าราชการ
  3. การฝึกอบรมก่อนเข้ารับตำแหน่งใหม่ (Training Prior to Assuming New Duty and position) หมายถึง การฝึกอบรม การเสริมสร้างขีดความสามารถเกี่ยวกับทฤษฎีด้านการเมือง ความรู้ด้านเทคนิคและความรู้พื้นฐานที่จำเป็นอื่นๆ เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับตำแหน่งหน้าที่ใหม่และซับซ้อนมากขึ้น[10]

โดยการคัดเลือกข้าราชการเพื่อรับการฝึกอบรมหรือเสริมสร้างขีดความสามารถจะพิจารณาจากปัจจัยดังต่อไปนี้

  1. ผลการประเมินการปฏิบัติงานที่ผ่านมาก
  2. ความจำเป็นต่อหน่วยงานและงานที่รับผิดชอบ
  3. มีจุดมุ่งหมายที่จะรับหน้าที่ในตำแหน่งที่ว่างหรือตำแหน่งผู้บริหาร

การกระตุ้นความสามารถในการทำงานโดยการปรับโครงสร้างรายได้ของข้าราชการ[แก้]

สปป.ลาวมีเป้าหมายในการพัฒนาเชิงกลยุทธ์เพื่อการดำเนินงานให้ระบบราชการมีประสิทธิภาพและความมั่นคงในการตอบแทนรายได้ให้แก่บุคลากร เนื่องจากในปัจจุบันการจัดสัดส่วนอัตราเงินเดือนของ สปป.ลาวยังไม่เป็นระบบ และอัตราค่าจ้างโดยทั่วไปยังเป็นอัตราที่ต่ำกว่าความสามารถจริงตามตลาดแรงงานทำให้ประชาชนที่มีความรู้ความสามารถดังนั้นจึงได้มีการปรับปรุงระบบการจัดการทรัพยากรในการดึงดูดและกระตุ้นบุคลากรที่มีคุณภาพ ซึ่งถือเป็นสิ่งจำเป็นในการพัฒนาโดยในปัจจุบันรัฐบาล สปป.ลาว ได้มอบหมายให้สำนักงานข้าราชการพลเรือนและการบริหารรัฐกิจเป็นผู้นำในการร่างกลยุทธ์ใหม่ที่คราอบคลุมการบริหารข้าราชการพลเรือนที่จะดำเนินการในช่วง พ.ศ. 2553-2563 โดยได้มีการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานงานดังนี้

  • มีความเป็นธรรมในการจ่ายเงินเดือนให้แก่ข้าราชการ คือ ค่าจ้างไม่สูงหรือต่ำกว่าความสามารถจริง
  • สอดคล้องกับตลาดแรงงานและสามารถแข่งขันได้
  • อัตราเงินเดือนต้องมีความยืดหยุ่นตามประสบการณ์
  • ต้องสอดคล้องกับการประเมินผล
  • สามารถอธิบายเหตุผลในความแตกต่างองการกำหนดหรือปรับค่าจ้างให้พนักงานได้เข้าใจชัดเจน

กระทรวงภายใน[แก้]

เป็นกระทรวงที่กำกับดูแล รวมถึงบังคับใช้มาตรการต่างๆ ที่เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของสปป.ลาว โดยหน้าที่หลักของกระทรวงภายในมีดังนี้

  • ศึกษาและทำความเข้าใจในนโยบายของพรรค รัฐบาล รัฐธรรมนูญและกฎหมาย เพื่อออกกฎระเบียบว่าด้วยการบริหารราชการ
  • มีหน้าที่ประกาศนโยบายของพรรคและรัฐบาลที่เกี่ยวกับการประเมินผลการดำเนินงาน
  • เผยแพร่ความรู้ต่อข้าราชการพลเรือนในประเด็นต่างๆทางการเมือง เพื่อให้สอดคล้องกับการบริหารราชการ
  • ศึกษาวิจัย และกำหนดระเบียบ ข้อบังคับ และเสนอคำแนะนำในการฝึกอบรมและพัฒนาข้าราชการ
  • เตรียมความพร้อมในการฝึกอบรม เพื่อการพัฒนาแผนการต่างๆสำหรับข้าราชการในแต่ละช่วงเวลา
  • กำหนดหลักสูตรการบริหารราชการ และการบริหารงานสาธารณะสำหรับข้าราชการพลเรือนในเป้าหมายที่แตกต่างกันตามหน้าที่ความรับผิดชอบ
  • เก็บรวบรวมสถิติ รวมถึงการสร้างฐานข้อมูล และเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการฝึกอบรมต่างๆ
  • จัดการประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการในการบริหารราชการตามระเบียบ
  • สรุปและประเมินผลจากการประชุม ACCSM ในแต่ละครั้ง
  • รับผิดชอบการสร้างศูนย์วิทยบริการของสปป.ลาว
  • ติดต่อประสานงานในประเด็นความร่วมมือกับองค์การระหว่างประเทศในการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาข้าราชการ
  • สรุป และรายงานความคืบหน้าการทำงานของแผนกต่างๆ ในกระทรวงเพื่อจะรายงานผลสรุปแก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงภายในต่อไปตามกฎระเบียบที่กำหนดไว้
  • รับผิดชอบงานอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงภายใน

สำนักงานข้าราชการพลเรือนและการบริหารรัฐกิจ[แก้]

สำนักงานข้าราชการพลเรือนและการบริหารรัฐกิจหรือ (The Public Administration and Civil ServiceAuthority) เป็นองค์การของรัฐในระดับกลาง ซึ่งอยู่ภายใต้โครงสร้างองค์การของสำนักนายกรัฐมนตรี (Prime Minister’s Office, Lao PDR) โดยมีหน้าที่หลักดังนี้

  • ดำเนินการร่างแผนกลยุทธ์ นโยบาย และแผนพัฒนาการบริหารงานภาครัฐ และการจัดการบริการทางแพ่ง
  • กำหนดแผนงานและโครงการเพื่อการปรับปรุงกฎระเบียบของการบริหารงานภาครัฐ และปรับกฎระเบียบเกี่ยวกับข้าราชการเป็นระยะๆ
  • ปลูกฝังค่านิยมของความซื่อสัตย์สุจริต จงรักภักดี เพื่อให้ขั้นตอนการบริหารงานเป็นไปอย่างโปร่งใส และมีความน่าเชื่อถือ
  • ดำเนินการด้านการศึกษาเพื่อร่างกฎหมาย และกฎระเบียบเกี่ยวกับการบริหารงานภาครัฐ
  • ดำเนินการด้านการศึกษาความเป็นไปได้ของการปรับปรุงโครงสร้างในการปรับปรุงคุณภาพของกระทรวง องค์การที่เทียบเท่าและองค์การภาครัฐในระดับจังหวัด- กำกับดูแล และให้คำแนะนำเกี่ยวกับโครงสร้าง และบทบาทหน้าที่ของกระทรวง องค์การที่เทียบเท่ากับโครงสร้างของรัฐบาล
  • ส่งเสริมรัฐบาลในการศึกษาการร่างระเบียบที่เกี่ยวกับการจัดตั้งองค์การมวลชน
  • เป็นที่ปรึกษาเพื่อให้คำแนะนำแก่กระทรวง องค์การที่เทียบเท่าและองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดตั้งและการบริหารจัดการกิจกรรมขององค์การดังกล่าว
  • ส่งเสริมการสร้างงานอย่างถาวรในท้องถิ่น
  • รวบรวมสถิติเพื่อเก็บเป็นข้อมูลของข้าราชการพลเรือนทั่วประเทศ[11]

อ้างอิง[แก้]

  1. ความหมายของระบบราชการ.(ม.ป.ป.).สืบค้นมาจาก:www.thaihrwork.com/ความหมายของระบบราชการ.สืบค้นเมื่อ:วันที่27 เมษายน 2560.
  2. ศูนย์อาเซียน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(2558).สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว.สืบค้นมาจาก:http://www.fact.fti.or.th/th/.สืบค้นเมื่อ:วันที่23 เมษายน 2560.
  3. ขนิษฐา โตเลี้ยง,และสุวิมล อุตอามาตย์.2556.100 เรื่องน่ารู้ในลาว.กรุงเทพฯ:บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด(มหาชน),ตลิ่งชัน.
  4. P.Anuwat.2556.สะบายดี ประเทศลาว.กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์เพาเวอร์ เบสท์.
  5. (ม.ป.ป.).แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติลาวฉบับที่ 7(2554-2558).สืบค้นมาจาก:http://www.thaisavannakhet.com/vientiane/th/about/about_news/7th%20econ%20plan.pdf.สืบค้นเมื่อ:วันที่23 เมษายน 2560.
  6. ลาวยุคอาณานิคมฝรั่งเศส.(ม.ป.ป.).สืบค้นมาจาก:https://sites.google.com/site/pollawat1106/khwam-taek-yaek-ni-xns-cakr-lan-chang/law-yukh-xananikhm-frangses.สืบค้นเมื่อ:วันที่ 20 เมษายน 2560.
  7. มหาบุนมี เทบสีเมือง(2556).ความเป็นมาของชนชาติลาว.กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์ตถาตา.600 หน้า.
  8. สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน(2556).ระบบราชการของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว:กรกนกการพิมพ์.200หน้า
  9. กระทรวงสปป.ลาว(ม.ป.ป.).สืบค้นมาจาก:http://chadiousburg.exteen.com/20120508/ministries-of-lao-pdr.สืบค้นเมื่อ:วันที่25 เมษายน 2560.
  10. ณรงค์ โพธิ์พฤกษานันท์(2556).อาเซียนศึกษา.กรุงเทพฯ.:สำนักพิมพ์แมกกอฮิลล์,พญาไท.
  11. สถาบันพระปกเกล้า.2556.ระบบการปกครองท้องถิ่นของประเทศลาว.สืบค้นมาจาก:www.kpi.ac.th/kpith/pdf/ผลงาน/.../เนื้อในลาว_ok%2013-08-56.pdf.สืบค้นเมื่อ:วันที่23 เมษายน 2560.