ผู้ใช้:Plantps/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การปกครองท้องถิ่นในประเทศญี่ปุ่น

ความเป็นมา[แก้]

หลังจากที่มีการเปลี่ยนยุคสมัยในประเทศญี่ปุ่นประชาชนได้มีการเรียกร้องให้มีการกระจายอำนาจมากขึ้นในการมีส่วนร่วมในการปฏิรูปการปกครองและบริหารบ้านเมืองหลักจากมีการนำเสนอกฎหมายส่งเสริมการกระจายอำนาจเข้าสู่สภา สภาได้เห็นชอบกับกฎหมายการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ทำให้เกิดการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นในประเทศญี่ปุ่นขึ้นมา[1] ระบบการปกครองส่วนท้องถิ่นที่เป็นอยู่ในประเทศญี่ปุ่นได้ใช้กันมาตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สองซึ่งเป็นระยะเวลานานกว่า 50 ปีแล้ว จำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขใหม่ให้เหมาะสมโดยให้ความสำคัญในการลดบทบาทหรือหน้าที่ของรัฐบาลลงและเพิ่มบทบาทหน้าที่แก่ท้องถิ่นและเอกชน ในประเทศญี่ปุ่นนั้นการปกครองท้องถิ่นในรูปแบบของเทศบาลแต่ละที่ต่างก็มีประวัติความเป็นมาเฉพาะของแต่ละที่ต่อมาระบบบริหารงานยุคใหม่ของญี่ปุ่นเริ่มต้นในปี 1868 หลังจากเกิดยุคฟื้นฟูสมัยเมจิในยุคนั้นการปกครองท้องถิ่นญี่ปุ่นเป็นระบบที่รัฐบาลกลางนำมาใช้เพื่อผลักดันประเทศเข้าสู่ภาวะทันสมัยในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ในช่วงดังกล่าวรัฐบาลกลางมีอำนาจสูง การปกครองส่วนท้องถิ่นจึงยังถูกควบคุมจากรัฐบาลส่วนกลางอย่างมากและภายหลังปี 1965 รัฐบาลกลางได้มอบอำนาจแก่รัฐบาลท้องถิ่นมากขึ้นตามแผนงานที่วางไว้ หน้าที่ของรัฐบาลกลางได้ถูกหมอบหมายตามกฎหมายให้แก่ผู้บริหารท้องถิ่น ในแนวความคิดนี้ผู้บริหารท้องถิ่นไม่ได้ทำหน้าที่เป็นเพียงตัวแทนของประชาชนในท้องถิ่นเพียงเท่านั้น แต่ยังเป็นกลไกของรัฐบาลกลางซึ่งทำงานภายใต้การชี้แนะของรัฐมนตรีด้วย พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ เมื่อได้รับเลือกเป็นผู้บริหารท้องถิ่นแล้วก็ถือว่าเป็นตัวแทนของรัฐบาลกลางด้วย[2]

บทบาทและหน้าที่ขององค์กรปกครองท้องถิ่นญี่ปุ่น[แก้]

การปกครองท้องถิ่นของญี่ปุ่นในปัจจุบันมีรากฐานมาจากรัฐธรรมนูญปี 1946 ซึ่งถือว่าการปกครองท้องถิ่นเป็นส่วนสำคัญในการเป็นประชาธิปไตย หน่วยการปกครองท้องถิ่นควรมีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการอย่างกว้างขวางและการออกกฎหมายพิเศษเพื่อใช้ในท้องถิ่นหนึ่ง การปกครองท้องถิ่นนั้นมีหน้าที่ให้บริการแก่ชุมชนและมีหน้าที่ดำเนินงานที่ทำให้ท้องถิ่นนั้นอยู่ได้และบริการสิ่งที่เป็นประโยชน์ให้แก่ประชาชน[3] หน้าที่ของท้องถิ่นไม่ได้มีแค่ในการให้บริการเท่านั้นยังมีการออกกฎระเบียบในเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ความปลอดภัยการดูแลควบคุมเยาวชน นอกจากนี้ท้องถิ่นยังทำหน้าที่แทนรัฐบาลกลางในการดำเนินกิจกรรมต่างๆอีกด้วย ท้องถิ่นทำหน้าที่ทุกอย่างยกเว้นเรื่องการทูต ความมั่นคงของชาติและการพิจารณาคดี[4][5]

การแบ่งหน้าที่ระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในญี่ปุ่น[แก้]

ประเทศญี่ปุ่นจัดให้มีการแบ่งหน้าที่และการบริหารกาจัดการของแต่ละองค์กรส่วนท้องถิ่นค่อนข้างชัดเจน โดยที่ว่ารัฐบาลกลางนั้นคอยควบคุมดูแลกิจการระดับรัฐจังหวัดดูและพื้นที่ที่ครอบคลุมทั่วกว้างกว่าหนึ่งเทศบาลและดูแลเรื่องที่ต้องการความเป็นอันหนึ่งอันเดียวหรือความสงบสุขในระดับชาติและรับดับจังหวัดและยังมีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบในเรื่องเดียวกันบ้าง[6]

แนวโน้มของการปกครองท้องถิ่นในประเทศญี่ปุ่น[แก้]

การปกครองท้องถิ่นของประเทศญี่ปุ่นถูกเปลี่ยนแปลงจากสถานการณ์ทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ เช่น ประชากรอายุเพิ่มมากขึ้น เศรษฐกิจและสังคมโลกเป็นระบบสากล และแต่ละชุมชนมีความต้องการที่แตกต่างกันประชาชนออกมาเรียกร้องมากยิ่งขึ้นเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยทิศทางการเปลี่ยนแปลงมีลักษณะดังนี้[7]

  1. มีความเป็นอิสระมากขึ้น มีการกระจายอำนาจและลดการแทรกแซงจากส่วนกลางหรือรัฐบาลมากขึ้นส่วนกลางจะทำเฉพาะหน้าที่ของตนเองจริงๆ องค์กรปกครองท้องถิ่นสามารถดูแลตัวเองได้และสามารถกำหนดนโยบายท้องถิ่นได้ง่ายขึ้นและมากขึ้น
  2. มีความครอบคลุมมากขึ้น โดยส่งเสริมให้มีนโยบายท้องถิ่นที่สร้างสรรค์มีการกระจายค่าใช้จ่ายให้ระบบท้องถิ่น โดยให้ความสำคัญที่ท้องถิ่นและเพิ่มการสนับสนุนโครงการช่วยเหลือแก่ท้องถิ่นเร็วขึ้น
  3. มีความเป็นเอกภาพน้อยลง โดยเปิดโอกาสให้จัดการท้องถิ่นที่หลากหลาย มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นครอบคลุมพื้นที่กว้างและประชาชนมีสิทธิแสดงความคิดเห็นหรือริเริ่มเสนอให้รวมท้องถิ่น[8]

หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการปกครองท้องถิ่นของญี่ปุ่น[แก้]

หน่วยงานในส่วนกลางที่มีความสำคัญในการดูแลการปกครองท้องถิ่นญี่ปุ่นคือ กระทรวงกิจการภายในก่อนหน้ากระทรวงนี้เรียกว่ากระทรวงมหาดไทยมีหน้าที่และบทบาทที่กว้างขวางครอบคลุมในกิจการภายในของทั้งประเทศ ดูแลหน่วยงานภายในตำรวจ หน่วยงานก่อสร้าง กระทรวงแรงงานและกระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการ รวมไปถึงการรับผิดชอบแต่งตั้งผู้ว่าราชการด้วยแต่ในปัจจุบันกระทรวงมหาดไทยถูกยุบหลังสงครามโลกครั้งที่สองมีการแยกกระทรวงต่างๆออกมาและมีการกระจายงานสู่ท้องถิ่น กระทรวงกิจการภายในนั้นในปัจจุบันเป็นกระทรวงที่ค่อนข้างเล็กมีหน้าที่ในการดูแลงานการคลังของท้องถิ่น รวมทั้งเป็นหน่วยงานที่ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับคลังและการบริหารท้องถิ่นนั้นเอง[9][10]

โครงสร้างการปกครองท้องถิ่นในประเทศญี่ปุ่น[แก้]

ระบบการปกครองท้องถิ่นญี่ปุ่นแบ่งเป็นระบบสองชั้น ได้แก่ จังหวัดและเทศบาล แต่ละองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีสภาและผู้บริหารที่มาจากการคัดสรรหรือเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนทั้งนี้องค์กรปกครองท้องถิ่นมีภารกิจหรือหน้าที่มากกว่ารัฐบาลกลางสถานภาพของการปกครองตนเองของท้องถิ่นระเบียบเกี่ยวกับองค์กรและการปฏิบัติงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีการจัดตั้งสภาท้องถิ่นตามกฎหมาย และผู้บริหารท้องถิ่นต้องมาจากการเลือกตั้งจากประชาชนโดยตรง ประเภทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแบ่งออกเป็น จังหวัดและเทศบาล โดยมีจำนวนทั้งหมด 47 จังหวัด และ 1,777 เทศบาล นอกจากนี้ยังมีการปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษคือ มหานครโตเกียว ซึ่งมีเขตปกครองตนเองย่อย อีก 23 แห่ง[11] ประเทศญี่ปุ่นนั้นไม่มีภูมิภาคแต่ประกอบด้วยส่วนกลางและท้องถิ่น 2 ชั้น ซึ่งเหมือนเหมือนที่กล่าวมาข้างต้นแล้วนั้นเดิมทีผู้ว่าราชการจังหวัดได้รับแต่งตั้งจากส่วนกลางแต่หลังจากปฏิรูปครั้งที่สองหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ผู้ว่าราชการจังหวัดได้รับเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน มีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี ไม่มีเงื่อนไขกำหนดว่าจะดำรงตำแหน่งได้กี่วาระ จังหวัดมีหน้าที่ในเรื่องที่ครอบคลุมพื้นที่ในหลายเทศบาลขนาดของจังหวัดแตกต่างกันไปทั้งในทางประชากรและพื้นที่ใช้สอยสำหรับโตเกียวนั้นซึ่งมีประชากรมากแต่พื้นที่เล็กจังจังหวัดที่มีประชากรรองลงมาได้แก่โอซากา สำหรับจังหวัดเล็กๆนั้นซึ่งมีพื้นที่ที่กว้างขวางแต่มีประชาชนน้อยในแต่ละจังหวัดมีเทศบาลครอบคลุมเต็มพื้นที่ ยกตัวอย่างเช่น จังหวัดไซตามะมีประชากร 6 ล้านคน มีเทศบาลย่อย 92 แห่งบริเวณที่มีประชากรหนาแน่นเรียกว่าเมืองใหญ่ รองลงไปเป็นเมืองและหมู่บ้านส่วนใหญ่มักทำการเกษตรกรรม ท้องถิ่นชั้นที่สองเรียกว่า เทศบาล ซึ่งมีสามประเภท เรียกว่า เมืองใหญ่มีทั้งสิ้น 663 แห่ง ที่เหลือเป็นเมืองและหมู่บ้านซึ่งมีอยู่รวมกัน 2,572 แห่งทั้งนี้เฉพาะในเขตจังหวัดโตเกียวมีหน่วยงานท้องถิ่นพิเศษเรียกว่า KU จำนวน 23 แห่ง[12] ต่อมาคือนายกเทศมนตรีหรือหัวหน้าหมู่บ้านมาจากการเลือกตั้ง ดำรงตำแหน่ง 4 ปี และมีสภาเทศบาลซึ่งสมาชิกมาจากการเลือกตั้งอยู่ในตำแหน่ง 4 ปี การบริหารงานของแต่ละท้องถิ่นแบ่งออกเป็นหน่วยงานระดับต่างๆ เช่นฝ่ายต่างๆแผนกต่างๆและอาจจะมีหน่วยงานพิเศษเพื่อดูบางเรื่อง หรืออาจจะมีหน่วยงานอิสระที่ไม่ได้อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของนายกเทศมนตรี เช่น คณะกรรมการการเลือกตั้ง คณะกรรมการศึกษา คณะกรรมการดูแลความประพฤติของพนักงาน เป็นต้น[13] ลักษณะการ[บริหารท้องถิ่น]ของประเทศญี่ปุ่นอาจสรุปได้ว่าเป็นการบริหารที่มีอิสระพอสมควร สามารถพึ่งตนเองได้แต่การดำเนินการต่างๆยังเป็นไปในกรอบที่ส่วนกลางกำหนด ท้องถิ่นมีระดับหน้าที่ความรับผิดชอบสูงและมีรูปแบบการบริหารจัดการเดียวกัน ท้องถิ่นแต่ละระดับมีการแบ่งหน้าที่หน้าที่ความรับผิดชอบชัดเจนตามที่กฎหมายกำหนด จังหวัดจะดูแลเรื่องที่ครอบคลุมในหลายเทศบาล หรือเรื่องที่คุ้มค่ามากกว่าการดำเนินการเอง โดยแต่ละเทศบาลแต่ละแห่งจะดูแลอยู่ในเขตพื้นที่ของตน ทั้งนี้ส่วนกลางจะเข้ามาสนับสนุนในด้านการเงินด้วย เช่น การสร้างตึก การบำรุงรักษา เป็นเรื่องของเทศบาลแต่ส่วนกลางให้การสนับสนุนทางการเงินและอาจแทรกแซงได้ หรือในเรื่องการเรียนการศึกษาส่วนกลางดูแลมาตรฐาน หลักสูตรและกำหนดนโยบาย ข้าราชการได้เงินเดือนจากจังหวัดโดยจังหวัดมีอำนาจตัดสินใจเรื่องการเปิดหรือปิดเทอม ส่วนเทศบาลสนับสนุนด้านการบำรุงรักษาและค่าใช้จ่ายต่างๆ การกำกับดูแลของส่วนกลางกระทำในสองลักษณะคือ การสนับสนุนด้านการเงินและการกำกับดูแลโดยหน่วยงานกลาง ต่างจากช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่สองซึ่งส่วนกลางกำกับดูแลโดยตรงอย่างมากและมีอำนาจมากแต่ในปัจจุบันส่วนกลางยังคงแทรกแซงระดับจังหวัดและยังกำกับดูแลเทศบาลอยู่บ้าง ทั้งนี้อำนาจในการวางแผนงานเรื่องส่วนใหญ่ยังคงเป็นส่วนกลางที่คอยกำกับดูแลท้องถิ่นและเทศบาลให้ขับเคลื่อนนโยบายของส่วนกลางให้ไปในทิศทางที่ส่วนกลางกำหนดไว้[14]

ความเป็นเอกภาพของท้องถิ่นญี่ปุ่น[แก้]

กล่าวว่าถึงแม้ท้องถิ่นของญี่ปุ่นจะมีขนาดพื้นที่และประชากรแตกต่างกันอย่างมาก แต่ในด้านองค์การและภาระหน้าที่แล้วกฎหมายกำหนดให้เอกภาพซึ่งปรากฏในสองลักษณะ ลักษณะแรกคือ คุณภาพและระดับบริการที่ให้แก่ประชาชนต้องคล้ายคลึงกันทั่วประเทศโดยต้องสอดคล้องกับแนวทางที่รัฐบาลกลางกำหนด ลักษณะที่สองคือ เงื่อนไขสถานการณ์เฉพาะในพื้นที่ใดก็ตามต้องได้รับการแก้ไขที่ใช้กันทั้งประเทศ ไม่ใช่ตั้งองค์กรเฉพาะขึ้นมาแก้ไข เมื่อเป็นดังนี้แล้วการจัดสรรรายได้จึงต้องสอดคล้องกับหลักเอกภาพด้วย กล่าวคือระบบการจัดสรรภาษีให้ท้องถิ่นกำหนดให้รัฐบาลจัดสรรรายได้จากภาษีที่เก็บระดับชาติให้แก่ท้องถิ่นโดยพิจารณาจากความสามารถทางการเงินของแต่ละท้องถิ่น ยกตัวอย่างเช่น กรุงโตเกียวซึ่งมีรายได้มากจะไม่ได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากรัฐบาลมากนัก[15][16]

อ้างอิง[แก้]

  1. tdri.or.th/wp-content/uploads/2016/07/ญี่ปุ่น-กระจายอำนาจ.pptx
  2. ศ.ดร.ปรัชญา เวสารัชช์,การปกครองท้องถิ่นญี่ปุ่น,สำนักงานก.พ.,2542
  3. www.m5.sura.ac.th/web56/513/04/data4.html
  4. ธีระวิทย์,ระบบการปกครองของญี่ปุ่น,สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช,2511
  5. www.drthavorn.com/wp-content/uploads/2010/07/drthavorn.pdf
  6. ธีระวิทย์,ระบบการปกครองของญี่ปุ่น,สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช,2511
  7. https://www.sites.google.com/site/.../hna-hlak-smakhm/rayngan-kar-prachum-k-th
  8. วิรัช วิรัชนิภาวรรณ,การบริหารท้องถิ่นญี่ปุ่นและไทย,โอเดียนสโตร์,2541
  9. เจอรัลด์ แอล. เคอร์ติส,การเมืองแบบญี่ปุ่น,สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,2539
  10. http://www.academia.edu/23900165/99_Local_Government_Lesson_of_Community_Strength_of_Japan
  11. https://www.slideshare.net/DrThavorn/2016-60647918
  12. http://oknation.nationtv.tv/blog/pohthai/2012/04/10/entry-2
  13. https://parktodessjapan.wordpress.com/
  14. https://jtfreelanceinterpreter.wordpress.com/2013/09/08/local-government/
  15. อ.อรนงค์ วัจนะพุกกะ,การเมืองญี่ปุ่น,สำนักข่าวสารญี่ปุ่นประจำประเทศไทย,2515
  16. www.apecthai.org/index.php/ข้อมูลรายประเทศทั่วโลก/.../584-ญี่ปุ่น.html