ผู้ใช้:Sense1302/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New public management)[แก้]

คือการนำหลักการของภาคเอกชนมาปรับใช้กับระบบราชการที่เน้นระเบียบไปสู่การบริหารงานแบบใหม่ที่จะเน้นผลสำเร็จและความรับผิดชอบเป็นการนำหลักทำให้มีประสิทธิภาพ รวมถึงเทคนิคและวิธีการของเอกชนมาใช้กับการทำงานเพื่อช่วยให้ภาครัฐบรรลุผลที่มีประสิทธิภาพ

จุดเริ่มต้นของการจัดการภาครัฐแนวใหม่[แก้]

การจัดการภาครัฐแนวใหม่มีจุดเริ่มต้น [1] ในช่วงทศวรรษที่ 1980และ1990 เมื่อการจัดการของภาครัฐและภาคเอกชนเริ่มประสบปัญหาคล้ายกัน ฝ่ายเอกชนที่เริ่มมีขนาดขนาดใหญ่จึงมีชั้นการบังคับบัญชาการทำงานและมีปัญหาเหมือนระบบราชการ และในที่สุดภาคเอกชนได้มีการนำหลักการจัดการมาใช้อย่างจริงจังเนื่องจากมองว่าระบบราชการมันวุ่นวายไป และได้แก้ไขให้ผู้จัดการมีหน้าที่รับผิดชอบต่อผลสำเร็จทั้งหมด ส่วนภาครัฐยังไม่มีการปรับเปลี่ยนจนมาถึงปี 1980 ได้ปฏิรูปโดยหันมาใช้แนวการจัดการ[1]

ต่อมาประเทศแรกที่ได้เริ่มใช้การจัดการภาครัฐแนวใหม่คือ ประเทศอังกฤษ ในปี 1968 ในสมัยที่แธตเชอร์เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการปฏิรูปการบริหารของภาครัฐครั้งใหญ่[2] ส่วนประเทศต่อมาคือสหรัฐอเมริกาโดยจุดเริ่มต้นของการเกิดการปรับปรุงการบริหารของภาครัฐตั้งแต่สมัยประธานาธิบดีคาร์เตอร์เป็นต้นมา ได้มีการออกพระราชบัญญัติการปฏิรูประบบราชการ(Civil Service Reform Act)เพื่อให้เหล่าผู้บริหารมีความรับผิดชอบมากขึ้นและกฏหมายฉบับนี้ไม่ได้มุ่งแต่ระบบการบริหารบุคคลแต่ยังพยายามปรับปรุงการบริหารภาครัฐอีกด้วย[3] ต่อมาการปฏิรูประบบราชการได้กลายมาเป็นกระแสสากล ในหลายประเทศเริ่มมีเกิดการเปลี่ยนแปลงและการปฏิรูประบบราชการ และมีวิธีแตกต่างกัน โดยจุดเด่นหลักอยู่ที่การปฏิรูปเพื่อให้มุ่งผลสำเร็จและให้ผู้บริหารมีความรับผิดชอบขึ้น หรือจะพูดให้เข้าใจง่ายๆก็คือ การให้ผู้บริหารเป็นผู้จัดการนั่นเอง

ลักษณะร่วมของNPM][แก้]

  1. เน้นการบรรลุผล
  2. วัตถุประสงค์ 3E คือ Effectiveness Efficiency และ Economy
  3. ลดภาระของรัฐโดยการแปรรูป และถ่ายโอนให้แก่เอกชน

ข้อเสนอในการจัดการภาครัฐแนวใหม่[แก้]

การจัดการภาครัฐแนวใหม่ถือเป็นแนวคิดที่มีอิทธิพลต่อการปฏิรูปการบริหารทั่วโลก[4]โดยมีแนวคิดดังนี้
แนวคิดHood เขามองว่า"การจัดการภาครัฐแนวใหม่"มีหลักการสำคัญอยู่ 7 ประการคือ

  1. จัดการโดยนักวิชาชีพที่มีชำนาญการมากกว่า
  2. การมีมาตรฐานและการวัดผลงานที่ชัดเจน
  3. มีการเน้นการควบคุมผลผลิตมากขึ้น
  4. มีการแยกหน่วยภาครัฐออกเป็นหน่วยย่อย
  5. เน้นการจัดตามแบบภาคเอกชน
  6. เน้นการใช้ทรัพยากรอย่างมีวินัยและประหยัด[5]

แนวทางของโฮมส์ (holmes) และแชนด์ (shand)

  1. สนใจกลยุทธ์และผลสำเร็จในการตัดสินใจมากขึ้น
  2. เปลี่ยนโครงสร้าง ระบบราชการ ที่รวมศูนย์เป็นการกระจายอำนาจ ให้การตัดสินใจอยู่ที่จุดบริการให้มากที่สุด
  3. ยืดหยุ่นในด้านการแสวงหาทางเลือกเพื่อจัดบริการสาธารณะ ทำให้เกิดที่มีประสิทธิผลมากขึ้น
  4. สนใจการจัดอำนาจหน้าที่กับความรับผิดชอบให้สมดุลกัน
  5. สร้างบรรยากาศการแข่งขันให้เกิดภายในหน่วยงานและระหว่างหน่วยงาน ภาครัฐ
  6. ใช้กลยุทธ์เป็นจุดศุนย์กบางขอวการกำกับทิศทางให้ รัฐบาล ตอบสนองความต้องการของภายนอกและกลุ่มหลากหลายอย่างรวดเร็วและเสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด
  7. รับผิดชอบต่อการตรวจสอบและโปร่งใสยิ่งขึ้น
  8. ใข้ระบบงบประมาณและการจัดการเพื่อสนับสนุนและกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนและเปลี่ยนแปลงอย่างกว้างขวาง [6]

นอกจากนี้ยังมีแนวคิดจากหลายนักวิชาการที่มีความเห็นในเรื่องของการจัดการภาครัฐแนวใหม่ซึ่งพวกเขามีความเห็นตรงกันในเรื่องของการนำหลักการการจัดการภาครัฐแนวใหม่มาใช้

กระบวนการเปลี่ยนแปลงตามแนวคิดของการจัดการภาครัฐแนวใหม่[แก้]

โดยสามารถสรุปกระบวนการเปลี่ยนแปลงตามแนวคิดการจัดการภาครัฐแนวใหม่ได้ดังนี้[7]

  • การใช้การวางแผนกลยุทธ์

รัฐบาลประเทศต่างๆ ต้องการพัฒนาการวางแผนและกลยุทธ์ระยะยาวให้ดีขึ้นวิธีนี้ต้องกำหนดภารกิจ (mission) ขององค์การ สร้างวิสัยทัศน์เกี่ยวกับการรบรรลุจุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ เทคนิคเหล่านี้ช่วยให้ใช้ทรัพยากรได้ดีขึ้น ด้วยเหตุนี้ทำให้ผลลัพธ์ผูกมัดกับทรัพยากร

  • การจัดการไม่ใช่การบริหาร

การจัดการภาครัฐยุคปัจจุบันต้องการผู้จัดการมืออาชีพ ส่วนฝ่ายผู้จัดการก็ต้องเกี่ยวข้องกับนโยบาย เงื่อนไขของฝ่ายการเมืองและรับผิดชอบต่อความสำเร็จหรือล้มเหลวของนโยบาย

  • การเน้นผลสำเร็จ

องค์การต้องเน้นที่ผลสำเร็จ คือ ผลลัพธ์ หรือผลผลิต ไม่ใช่ปัจจัยนำเข้า การปฏิรูปเน้นผลงานของบุคคลและหน่วยงาน แม้แต่บุคคลที่สำคัญขององค์การ ซึ่งนำไปสู่การให้รางวัลหรือลงโทษตามมา เช่น โฮมและแชนด์ เห็นว่าการประเมินผลตามตัวชี้วัดยังไม่พอต้องเปลี่ยนระบบบรางวัลทั้งระบบตั้งแต่งบประมาณ การบริหารงานบุคคล วิธีการควบคุมเพื่อให้จูงใจให้ยึดผลงานเป็นหลักในการทำงาน

  • การปรับปรุงการบริหารงานคลัง

การปฏิรูปการคลังมีผลต่อความสำเร็จของการปฏิรูปภาครัฐมาก การจัดการภาครัฐแนวใหม่ต้องการให้สนใจการใช้ทรัพยากรให้ดีที่สุดมากกว่าเดิม ซึ่งมีการตัดค่าใช้จ่าย และควบคุมทรัพยากร ทำให้รัฐบาลสามารถควบคุมการใช้จ่ายได้ดีขึ้น เนื่องจากมีระบบข้อมูลที่ดีกว่าเดิม

  • การแยกผู้ซื้อและผู้จัดหาออกจากกัน

การจัดการภาครัฐแนวใหม่เห็นว่ารัฐบาลไม่จำเป็นต้องเป็นผู้จัดหาบริการคนสุดท้าย ให้ประชาชนสามารถแยก “ผู้ซื้อ” ออกจาก “ผู้จัดหา” ได้ ผู้ซื้อคือคนที่ตัดสินใจว่าควรจะผลิตอะไร ส่วนผู้จัดหาคือ คนที่ส่งผลิตหรือผลลัพธ์ตามที่ตกลงกัน การแยกผู้ซื้อกับผู้จัดหาออกจากกันมีผลดี เพราะหากรัฐเป็นผู้ซื้ออย่างเดียว จะสามารถทำหน้าที่ของตัวเองได้เต็มที่ยิ่งขึ้น

  • การจัดองค์การยืดหยุ่น

การแยกองค์การออกเป็นหน่วยย่อย แยกหน่วยงานใหญ่ออกเป็นส่วนย่อยตามนโยบายหน่วยเหนือ การจัดตั้งเป็นหน่วยงานแบบนี้จริงๆ ในอังกฤษตามโครงการ “The next steps” ของรัฐบาลแธตเชอร์เมื่อปีค.ศ.1988 แม้บางคน เช่น ฮูด เห็นว่าการแยกองค์การออกเป็นหน่วยย่อยไม่ใช่การปฏิรูป แต่บางคนเช่น โฮมส์และแชนด์ เห็นว่ามีหลายกรณที่ช้วิธีนี้ เพื่อให้การจัดการ การให้เงินทุนสนับสนุนและการออกกฎระเบียบต่างๆคล่องตัว

  • การตรวจสอบสิ่งที่รัฐบาลทำหลายๆวิธี[8]

หลักสำคัญของการปฏิรูป คือ ดูว่ารัฐบาลทำอะไร มีมีบทบาทต่อเศรษฐกิจและสังคมยังไง อะไรที่เหลือไว้ให้เอกชนทำ วิธีการปฏิรูปการจัดการภาครัฐอันหนึ่งที่สำคัญ คือ การตรวจสอบการกระทำของรัฐบาลหลาบๆวิธี เพื่อเป็นหลักประกันว่าเป็นไปตามเป้าหมายที่ต้องการ

อ้างอิง[แก้]

  1. เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ, ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรัฐประศาสนศาสตร์, กรุงเทพมหานคร : บพิธการพิมพ์ จำกัด, 2554, หน้า 235, ISBN 974-345-243-5
  2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์กวี รักษ์ชน,การบริหารรัฐกิจเบื้องต้น,สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง,2542,หน้า63-65,ISBN 974-501-868-6
  3. ผศ.เสาวลักษณ์ สุขวิรัช, แนวความคิดเชิงทฤษฎีการบริหารรัฐกิจ Theoretial Orientations in Public Administraton, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2553, หน้า 90 , ISBN 978-616-513-345-6
  4. ผศ.ดร.สัมฤทธิ์ ยศสมศักดิ์,รัฐประศาสนศาสตร์:แนวคิดทฤษฎี,สำนักพิมพ์:บริษัทเอ็กซเปอร์เน็ทจำกัด กรุงเทพมหานครฯ,2549, หน้า292,ISBN 974-384-005-2
  5. รศ.ผศ.เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ, ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรัฐประศาสนศาสตร์, กรุงเทพมหานคร : บพิธการพิมพ์ จำกัด, 2554, หน้า 238-239, ISBN 974-345-243-5
  6. รศ.ผศ.เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ, ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรัฐประศาสนศาสตร์, กรุงเทพมหานคร : บพิธการพิมพ์ จำกัด, 2554,หน้า242 , ISBN 974-345-243-5
  7. Owen Hughes, Public management and administration: An introduction, 3rd ed,. pp.54-60.
  8. รศ.ผศ.เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ, ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรัฐประศาสนศาสตร์, กรุงเทพมหานคร : บพิธการพิมพ์ จำกัด, 2554,หน้า241-247 , ISBN 974-345-243-5