ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:ThawatphongBoonma/ทดลองเขียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Thawatphong Boonma

ธวัชพงศ์ บุญมา (9 มกราคม พ.ศ. 2536) นักพฤกษศาสตร์ (Botanist)

ประวัติ[แก้]

ธวัชพงศ์ บุญมา, 有(อู๋) หรือ มัทธิว เกิดเมื่อวันที่ 9 มกราคม ค.ศ. 1993 ที่โรงพยาบาลบ้านนา ตำบลพิกุลออก อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก เข้าศึกษาระดับชั้นอนุบาลและประถมศึกษาที่โรงเรียนวัดพิกุลแก้ว จนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จึงเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนบ้านนา "นายกพิทยากร" จนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากนั้นเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนเตรียมวิศวกรรมศาสตร์ ไทย-เยอรมันซึ่งสังกัดอยู่ใน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ในสาขา เตรียมวิศวกรรมเครื่องกล จนจบชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) จากนั้นได้โควต้าศึกษาต่อ วิศวกรรมเคมี ที่มหาวิทยาลัยดังกล่าว แต่ไม่ได้ศึกษาต่อจนจบ โดยเปลี่ยนไปศึกษาด้านดนตรีสากล เครื่องมือเอก violoncello ที่สาขาดุริยางคศาสตร์สากล คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (ประสานมิตร) จนจบการศึกษาในระดับปริญญาตรี. ในระหว่างที่ศึกษาได้ร่วมแสดงดนตรีร่วมกับวงออเคสตร้าหลายวง เช่น Thailand Sactuary Symphony Orchestra (TSSO), Bangkok Charity Orchestra (BCO) และวง chamber อีกหลายวง รวมถึงรับเล่นดนตรีในงานแต่งของชาวต่างชาติที่เกาะสมุย และภูเก็ต และเคยเปิดร้านรับตัดป้ายโฟมงานแต่งงาน (Brio Foam for wedding) ภายหลังจบการศึกษาก็ได้รับสอนดนตรีและรับเล่นดนตรีงานแต่งชาวต่างชาติ แต่หลังจากประสบอุบัติเหตุในช่วงปลายปี 2018 จึงไม่ได้รับงานดนตรีอีก และในช่วงปลายปี 2019 เมื่อมีเชื้อไวรัสโควิดแพร่เข้ามาในประเทศไทยจึงทำให้ไม่มีงาน จึงตัดสินใจหยุดกิจการเพื่อเตรียมตัวศึกษาต่อ

ในวัยเด็ก ธวัชพงศ์ เติบโตมาอย่างเรียบง่าย เล่นดิน ปลูกต้นไม้ ท่ามกลางสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติกลางทุ่งนาที่อุดมสมบูรณ์ ทำให้มีต้นไม้ปลูกสะสมอยู่จำนวนมาก และในระหว่างที่ใช้ชีวิตอยู่ในกรุงเทพฯ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2008-2018 ทำให้ได้มีโอกาสเดินทางไปท่องเที่ยวในหลายจังหวัดทั่วประเทศไทย และหลายครั้งก็ได้ต้นไม้กลับมาปลูกที่บ้านที่นครนายกด้วย โดยได้ตั้งชื่อสวนที่ใช้เก็บรวบรวมพรรณไม้ที่สะสมไว้ว่า Brio Garden โดยวงศ์ที่มีสะสมมากที่สุดคือ พืชในวงศ์ขิง (Zingiberaceae) และด้วยความโชคดีที่ได้รู้จักกับ รศ.ดร.สุรพล แสนสุข ผู้เชี่ยวชาญด้านอนุกรมวิธานพืช จึงได้รับคำแนะนำและสอนพื้นฐานทางด้านอนุกรมวิธานพืชให้อย่างต่อเนื่อง จนภายหลังได้ร่วมกันวิจัยและตีพิมพ์พืชชนิดใหม่ในวงศ์ขิงร่วมกันเป็นชนิดแรกในปี 2019 ในวารสาร Taiwania พืชดังกล่าวชื่อว่า Curcuma saraburiensis Boonma & Saensouk หรือชื่อไทย เรียกว่า "สระบุรีรำลึก" ชื่อชนิดตั้งให้เป็นเกียรติกับชื่อจังหวัดแหล่งที่พบพืชชนิดนี้ ซึ่งพบเป็นพืชถิ่นเดียวของไทย (Endemic species) กระจายพันธุ์ในป่าพื้นที่จังหวัดสระบุรี ประเทศไทย เท่านั้น หลังจากนั้นได้ทำการศึกษาวิจัยร่วมกันมาอย่างต่อเนื่อง ตีพิมพ์พืชชนิดใหม่และพืชรายงานพบในประเทศไทยกว่า 10 ชนิด ในปัจจุบันธวัชพงศ์กำลังศึกษาต่อระดับปริญญาเอก สาขาความหลากหลายทางชีวภาพ สถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยมี รศ.ดร.สุรพล แสนสุข เป็นที่ปรึกษา.

การศึกษา[แก้]

อนุบาล - โรงเรียนวัดพิกุลแก้ว

ประถมศึกษาปีที่ 6 - โรงเรียนวัดพิกุลแก้ว

มัธยมศึกษาปีที่ 3 - โรงเรียนบ้านนา "นายกพิทยากร"

ประกาศนียบัตรวิชาชีพ - โรงเรียนเตรียมวิศวกรรมศาสตร์ ไทย-เยอรมัน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

ปริญญาตรี - มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ปริญญาเอก - สถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ปัจจุบัน)

ผลงานวิจัยในวารสารระดับนานาชาติ[แก้]

  • Curcuma saraburiensis (Zingiberaceae), a new species from Thailand. Taiwania 64(3): 245–248, 2019[1]
  • Amomum foetidum (Zingiberaceae), a new species from Northeast Thailand. Taiwania 65(3): 364–370, 2020[2]
  • Two new species of Kaempferia L. (Zingiberaceae) from Thailand. Taiwania 65(3): 371–381, 2020[3]
  • Curcuma thailandica (Zingiberaceae), a New Species from Thailand. J. Jpn. Bot. 95(4): 214–219, 2020[4]
  • Six new species and a new record of Curcuma L. (Zingiberaceae) from Thailand. Biodiversitas 22: 1658-1685, 2021[5]
  • Curcuma wanenlueanga (Zingiberaceae), a new species of subgenus Curcuma from Thailand. Biodiversitas 22: 2988-2994, 2021[6]
  • A new species and a new record of Curcuma subgen. Curcuma (Zingiberaceae) from Northern Thailand. Biodiversitas 22: 3617-3626, 2021[7]
  • Kaempferia nigrifolia (Zingiberaceae), a new species from Central Thailand. Rheedea 31(1): 11–17, 2021[8]

ผลงาน รายงานพืชชนิดใหม่ของโลก (New species)[แก้]

2019[แก้]

2020[แก้]

2021[แก้]

  • Curcuma chataranothaii Boonma & Saensouk – ขมิ้นน้อย[5]
  • Curcuma charanii Boonma & Saensouk – ขมิ้นจรัญ, กระเจียวจรัญ[5]
  • Curcuma phrayawan Boonma & Saensouk พญาว่าน, พระยาว่าน[5]
  • Curcuma puangpeniae Boonma & Saensouk – ขมิ้นพวงเพ็ญ, กระเจียวพวงเพ็ญ[5]
  • Curcuma purpurata Boonma & Saensouk – กระเจียวม่วง, กระเจียวชิษณุพงศ์[5]
  • Curcuma rangsimae Boonma & Saensouk – บุษราคัม, กระเจียวรังสิมา[5]
  • Curcuma wanenlueanga Saensouk, Thomudtha & Boonma – ว่านเอ็นเหลือง[6]
  • Curcuma rangjued Saensouk & Boonma – ว่านรางจืด, รางจืดขมิ้น[7]
  • Kaempferia nigrifolia Boonma & Saensouk – นิลกาฬ[8]

ผลงาน รายงานพืชพบครั้งแรกของแต่ละประเทศ (New record)[แก้]

New record for Thailand[แก้]

การอ้างอิง[แก้]

  1. Boonma T. & Saensouk S. (2019) Curcuma saraburiensis (Zingiberaceae), a new species from Thailand. Taiwania 64(3): 245–248. DOI: 10.6165/tai.2019.64.245
  2. Boonma T., Saensouk S. & P. Saensouk (2020) Amomum foetidum (Zingiberaceae), a new species from Northeast Thailand. Taiwania 65(3): 364–370, 2020. DOI: 10.6165/tai.2020.65.364
  3. Boonma T., Saensouk S. & P. Saensouk (2020) Two new species of Kaempferia L. (Zingiberaceae) from Thailand. Taiwania 65(3): 371–381. DOI: 10.6165/tai.2020.65.371
  4. Boonma T. & Saensouk S. (2020) Curcuma thailandica (Zingiberaceae), a New Species from Thailand. J. Jpn. Bot. 95(4): 214–219.
  5. Saensouk S., Boonma T. & P. Saensouk (2021) Six new species and a new record of Curcuma L. (Zingiberaceae) from Thailand. Biodiversitas 22: 1658-1685.
  6. Saensouk S., Boonma T., Thomudtha A., Thomudtha P. & P. Saensouk (2021) Curcuma wanenlueanga (Zingiberaceae), a new species of subgenus Curcuma from Thailand. Biodiversitas 22: 2988-2994.
  7. Saensouk S., Boonma T. & P. Saensouk (2021) A new species and a new record of Curcuma subgen. Curcuma (Zingiberaceae) from Northern Thailand. Biodiversitas 22: 3617-3626, 2021
  8. Boonma T., Saensouk S. & P. Saensouk (2021) Kaempferia nigrifolia (Zingiberaceae), a new species from Central Thailand. Rheedea 31(1): 11–17, 2021

แหล่งอ้างอิงอื่น ๆ[แก้]

  1. 1.0 1.1 https://taiwania.ntu.edu.tw/pdf/tai.2019.64.245.pdf
  2. 2.0 2.1 https://taiwania.ntu.edu.tw/pdf/tai.2020.65.364.pdf
  3. 3.0 3.1 3.2 https://taiwania.ntu.edu.tw/pdf/tai.2020.65.371.pdf
  4. 4.0 4.1 http://www.jjbotany.com/pdf/JJB95-4_214-219_abstract.pdf
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 5.6 5.7 https://smujo.id/biodiv/article/view/8062/4702
  6. 6.0 6.1 https://smujo.id/biodiv/article/view/8474/4976
  7. 7.0 7.1 7.2 https://smujo.id/biodiv/article/view/8953/5088
  8. 8.0 8.1 http://rheedea.in/storages/submission/file/401792271.pdf