พระยาชัยสุนทร (จารย์ละ)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระยาชัยสุนทร
(จารย์ละ)
เจ้าเมืองกาฬสินธุ์
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2395 – พ.ศ. 2396
ก่อนหน้าพระยาชัยสุนทร(ทอง)
ถัดไปพระยาชัยสุนทร(กิ่ง)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดไม่ทราบปีเกิด
เมืองกาฬสินธุ์
เสียชีวิตพ.ศ. 2396
เมืองกาฬสินธุ์
ศาสนาศาสนาพุทธ

พระยาชัยสุนทร (จารย์ละ) หรืออีกนามเรียกว่า “ท้าวละหรือจารย์ละ” เป็นเจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ลำดับที่ 6 (พ.ศ. 2395–2396)[1] เป็นต้นเชื้อสายตระกูล วงศ์กาฬสินธุ์และศิริกุล“ ซึ่งผู้ใช้นามสกุลส่วนใหญ่ตั้งรกรากและอาศัยอยู่ในจังหวัดสกลนครและกาฬสินธุ์ในปัจจุบัน[ต้องการอ้างอิง]

ชาติกำเนิด[แก้]

เกิดเมื่อราวปี พ.ศ.ใดไม่ปรากฏ บิดาคือพระธานี(หมาป้อง)อุปฮาดเมืองสกลนคร ส่วนมารดาไม่ปรากฏนาม ซึ่งเป็นบุตรของพระยาไชยสุนทร(เจ้าโสมพะมิตร) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ลำดับที่ 1 ส่วนมารดาไม่ปรากฏนาม มีพี่น้องร่วมสายโลหิต เป็นชายได้แก่ ท้าวเจียม ท้าวลาว ท้าวละ ท้าวหล้า ส่วนบุตรหญิงไม่ปรากฏนาม

การรับราชการ[แก้]

เมื่อเติบโตขึ้นได้บวชเป็นพระภิกษุที่เมืองกาฬสินธุ์แล้วลาสิกขามารับราชการกรมการเมืองกาฬสินธุ์เป็นที่ “ทิดปัดสาหรือท้าวจารย์ละ” ในสมัยพระยาไชยสุนทร (เจียม) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ลำดับที่ 3 ได้เป็นที่ราชวงศ์ ในสมัยพระยาไชยสุนทร(หล้า) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ลำดับที่ 4 และอุปฮาดเมืองกาฬสินธุ์ ในสมัยพระยาไชยสุนทร(ทอง) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ลำดับที่ 5

•โปรดเกล้าฯพระราชทานเครื่องยศแก่กรมการเมืองประกอบบรรดาศักดิ์ดังนี้

เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ “พานเงินเครื่องในถมสำรับหนึ่ง คนโทเงินถมยาดำหนึ่ง ลูกประคำทองหนึ่ง กระบี่บั้งเงินหนึ่ง สัปทนปัศตูหนึ่ง เสื้อเข้มขาบริ้วดีตัวหนึ่ง แพรทับทิมติดขลิบผืนหนึ่ง ชวานปักทองผืนหนึ่ง แพรขาวผืนหนึ่ง ผ้าปูมผืนหนึ่ง” - พร้อมตราประทับประจำตำแหน่งเจ้าเมืองกาฬสินธุ์คือ “เทวดานั่งแท่นถือพระขรรค์และดอกบัว”

อุปฮาด “ถาดหมากเงินคนโทเงินสำรับหนึ่ง สัปทนแพรคันหนึ่ง เสื้อเข้มขาบริ้วดีตัวหนึ่ง ผ้าโพกขลิบผืนหนึ่ง ผ้าดำปักทองผืนหนึ่ง แพรขาวผืนหนึ่ง ผ้าปูมผืนหนึ่ง”

ราชวงศ์ “ถาดหมากเงินคนโทเงินสำรับหนึ่ง สัปทนแพรคันหนึ่ง เสื้อเข้มขาบลายก้านแย่งตัวหนึ่ง ผ้าโพกขลิบผืนหนึ่ง ผ้าดำปักทองผืนหนึ่ง แพรขาวผืนหนึ่ง ผ้าปูมผืนหนึ่ง”

ราชบุตร “เสื้ออัตลัตดอกถี่ตัวหนึ่ง ผ้าโพกขลิบผืนหนึ่ง ผ้าดำปักทองผืนหนึ่ง แพรขาวผืนหนึ่ง ผ้าปูมผืนหนึ่ง”

เหตุการณ์สำคัญ[แก้]

•ปี พ.ศ. 2394 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ เสด็จสวรรคต พระยาไชยสุนทร(ทอง)และกรมการเมืองก็ลงไปกรุงเทพ ร่วมถวายเพลิงศพด้วยในครั้งนั้น พระยาไชยสุนทร(ทอง)ได้ป่วยไข้ป่า ก็ถึงแก่กรรมที่กรุงเทพมหานคร เจ้าเมืองจึงว่างลง ทางกรมการเมืองกาฬสินธุ์ที่ไปร่วมถวายเพลงพระบรมศพ ต่างก็เข้าหาข้าราชการผู้ใหญ่ที่กรุงเทพฯ ขอตำแหน่งหน้าที่ราชการ ในครั้งนั้นราชวงศ์เกษ ได้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 นัยว่าจะได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองกาฬสินธุ์แต่ไม่กล้ารับ จึงทูลขอให้อุปฮาดจารย์ละ เป็นเจ้าเมือง ราชวงศ์กิ่ง เป็นอุปฮาดและท้าวเกษเป็นราชวงศ์ ท้าวขี่เป็นราชบุตร

•ปีพ.ศ. 2395 ให้อุปฮาด(จารย์ละ)รักษาราชการเมืองกาฬสินธุ์เป็นว่าที่พระยาไชยสุนทร เจ้าเมืองกาฬสินธุ์

•ปี พ.ศ. 2396 กรมการเมืองกาฬสินธุ์กลับจากงานถวายเพลิงพระบรมศพแล้ว ยังไม่ได้เชิญพระบรมราชโองการลงมาถึงเมืองกาฬสินธุ์ พระยาไชยสุนทร (จารย์ละ) ก็ถึงแก่อนิจกรรม ดังนั้นอุปฮาดกิ่ง จึงรักษาราชการเมืองกาฬสินธุ์อยู่ระยะหนึ่ง

ถึงแก่กรรม[แก้]

•พระยาไชยสุนทร(จารย์ละ) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ลำดับที่ 6 ถึงแก่กรรมด้วยโรคชรา รับราชการเป็นเจ้าเมืองสนองพระเดชพระคุณ 1 ปี ที่โฮงเจ้าเมือง ในเมืองกาฬสินธุ์ เมื่อปี พ.ศ. 2496 สืบมาภายหลังลูกหลานเรียกขานทานว่า “อัญญาหลวงเฒ่า” สิ้นประวัติพระยาไชยสุนทร (จารย์ละ) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ลำดับที่ 6 เพียงเท่านี้

ทายาท[แก้]

พระยาไชยสุนทร(จารย์ละ) สมรสกับอัญญานางจันทร์และมีบุตร 6 คน ได้แก่

1) ท้าวพรหม สมรสกับใครสืบไม่ได้และมีบุตรกี่คนไม่ปรากฏ

2) หลวงสินธุธานี(เทพ) สมรสกับใครสืบไม่ได้ มีบุตร 3 คน ได้แก่ 1)หลวงวรบุตร(บุญจันทร์) 2)ขุนแสงสะท้าน(กอ) 3)ขุนโยธาชาแสน(เลา) เป็นต้น

3) ท้าวบัว สมรสกับใครสืบไม่ได้ มีบุตร 1 คน ได้แก่ 1)ท้าวโง่น เป็นต้น

4) นางเบ้า สมรสกับใครสืบไม่ได้และมีบุตรกี่คนไม่ปรากฏ

5) ท้าวคม สมรสกับใครสืบไม่ได้และมีบุตรกี่คนไม่ปรากฏ

6) นางอุด สมรสกับใครสืบไม่ได้และมีบุตรกี่คนไม่ปรากฏ

สายสกุลทายาทและเครือญาติ[แก้]

  • วงศ์กาฬสินธุ์ต้นสกุลคือหลวงสินธุธานี(เทพ)สมรสกับใครสืบไม่ได้ มีบุตร 3 คน ได้แก่

1)หลวงวรบุตร(บุญจันทร์) สมรสใครสืบไม่ได้ มีบุตร 6 คน ได้แก่ 1)นายเทียม 2)นางเจียรพันธ์ 3)นายตัน 4)นายอินทร์ 5)นายพรหม 6)นายดวง เป็นต้น

2)ขุนแสงสะท้าน(กอ) สมรสกับนางขำ บุตรของพระศรีวงศ์(สี) ซึ่งเป็นบุตรคนที่ 3 ของพระยาไชยสุนทร(หล้า) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ลำดับที่ 4 มีบุตร 2 คนได้แก่ 1)นายเหลี่ยม 2)นางอุดร เป็นต้น

3)ขุนโยธาชาแสน(เลา) เป็นต้นและท่านเหล่านี้คือผู้ใช้นามสกุล”วงศ์กาฬสินธุ์”รุ่นแรกโดยส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในตัวอำเภอเมืองของจังหวัดสกลนคร

  • ศิริกุลต้นสกุลคือท้าวบัวสมรสกับใครสืบไม่ได้ มีบุตร 1 คน ได้แก่

1)ท้าวโง่น สมรสกับใครสืบไม่ได้ มีบุตร 1 คน ได้แก่

1.1 ขุนแก้วไกรสร(ไม่ทรานามเดิม) สมรสกับใครสืบไม่ได้ มีบุตร 5 คน ได้แก่ 1)นายสุมา 2)นายจันทร์ 3)นายพัน 4)นายหนู 5)นายต่วน เป็นต้นและท่านเหล่านี้คือผู้ใช้นามสกุล”ศิริกุล”รุ่นแรกโดยส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในตัวอำเภอเมืองของจังหวัดกาฬสินธุ์

สายตระกูล[แก้]

ก่อนหน้า พระยาชัยสุนทร (จารย์ละ) ถัดไป
พระยาชัยสุนทร (ทอง)
เจ้าเมืองกาฬสินธุ์,
ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์

(พ.ศ. 2395 - 2496)
พระยาชัยสุนทร (กิ่ง)
  1. http://www.kalasinpit.ac.th/elearning/kroosert/data/kalasin.htm[ลิงก์เสีย]