พระยาชัยสุนทร (หล้า)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระยาชัยสุนทร
(หล้า)
เจ้าเมืองกาฬสินธุ์
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2381 – พ.ศ. 2390
ก่อนหน้าพระยาชัยสุนทร(เจียม)
ถัดไปพระยาชัยสุนทร(ทอง)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดไม่ทราบปีเกิด
เมืองกาฬสินธุ์
เสียชีวิตพ.ศ. 2390
เมืองกาฬสินธุ์
ศาสนาศาสนาพุทธ

พระยาชัยสุนทร (หล้า) หรืออีกนามเรียกว่า “ท้าวหล้า” เป็นเจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ลำดับที่ 4 (พ.ศ. 2381–2390)[1] เป็นต้นเชื้อสายตระกูล วงศ์กาฬสินธุ์“ ซึ่งผู้ใช้นามสกุลส่วนใหญ่ตั้งรกรากและอาศัยอยู่ในจังหวัดสกลนครในปัจจุบัน[ต้องการอ้างอิง]

ชาติกำเนิด[แก้]

เกิดเมื่อราวปี พ.ศ.ใดไม่ปรากฏ บิดาคือพระธานี(หมาป้อง)อุปฮาดเมืองสกลนคร ส่วนมารดาไม่ปรากฏนาม ซึ่งเป็นบุตรของพระยาไชยสุนทร(เจ้าโสมพะมิตร) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ลำดับที่ 1 ส่วนมารดาไม่ปรากฏนาม มีพี่น้องร่วมสายโลหิต เป็นชายได้แก่ ท้าวเจียม ท้าวลาว ท้าวละ ท้าวหล้า ส่วนบุตรหญิงไม่ปรากฏนาม

การรับราชการ[แก้]

•เมื่อเติบโตขึ้นได้เข้ารับราชการในกรมการเมืองกาฬสินธุ์และได้รับการแต่งตั้งเป็นที่ “หลวงไชยอาสา” ตำแหน่งนายกอง ในสมัยพระยาไชยสุนทร (หมาแพง) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ลำดับที่ 2 และได้เป็นที่อุปฮาดเมืองกาฬสินธุ์ ในสมัยพระยาไชยสุนทร(เจียม) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ลำดับที่ 3

•ภายหลังพระยาไชยสุนทร(เจียม) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ลำดับที่ 3 ได้ถึงแก่กรรมลง ในปี พ.ศ. 2380 กรมการเมืองกาฬสินธุ์ได้มีใบบอกกราบบังคมทูลให้โปรดเกล้าฯ พระทานสัญญาบัตรตั้งท้าวหล้า เป็นที่พระยาไชยสุนทร เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ และพระสุวรรณ(เกษ)บุตรท้าวหมาสุย เป็นที่อุปฮาด ท้าวทองบุตรพระยาไชยสุนทร(เจียม) เป็นที่ราชวงศ์ และท้าวปัดสา(ละ)บุตรท้าวหมาป้อง เป็นที่ราชบุตร

•โปรดเกล้าฯพระราชทานเครื่องยศแก่กรมการเมืองประกอบบรรดาศักดิ์ดังนี้

เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ “พานเงินเครื่องในถมสำรับหนึ่ง คนโทเงินถมยาดำหนึ่ง ลูกประคำทองหนึ่ง กระบี่บั้งเงินหนึ่ง สัปทนปัศตูหนึ่ง เสื้อเข้มขาบริ้วดีตัวหนึ่ง แพรทับทิมติดขลิบผืนหนึ่ง ชวานปักทองผืนหนึ่ง แพรขาวผืนหนึ่ง ผ้าปูมผืนหนึ่ง” - พร้อมตราประทับประจำตำแหน่งเจ้าเมืองกาฬสินธุ์คือ “เทวดานั่งแท่นถือพระขรรค์และดอกบัว”

อุปฮาด “ถาดหมากเงินคนโทเงินสำรับหนึ่ง สัปทนแพรคันหนึ่ง เสื้อเข้มขาบริ้วดีตัวหนึ่ง ผ้าโพกขลิบผืนหนึ่ง ผ้าดำปักทองผืนหนึ่ง แพรขาวผืนหนึ่ง ผ้าปูมผืนหนึ่ง”

ราชวงศ์ “ถาดหมากเงินคนโทเงินสำรับหนึ่ง สัปทนแพรคันหนึ่ง เสื้อเข้มขาบลายก้านแย่งตัวหนึ่ง ผ้าโพกขลิบผืนหนึ่ง ผ้าดำปักทองผืนหนึ่ง แพรขาวผืนหนึ่ง ผ้าปูมผืนหนึ่ง”

ราชบุตร “เสื้ออัตลัตดอกถี่ตัวหนึ่ง ผ้าโพกขลิบผืนหนึ่ง ผ้าดำปักทองผืนหนึ่ง แพรขาวผืนหนึ่ง ผ้าปูมผืนหนึ่ง”

เหตุการณ์สำคัญ[แก้]

•ปี พ.ศ. 2381 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ทรงมีพระบรมราชโองการใบบอกพระราชทานสารตราต้งเมืองสกลนครมายังกรมการเมืองกาฬสินธุ์ที่รักษาราชการเมืองสกลนคร โปรดเกล้าฯให้ ท้าวลาวบุตรท้าวหมาป้องราชวงศ์เมืองกาฬสินธุ์เป็นที่อุปฮาดเมืองสกลนครและท้าวด่างบุตรพระยาไชยสุนทร(เจียม)ราชบุตรเมืองกาฬสินธุ์เป็นที่ราชบุตรเมืองสกลนครและให้อุปฮาดเมืองกาฬสินธุ์ไปจัดทำแผนที่แบ่งเขตแขวงเมืองสกลนครและเมืองกาฬสินธุ์ ดังปรากฏในท้องตราดังกล่าวแล้ว

•ปี พ.ศ. 2384 ครัวเมืองวัง มีราชวงศ์กอ เป็นหัวหน้า ได้อพยพมาต้งอยู่ที่บ้านกุดสิมหรือบ้านกุดกว้างที่ห้วยน้ำยัง จึงโปรดเกล้าฯ ให้ราชวงศ์กอ เป็น “พระธิเบศรวงศา” เจ้าเมือง ยกบ้านกุดสิมเป็นเมืองกุดสิมนารายณ์ ให้ท้าวคองเป็นอุปฮาด ท้าวตั้วเป็นราชวงศ์ ท้าวเนตรเป็นราชบุตร ทำราชการขึ้นกับเมืองกาฬสินธุ์

•ปี พ.ศ. 2387 ได้เป็นแม่กองจัดสร้างวัดกลาง เป็นพระอารามหลวงประจำเมือง โดยแยกธรณีสงฆ์ออกมาจากวัดศรีบุญเรือง(เหนือ) ซึ่งแต่เดิมคือวัดเดียวกัน

•ปี พ.ศ. 2388 หมื่นเดชอุดม ชาวเมืองเวียงจันทน์ ได้พาไพร่พลบ้านห้วยนายม แขวงเมืองวังมาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านภูแล่นช้างชายเขาภูพานด้านทิศตะวันตก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หมื่นเดชอุดมเป็นที่ “พระพิชัยอุดมเดช” เจ้าเมืองภูแล่นช้าง ให้เพี้ยโคตรหลักคำเป็นอุปฮาด ให้เพี้ยมหาราชเป็นราชวงศ์และให้เพี้ยดวงพรหมสีเป็นราชบุตร ยกบ้านภูแล่นช้างเป็นเมืองภูแล่นช้าง ทำราชการขึ้นกับเมืองกาฬสินธุ์ ผูกส่วยผลเรว ส่งเงินแทนปีละ 8 ชั่ง มีจำนวนเลก 318 คน

•ปี พ.ศ. 2388 ครัวเมืองคำเกิดของพระคำดวนและครัวเมืองคำม่วนของพระคำแดงรวมกันจำนวน 2,859 คน อพยพเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารเมื่อครั้งพระยามหาอำมาตย์(ป้อม อมาตยกุล)เป็นแม่กองมาเกลี้ยกลรอม พระยามหาอำมาตย์ให้ครัวพระคำดวนมาตั้งอยู่ที่บ้านท่าขอนยาง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระคำดวนเป็น “พระสุวรรณภักดี” เจ้าเมืองท่าขอนยาง และแต่งตั้งกรมการเมืองคำเกิดเป็นอุปฮาด ราชวงศ์ และราชบุตร ช่วยราชการพระสุวรรณภักดีเมืองท่าขอนยางผกส่วยผลเรว ส่งเงินแทนปีละ 10 ชั่ง มีจำนวนเลก 407 คน ให้ทำราชการขึ้นกับเมืองกาฬสินธุ์ ส่วนครัวเมืองคำม่วน มีพระคำแดง เป็นหัวหน้าอพยพมาตั้งที่บ้านบึงกระดาน จึงโปรดเกล้าฯ ให้พระคำแดง เป็น “พระศรีสุวรรณ” เจ้าเมือง ยกบ้านบึงกระดานเป็นเมืองแซงบาดาล ให้ทำราชการขึ้นกับเมืองกาฬสินธุ์

ถึงแก่กรรม[แก้]

•พระยาไชยสุนทร(หล้า) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ลำดับที่ 4 ถึงแก่กรรมด้วยโรคชรา รับราชการเป็นเจ้าเมืองสนองพระเดชพระคุณ 10 ปี ที่โฮงเจ้าเมือง ในเมืองกาฬสินธุ์ เมื่อปี พ.ศ. 2490 สืบมาภายหลังลูกหลานเรียกขานทานว่า “อัญญาหลวงองค์น้อย” สิ้นประวัติพระยาไชยสุนทร (หล้า) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ลำดับที่ 4 เพียงเท่านี้

ทายาท[แก้]

พระยาไชยสุนทร(หล้า) สมรสกับอัญญานางคำแดงและมีบุตร 7 คน ได้แก่

1) นางขาว สมรสกับ พระอิทธิสาร(ด่าง) ราชบุตรเมืองกาฬสินธุ์และสกลนคร มีบุตร 4 คน ได้แก่ 1)นางอ่อน 2)นางน้อย 3)ท้าวเปีย 4)ท้าวอุปละ เป็นต้น

2) พระยาไชยสุนทร(โคตร) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ลำดับที่ 9 สมรสกับ คุณหญิงพา มีบุตร 10 คน ได้แก่ 1)ท้าวหนู 2)ท้าวสุรินทร์ 3)ท้าวทองอินทร์ 4)ท้าวคำตา* 5)ท้าวคำแสน 6)ท้าวจารย์เฮ้า 7)นางข่าง 8)นางคะ 9)นางบัวสา 10)ท้าวคำหวา เป็นต้น

3) พระศรีวรวงศ์(สี) ผู้ช่วยเจ้าเมืองกาฬสินธุ์ สมรสกับ นางเจียงคำ มีบุตร 9 คน คือ 1)นางแพง 2)นางสระ 3)นางเอี่ยม 4)ท้าวทิตย์ 5)นางขำ 6)ท้าวทะ 7)ท้าวเทพ 8)ท้าวเถื่อน 9)ท้าวธรรม เป็นต้น

4) พระไชยราษฎร์(ลาด) กรมการเมืองสกลนคร สมรสกับใครไม่ทราบนาม มีบุตร 11 คน ได้แก่ 1)ท้าวคำขาน 2)ท้าวคำสาร 3)นางข่าว 4)นางคำขาว 5)ท้าวปี 6)ท้าวชาลี 7)ท้าวคำสิงห์ 8)ท้าวคำแสน 9)ท้าวคำส่อง 10)ท้าวคำตัน(กับนางอุ๊ด)11)ท้าวคำจันทร์(กับนางอุ๊ด) เป็นต้น

5) พระอุปสิทธิ์(สีน) กรมการเมืองสกลนคร สมรสกับ นางคำผิว มีบุตร 8 คน ได้แก่ 1)นางเจียงคำ 2)นางบัว 3)นางด้วง 4)นางสุมณฑา 5)ท้าวคำตา* 6)นางทองแก้ว(กับนางเขียว) 7)นางเหลี่ยม(กับนางเขียว) 8)ท้าวที(กับนางเขียว) เป็นต้น

6) พระโพธิสาร(คำ) ราชวงศ์เมืองกาฬสินธุ์ สมรสกับใครไม่ทราบนาม มีบุตร 2 คน ได้แก่ 1)ท้าวเชียงสา 2)ท้าวอินทร์ เป็นต้น

7) นางหมอก สมรสกับ เพี้ยมหาราช มีบุตร 5 คน ได้แก่ 1)นางขาว 2)ท้าวดี 3)ท้าวเชียงคุณ 4)นางเป็ง 5)นางใบ ​​​​เป็นต้น

*พระศรีธงไชย(คำตา)เป็นบุตรของพระอุปสิทธิ์(สีน)กับนางคำผิวคือบุตรีพระยาประจันตประเทศธานี(ปิด)เจ้าเมืองสกลนคร ลำดับที่ 2 พระยาไชยสุนทร(โคตร) ผู้เป็นลุงขอมาเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรมเพื่อทำราชการที่เมืองกาฬสินธุ์

สายตระกูล[แก้]

ก่อนหน้า พระยาชัยสุนทร (หล้า) ถัดไป
พระยาชัยสุนทร (เจียม)
เจ้าเมืองกาฬสินธุ์,
ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์

(พ.ศ. 2381 - 2490)
พระยาชัยสุนทร (ทอง)
  1. http://www.kalasinpit.ac.th/elearning/kroosert/data/kalasin.htm[ลิงก์เสีย]