พระราชวังแวร์ซาย

พิกัด: 48°48′17″N 2°07′13″E / 48.8048°N 2.1203°E / 48.8048; 2.1203
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระราชวังแวร์ซาย
Château de Versailles  (ฝรั่งเศส)
พระราชวังแวร์ซายเมื่อมองจากโดรน; ห้องกระจก; สวนแวร์ซาย
สถานที่ตั้งและข้อมูลพื้นฐาน
แผนที่
ข้อมูลทั่วไป
สถาปัตยกรรมคลาสสิกและบาโรก
ที่ตั้งแวร์ซาย ประเทศฝรั่งเศส
พิกัด48°48′17″N 2°07′13″E / 48.8048°N 2.1203°E / 48.8048; 2.1203
เริ่มสร้างค.ศ. 1661 (1661)
เจ้าของรัฐบาลฝรั่งเศส
เว็บไซต์
en.chateauversailles.fr
ชื่อทางการสวนและพระราชวังแวร์ซาย
เกณฑ์พิจารณาวัฒนธรรม: i, ii, vi
อ้างอิง83
ขึ้นทะเบียน1979 (สมัยที่ 3)
พื้นที่1,070 เฮกตาร์
พื้นที่กันชน9,467 เฮกตาร์

พระราชวังแวร์ซาย (ฝรั่งเศส: Château de Versailles [ʃɑto d(ə) vɛʁsɑj] ( ฟังเสียง)) เป็นพระราชวังหลวงแห่งหนึ่งของประเทศฝรั่งเศส ตั้งอยู่ที่แวร์ซาย ห่างจากกรุงปารีสไปทางตะวันตกประมาณ 12 ไมล์ (19 กิโลเมตร) พระราชวังแวร์ซายถือครองโดยสาธารณรัฐฝรั่งเศสและได้รับการจัดการภายใต้การกำกับของกระทรวงวัฒนธรรมฝรั่งเศส โดยสถาบันสาธารณะของพระราชวัง พิพิธภัณฑ์ และมรดกแห่งชาติของแวร์ซาย (Public Establishment of the Palace, Museum and National Estate of Versailles) มาตั้งแต่ ค.ศ. 1995[1] มีนักท่องเที่ยวมาเยี่ยมชมพระราชวังหรือสวนแวร์ซาย 15,000,000 คนต่อปี ทำให้เป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวที่ยอดนิยมที่สุดในโลก[2] อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการระบาดทั่วของโควิด-19 ทำให้มีนักท่องเที่ยวลดลงร้อยละ 75 จนเหลือเพียงแปดล้านคนใน ค.ศ. 2019 ถึงสองล้านคนใน ค.ศ. 2020 จำนวนที่ลดลงอย่างมากมาจากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ซึ่งรวมเป็นนักท่องเที่ยวร้อยละ 80[3]

พระราชวังและสวนได้รับเลือกเป็นแหล่งมรดกโลกของยูเนสโกใน ค.ศ. 1979 จากความสำคัญในฐานะศูนย์กลางทางอำนาจ ศิลปะ และวิทยาศาสตร์ในฝรั่งเศสช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 ถึง 18[4]

ประวัติ[แก้]

เดิมเมืองแวร์ซายเป็นเพียงเมืองเล็ก ๆ แห่งหนึ่ง มีผู้คนอาศัยอยู่เบาบาง บริเวณส่วนใหญ่เป็นป่าเขาเยี่ยงชนบทอื่น ๆ ของฝรั่งเศส เมื่อพระเจ้าหลุยส์ที่ 13 แห่งฝรั่งเศส ยังทรงพระเยาว์ ขณะพระชนมายุได้ 23 พระชันษา ทรงนิยมล่าสัตว์ในป่า และทรงเห็นว่าตำบลแวร์ซายน่าจะเหมาะแก่การประทับเพื่อล่าสัตว์ จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระตำหนักขึ้นมาใน พ.ศ. 2167 โดยในช่วงแรกเป็นเพียงกระท่อมเล็ก ๆ สำหรับพักชั่วคราวเท่านั้น

เมื่อพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส ขึ้นครองบัลลังก์ มีประสงค์ที่จะสร้างพระราชวังแห่งใหม่ เพื่อเป็นศูนย์กลางในการปกครองของพระองค์ จึงเริ่มปรับปรุงพระตำหนักเดิมในปี พ.ศ. 2204 ใช้เงินทั้งหมด 500,000,000 ฟรังก์ คนงาน 30,000 คน และใช้เวลาอยู่ถึง 30 ปีจึงแล้วเสร็จใน พ.ศ. 2231 ทุกส่วนทำด้วยหินอ่อนสีขาว เป็นแบบอย่างศิลปกรรมที่งดงาม ภายในแบ่งออกเป็นห้อง ๆ เช่น ห้องบรรทม ห้องเสวย ห้องสำราญ ฯลฯ ทุกห้องล้วนมีเครื่องประดับงดงามตระการตาและภาพเขียนที่มีชื่อเสียง

การก่อสร้างพระราชวังแวร์ซายแห่งนี้ได้นำเงินมาจากค่าภาษีอากรของราษฎรชาวฝรั่งเศส ต่อมาในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศสได้มีกองทัพประชาชนและผู้ประท้วงบุกเข้าพระราชวังเพื่อตามหาพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศส กับพระนางมารี อองตัวเนต จนเหล่าเชื้อพระวงศ์ต้องย้ายไปพำนักที่พระราชวังตุยเลอรีส์

ปัจจุบันพระราชวังแวร์ซายยังอยู่ในสภาพดีและเปิดให้ประชาชนเข้าชมได้ ภายในพระราชวังแวร์ซายมีทั้งหมด 700 ห้อง ภาพวาด 6,123 ภาพ และงานแกะสลักทั้งหมด 18,893 ชิ้น

ภาพพาโนรามาของบริเวณพระราชวังแวร์ซาย

ห้องกระจก[แก้]

ห้องกระจก
สวนในพระราชวังแวร์ซาย

ห้องกระจก (Galerie des Glaces หรือ The Hall of Mirrors) เป็นห้องที่มีชื่อเสียงมากที่สุดซึ่งเคยใช้เป็นห้องลงนามในสัญญาสงบศึกระหว่างสัมพันธมิตรกับจักรวรรดิเยอรมัน ในสงครามโลกครั้งที่ 1 และใช้เป็นที่ลงนามเมื่อครั้งเยอรมนีบุกตีชนะฝรั่งเศสในสงครามโลกครั้งที่ 2 อีกด้วย ห้องนี้พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงทำการก่อสร้างเอง ภายในห้องประกอบด้วยกระจกยักษ์ 17 บาน เปิดออกแล้วจะเห็นสวนแวร์ซายอันสวยงาม

เหตุผลที่ได้รับคัดเลือกเป็นมรดกโลก[แก้]

พระราชวังแวร์ซายขึ้นทะเบียนให้เป็นแหล่งมรดกโลกในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2522 ที่ประเทศอียิปต์ ด้วยข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณา ดังต่อไปนี้

  • (i) - เป็นตัวแทนในการแสดงผลงานชิ้นเอกที่จัดทำขึ้นด้วยการสร้างสรรค์อันชาญฉลาดของมนุษย์
  • (ii) - เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลยิ่ง ผลักดันให้เกิดการพัฒนาสืบต่อมาในด้านการออกแบบทางสถาปัตยกรรม อนุสรณ์สถาน ประติมากรรม สวน และภูมิทัศน์ ตลอดจนการพัฒนาศิลปกรรมที่เกี่ยวข้อง หรือการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งได้เกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือบนพื้นที่ใดๆ ของโลกซึ่งทรงไว้ซึ่งวัฒนธรรม
  • (iii) - มีความคิดหรือความเชื่อที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเหตุการณ์ หรือมีความโดดเด่นยิ่งในประวัติศาสตร์

หมายเหตุ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "The Public Establishment". Palace of Versailles. สืบค้นเมื่อ 20 December 2021.
  2. "Palace of Versailles (Château de Versailles)". Explore France. Government of France. 18 June 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-12-18. สืบค้นเมื่อ 2022-02-21.
  3. "Rapport Annuel d'Activité, Ministere de la Culture, August 2021" (ภาษาฝรั่งเศส). Société des amis de Versailles [fr]. 24 July 2021. สืบค้นเมื่อ 8 September 2021.
  4. "Palace and Park of Versailles". UNESCO World Heritage Centre. United Nations Educational, Scientific, and Cultural Organization. สืบค้นเมื่อ 9 Oct 2021.

บรรณานุกรม[แก้]

ข้อมูลเว็บ[แก้]

กระทรวงวัฒนธรรมฝรั่งเศส[แก้]

  • "Louis Le Vau". en.chateauversailles.fr. Public Establishment of the Palace, Museum and National Estate of Versailles. สืบค้นเมื่อ 16 June 2021.
  • "André Le Nôtre". en.chateauversailles.fr. Public Establishment of the Palace, Museum and National Estate of Versailles. สืบค้นเมื่อ 8 July 2021.
  • "Charles Le Brun". en.chateauversailles.fr. Public Establishment of the Palace, Museum and National Estate of Versailles. สืบค้นเมื่อ 9 July 2021.
  • "The Estate". en.chateauversailles.fr. Public Establishment of the Palace, Museum and National Estate of Versailles. สืบค้นเมื่อ 30 June 2021.
  • "The Royal Stables". en.chateauversailles.fr. Public Establishment of the Palace, Museum and National Estate of Versailles. สืบค้นเมื่อ 17 June 2021.
  • "The Park". en.chateauversailles.fr. Public Establishment of the Palace, Museum and National Estate of Versailles. สืบค้นเมื่อ 29 June 2021.
  • "The Estate of Trianon". en.chateauversailles.fr. Public Establishment of the Palace, Museum and National Estate of Versailles. สืบค้นเมื่อ 7 August 2021.
  • "The Grand Trianon". en.chateauversailles.fr. Public Establishment of the Palace, Museum and National Estate of Versailles. สืบค้นเมื่อ 7 August 2021.
  • "The Petit Trianon". en.chateauversailles.fr. Public Establishment of the Palace, Museum and National Estate of Versailles. สืบค้นเมื่อ 7 August 2021.
  • "The Queen's Hamlet". en.chateauversailles.fr. Public Establishment of the Palace, Museum and National Estate of Versailles. สืบค้นเมื่อ 7 August 2021.
  • "The estate of Marly". en.chateauversailles.fr. Public Establishment of the Palace, Museum and National Estate of Versailles. สืบค้นเมื่อ 26 August 2021.
  • "The Gardens". en.chateauversailles.fr. Public Establishment of the Palace, Museum and National Estate of Versailles. สืบค้นเมื่อ 29 June 2021.
  • "The Orangery". en.chateauversailles.fr. Public Establishment of the Palace, Museum and National Estate of Versailles. สืบค้นเมื่อ 14 August 2021.
  • "The Palace". en.chateauversailles.fr. Public Establishment of the Palace, Museum and National Estate of Versailles. สืบค้นเมื่อ 17 July 2021.
  • "The Grand Commun". en.chateauversailles.fr. Public Establishment of the Palace, Museum and National Estate of Versailles. สืบค้นเมื่อ 18 June 2021.
  • "The Royal Chapel". en.chateauversailles.fr. Public Establishment of the Palace, Museum and National Estate of Versailles. สืบค้นเมื่อ 5 September 2021.
  • "The Royal Opera". en.chateauversailles.fr. Public Establishment of the Palace, Museum and National Estate of Versailles. สืบค้นเมื่อ 25 June 2021.
  • "The Hall of Mirrors". en.chateauversailles.fr. Public Establishment of the Palace, Museum and National Estate of Versailles. สืบค้นเมื่อ 17 July 2021.
  • "Revitalising the Royal Palace". en.chateauversailles.fr. Public Establishment of the Palace, Museum and National Estate of Versailles. สืบค้นเมื่อ 5 September 2021.
  • Saule, Béatrix. "Ménagerie". sculpturesversailles.fr (ภาษาฝรั่งเศส). Public Establishment of the Palace, Museum and National Estate of Versailles. สืบค้นเมื่อ 16 August 2021.
  • "1752: La destruction de l'escalier des Ambassadeurs". Versailles 3D (ภาษาฝรั่งเศส). Public Establishment of the Palace, Museum and National Estate of Versailles. สืบค้นเมื่อ 19 November 2021.

อ่านเพิ่ม[แก้]

  • Mansel, Philip. King of the World: The Life of Louis XIV (2020) chapters 8, 13.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]