พระเจ้ามหาปัทมนันทะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระเจ้ามหาปัทมนันทะ
Coin of Mahapadma Nanda
เหรียญเงิน 1 karshapana ของพระเจ้ามหาปัทมนันทะหรือบรรดาราชบุตรของพระองค์ ศตวรรษที่ 4 ก่อน ค.ศ.
จักรพรรดินันทะองค์ที่ 1
ครองราชย์ป. 345 – 329 ปีก่อน ค.ศ.
ก่อนหน้าพระเจ้ามหานันทิน
ถัดไปพระเจ้าปัณฑก
สวรรคต329 ปีก่อน ค.ศ.
พระราชบุตรพระราชโอรส 8 พระองค์ (รวมพระเจ้าธนนันทะ) โอรส 8 องค์ มีพระนาม ดังนี้:
  • พระเจ้าปัณฑกนันทะ
  • พระเจ้าปัณฑุกตินันทะ
  • พระเจ้าภูตปาลนันทะ
  • พระเจ้าราษฎระปาลนันทะ
  • พระเจ้าโควิสารนันทะ
  • พระเจ้าทสสิทธิกนันทะ
  • พระเจ้าไกวารตนันทะ
  • พระเจ้ากาวินกนันทะ (พระราชบุตรกับพระสนม)
ราชวงศ์นันทะ
พระราชบิดาพระเจ้ามหานันทิน

พระเจ้ามหาปัทมนันทะ (ฮินดี: महापद्म नन्द อักษรโรมัน: Mahapadma Nanda; IAST: Mahāpadmānanda; ป. กลางศตวรรษที่ 4 ก่อน ค.ศ.; สวรรคต 329 ปีก่อน ค.ศ.) เป็นจักรพรรดิองค์แรกแห่งจักรวรรดินันทะของอินเดียโบราณ ปุราณะบันทึกไว้ว่า พระองค์เป็นพระราชโอรสในพระเจ้ามหานันทิน กษัตริย์ศิศุนาคองค์สุดท้าย กับสตรีวรรณะศูทร ตำรานี้ยกให้พระองค์มีส่วนถึงการพิชิตที่ขยายจักรวรรดิอย่างกว้างขวางกว่าแคว้นมคธ แต่ละปุราณะระบุช่วงเวลาครองราชย์ของพระองค์ต่างกันเป็น 28 หรือ 88 ปี และระบุว่าพระราชโอรสทั้ง 8 ขึ้นครองราชย์ถัดจากพระองค์

ตำราพุทธไม่ได้พูดถึงพระองค์ และระบุพระนามผู้ปกครองนันทะองค์แรกเป็น Ugrasena โจรผู้ผันตัวเป็นกษัตริย์ที่มีพี่น้อง 8 คนดำรงตำแหน่งต่อ โดยคนสุดท้ายคือพระเจ้าธนนันทะ

รัชสมัย[แก้]

ขอบเขตโดยประมาณของจักรวรรดินันทะ ป. 325 ปีก่อน ค.ศ.

ปุราณะระบุไว้ว่า มหาปัทม หรือ มหาปัทมปติ (แปลตรงตัว "เจ้าแห่งดอกบัวใหญ่") เป็นกษัตริย์นันทะองค์แรก โดยเป็นพระราชโอรสในพระเจ้ามหานันทิน กษัตริย์ศิศุนาคองค์สุดท้าย กับสตรีวรรณะศูทร[1][2]

ปุราณะ กล่าวถึงพระองค์เป็น เอกรัฐ (อธิปไตยแต่เพียงองค์เดียว) และ sarva-kshatrantaka (ผู้ทำลายกษัตริย์ทั้งปวง)[2][3] กล่าวกันว่ากษัตริย์ (นักรบและผู้ปกครอง) ที่ถูกพระเจ้ามหาปัทมนันทะกำจัดได้แก่Maithala, Kasheya, Ikshvaku, ปัญจาละ, ศูรเสน, กุรุ, Haihaya, Vitihotra, กลิงคะ และ Ashmaka[4]

มัสยาปุราณะระบุรัชสมัยของพระเจ้ามหาปัทมนันทะไว้ที่ 88 ปี ส่วนวายุปุราณะระบุไว้ที่ 28 ปี[5] ปุราณะยังระบุเพิ่มเติมว่า พะรราชโอรสของพระเจ้ามหาปัทมนันทะ 8 พระองค์ขึ้นครองราชย์ถัดจากพระองค์รวมกันเป็น 12 ปี แต่มีเพียงแค่องค์เดียวเท่ากันที่ระบุพระนามไว้ คือ: Sukalpa[6]

มีการระบุปีทจัดทำพิธีราชาภิเษกหลายแบบ เช่น:

  • F. E. Pargiter นักภารตวิทยา: 382 ปีก่อน ค.ศ.[7]
  • R. K. Mookerji นักประวัติศาสตร์: 364 ปีก่อน ค.ศ.[7]
  • H. C. Raychaudhuri นักประวัติศาสตร์: ป. 345 ปีก่อน ค.ศ.[8]

จุดเริ่มต้นของสมัยนันทะมีการกำหนดว่าเร็วสุดถึงศตวรรษที่ 5 ก่อน ค.ศ.[9]

เอกสารอื่น ๆ เกี่ยวกับกษัตริย์นันทะองค์แรก[แก้]

  • ตำราพุทธระบุว่า กษัตริย์องค์แรกแห่งนันทะคือ Ugrasena ไม่ใช่มหาปัทม[10] ตามทฤษฎีหนึ่งระบุไว้ว่า Ugrasena อาจเป็นอีกพระนามหนึ่งของมหาปัทม[11]
    • ตำราพุทธกล่าวถึง Ugrasena ว่า "ไม่ทราบสายสกุล" ซึ่งต่างจากปุราณะที่ระบุว่าผสมระหว่างเชื้อพระองค์-วรรณะศูทร โดย Mahavamsa-tika ระบุว่า Ugrasena มีพื้นเพจากภูมิภาคชายแดน: เขาถูกกลุ่มโจรจับตัวไป และต่อมาก็กลายเป็นผู้นำกลุ่มนั้น[2]
    • ข้อมูลกรีก-โรมันระบุว่า กษัตริย์นันทะที่ครองราชในช่วงที่อะเล็กซานเดอร์รุกราน "Agrammes" ซึ่งน่าจะเป็นรูปแปลงจากศัพท์สันสกฤตว่า "Augraseniya" (แปลตรงตัว "บุตรหรือลูกหลานของ Ugrasena")[10]
    • ตำราพุทธระบุกษัตริย์ 8 องค์ถัดไปเป็นพี่น้องของกษัตริย์นันทะองค์แรก ไม่ใช่พระโอรสตามที่ปรากฏในปุราณะ[2] และตามธรรมเนียมพุทธ นันทะปกครองเป็นเวลา 22 ปี และกษัตริย์องค์สุดท้ายคือพระเจ้าธนานันทะ[12]
  • รายงานจากตำราเชนอย่าง Parishishtaparvan และ Avashyaka sutra ที่ไม่ได้ระบุพระนาม "มหาปัทม" เช่นกัน กษัตริย์นันทะเป็นบุตรของโสเภณีกับช่างตัดผม[1][13][14] ตำราระบุว่านันทะครองราชย์ถัดจากพระเจ้าอุทัยภัทรหลังพระองค์สวรรคตจากกษัตริย์ฝ่ายตรงข้าม[15]
  • ข้อมูลกรีก-โรมันเสนอแนะว่าผู้ก่อตั้งราชวงศ์นันทะเป็นช่างตัดผมที่ยึดอำนาจจากกษัตริย์องค์สุดท้ายของราชวงศ์ก่อนหน้า[10] Curtius นักประวัติศาสตร์โรมัน (คริสต์ศตวรรษที่ 1) ระบุว่า พระเจ้าโปรสตรัสว่า ช่างตัดผมผู้นี้กลายเป็นอดีตคู่รักของราชินีด้วยรูปลักษณ์ที่น่าดึงดูด ทรยศด้วยการลอบสังหารกษัตริย์ในขณะนั้น แล้วแย่งชิงอำนาจสูงสุดด้วยการแสร้งทำเป็นผู้พิทักษ์เจ้าชายในขณะนั้น จากนั้นค่อยสังหารบรรดาเจ้าชาย[16] กษัตริย์นันทะที่อยู่ร่วมสมัยกับโปรสกับอะเล็กซานเดอร์เป็นบุตรของช่างตัดผมคนนี้[10]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 H. C. Raychaudhuri 1988, p. 13.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 Upinder Singh 2016, p. 273.
  3. Mookerji 1988, p. 8.
  4. H. C. Raychaudhuri 1988, p. 17.
  5. Dilip Kumar Ganguly 1984, p. 23.
  6. Dilip Kumar Ganguly 1984, p. 20.
  7. 7.0 7.1 K. D. Sethna 2000, p. 58.
  8. Harihar Panda 2007, p. 28.
  9. R. C. Majumdar (1976). Readings in political history of India: Ancient, Mediaeval, and Modern. B.R. / Indian Society for Prehistoric and Quaternary Studies. pp. 59–60. ISBN 9788176467841.
  10. 10.0 10.1 10.2 10.3 H. C. Raychaudhuri 1988, p. 14.
  11. Jack Finegan (1989). An Archaeological History of Religions of Indian Asia. Paragon House. p. 60. ISBN 9780913729434.
  12. Irfan Habib & Vivekanand Jha 2004, p. 13.
  13. Mookerji 1988, p. 14.
  14. Upinder Singh 2016, p. 272.
  15. Natubhai Shah 2004, p. 42.
  16. Mookerji 1988, p. 5.

บรรณานุกรรม[แก้]


ก่อนหน้า พระเจ้ามหาปัทมนันทะ ถัดไป
พระเจ้ามหานันทิน
345 ปีก่อนคริสตกาล
พระเจ้าราชวงศ์นันทะ
(345 - 329 ปีก่อนคริสตกาล)
พระเจ้าธนนันทะ
329 ปีก่อนคริสตกาล