พูดคุย:จังหวัดศรีสะเกษ

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
เพิ่มหัวข้อ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จังหวัดศรีสะเกษ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิประเทศไทยและสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับประเทศไทย ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ จังหวัดศรีสะเกษ หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 พอใช้  บทความนี้อยู่ที่ระดับพอใช้ ตามการจัดระดับการเขียนบทความ
จังหวัดศรีสะเกษ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิภาคอีสาน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับภาคอีสานของประเทศไทย ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ จังหวัดศรีสะเกษ หรือแวะไปที่หน้าโครงการเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 พอใช้  บทความนี้อยู่ที่ระดับพอใช้ ตามการจัดระดับการเขียนบทความ

โครงการแยกพื้นที่จังหวัดใหม่ ออกจากจังหวัดศรีสะเกษ[แก้]

โครงการจัดตั้งจังหวัดกันทรลักษ์[แก้]

เป็นเวลานานหลายสิบปีมาแล้วที่มีการริเริ่มโครงการแยกพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษเพื่อตั้งเป็นจังหวัดใหม่ ได้แก่แนวคิดในการจัดตั้ง "จังหวัดกันทรลักษ์" โดยการรวมอำเภอต่างๆในพื้นที่ตอนล่างของศรีสะเกษ ได้แก่ อำเภอกันทรลักษ์ อำเภอศรีรัตนะ อำเภอเบญจลักษ์ อำเภอขุนหาญ อำเภอไพรบึง อำเภอขุขันธ์ อำเภอปรางค์กู่ และ อำเภอภูสิงห์ เพื่อเสนอขอจัดตั้งจังหวัดใหม่ดังกล่าว อย่างไรก็ตาม แนวคิดโครงการนี้ยังคงไม่มีความคืบหน้าเนื่องจากยังขาดการสนับสนุนจากฝ่ายต่างๆ โดยเฉพาะฝ่ายการเมือง

ทั้งนี้ มีการตั้งข้อสังเกตว่าพื้นที่ตอนล่างของจังหวัดเป็นที่ตั้งของอำเภอสำคัญๆ ที่มีฐานทางเศรษฐกิจและรายได้ดี เช่น อำเภอกันทรลักษ์ อำเภอขุนหาญ ซึ่งเป็นแหล่งผลิตพืชผลทางการเกษตรที่สำคัญโดยเฉพาะพืชสวน หรือ อำเภอภูสิงห์ ซึ่งปัจจุบันมีจุดผ่านแดนถาวรช่องสะงำและเมืองใหม่ช่องสะงำเป็นด่านพรมแดนไทย-กัมพูชา ตลาดการค้าชายแดนที่มีการเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจอันนำมาซึ่งรายได้ในปริมาณมาก ตลอดจนเส้นทางมุ่งตรงสู่เมืองเสียมเรียบ (เสียมราฐ) อันเป็นที่ตั้งมรดกโลกคือกลุ่มโบราณสถานนครวัด-นครธม ในราชอาณาจักรกัมพูชา ซี่งในปัจจุบันปริมาณการค้า การเดินทางของผู้คนทั่วไปและนักท่องเที่ยว เข้า-ออก ผ่านด่านและเส้นทางดังกล่าว มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้เกิดการเพิ่มรายได้และการพัฒนาเศรษฐกิจของศรีสะเกษในปัจจุบันดีขึ้นตามลำดับ ด้วยเหตุนี้ หากมีการแยกพื้นที่ตอนล่างจัดตั้งเป็นจังหวัดใหม่ อาจส่งผลกระทบให้จังหวัดศรีสะเกษขาดรายได้มหาศาล ดังนั้น จังหวัดศรีสะเกษจึงอาจไม่อนุมัติให้มีการแยกพื้นที่จัดตั้งจังหวัดใหม่

โครงการจัดตั้งจังหวัดขุขันธ์[แก้]

นอกเหนือจากแนวคิดการจัดตั้ง "จังหวัดกันทรลักษ์" ที่มีมียาวนานแต่ยังไม่บรรลุผลดังกล่าวแล้ว ขณะนี้ ได้มีการเคลื่อนไหวในประชาคมอำเภอขุขันธ์ เพื่อเสนอขอจัดตั้งจังหวัดใหม่แยกออกจาก จังหวัดศรีสะเกษ ได้แก่ แนวคิดการจัดตั้ง "จังหวัดขุขันธ์" แนวนโยบายหลักประการหนึ่งของความพยายามจัดตั้งจังหวัดขุขันธ์ ได้แก่การเรียกร้องเอาจังหวัดขุขันธ์กลับคืนมา แนวคิดหลักดังกล่าวตั้งอยู่บนพื้นฐานประวัติพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของจังหวัดขุขันธ์หรือเมืองขุขันธ์ในอดีต ที่เป็นรากฐานดั้งเดิมของการสถาปนาจังหวัดขุขันธ์ ซึ่งต่อมาได้รับการเปลี่ยนชื่อจาก จังหวัดขุขันธ์ เป็น จังหวัดศรีสะเกษ และลดความสำคัญของที่ตั้งอันเป็นเมืองขุขันธ์ (ที่ตั้งศาลากลางจังหวัดขุขันธ์เดิม ซึ่งได้แก่ที่ตั้งอำเภอขุขันธ์ในปัจจุบัน) ให้เป็นเพียง อำเภอขุขันธ์ ในเขตการปกครองของ จังหวัดศรีสะเกษ [1]

สำหรับแนวคิดการจัดตั้งจังหวัดขุขันธ์นั้นยังอยู่ในระยะเริ่มต้น มีการดำเนินการรณรงค์ในพื้นที่อำเภอขุขันธ์และอำเภอใกล้เคียงต่างๆที่เคยแยกการปกครองตั้งเป็นอำเภอใหม่แยกออกจาก อำเภอขุขันธ์ ได้แก่ อำเภอขุนหาญ อำเภอปรางค์กู่ อำเภอไพรบึง และ อำเภอภูสิงห์ เพื่อรวมกับ อำเภอขุขันธ์ ในการเสนอขอแยกตั้งเป็นจังหวัดขุขันธ์ออกจากจังหวัดศรีสะเกษ อนึ่ง เฉพาะ 5 อำเภอเหล่านี้ เมื่อรวมจำนวนประชากรแล้วจะมีจำนวนเกิน 300,000 คน ซึ่งเป็นเกณฑ์สำคัญข้อหนึ่งในการพิจารณาอนุมัติจัดตั้งจังหวัดใหม่แยกออกจากจังหวัดเดิม นอกจากนี้ ประชาคมชาวขุขันธ์ส่วนหนึ่งเสนอความเห็นผ่านสภาวัฒนธรรมเมืองขุขันธ์เกี่ยวกับโครงการจัดตั้งจังหวัดขุขันธ์ ว่าหากได้รับพิจารณาอนุมัติให้จัดตั้งจังหวัดสำเร็จ ควรมีการเปลี่ยนชื่อ “ขุขันธ์” เป็น “คูขัณฑ์” หรือ “คูขันธ์” ซึ่งเป็นชื่อดั้งเดิมอันหมายถึงเมืองที่มีคูน้ำล้อมรอบ [1] [2][3] (เช่นเดียวกับ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งหมายถึงเมืองที่มีแนวภูเขารายล้อม) แนวคูเมือง-กำแพงเมืองโบราณของเมืองโบราณคูขันธ์นั้น ก็ยังมีร่องรอยเหลือให้เห็นอยู่บ้างในปัจจุบัน (เช่น แนวถนนคูเมืองในเขตเทศบาลตำบลเมืองขุขันธ์) สำหรับเมืองโบราณคูขันธ์ ที่มีการวางผังเมืองด้วยการขุดคูน้ำและสร้างคันดินล้อมรอบนั้น เป็นแบบแผนเมืองโบราณที่เป็นลักษณะการวางผังเมืองโบราณตั้งแต่สมัยทวารวดีและขอมโบราณ (อายุราว 1000 ปีมาแล้ว) ดังปรากฏให้เห็นในแนวกำแพงเมือง-คูเมือง โบราณรุ่นเดียวกันหลายแห่ง เช่น เมืองบุรีรัมย์ เมืองสุรินทร์ (ตัวจังหวัดบุรีรัมย์และจังหวัดสุรินทร์ ตั้งทับซ้อนอยู่บนชุมชนโบราณดั้งเดิม) กรณีเมืองโบราณสุรินทร์กับเมืองโบราณคูขัณฑ์หรือคูขันธ์นั้นเป็นชุมชนโบราณที่มีอยู่เดิมตั้งแต่ก่อนที่กลุ่มเชียงปุมเชียงขันและพรรคพวกชาวกูย จากอัตตะปือจะอพยพมาตั้งถิ่นฐานจนต่อมาได้ช่วยราชการในราชสำนักกรุงศรีอยุธยา จนได้รับพระราชทานความดีความชอบโปรดเกล้ายกชุมชนโบราณเหล่านี้ขึ้นเป็นเมืองและมีพัฒนาการต่อมาตามลำดับจนถึงปัจจุบัน [1] [4][5] [6]

ทั้งนี้ ไม่แน่ชัดว่าชื่อเมืองคูขัณฑ์หรือคูขันธ์ มีการเรียกเพี้ยนมาเป็นขุขันธ์ตั้งแต่เมื่อใดและเพราะเหตุใด ดังนั้น หากโครงการจัดตั้งจังหวัดขุขันธ์ได้รับการพิจารณาอนุมัติ ประชาคมชาวอำเภอขุขันธ์และสภาวัฒนธรรมเมืองขุขันธ์จึงเสนอให้กลับไปใช้ชื่อเดิมที่มีความหมายชัดเจน สอดคล้องกับประวัติศาสตร์พัฒนาการของเมือง อย่างไรก็ดี ถ้าแม้ว่าโครงการเสนอขอจัดตั้งจังหวัดไม่บรรลุผล อำเภอขุขันธ์ยังคงเป็นอำเภอในเขตการปกครองของจังหวัดศรีสะเกษเช่นเดิม ประชาคมชาวอำเภอขุขันธ์และสภาวัฒนธรรมเมืองขุขันธ์ก็ยังคงประสงค์เสนอให้เปลี่ยนชื่ออำเภอขุขันธ์ ไปใช้ชื่อเดิมคือ คูขัณฑ์หรือคูขันธ์ เพื่อความถูกต้องตามชื่อบ้านนามเมืองดั้งเดิม อนึ่ง หลายอำเภอในบางจังหวัด ก็มีการเปลี่ยนชื่อที่เพี้ยนกลับไปใช้ชื่อเดิมที่ถูกต้อง เช่น อำเภอหนองบุนนาก จังหวัดนครราชสีมา ที่เปลี่ยนกลับไปใช้ชื่อว่า อำเภอหนองบุญมาก ซึ่งเป็นชื่อดั้งเดิม แต่เพี้ยนมาเป็นหนองบุนนาก

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 กรมศิลปากร. วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดศรีสะเกษ.คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ ในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว; [บรรณาธิการ : ปรุงศรี วัลลิโภดม],กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2544.
  2. ศรีศักร วัลลิโภดม. ค้นหาอดีตของเมืองโบราณ. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, 2538.
  3. Tips, Walter W.J.Pavie Mission Exploration Work : laos, Cambodai, Siam, Yunnan, and Vietnam.[ Translated from “Mission Pavie Indo-Chine, 1879-1895. Geographie et Voyage”].Bangkok : White Lotus, 1999.
  4. อรุณรัตน์ ทองปัญญา. ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นศรีสะเกษ. กรุงเทพฯ : กรมวิชาการ, 2545.
  5. เติม วิพากษ์พจนกิจ.ประวัติศาสตร์อีสาน.กรุงเทพฯ : มูลนิธิโครงการตำรามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย, 2542.
  6. หม่อมอมรวงษ์วิจิตร (ม.ร.ว.ปฐม คเนจร).พงศาวดารหัวเมืองมณฑลอีสาน.มปท, มปป.
  • กรมศิลปากร. วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดศรีสะเกษ.คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ ในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว; [บรรณาธิการ : ปรุงศรี วัลลิโภดม],กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2544.
  • เติม วิพากษ์พจนกิจ.ประวัติศาสตร์อีสาน.กรุงเทพฯ : มูลนิธิโครงการตำรามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย, 2542.
  • ศรีศักร วัลลิโภดม. ค้นหาอดีตของเมืองโบราณ. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, 2538.
  • หม่อมอมรวงษ์วิจิตร (ม.ร.ว.ปฐม คเนจร).พงศาวดารหัวเมืองมณฑลอีสาน.มปท, มปป.
  • อรุณรัตน์ ทองปัญญา. ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นศรีสะเกษ. กรุงเทพฯ : กรมวิชาการ, 2545.
  • Tips, Walter W.J.Pavie Mission Exploration Work : laos, Cambodai, Siam, Yunnan, and Vietnam.[ Translated from “Mission Pavie Indo-Chine, 1879-1895. Geographie et Voyage”].Bangkok : White Lotus, 1999.