พูดคุย:ลัทธิอนุตตรธรรม

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
เพิ่มหัวข้อ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ลิขสิทธิ์[แก้]

เท่าที่ตรวจสอบดูพบว่ามีเนื้อหาเดียวกันในเว็บไซต์อื่น แต่ล้วนแล้วเป็นเนื้อหาที่สร้างขึ้นหลังจากวันเวลาที่บทความนี้สร้างขึ้น (6 ธันวาคม 2550) ดังนั้นบทความนี้ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ครับ รวมทั้งเนื้อหาที่เพิ่มเข้ามาใหม่ก็ไม่พบในที่ใด (บอกไว้เผื่อใครจะมาแจ้งละเมิด) แต่ส่วนเรื่องความไม่เป็นกลางนี่ยอมรับเลยว่า เนื้อหาอาจมีเจตนาในการชักชวนให้เชื่อ หรืออาจมีการบิดเบือนไปจากเดิม ดังนั้นจึงต้องการปรับปรุงแทนที่จะลบออกไปเฉย ๆ ครับ --octahedron80 23:49, 5 กันยายน 2552 (ICT)

เนื้อหา[แก้]

อยากให้เปิดใจศึกษาก่อนนะครับ แล้วถึงค่อยมาเขียนบทความวิจารณ์แบบนี้ จริงแล้วในกลุ่มผู้นับถืออนุตตรธรรมเอง ก็ยืนยันกับตัวเองมาตลอดว่าเราไม่ใช่ศาสนานะครับ ข้อนี้ต้องทำความเข้าใจกันก่อน ไม่งั้นก็จับประเด็นผิดเหมือนบทความนี้ คนเราจะศึกษาอะไรสักอย่างที่เกี่ยวข้องกับศรัทธา ความเชื่อ ก็คงต้องเปิดใจนะครับ ไม่ใช่ลองของ ลองดี ศึกษาอะไรสักอย่าง ใช้เวลา 5 ปี กระจ่างไหมครับ มันไม่กระจ่างหรอกครับ โดยเฉพาะอะไรที่เกี่ยวกับปรัชญา ความคิด มันศึกษาไม่จบ ต้องศึกษาให้รอบด้าน และพูดคุยกันด้วยหลักวิชาการ ไม่ใช่การเอามิจฉาทิฐิมางัดกัน

โดยความคิดผมมองว่า ผู้ศึกษาธรรม ไม่ว่าศาสนาใดก็แล้วแต่ ไม่ควรกล่าวโจมตีศาสนาหรือกลุ่มความเชื่ออื่น นั่นแสดงถึงระดับจิตนะครับ สมมุติว่าวันนี้เรามานั่งถกกัน พุทธ คริสต์ อิสลาม อันไหนของแท้ อันไหนดีกว่า ถามว่าจบไหมครับ นอกจากจะไม่จบกลับยิ่งพาให้บานปลาย สงครามศาสนา ก็มีแหล่งที่มาจากเรื่องแบบนี้แหละครับ

ฝากเจ้าของบทความด้านล่างพิจารณาดู --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ 125.27.221.142 (พูดคุยหน้าที่เขียน)

ไม่ควรกล่าวโจมตีศาสนาหรือกลุ่มความเชื่ออื่น ตามสามัญสำนึกก็ควรจะเป็นเช่นนั้นครับ แต่ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไรไม่ทราบ เพราะผมก็ไม่รู้ว่าลัทธิอนุตรธรรมเป็นยังไง วิกิพีเดียควรเสนอแต่ข้อเท็จจริง หากมีการกล่าวโจมตีศาสนาหรือกลุ่มความเชื่ออื่นจริง ๆ ก็ต้องเสนอไปตามนั้นโดยไม่มีข้อยกเว้น แล้วยกแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือซึ่งเราไปเอาข้อความนั้นมา เพราะวิกิพีเดียไม่มีการเซ็นเซอร์ (วิกิพีเดียไม่สามารถรับประกันได้ว่า บทความจะเป็นที่พึงพอใจของทุกคน หรือแม้ผู้ที่ยึดมั่นกับบรรทัดฐานทางสังคมหรือศาสนา) นอกจากนั้นผู้เขียนเองนั้นจะต้องไม่วิจารณ์ในตัวบทความ เพราะมันเป็นเพียงความคิดเห็นไม่ใช่ข้อเท็จจริง (แต่ให้อภิปรายเพื่อพัฒนาบทความที่หน้านี้) หากคุณมีความรู้เกี่ยวกับลัทธิอนุตรธรรม คุณมาช่วยกันพัฒนาดีกว่า --octahedron80 00:04, 6 กันยายน 2552 (ICT)
ขอเชิญมาพูดคุยก่อนนะครับ ส่วนประเด็นเรื่องที่คุณท้วงติงมาเนี่ย ฟังไม่ขึ้นครับ คุณอยากจะเพิ่มเติมข้อมูลที่คุณมีอยู่ คุณก็สามารถเพิ่มเองได้อยู่แล้ว ไม่ใช่มาลบอย่างผู้ที่มาก่อกวนวิกิพีเดียรายวัน ซึ่งคนที่ไม่ทราบเหตุผลก็จะรำคาญกับการกระทำอันไม่มีประโยชน์ต่อวิกิพีเดียเช่นนี้ครับ --Horus | พูดคุย 00:12, 6 กันยายน 2552 (ICT)

ไม่ใช่การเอามิจฉาทิฐิมางัดกัน ขอแนะนำตรงนี้สักเล็กน้อยครับ คำว่ามิจฉาทิฐิ แปลว่าเห็นผิด ในที่นี้คุณคงหมายถึงคือผิดจากหลักการศาสนา ถ้าคุณหมายความเช่นนี้อยู่ี (ซึ่งทุกคนก็หมายความเช่นนี้) ก็หมายความว่า หากพระพุทธเจ้าบอกว่าศาสนาของพระองค์ไม่มีพระเจ้า ดังนั้นศาสนาฮินดูที่มีพระเจ้าก็เป็นมิจฉาทิฐิของศาสนาพุทธ แต่ถ้าศาสนาฮินดูบอกว่าศาสนาตนมีพระเจ้า ศาสนาพุทธก็เป็นมิจฉาทิฐิของศาสนาฮินดู ถามว่าใครเป็นมิจฉาทิฐิกันครับ เพราะในตัวอย่างนี้ก็เห็นว่าทุกคนต่างก็อ้างว่าตนถูก เช่นเดียวกับลิทธิอนุตตรธรรมที่อ้างว่าการบรรลุนิพพานเป็นไปได้ด้วยการส่งต่อถ่ายทอด ในขณะัที่พระพุทธศาสนาเถรวาทไม่เคยสอนเช่นนี้ ในตรรกะนี้ พระพุทธศาสนาคือมิจฉาทิฐิในความเห็นของลัทธิอนุตตรธรรม และในขณะเดียวกันลัทธิอนุตตรธรรมจึงคือมิจฉาทิฐิของพุทธเถรวาท

ปัญหาจะไม่เกิด ถ้าลัทธิอนุตตรธรรมไม่อ้างเอาพระศาสดาหรือเจ้าลัทธิอื่น ๆ มาเป็น "ข้ออ้าง" หรือ "สร้างประโยชน์" เข้าตนอย่างเลื่อนลอย การอ้างเอาศาสดา (อย่างน้อยก็ศาสนาพุทธ) ไปกล่าวอ้างอย่างผิด ๆ โดยบิดเบือนสาระสำคัญเช่นนี้ โดยค้านกับหลักฐานทั้งในพระไตรปิฎก และอรรถกถา (ซึ่งย่อมค้านรวมไปถึงฎีกา อนุฎีกา และโยชนาพระไตรปิฎกเถรวาท) จึงเป็นเรื่องปกติอยู่ดีที่จะมีผู้เข้ามาสร้างบทความหรือแสดงความเห็นวิพากษ์วิจารณ์ลัทธินี้แม้ในวิกิพีเดีย

อย่างไรก็ดี ตัวบทความในขณะนี้ ผมคงไม่เห็นด้วยที่ยังมีเนื้อหาไม่เป็นกลาง คือผู้เขียนเขาเสนอมุมมองอนุตตรธรรมจากทัศนะเถรวาทเพียงแง่เดียว แถมมีอคติด้วย

ดังนั้นในเมื่อตัวลัทธิมีการอ้างอิงและกรณีข้อโต้แย้งกับศาสนาต่าง ๆ มาก การจะเขียนให้เป็นกลางและสมบูรณ์ได้จึงควรมีมุมมองจากหลักการที่มีในหลักฐานคัมภีร์ของทุกศาสนาที่ "ถูกกล่าวอ้าง" มีหลักอ้างอิง (และเขียนอย่างไม่มีอคติ เช่นที่บทความนี้กำลังเป็นอยู่)

ไม่ต้องเขียนแบบตัดสินผิดถูกให้ใครอ่านหรอกครับ เขียนให้เป็นกลางอย่างที่วิกิพีเดียหวังเถิดครับ เพราะผู้อ่านเมื่อชั่งน้ำหนักแล้วเขาย่อมเข้าใจสิ่งที่ "ถูกต้อง เป็นจริง เป็น "อนุตตรสัจจ์ตามความเชื่อตน" ได้เอง ทองแท้ต้องไม่กลัวไฟลนครับ เป็นกำลังใจให้มาร่วมกันพัฒนาบทความต่อไปครับ -- ผู้ใช้Tmd | พูดคุย 02:05, 6 กันยายน 2552 (ICT)

คำว่า อนุตตรธรรม ไม่ใช่ลัทธิหรือศาสนาใหม่ใดๆ[แก้]

ในบทความที่เขียน กล่าวหาอนุตตรธรรมในมุมมองที่มุ่งให้ผู้อ่านมองเห็นอนุตตรธรรมเป็นสิ่งที่ผิดเพี้ยนและบิดเบือนหลักคำสอนของศาสนา และพยายามทำให้ผู้อ่านมองภาพอนุตตรธรรมให้เป็นศาสนาหรือลัทธิศาสตร์หนึ่งใด ซึ่งข้อความในบทความนี้ ยังไม่ได้มีการอ้างอิง อย่างถูกต้อง เป็นการเขียนในเชิงใช้ความคิดของตัวเองตัดสินและกล่าวหาอนุตตรธรรมซึ่งเป็นหลักธรรมพื้นฐาน และกล่อมเกลาส่งเสริมผู้คนให้เชื่อมั่นในธรรมะ สัจธรรม และส่งเสริมดำรงศาสนา หากแต่ในบทความนี้ได้กล่าวถึงลัทธิอนุตตรว่าก่อให้เกิดความผิดเพี้ยน เป็นความเชื่อที่ปรุงแต่งขึ้น และบิดเบือนหลักธรรมะในทุกศาสนา จึงอยากเตือนให้ผู้ลงบทความที่กล่าวหาอนุตตรธรรมอย่างไร้เหตุผลและไม่มีการอ้างอิงที่ถูกต้องเหมาะสม กล่าวหาโดยใช้อคติ ความคิดเห็นของตน กรุณาอย่ากล่าวหาอนุตตรธรรม อันทำให้เกิดความเข้าใจผิด และขอให้ลบข้อความที่ใช้ความคิดและของอคติของตน บิดเบือนหลักความจริง ขอให้ลบ แก้ไข โดยด่วนครับ --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Wiriya007 (พูดคุยหน้าที่เขียน) 16:21, 6 กันยายน 2552 (ICT)

  • ผมได้ย้ายส่วนที่พาดพิงถึงศาสนาอื่นมาไว้ในหน้านี้แล้ว อย่างไรก็ตาม ผมอยากให้คุณช่วยบอกว่า จากที่คุณกล่าวว่า อนุตตรธรรมไม่ใช่สิ่งที่ผิดเพี้ยนและบิดเบือนหลักคำสอนของศาสนา ผมอยากให้คุณเพิ่มเติมหลักฐานด้วยครับ จะกล่าวเฉย ๆ ก็เลื่อนลอยเกินไป --Horus | พูดคุย 16:58, 6 กันยายน 2552 (ICT)
บทความนี้ ผู้ใช้:Anthony เขียนไว้ตั้งแต่สองปีที่แล้ว และก็ไม่มีการเคลื่อนไหวอีก คิดว่าคงตามตัวมาไม่ได้แล้วละครับ เอาเป็นว่ารบกวนใครก็ตามที่มีความรู้มาเขียนปรับปรุงกันใหม่เถอะ อย่างน้อยก็ลองแก้ข้อความที่ย้ายมาก่อน (อย่าลืมแหล่งอ้างอิง) หากคุณจริงใจช่วยพัฒนา ไม่ต้องสมัครไอดีใหม่หลายอันครับ มิฉะนั้นจะเกิดปัญหาทีหลัง --octahedron80 03:32, 7 กันยายน 2552 (ICT)

เรื่องคำว่า "ลัทธิ" หมายถึง "คติความเชื่อถือ ความคิดเห็น และหลักการ ที่มีผู้นิยมนับถือและปฏิบัติตามสืบเนื่องกันมา" การใช้คำนี้ก็ไม่ได้เสียหายอะไรนี่ครับ ไม่ได้มีความหมายไปในทางลบ เหตุใดคุณถึงกล่าวว่าอนุตตรธรรมไม่ใช่ลัทธิ ส่วน "ศาสนา" ก็คือลัทธิอย่างหนึ่งเหมือนกัน ไม่ได้มีความหมายตรงข้ามกับลัทธิ --octahedron80 15:07, 13 กันยายน 2552 (ICT)

เกรงว่าคนส่วนใหญ่จะเข้าใจว่า อนุตตรธรรมคือลัทธิหรือศาสนา ตามที่ท่านต้องการที่จะบัญญัติขึ้นเอง ทั้งๆที่ไม่ใช่ วิถีอนุตตรธรรมไม่ใช่มีเพียงแค่คำสั่งสอน หรือความเชื่อที่จำกัดเพียงลัทธิศาสนา แต่เป็นวิถีธรรมที่เป็นรากฐาน เป็นต้นกำเนิดเดิมที่มาก่อนศาสนา จึงขอความกรุณาใช้คำว่า "วิถีอนุตตรธรรม" แทนคำว่า "ลัทธิอนุตตรธรรม"--ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Wiriya007 (พูดคุยหน้าที่เขียน) 11:25, 5 มิถุนายน 2554 (ICT)

ผมว่า "วิถีอนุตรธรรม" ต่างหากที่อุปโลกน์ตั้งตนเองเป็นต้นกำเนิดของศาสนาอื่น ๆ ทั้งที่เป็นองค์กรที่เพิ่งเกิดขึ้นแล้วลอกปรับแต่งบางคำสอนของศาสนาอื่นมาเป็นของตนเอง การกล่าวอ้างที่ไม่เป็นวิชาการของคุณ Wiriya007 จึงไม่อาจยอมรับได้ การเรียกว่าลัทธินั้นถูกต้องแล้วครับ--พุทธามาตย์ 11:41, 2 กุมภาพันธ์ 2555 (ICT)

ในความจริงคือ อนุตตรธรรม หรือ ธรรมะ สืบทอดต่อเนื่องยาวนานกว่าห้าพันปีนะครับ ไม่ได้เพิ่งก่อตั้งขึ้น และมีพร้อมกับการเกิดขึ้นของโลกใบนี้ เพียงแต่ในอดีตในสืบทอดพงศาธรรมนั้นไม่ได้เผยแพร่อย่างกว้างขวางเหมือนศาสนา แต่ในปัจจุบันคือการปรกโปรดแพร่ธรรมครั้งใหญ่ ความแตกต่างของธรรมะกับศาสนาอยู่ตรงที่ ธรรมะสูงสุดคืออนุตตรธรรมมารดา หรือ เรียกในศาสนาคริสต์คือ พระผู้เป็นเจ้า ศาสนาอิสลามคือ อัลเลาะห์ ศาสนาพุทธคือ สภาวะแห่งธรรมะ แต่ศาสนาสูงสุดคือศาสดาที่เผยแพร่คำสั่งสอน ธรรมะนั้นก่อกำเนิดและสืบทอดต่อเนื่องจากรุ่นสู่รุ่น ตั้งแต่อริยเจ้าฝูซีเมื่อห้าพันปีก่อน จากนั้นสืบเนื่องต่อในประเทศอินเดียและกลับสู่แผ่นดินจีนอีกครั้งในสมัยโพธิธรรมตั๊กม้อ สืบทอดเริ่มแรกในกษัติรย์ ทอดสู่นักบวช เมธีปราชญ์ จนปัจจุบันธรรมลงสู่ครัวเรือนสู่บุคคลทั่วไป รวมสิ้นสุด 64 รุ่น ตรงนี้มีหลักฐานจารึกไว้ที่วัดเจ็ดพระพุทธา มณฑลซานตง ประเทศจีน ถ้าจะเอาหลักฐานจริงเป็นภาษาจีนนะครับ รวมถึงศิลาจารึกที่ถูกค้นพบในเขื่อนของแม่น้ำฮวงโหพังทลาย ก็ปรากฏชัดเจนว่ามีธรรมะนี้แท้จริง และยุคนี้เป็นยุคที่เผยแพร่ธรรมะปกโปรดสู่คนทั่วไป ธรรมะไม่ใช่ศาสนา จึงไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมของใคร การจดทะเบียนเป็นองค์กรนั้น ถือเป็นเพียงกลุ่มหนึ่งเท่านั้น เพราะในการเผยแพร่ธรรมมีทั้งหมด 18 สายธรรม ไม่อาจจะเหมารวมได้ว่า ธรรมะ ที่ถูกจัดตั้งเป็นองค์กร คือ วิถีธรรมที่เผยแพร่ทั้งหมด อีกข้อหนึ่งคือ การลอกและปรับแต่งคำสอนของศาสนาอื่น ตรงนี้เคยกล่าวแล้วว่า ธรรมะไม่ใช่ศาสนา ถ้าเปรียบเทียบคงจะเหมือน เทียนและเปลียวเทียน ธรรมะคือต้นเทียน ถ้าไม่มีต้นเทียน ไหนเลยจะมีเปลียวเทียนนั้นเล่า และศาสนาคือเปลียวเทียน ถ้ามีเพียงแต่ต้นเทียน แต่ไม่มีเปลียวเทียน ก็คงไม่มีประโยชน์ ธรรมะไร้รูปลักษณ์ ไร้อัตตา ไร้ตัวอักษรใดๆจะเอ่ยอ้างได้ ดังคำที่ว่า"ธรรมะเมื่อเอ่ยเอื้อน ก็จะคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง" จึงต้องอาศัยศาสนาเพื่อให้คนเข้าใจ และโน้มนำมาสู่ธรรมะอันเป็นวิถีจิตภายใน เพราะธรรมะคือธรรมชาติ แม้จะไม่มีสิ่งที่พิสูจน์ได้ตามหลักวิทยาศาสตร์ หรือหลักวิชาการ ที่ต้องอ้างอิงถึง ทฤษฎี หลักการวิจัยหรือสิ่งอื่นใด แต่ผู้ที่ได้สัมผัสด้วยตัวเองก็จะรับรู้ได้ด้วยตัวเอง ธรรมะเป็นปัจจัตตัง รู้ได้เฉพาะตน วันนี้ถ้าท่านได้ลองเปิดใจศึกษาอย่างแท้จริง ในปัญญาเหนือกว่าความศรัทธา พิจารณาอย่างถ่องแท้ อย่าเชื่อ แม้ว่าจะเป็นคำพูดที่เขากล่าวกันมา อย่าเชื่อแม้มันจะมีอยู่ในตำรา และอย่าเพิ่งเชื่อแม้จะเป็นพระพุทธองค์ตรัสไว้ก็ตามแต่ แต่จะเชื่อด้วยการพิจารณาด้วยปัญญาอันแท้จริงของท่านเอง ท่านก็จะเข้าใจ ก่อนหน้าผมก็เข้าใจแบบท่าน แต่ถ้าได้ศึกษา ก้าวเข้ามาเรียนรู้ก็จะกระจ่าง ธรรมะไม่ได้กลัวคนไม่เชื่อ เกรงแต่ ไม่ยอมเปิดใจมาศึกษาเอง จากคำกล่าวของคนที่เขาบอกว่าเป็นลัทธิ เป็นการลบล้างศาสนานั้น คำๆนี้ท่านต้องมีศึกษาพิจารณาด้วยตัวเอง การจะเชื่อหรือไม่ ขึ้นอยู่กับสิทธิเสรีภาพของท่าน ขอกล่าวด้วยความจริงใจครับ--ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Wiriya007 (พูดคุยหน้าที่เขียน) 15:33, 2 เมษายน 2555 (ICT)

ที่คุณพรรณนามาทั้งหมดนี้ผมเข้าใจครับ อย่าคิดว่าผมไม่เปิดใจ ผมได้ใช้ปัญญาอย่างเต็มที่รับฟังและรับรู้ความเคลื่อนไหวของชาวอนุตตรธรรมมาหลายปีแล้ว คนที่ผมรู้จักหลายคนก็เคยรับธรรม ตอนนี้บางคนก็ยังศรัทธาอยู่ บางคนก็เลิกนับถือแล้ว ผมเคยอ่านหนังสือของลัทธินี้มาแล้ว ที่คุณยกกาลามสูตรมาแนะผม ผมก็ตระหนักดี และหวังว่าคุณจะเปิดใจมาศึกษาพระพุทธวจนะแท้รวมทั้งพระวจนะศาสดาอื่น ๆ ด้วย คุณก็จะรู้ว่าคำสอนของลัทธิอนุตตรธรรมก็มีหลายประเด็นที่ไม่สอดคล้องกับศาสนาอื่น ๆ (ซึ่งผมไม่ขอพล่ามในที่นี้ ถ้าคุณเปิดใจศึกษาและปฏิบัติคุณก็จะรู้เอง) เรื่องพระอนุตตรธรรมมารดาซึ่งเป็นพระเจ้าในลัทธิอีก้วนเต้าจึงเป็นแค่จินตนาการเท่านั้นในสายตาศาสนาอื่น ที่คุณอ้างธรรมะว่ามีมาก่อนองค์การทางศาสนา ผมยอมรับว่าใช่ แต่ทุกศาสนาและลัทธิก็อ้างเช่นนี้ทั้งนั้น และธรรมะของแต่ละศาสนาก็ต่างกัน การอ้างะธรรมะสูงสุดของตนเองว่าเป็นอันเดียวกับของศาสนาอื่น ๆ จึงเป็นเพียงความเชื่อที่ยังพิสูจน์ไม่ได้ทางวิชาการ จึงไม่ควรนำเรื่องนี้มาอ้างในสารานุกรมนี้ (เว้นแต่จะระบุให้ชัดว่าเป็นแค่ความเชื่อ) และบทความนี้ชี้ถึงอนุตตรธรรมในฐานะองค์การศาสนา จึงนับว่าเป็นลัทธิหนึ่ง เรื่องศิลาจารึกที่คุณอ้างขอให้นำมาลงในบทความทั้งอ้างอิงด้วยจะเป็นประโยชน์ทางความรู้แก่สาธารณชนครับ --พุทธามาตย์ (พูดคุย) 15:23, 4 เมษายน 2555 (ICT)

สวัสดีค่ะคุณพุทธามาตย์ ท่านยังไม่ได้เข้ามารับธรรมะและศึกษาในวิถีอนุตตรธรรมใช่รึป่าวคะ ถ้าได้ศึกษาอย่างจริงจังก็จะเข้าใจเองนะค่ะ เค้าไม่ได้บังคับให้คุณเชื่อ หรือบังคับให้คุณต้องกินเจนะ เพราะฉะนั้นไม่ต้องกลัวคะว่าคุณจะถูกผูกมัดใดๆ ธรรมะถ้าได้ปฏิบัติเองก็จะเข้าใจเองค่ะ ก่อนหน้านั้นดิฉันก็มีความรู้สึกขัดแย้งเหมือนกับคุณ แต่เมื่อลองเปิดใจศึกษา มันยังมีอะไรมากมายที่คุณยังไม่รู้ ดิฉันเห็นหลายๆคนก้าวเข้ามา เค้าเปลี่ยนแปลงจากชีวิตที่ทำไม่ดีกลายเป็นคนดีมากมาย หลายคนได้บำเพ็ญแล้ว ชีวิตก็เปลี่ยนแปลงมากมาย อยากให้คุณพุทธามาตย์ลองเปิดใจศึกษาดูเองนะคะ ไม่มีอะไรเสียหายแน่นอนคะ แล้วอนุตตรธรรมไม่ใช่ศาสนา ไม่ได้จุดหมายที่จะล้มล้างศาสนาใดเลยจริงๆคะ /แววดาว--ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ 118.172.137.150 (พูดคุยหน้าที่เขียน)

สวัสดีครับ คุณแววดาว ขอบคุณสำหรับความหวังดีและคำแนะนำครับ ผมได้เปิดใจศึกษาวิถีอนุตตรธรรมมานานแล้วทั้งจากเว็บไซต์ เอกสารต่าง ๆ และการสนทนากับผู้รับธรรม ซึ่งก็เพียงพอที่จะทำให้เห็นว่าอนุตตรธรรมแม้จะนำหลักธรรมของศาสนาอื่นมาใช้ แต่ก็ไม่ได้สอดคล้องในหลักการกับศาสนาใด ๆ ในโลกรวมทั้งพระพุทธศาสนา เรื่องการเปลี่ยนแปลงชีวิตของผู้รับธรรมเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นในทุกศาสนา ผมและสหธรรมิกก็มีชีวิตดีขึ้นเพราะพุทธธรรม และเข้าใจปรากฏการณ์นี้ในลัทธิศาสนาอื่น ๆ ที่คุณว่า อนุตตรธรรมไม่ใช่ศาสนา นั้นเป็นความเชื่อ ศาสนิกชนเคร่ง ๆ ในทุกศาสนาก็มองศาสนาของตนอย่างนั้น แต่ไม่ใช่ข้อเท็จจริงทางวิชาการสำหรับวิกิพีเดียนี้ สุดท้ายขอให้คุณแววดาวระมัดระวังการแก้ไขบทความ อย่าลบข้อมูลวิชาการที่มีอ้างอิงออก เพราะอาจเข้าข่ายก่อกวนครับ ป.ล. ผมก็หวังว่าคุณแววดาวจะเปิดใจศึกษาและปฏิบัติตามพระพุทธวจนะที่แท้จริงเช่นกัน --พุทธามาตย์ (พูดคุย) 09:25, 8 มิถุนายน 2555 (ICT)

เรียนเจ้าของบทความ : อยากให้เอาสิ่งที่เป็นความลับที่ไม่สามารถเปิดเผยได้ออกครับ(คงจะรู้ว่าหมายถึงอะไร) จะดีมาก กับคำว่าลัทธิ ออกเปลี่ยนเป็นคำว่า "วิถีอนุตตรธรรม" แทนครับ ขอบคุณครับ --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Zankza (พูดคุยหน้าที่เขียน) 17:13, 22 สิงหาคม 2557 (ICT)

ความเชื่อเรื่อง "อู๋ไท่ฝอหมีเล่อ" "จุดกลางหว่างคิ้ว" และ "ท่าประสานมือ" ของอีก้วนเต้า เป็นข้อมูลความรู้ที่เผยแพร่แก่สาธารณชนได้ และวิกิไม่ใช่สาวกของอีก้วนเต้า ที่สาบานว่าต้องปกปิดเรื่องดังกล่าวเป็นความลับ ส่วนคำว่า "ลัทธิ" นั้นไม่สามารถตัดออกจากชื่อบทความได้ เนื่องจาก วิกิพีเดีย:หลักการตั้งชื่อบทความ กำหนดให้มีคำว่า "ศาสนา" หรือ "ลัทธิ" ขึ้นต้นชื่อ ตามประวัติศาสตร์ อีก้วนเต้าสืบพงศาธรรมมาจากลัทธิบัวขาว ลัทธิหลัว ลัทธิเซียนเทียนเต้า จึงต้องใช้คำว่า "ลัทธิ" นำหน้าชื่อบทความครับ --พุทธามาตย์ (พูดคุย) 01:05, 23 สิงหาคม 2557 (ICT)