ราชวงศ์แสนซ้าย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ราชวงศ์เทพวงศ์)
ราชวงศ์แสนซ้าย
พระราชอิสริยยศเจ้าประเทศราช
ปกครองนครแพร่
สาขา31 ราชสกุล
จำนวนพระมหากษัตริย์5 พระองค์
ประมุขพระองค์แรกพระยาแสนซ้าย
ประมุขพระองค์สุดท้ายเจ้าพิริยเทพวงษ์
สถาปนาพ.ศ. 2330
ล่มสลายพ.ศ. 2445
ราชวงศ์ก่อนหน้าราชวงศ์เมืองไชย

ราชวงศ์แสนซ้าย หรือ ราชวงศ์แพร่ เป็นราชวงศ์ที่สืบเชื้อสายมาจากพระยาแสนซ้าย เจ้าผู้ครองนครแพร่ยุคประเทศราชของสยาม ที่ปกครองนครแพร่มาตั้งแต่ พ.ศ. 2330 มาจนถึง พ.ศ. 2445 ต่อมาได้เกิดความไม่สงบขึ้นในเมืองนครแพร่ โดยราชวงศ์​ต่อมาได้ช่วยเพื่อเเก้ปัญ​หาเป็นกลางโดยธรรม ให้พวกไทใหญ่หรือเงี้ยวที่อพยพเข้ามาอาศัยทำการก่อจลาจลทะเลาะกันเองเพื่อให้เกิดความสงบและให้มีความสามัคคี​ในเมืองนครแพร่ จากเหตุการณ์ครั้งนี้ เจ้าพิริยเทพวงษ์ เจ้าผู้ครองนครแพร่ ถูกเข้าใจผิดกล่าวหาว่าสมคบกับพวกเงี้ยว ท่านจึงไปเพื่อพักผ่อนหย่อนใจ​ เมืองหลวงพระบาง ประเทศลาว และได้พำนักอยู่ที่นั่นจนกระทั่งพิราลัย ใน พ.ศ. 2455 หลังจากนั้นทางราชสำนักสยาม ก็มิได้แต่งตั้งผู้ใดขึ้นเป็นเจ้าผู้ครองนครแพร่อีก จึงถือเป็นการสิ้นสุดตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครนับแต่นั้นเป็นต้นมา

การสถาปนา[แก้]

ราชวงศ์แสนซ้าย หรือ ราชวงศ์แพร่ ได้สถาปนาขึ้นโดยพระยาแสนซ้าย ปฐมราชวงศ์แห่งเจ้าผู้ครองนครแพร่ เชื้อสายเจ้าผู้ครองนคร 5 พระองค์สุดท้าย จนถึงรัชสมัยของ เจ้าพิริยเทพวงษ์ ปี พ.ศ. 2445 ได้เกิดความไม่สงบขึ้นในเมืองนครแพร่ โดยพวกไทใหญ่หรือเงี้ยวที่ได้เข้ามาอยู่อาศัยในเมืองนครแพร่ และทำมาหากินในการขุดพลอย ประเภทพลอยไพลิน ที่ตำบลบ่อแก้ว อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ ในปัจจุบัน ได้ทำการก่อจลาจลในเมืองนครแพร่ เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2445 จากเหตุการณ์ครั้งนี้ เจ้าหลวงนครแพร่ถูกกล่าวหาว่าคบกับพวกเงี้ยว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 จึงโปรดให้ถอดจากยศตำแหน่ง ริบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งหมดคืน พระองค์จึงไปใช้ชีวิตบั้นปลายที่เมืองหลวงพระบาง ประเทศลาว และได้พำนักอยู่ที่นั่นจนกระทั่งแก่พิราลัย ในปี พ.ศ. 2455 แม้จนสุดท้ายแล้ว ถึงแม้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จะทรงพิโรธต่อการเรียกร้องความไม่เป็นธรรมของเจ้าหลวงเมืองแพร่อย่างไร พระองค์ก็ทรงออกมาปกป้องว่า เจ้าหลวงพิริยะเทพวงษ์นั้น แม้จะกลับมาชิงบ้านเมืองคืนจริง ก็ไม่ใช่ความคิดของเจ้าหลวงแต่เป็นนโยบายของฝรั่งเศส [ต้องการอ้างอิง] พระองค์ทรงให้เจ้านายทายาทเจ้าหลวงอยู่อย่างสงบสุข ด้วยเจ้านายราชวงศ์จักรีที่ทรงวางใจคือ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ มือขวาของพระองค์นั่นเอง ส่วนเจ้านายที่ถูกคาดโทษพระองค์ก็ให้ทำหน้าที่ปราบโจรผู้ร้ายชดใช้

ราชสกุลผู้สืบเชื้อสายเจ้าผู้ครองนครแพร่ มีทั้งหมด 31 ราชสกุล ถึงไม่มีราชสกุล ณ แพร่ แต่รวมกันเรียกว่า วงศ์วรญาติ เทียบเท่าราชสกุล ณ เชียงใหม่ ณ ลำพูน ณ ลำปาง และ ณ น่าน ในหัวเมืองฝ่ายเหนือ

เจ้าผู้ครองนครแพร่ (2330-2445)[แก้]

รายพระนามเจ้าผู้ครองนครแพร่ ยุคราชวงศ์เทพวงศ์

ลำดับ พระนาม ปีที่ครองราชย์
1 พระยาแสนซ้าย พ.ศ. 2330-ก่อน พ.ศ. 2348
2 พระยาเทพวงศ์ ก่อน พ.ศ. 2348-พ.ศ. 2359
3 พระยาอินทวิไชย พ.ศ. 2359-พ.ศ. 2390
4 พระยาพิมพิสารราชา พ.ศ. 2390-พ.ศ. 2429
5 เจ้าพิริยเทพวงษ์ พ.ศ. 2433-พ.ศ. 2445

ราชสกุลเจ้าผู้ครองนครแพร่[แก้]

ราชสกุลสายเจ้าผู้ครองนครแพร่ มีทั้งหมด 31 ราชสกุล รวมกันเรียกว่าวงศ์วรญาติ คือ

อ้างอิง[แก้]

  • ภูเดช แสนสา เจ้าผู้ครองนครแพร่ยุคประเทศราชของสยาม
  • ประวัติศาสตร์แพร่ (เหตุเงี้ยวจลาจล)
ก่อนหน้า ราชวงศ์แสนซ้าย ถัดไป
ราชวงศ์มังไชย ราชวงศ์ที่ปกครองนครแพร่
(พ.ศ. 2330 - พ.ศ. 2445)