ข้ามไปเนื้อหา

วัดกูบังตีกา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดกูบังตีกา
ที่ตั้งตำบลจูปิง อำเภอกางะ รัฐเปอร์ลิส ประเทศมาเลเซีย
นิกายเถรวาท มหานิกาย
ความพิเศษวัดไทยในประเทศมาเลเซีย
เวลาทำการทุกวัน
จุดสนใจพระอุโบสถ
การถ่ายภาพอนุญาต
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดกูบังตีกา เป็นวัดในรัฐปะลิส ประเทศมาเลเซีย ห่างจากด่านปาดังเบซ่าร์ 14 กิโลเมตร ตั้งอยู่ในชุมชนชาวไทย บ้านกูบังตีกา ต.จูปิง เมืองกางะ รัฐเปอร์ลิส ประเทศมาเลเซีย ชื่อของวัดตั้งตามชื่อหมู่บ้านคือหมู่บ้านกูบังตีกา คำนี้เป็นภาษามลายูแปลว่าแอ่งน้ำ 3 แอ่ง

ประวัติวัดกูบังตีกา[แก้]

วัดกูบังตีกา เดิมพื้นที่ยังไม่เป็นวัดที่แน่นอน เป็นเพียงที่พักสงฆ์บริเวณหมู่บ้านกูบังตีกา อาศัย ถ้ำ ภูเขา เหมาะแก่การพำนักของพระสงฆ์เท่านั้น ต่อมา มีชาวบ้านบริจาคพื้นที่ ท้ายบ้านกูบังตีกา ถัดจากภูเขาหัวล้านไป 3 ลูก ได้รับบริจาคที่ ประมาณ 16 ไร่ จากชาวบ้านกูบังตีกา ปัจจุบันซื้อเพิ่มเติมอีก 4 ไร่ ครูใบฎีกาฉลอง อนาวิโล(พระอาจารย์ทิ่น)เป็นผู้ก่อตั้งวัดเมื่อ วันที่ 19 เมษายน พ.ศ.2504 เวลา 04:20 น. ตรงกับวันอังคาร ขึ้น 4 ค่ำ เดือน 6 ปีฉลู และมาจำพรรษาระหว่างพ.ศ. 2504 – 2513 ท่านได้ปรับปรุงภูมิทัศน์ป่า สร้างกุฏิพอได้อาศัย พระครูวิพิพิธพัฒนกิจสุนทร (พระอาจารย์บุญถัน)มาจำพรรษา พ.ศ 2514-2535 สร้างศาลาโรงธรรม หอฉันซึ่งประกอบไปด้วย ที่พักสงฆ์ก่อด้วยปูน

ในปี 2536 พระอาจารย์ถัน ได้ขอตัวพระนักศึกษามาปฏิบัติศาสนกิจจากมหาวิทยาลัย มหามกุฏราชวิทยาลัย จึงมีพระเดินทางมา 2 รูปคือ พระมหาเหรียญ โชติทินโน และพระมหาเสมอ ท่านทั้งสองได้ทำหน้าที่ สอนหนังสือ และบวชสามเณร อยู่จนครบ 1 ปี เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาปฏิบัติศาสนกิจ จึงเดินกลับไปรับปริญญา ในปี พ.ศ. 2537 ขอพระมาปฏิบัติศาสนกิจต่อ ซึ่งมี พระมหาสินชัย สิกขาสโภ และพระมหาอาทิตย์ มาทำหน้าที่สอนหนังสือ อบรมเยาวชน ช่วงปี พ.ศ. 2538 -2540 ขาดพระอยู่ถาวร มีเพียงพระแวะมาพักอาศัยชั่วคราวแล้วเดินทางไป ทำให้ชาวบ้านขาดพระประกอบพิธีกรรมทางศาสนา จึงรวมตัวกันเข้ากราบเรียนและปรึกษาพระเทพมงคลญาณเจ้าอาวาสวัดบุญญาราม เจ้าคณะรัฐเคดาห์-เปอร์ลิส ขอพระมาอยู่จำพรรษาอย่างถาวร ท่านมอบหมายให้พระมหาสินชัย สิกขาสโภ ซึ่งเคยจำพรรษาและปฏิบัติศาสนกิจอยู่ จากกัวลาลัมเปอร์ให้มารักษาการเจ้าอาวาสวัดกูบังตีกา ปี พ.ศ 2541 พระมหาสินชัย จึงมาทำหน้าที่รักษาการเจ้าอาวาสตามคำสั่งพระเทพมงคลญาณเจ้าอาวาสวัดบุญญาราม เจ้าคณะรัฐเคดาห์-เปอร์ลิสซึ่งตอนนั้นวัดกูบังตีกาเป็นป่ารก เป็นวัดร้าง เมื่อเดินทางมาอยู่ จึงเริ่มมีพระมาอยู่อาศัยจำพรรษา 5 รูป และได้เริ่มพัฒนา ปรับปรุง เสนาสนะ ซื้อที่ดินเพิ่มเติม 4 ไร่ สร้างวิหารรูปเหมือนหลวงพ่อแก้วสุวรรณ อุโบสถ วิหารพระเทพมงคลญาณ ติดเชิงเขาทางทิศตะวันออกของวัด

สิ่งก่อสร้างภายในวัด[แก้]

  • พ.ศ 2504 ปรับพื้นที่ สร้างวัด
  • พ.ศ 2520 สร้างศาลาโรงธรรม และอาคารหอฉัน ที่พัก
  • พ.ศ 2539 -2540 ขุดสระ ถมที่ ปรับปรุงพื้นที่ สร้างหอระฆัง งบประมาณ 390,000 บาท
  • พ.ศ 2542 สร้างวิหารหลวงพ่อแก้วสุวรรณ งบประมาณ 530,000 บาท
  • พ.ศ 2543 สร้างห้องน้ำ ห้องสุขา งบประมาณ 300,000 บาท
  • พ.ศ 2543 รัฐบาลมาเลเซีย สร้างศาลาอเนกประสงค์กลางวัด งบประมาณ 350,000 บาท
  • พ.ศ 2544 – 2550 สร้างอุโบสถ พร้อมพระประธาน งบประมาณ 8,000,000 บาท
  • พ.ศ 2551 สร้างวิหารเทพมงคลญาณ งบประมาณ 1,4000,000 บาท


สถานที่สำคัญภายในวัด[แก้]

กิจกรรมทางศาสนา[แก้]

  • เวียนเทียนและ สวดมนต์ ทำวัตรเช้า-เย็น อบรมเมตตาภาวนา ทอดกฐิน
  • สอนธรรมศึกษา ธรรมศึกษา แบ่งออก 3 ระดับ
    • 2.1 ธรรมศึกษา ตรี
    • 2.2 ธรรมศึกษา โท
    • 2.3 ธรรมศึกษา เอก

หลักสูตรในการสอน ใช้ตำรา หนังสือ เฉลยข้อสอบเก่า เอกสาร ทางกรุงเทพมหานคร โดยแต่ละปีมีการจัดซื้อหนังสือเพื่อให้นักเรียนธรรมศึกษาฟรี ทุกระดับชั้น นอกจากนี้ ในช่วงใกล้สอบ 2 สัปดาห์ จะจัดอบรมพิเศษ เพื่อให้นักเรียนเตรียมความพร้อม ก่อนวันเข้าสอบจริง

  • สอนภาษาไทยให้กับเยาวชน ภาษาไทย แบ่งออก เป็น 3 ระดับ
  • 1.1 ระดับอนุบาล สอนให้ท่องทำพยัชนะและสระ ตัวเลข พื้นฐาน
  • 1.2 ระดับ ป.1-3 สอนให้สะกดคำ และเขียน เขียนตาม
  • 1.3 ระดับ ป.4-6 สอนให้สะกดคำ เขียน สุภาษิต ฝึกเขียนเอง ทำแบบฝึกหัด

การสอนภาษาไทยนั้น ก่อนหน้านี้ มีผู้สนใจทั้งเด็กและผู้ใหญ่ แต่ภายหลังมีการสอนสืบต่อเนื่อง ผู้ใหญ่ที่ไม่รู้ภาษาไทยจึงหมดไปทีละน้อย พ่อแม่นิยมส่งลูกหลานมาเรียนภาษาไทยตั้งแต่เด็ก สอดคล้องกับเวลาเรียนภาษาไทยนั้นเป็นเวลาว่าง จากการเรียนภาคบังคับของรัฐบาล ซึ่งโรงเรียนรัฐบาลมาเลเซียเลิกเรียน 12.00น. เวลาเปิดสอนของวัดกูบังตีกา คือ 14.00น.-16.30น. การเรียนภาษาไทยในประเทศมาเลเซียนั้น ทุกวันนี้ โรงเรียนรัฐบาลมาเลเซียพยายามจัดให้มีการสอนภาษาไทยขึ้นหลายแห่ง ซึ่งโดยมาก จะเป็นโรงเรียนติดชายแดนไทย รัฐที่มีชาวไทยอยู่มาก ผู้ที่สามารถสื่อสารภาษาไทยได้นั้น ยังมีผลต่อการสมัครงานอีกด้วย จึงทำให้เยาวชนรุ่นใหม่ สนใจเรียนภาษาไทยกันมากขึ้น

การเดินทางมายังวัดกูบังตีกา[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]