ศาสนาพุทธแบบเนวาร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สถูปในวัดสวยัมภูนาถ ศาสนสถานที่มีชื่อของพุทธศาสนิกชนเนวาร
วัชราจารยะ ขณะประกอบพิธีทางศาสนา

ศาสนาพุทธแบบเนวาร (อังกฤษ: Newar Buddhism) คือพุทธศาสนานิกายวัชรยานรูปแบบหนึ่งที่ปฏิบัติในหมู่ชาวเนวาร ชาติพันธุ์ที่ตั้งถิ่นฐานบริเวณหุบเขากาฐมาณฑุในประเทศเนปาล[1][2] ซึ่งพัฒนากลมกลืนเป็นส่วนหนึ่งในวิถีของชาวเนวาร มีเอกลักษณ์พิเศษคือไม่มีสังคมสงฆ์ มีการจัดชั้นวรรณะและมีลำดับการสืบสายบิดาตามแบบชาวเนวาร แม้ศาสนาพุทธแบบเนวารจะไม่มีพระสงฆ์แต่จะมีปุโรหิตที่เรียกว่าคุรุชุเป็นสื่อกลางในการประกอบพิธีกรรม บุคคลที่มาจากตระกูลวัชราจารยะหรือพัชราจารยะ (Vajracharya, Bajracharya) จะประกอบพิธีกรรมทางศาสนาแก่ผู้อื่น และตระกูลศากยะ (Shakya) จะประกอบพิธีกรรมที่ส่วนใหญ่มักทำภายในครอบครัว โดยศาสนาจะได้รับการอุปถัมภ์จากคนวรรณะอุราย (Uray) และคนในวรรณะดังกล่าวยังอุปถัมภ์ศาสนาพุทธแบบทิเบต นิกายเถรวาท หรือแม้แต่นักบวชญี่ปุ่นด้วย[3]

ศาสนาพุทธแบบเนวารเจริญรุ่งเรืองสูงสุดในช่วงศตวรรษที่ 15 อันเป็นช่วงเวลาที่ศาสนาพุทธในกัศมีร์และอินโดนีเซียเสื่อมโทรม แม้ปัจจุบันศาสนาพุทธแบบเนวารจัดเป็นศาสนาดั้งเดิมที่ถือปฏิบัติในหุบเขากาฐมาณฑุ[4] มีศาสนิกชนเนวารคิดเป็นร้อยละ 15.31 จากจำนวนชาวเนวารทั้งหมด แต่ศาสนาพุทธนิกายเถรวาทได้กลับมามีบทบาทในเนปาลอีกครั้งตั้งแต่ปี พ.ศ. 2463 และกลายเป็นศาสนาหลักของชาวเนวารวรรณะที่นับถือศาสนาพุทธ (Buddhamargi) แทน[5][6] ศาสนาพุทธแบบเนวารจึงลดบทบาทลง[7]

มีศาสนสถานของพุทธแบบเนวารทั่วไปในหุบเขากาฐมาณฑุ และมีวัดพุทธแบบเนวารแห่งหนึ่งในพอร์ตแลนด์ รัฐออริกอน สหรัฐ[8]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Locke, John K. (2008). "Unique Features of Newar Buddhism". Nagarjuna Institute of Exact Methods. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-24. สืบค้นเมื่อ 2 June 2011.
  2. Novak, Charles M. (1992). "A Portrait of Buddhism in Licchavi Nepal". Buddhist Himalaya: A Journal of Nagarjuna Institute of Exact Methods. Nagarjuna Institute of Exact Methods. 4 (1, 2). สืบค้นเมื่อ 20 March 2014.
  3. Yoshizaki, Kazumi (2006). "The Kathmandu Valley as a Water Pot: Abstracts of Research Papers on Newar Buddhism in Nepal". Kumamoto: Kurokami Library. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-04. สืบค้นเมื่อ 2 June 2011.
  4. Novak, Charles M. (1992). "A Portrait of Buddhism in Licchavi Nepal". Buddhist Himalaya: A Journal of Nagarjuna Institute of Exact Methods. Nagarjuna Institute of Exact Methods. 4 (1, 2). สืบค้นเมื่อ 20 March 2014.
  5. Vergati, Anne (2009). "Image and Rituals in Newar Buddhism". Société Européenne pour l'Etude des Civilisations de l'Himalaya et de l'Asie Centrale. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-07. สืบค้นเมื่อ 30 May 2011.
  6. Diwasa, Tulasi; Bandhu, Chura Mani; Nepal, Bhim (2007). "The Intangible Cultural Heritage of Nepal: Future Directions" (PDF). UNESCO Kathmandu Series of Monographs and Working Papers: No 14. UNESCO Kathmandu Office. สืบค้นเมื่อ 4 May 2011. Page 7.
  7. LeVine, Sarah; Gellner, David N. (2005). Rebuilding Buddhism: The Theravada Movement in Twentieth-Century Nepal. Harvard University Press. p. 37. ISBN 978-0-674-01908-9.
  8. "Founding Ceremonies for Nritya Mandal Vihara". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-01. สืบค้นเมื่อ 2017-07-08.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]