สุรสิทธิ์ สัตยวงษ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์)
สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์
สารนิเทศภูมิหลัง
เกิด15 กรกฎาคม พ.ศ. 2466
บุญชู สัตยวงศ์
อำเภอกรุงเก่า มณฑลกรุงเก่า ประเทศสยาม
เสียชีวิต9 กันยายน พ.ศ. 2526 (60 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
คู่สมรสประไพพิศ นวราษฎร์ธิรเดช
อาชีพนักร้อง นักแสดง
ปีที่แสดงพ.ศ. 2486 - 2526
ผลงานเด่นพันท้ายนรสิงห์ (2487)
น้ำตาแสงไต้(ต้นฉบับ)
สุภาพบุรุษเสือไทย (2492)
กตัญญูประกาศิต(2501)
แม่นาคพระโขนง(2502)
รางวัล
พระสุรัสวดีนักแสดงนำชายยอดเยี่ยม
พ.ศ. 2501 - กตัญญูประกาศิต

สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์ (15 กรกฎาคม พ.ศ. 2466 - 9 กันยายน พ.ศ. 2526 [1]) อดีตนักร้อง นักแสดงชาวไทย

ประวัติ[แก้]

สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์ เกิดเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2466 ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เขามีความสามารถรอบด้าน ทั้งด้านการเรียน กีฬา และร้องเพลง เขาเคยรับราชการเป็นทั้งครูและตำรวจ แต่ด้วยน้ำเสียงอันไพเราะหม่อมเจ้าศุกรวรรณดิศ ดิศกุลจึงชักชวนให้รับราชการเป็นนักร้องของวงดุริยางค์กองทัพเรือ (รุ่นเดียวกับ สมยศ ทัศนพันธุ์ และเสน่ห์ โกมารชุน) โดยเรียนร้องเพลงกับครูล้วน ควันธรรมพร้อมกับชาลี อินทรวิจิตร ต่อมาจึงย้ายไปเป็นนักร้องในวงดนตรีสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ รุ่นเดียวกับ สุพรรณ บูรณพิมพ์ ปิติ เปลี่ยนสายสืบ และสถาพร มุกดาประกร ก่อนเข้าเรียนที่โรงเรียนจ่าอากาศ และประจำที่กองภาพยนตร์ทหารอากาศ

จากนักร้องสุรสิทธิ์กลายมาเป็นนักแสดงด้วยการชักชวนของนาวาอากาศเอกสวัสดิ์ ฑิฆัมพร แห่งกองภาพยนตร์ทหารอากาศ เมื่อราวปี 2486 ในช่วงนั้นเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 วงการละครเวทีได้รับความนิยมขึ้นมาแทนที่ภาพยนตร์ซึ่งกำลังซบเซา สุรสิทธิ์ได้ไต่เต้าขึ้นมาเป็นพระเอกละครระดับแถวหน้าอย่างรวดเร็ว โดยมีผลงานที่เป็นตำนานคือเรื่อง "พันท้ายนรสิงห์" ที่เขารับบทนำและร้องเพลงเอก "น้ำตาแสงไต้" เป็นที่จับใจแฟนๆ

เมื่อสงครามโลกสิ้นสุดลง วงการภาพยนตร์ไทยค่อย ๆ ล้มลุกคลุกคลานเพื่อตั้งหลักใหม่ จนกระทั่งกลับมาคึกคักได้เมื่อ "สุภาพบุรุษเสือไทย"ที่สร้างโดย ม.จ.ศุกรวรรณดิศ ดิศกุล และแท้ ประกาศวุฒิสาร (ดัดแปลงจากนวนิยายเรื่องดัง 'เสือไทยผู้สุภาพ' ของ เสนีย์ บุษปะเกศ คู่กับ สอางค์ ทิพย์ทัศน์) เข้าฉายที่โรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมกรุง[2]โดยมีสุรสิทธิ์เล่นเป็นพระเอก ผลงานเรื่องนี้ได้รับการตอบรับอย่างเกรียวกราวจากแฟนๆภาพยนตร์ ชื่อเสียงของสุรสิทธิ์ก็ยิ่งขจรขจาย และมาดเสือของเขาก็กลายเป็นต้นแบบแฟชั่นให้บรรดาชายหนุ่มน้อยใหญ่ได้ลอกเลียนแบบ

ช่วงหลังสุรสิทธิ์มีปัญหาด้านสุขภาพแต่ยังคงรับงานแสดงภาพยนตร์เรื่อยมา และยังคงเป็นนักร้องรับเชิญในรายการเพลง ทางโทรทัศน์ช่อง 7 สีติดต่อกันนานหลายปี

ผลงาน[แก้]

ละครเวที[แก้]

เพลง[แก้]

ภาพยนตร์[แก้]

  • 2492: สุภาพบุรุษเสือไทย
  • 2493: ชายใจเพชร
  • 2493: ชายสไบ
  • 2493: ศาสนารักของนางโจร
  • 2494: โตนงาช้าง
  • 2494: เสือดำ
  • 2494: ลุ่มน้ำเจ้าพระยา
  • 2496: สมิงสาว
  • 2496: กาหลงรัง
  • 2496: ไฟรักไฟบาป
  • 2496: ตรางดวงใจ
  • 2497: สามหัวใจ
  • 2497: น้ำตาชาย
  • 2497: สามเสือสมุทร
  • 2497: เกาะมุกดาดำ
  • 2498: เทวีขวัญฟ้า
  • 2498: เหนือธรณี
  • 2498: สลัดดำ
  • 2498: สามเสือ
  • 2498: รักคู่ฟ้า
  • 2498: เพลิงโลกันตร์
  • 2498: ยอดกตัญญู
  • 2498: สี่สิงห์นาวี
  • 2498: ทหารเสือพระเจ้าตาก
  • 2499: วิมานชีวิต
  • 2499: พรจากนรก
  • 2499: หงส์หยก
  • 2499: ชายสะไบ
  • 2499: กาหลงรัง
  • 2499: สุภาพบุรุษเสือผา
  • 2499: แผ่นดินว่างกษัตริย์
  • 2500: จอมไพร
  • 2500: สายโลหิต
  • 2500: สุรนารี
  • 2500: ขุนโจร 5 นัด
  • 2500: โรงแรมนรก
  • 2500: ดอนทราย
  • 2501: รมดี
  • 2501: บุกแหลก
  • 2501: สวรรค์หาย
  • 2501: เทวรูปหยก
  • 2501: สั่งอินทรีขาวถล่มกรุง
  • 2501: กตัญญูประกาศิต
  • 2501: หนึ่งต่อเจ็ด
  • 2501: ยูงรำแพน
  • 2501: สาวน้อย
  • 2501: สุรนารี
  • 2502: รอยเสือ
  • 2502: กล่อมกากี
  • 2502: ชาติสมิง
  • 2502: รักเธอเท่าฟ้า
  • 2502: เลือดทาแผ่นดิน
  • 2502: ไอ้เสือมือเปล่า
  • 2592: มัจจุราชประกาศิต
  • 2502: แม่นาคพระโขนง
  • 2503: ดวงชีวัน
  • 2503: เด็กเสเพล
  • 2504: ศักดิ์ไอ้เสือ
  • 2505: ยอดธง
  • 2505: รุ่งทิพย์
  • 2505: สิงห์เมืองชล
  • 2505: วิมานรักสีชมพู
  • 2505: วิญญาณรักแม่นาค
  • 2506: ใจเดียว
  • 2506: ชโลมเลือด
  • 2506: กลางดงเสือ
  • 2506: เจ็ดตะลุมบอน
  • 2506: ผู้พิชิตมัจจุราช
  • 2506: เจ็ดประจัญบาน
  • 2507: วันปืน
  • 2507: ทรพีร้องไห้
  • 2507: เก้ามหากาฬ
  • 2508: นางไม้
  • 2508: เพชรน้ำผึ้ง
  • 2508: ศึกเสือไทย
  • 2509: 4 สมิง
  • 2509: ตัวต่อตัว
  • 2509: คมสีหราช
  • 2509: ชุมทางหาดใหญ่
  • 2510: มนต์รัก
  • 2510: บุหรงทอง
  • 2510: สุดแผ่นดิน
  • 2510: กู่การะเวก
  • 2510: 5 พยัคฆ์สาว
  • 2510: 7 พระกาฬ
  • 2510: บ้าบิ่นบินเดี่ยว
  • 2511: พระลอ
  • 2511: จ้าวอินทรี
  • 2511: สิงห์เหนือเสือใต้
  • 2511: 7 ป่าช้า
  • 2511: สิงห์ล้างสิงห์
  • 2511: เลือดอาชาไนย
  • 2511: เล็บครุฑ ตอนประกาศิตจางซูเหลียง
  • 2512: ดอนเจดีย์
  • 2512: ด่วนเหนือ
  • 2512: ยอดรักยูงทอง
  • 2512: หลั่งเลือดแดนสิงห์
  • 2512: พยัคฆ์เหนือ-เสืออีสาน-ยมบาลใต้
  • 2513: จอมโจรมเหศวร
  • 2513: ฟ้าคะนอง
  • 2513: กำแพงแสน
  • 2513: เทวีกายสิทธิ์
  • 2513: วนาสวรรค์
  • 2513: กิ่งแก้ว
  • 2513: ฝนใต้
  • 2513: เงินจางนางจร
  • 2514: มันมากับความมืด
  • 2515: แควเสือ
  • 2515: ชาละวัน
  • 2515: รักต้องห้าม
  • 2515: เพชรตาแมว
  • 2516: ไผ่ล้อมรัก
  • 2516: ทางสายใหม่
  • 2516: หนึ่งในดวงใจ
  • 2516: รัญจวนจิต
  • 2516: ผู้กองยอดรัก
  • 2517: แม่
  • 2518: หัวใจราชสีห์
  • 2519: กบฎหัวใจ
  • 2520: มันทะลุฟ้า
  • 2520: เจ้าพ่อ 7 คุก
  • 2520: ดวล
  • 2522: เตือนใจ
  • 2522: เรือเพลง
  • 2522: กำนันช้อง
  • 2522: อาญานรก
  • 2522: อยุธยาทีข้ารัก
  • 2522: หักเหลี่ยมนักเลงปืน
  • 2522: เพียงคำเดียว
  • 2523: ฉุยฉาย
  • 2523: ไอ้ขุนเพลง
  • 2523: ตาพระยาบ้าเลือด
  • 2523: รักลอยลม
  • 2524: รักพยาบาท
  • 2524: เฉยแหลก

โทรทัศน์[แก้]

  • ทศวรรษ 2500-2510: ขับร้องเพลงในรายการ"เพลงแห่งความหลัง"

ผลงานกำกับ[แก้]

  • 2501: กำกับภาพยนตร์เรื่อง"สั่งอินทรีขาวถล่มกรุง"

เสียชีวิต[แก้]

สุรสิทธิ์เสียชีวิตเมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2526 ด้วยภาวะหัวใจล้มเหลว ขณะอายุได้ 60 ปี ที่โรงพยาบาลเมโย มีงานพระราชทานเพลิงศพ เป็นกรณีพิเศษ ณ วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร(บางเขน) ในวันเสาร์ ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2526

อ้างอิง[แก้]

  • ไพบูลย์ สำราญภูติ. เพลงลูกกรุง, TK Park Music Library ชุดดนตรีไทย. กรุงเทพ : สำนักงานอุทยานการเรียนรู้, พ.ศ. 2550. 168 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 978-974-8218-82-3
  1. "กระทู้จาก thaifilm.com". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2008-03-13.
  2. วีดิทัศน์ "หนังแท้" รวมผลงานหลายเรื่องของแท้ ประกาศวุฒิสาร ศิลปินแห่งชาติ จัดทำโดย มูลนิธิหนังไทย ,2544