หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ผู้จัดการรายวัน
ประเภทหนังสือพิมพ์รายวัน
ขนาดธุรกิจและการเมือง
เจ้าของบริษัท แนเนเจอร์ มีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
ผู้เผยแพร่โรงพิมพ์ตะวันออก
หัวหน้าบรรณาธิการสนธิ ลิ้มทองกุล
บรรณาธิการบริหารตุลย์ ศิริกุลพิพัฒน์
ก่อตั้งเมื่อ7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2533
นโยบายทางการเมืองขวาจัด
ภาษาไทย
ฉบับสุดท้าย18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
สำนักงานใหญ่เลขที่ 102/1 ถนนพระอาทิตย์ แขวงชนะสงคราม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

ผู้จัดการรายวัน เป็นหนังสือพิมพ์รายวัน ออกจำหน่ายทุกวันจันทร์-วันเสาร์ (โดยฉบับวันเสาร์จะควบวันอาทิตย์ไปด้วย) เสนอข่าวธุรกิจ และการเมือง โดยเฉพาะความเคลื่อนไหวของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย นอกจากนี้ ยังมีหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายสัปดาห์ , นิตยสารผู้จัดการรายเดือน และเว็บไซต์ข่าวผู้จัดการออนไลน์ อีกด้วย

ประวัติ[แก้]

ผู้จัดการรายวัน[แก้]

หนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน ก่อตั้งเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2533 โดยสนธิ ลิ้มทองกุล เริ่มมีชื่อเสียงโดดเด่น ในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พ.ศ. 2535 หลังการปราบปรามประชาชน ที่ชุมนุมต่อต้านรัฐบาล พล.อ.สุจินดา คราประยูร ขณะที่สื่อโทรทัศน์ในประเทศ ถูกควบคุมการเสนอข่าวโดยรัฐบาล โดยไม่มีการรายงานการสูญเสียชีวิตของประชาชนเลย ต่อมามีการตรวจสอบ ควบคุมการเสนอข่าว และภาพข่าว ที่ลงตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์อย่างเข้มงวด อย่างไรก็ตาม ผู้จัดการรายวัน ร่วมกับหนังสือพิมพ์อื่น เช่น เดอะเนชั่น, กรุงเทพธุรกิจ และ แนวหน้า ตีพิมพ์ภาพข่าวการปราบปรามประชาชน นอกจากนั้น ยังมีการตีพิมพ์หนังสือพิมพ์ผู้จัดการฉบับพิเศษ แจกฟรีไปทั่วกรุงเทพมหานคร เพื่อรายงานข่าวการชุมนุมบนถนนราชดำเนิน จนถูกรัฐบาลดำเนินคดี และสั่งปิดเป็นเวลาสองวัน

อย่างไรก็ตาม วิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 ก็ทำให้เครือผู้จัดการประสบปัญหาทางการเงินอย่างรุนแรง จนต้องเข้าสู่แผนฟื้นฟูกิจการ และเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 ศาลล้มละลายกลางพิจารณาเห็นสมควรให้ บริษัท แมเนเจอร์ มีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เจ้าของหนังสือพิมพ์และนิตยสารในเครือผู้จัดการ มีสภาพล้มละลาย เนื่องจากมีหนี้สินกว่า 4,726 ล้านบาท จึงมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์สินของบริษัทดังกล่าวโดยเด็ดขาด ซึ่งชื่อหนังสือพิมพ์และนิตยสารในเครือทั้งหมด ก็ถือเป็นทรัพย์สินของบริษัทฯ ตามกฎหมายเช่นกัน จึงไม่สามารถออกหนังสือพิมพ์และนิตยสาร โดยใช้ชื่อเดิมอีกต่อไปหลังจากใช้ชื่อเดิมไม่ได้อีกต่อไป ทีมงานกองบรรณาธิการชุดเดิมของผู้จัดการรายวัน ยังคงปฏิบัติงานตามปกติ และยังออกหนังสือพิมพ์อย่างต่อเนื่อง โดยเลี่ยงไปใช้ชื่อใหม่ที่คล้ายคลึงกับชื่อเดิม ทั้งนี้ ชื่อต่างๆ ที่ใช้ออกหนังสือพิมพ์ในแต่ละวัน มีรายละเอียดต่างๆ ดังนี้

ระยะเปลี่ยนผ่าน[แก้]

  • วันพุธที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 - ผู้จัดการ 2551 รายวัน โดยยังคงนับจำนวนปี และจำนวนฉบับ ต่อเนื่องจากหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวันเดิม
  • วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 - สารจากเอเอสทีวี โดยทีมงานผู้จัดการ ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่า ไม่ปรากฏการนับปี และเลขฉบับบนหัวหนังสือ รวมถึงไม่มีบรรณลักษณ์ภายในฉบับอีกเช่นกัน

เอเอสทีวีผู้จัดการายวัน[แก้]

  • เมื่อวันศุกร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 ทีมงานกองบรรณาธิการชุดเดิมของผู้จัดการรายวัน ออกหนังสือพิมพ์โดยใช้ชื่อว่า เอเอสทีวีผู้จัดการรายวัน โดยเริ่มระบุการนับเลขปี และเลขฉบับบนหัวหนังสือ เป็นฉบับปฐมฤกษ์ มีราคาจำหน่าย 20 บาท โดยในเบื้องต้นระบุในบรรณลักษณ์ว่า บริษัท เอเอสทีวี (ประเทศไทย) จำกัด เป็นเจ้าของ ต่อมาเปลี่ยนมาเป็น บริษัท เอเอสทีวีผู้จัดการ จำกัด เป็นเจ้าของ

ผู้จัดการออนไลน์[แก้]

ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2549 จากการจัดอันดับโดยอเล็กซา ผู้จัดการออนไลน์เป็นเว็บไซต์ข่าวที่ผู้ใช้จากประเทศไทยเข้าชมมากที่สุดเป็นอันดับ 1 และเป็นอันดับ 10 จากเว็บไซต์รวมทุกประเภท[1] และจากการจัดอันดับโดยทรูฮิตส์ เป็นเว็บไซต์ข่าวที่มีผู้เข้าชมมากที่สุดเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย และมากเป็นอันดับ 3 หากรวมทุกประเภท[2]

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]