อะบู บักร์ อัลบัฆดาดี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อะบู บักร์ อัลบัฆดาดี
أبو بكر البغدادي
อะบู บักร์ อัลบัฆดาดีใน ค.ศ. 2004
เคาะลีฟะฮ์คนที่ 1 แห่งรัฐอิสลาม
ดำรงตำแหน่ง
29 มิถุนายน 2014 – 27 ตุลาคม 2019
ก่อนหน้าตนเอง (ในฐานะ เอมีร์แห่งรัฐอิสลาม)
ถัดไปอะบู อิบรอฮีม อัลฮาชิมี อัลกุเราะชี
เอมีร์แห่งรัฐอิสลามอิรักและเลแวนต์
ดำรงตำแหน่ง
7 เมษายน 2013 – 29 มิถุนายน 2014
ก่อนหน้าตนเอง (ในฐานะ เอมีร์แห่งรัฐอิสลามอิรัก)
ถัดไปตนเอง (ในฐานะ เคาะลีฟะฮ์แห่งรัฐอิสลาม)
เอมีร์คนที่ 2 แห่งรัฐอิสลามอิรัก
ดำรงตำแหน่ง
18 เมษายน 2010 – 7 เมษายน 2013
ก่อนหน้าอะบู อุมัร อัลบัฆดาดี
ถัดไปตนเอง (ในฐานะ เอมีร์แห่งรัฐอิสลาม)
เอมีร์แห่งญะมาอะฮ์ญัยช์อะฮ์ลิสซุนนะฮ์ วัลญะมาอะฮ์[1]
ดำรงตำแหน่ง
2004–2006
ก่อนหน้าสถาปนาตำแหน่ง
ถัดไปยุบเลิกตำแหน่ง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
อิบรอฮีม อะวาด อิบรอฮีม อะลี อัลบัดรี
ابراهيم عواد ابراهيم علي البدري

28 กรกฎาคม ค.ศ. 1971(1971-07-28)[2]
ซามัรรออ์ ประเทศอิรัก[3][4]
เสียชีวิต27 ตุลาคม ค.ศ. 2019(2019-10-27) (48 ปี)
บารีชา ประเทศซีเรีย
สาเหตุการเสียชีวิตระเบิดฆ่าตัวตาย
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้
ประจำการ2003–2019
ชั้นยศเคาะลีฟะฮ์
การยุทธ์สงครามต่อต้านการก่อการร้าย
คู่สมรสSaja ad-Dulaimi
บุตรลูกชาย Hudhayfah al-Badri ลูกสาว Hagar

อิบรอฮีม อะวาด อิบรอฮีม อะลี อัลบัดรี (อาหรับ: ابراهيم عواد ابراهيم علي البدري; 28 กรกฎาคม ค.ศ. 1971 – 27 ตุลาคม ค.ศ. 2019) โดยทั่วไปรู้จักกันในชื่อตอนสู้รบว่า อะบู บักร์ อัลบัฆดาดี (อาหรับ: أبو بكر البغدادي) เป็นทหารชาวอิรักที่เคยเป็นเคาะลีฟะฮ์คนแรก[a]ของรัฐอิสลาม (ไอเอส) ใน ค.ศ. 2014 จนกระทั่งเสียชีวิตใน ค.ศ. 2019

อัลบัฆดาดีเกิดที่ซามัรรออ์และได้รับปริญญาในสาขาเทววิทยาอิสลามในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1990 ถึง 2000 หลังการรุกรานอิรักของสหรัฐในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2003 เขาจึงนำกลุ่มก่อความไม่สงบ "ญะมาอะฮ์ญัยช์อะฮ์ลิสซุนนะฮ์ วัลญะมาอะฮ์" ในอิรัก และถูกคุมตัวร่วมกับผู้บัญชาการของอัลกออิดะฮ์ที่แคมป์บูกาของสหรัฐใน ค.ศ. 2004[8][9] กลุ่มของเขาเข้าร่วมกับแนวร่วมสภาชูรอมุญาฮิดีนใน ค.ศ. 2006 และต่อสู้ร่วมกับอัลกออิดะฮืในประเทศอิรัก[9] ก่อนการยุบแนวร่วมในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2006 อัลบัฆดาดีกลายเป็นสมาชิกชั้นนำขององค์กรรัฐอิสลามแห่งอิรักที่พึ่งก่อตั้งใหม่ และก้าวขึ้นตำแหน่งจนกระทั่งได้รับการแต่งตั้งเป็นเอมีร์ ผู้นำสูงสุด ใน ค.ศ. 2010[8][9] จากนั้นในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2013 กลุ่มนี้เปลี่ยนชื่อเป็น "รัฐอิสลามแห่งอิรักและลิแวนต์" (ไอซิล) ประกาศเจตนารมณ์ขยายไปยังซีดรียและบังคับดูดกลืนแนวหน้าอันนุศเราะฮ์ นำไปสู่ความขัดแย้งกับคำสั่งทั่วไปของอัลกออิดะฮ์ ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2014 กลุ่มนี้ระบุตนเองใหม่เป็น "รัฐอิสลาม" และประกาศตนเองเป็นรัฐเคาะลีฟะฮ์[10] อัลบัฆดาดีได้รับเลือกเป็นเคาะลีฟะฮ์แห่งรัฐอิสลามจากสภาชูรอที่เป็นตัวแทนของสมาชิกรัฐอิสลาม ถือว่ามีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะเลือกเคาะลีฟะฮ์[11]

ข้ออ้างเป็น "เคาะลีฟะฮ์" ของอัลบัฆดาดีถูกปฏิเสธจากประชาคมมุสลิมเกือบทั้งหมด ไอเอสถูกระบุเป็นองค์กรก่อการร้ายจากสหประชาชาติและรัฐอธิปไตยเกือบทั้งหมด และทางสหรัฐและหลายประเทศถือให้เขาเป็นผู้ก่อการร้าย[12] ในฐานะผู้นำกลุ่ม อัลบัฆดาดีนำสงครามต่ออิรักและซีเรีย เขาสั่งการใช้กลวิธีที่เป็นประเด็นขัดแย้ง เช่น การใช้ระเบิดฆ่าตัวตายจำนวนมาก และประหารเชลยศึก ไอเอสยึดครองดินแดนในอิรักและซีเรียภายในช่วงหนึ่ง แต่สูญเสียดินแดนทั้งหมดและนักรบเกือบทั้งหมดในสมัยที่อัลบัฆดาดีเป็นเคาะลีฟะฮ์ เขามีส่วนโดยตรงในความโหดร้ายและการละเมิดสิทธิมนุษยชนของไอเอส เช่น การสังหารหมู่ชาวยาซิดีในอิรัก ทาสทางอารมณ์ การขมขืนอย่างเป็นระบบ การเฆี่ยน และการประหารชีวิตอย่างเป็นระบบอย่างกว้างขวาง เขากำกับกิจกรรมทางก่อการร้ายและการสังหารหมู่ โดยยอมรับความโหดร้ายเป็นส่วนหนึ่งของจุดประสงค์ทางโฆษณาชวนเชื่อขององค์กร ผลิตวิดีโอที่แสดงความเป็นทาสทางเพศและการประหารชีวิตด้วยการฟัน ขว้างหิน และเผา[13][14] อัลบัฆดาดีเป็นผู้ข่มขืนต่อเนื่องที่มีทาสทางอารมณ์เป็นการส่วนตัวหลายคน[15][16]

ณ วันที่ 27 ตุลาคม ค.ศ. 2019 อัลบัฆดาดีฆ่าตนเองกับลูกสองคนด้วยการจุดระเบิดเสื้อกั๊กฆ่าตัวตายในช่วงการรุกรานบารีชาที่จัดการโดยสหรัฐหลังได้รับการรับรองจากประธานาธิบดี ดอนัลด์ ทรัมป์[17] หลังทำพิธีศพตามศาสนา จึงนำร่างของเขาไปลงทะเล[18] ทางไอเอสยืนยันการเสียชีวิตตั้งให้อะบู อิบรอฮีม อัลฮาชิมี อัลกุเราะชีขึ้นดำรงตำแหน่งต่อ[19]

ชื่อ[แก้]

อะบู บักร์ อัลบัฆดาดีเป็นนามแฝง[20] กุนยะฮ์ ของเขาคืออะบู บักร์ หมายถึง "บิดาของอูฐหนุ่ม"[21][22] คาดว่าเขานำชื่อนี้มาจากอะบูบักร์ เคาะลีฟะฮ์คนแรกในสมัยมุฮัมมัด[23]ประสบกับอาการป่วย ตามธรรมเนียมซุนนี อะบูบักร์นำหน้าที่นำละหมาดแทนท่าน[24] ส่วนนามสกุลหมายถึง "ผู้ที่มาจากแบกแดด" และระบุว่าเขามาจากนครแบกแดดหรือเขตผู้ว่าการแบกแดดในประเทศอิรัก[25]

บรรพบุรุษและชีวิตช่วงต้น[แก้]

อัลบัฆดาดีเกิดในวันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ. 1971 ที่ซามัรรออ์ เขาเกิดในครอบครัวชาวอาหรับนิกายซุนนีจากเผ่า Al-Bu Badri[13] เผ่านี้มีเผ่าย่อยหลายกลุ่ม เช่น Radhawiyyah, Husseiniyyah, Adnaniyyah และกุร็อยช์[26] ภายหลังเขาอ้างว่าตนสืบเชื้อสายจากเผ่ากุร็อยช์ และดังนั้นจึงมาจากมุฮัมมัด แม้ว่าไม่มีหลักฐานใดรองรับข้ออ้างนี้[27][28][29]

เขาเป็นลูกคนที่สามจากลูกชายสี่คนของอะวาด อิบรอฮีม ครูสอนศาสนา[2][30][31][32][27] รายงานจากชีวประวัติสั้นที่ได้รับอนุญาตในระดับปานกลาง ซึ่งเขียนโดย Abid Humam al-Athari อิบรอฮีม อะลี อัลบัดรี ปู่ของเขา มีชีวิตจนถึงอายุ 94 ปีและพบเห็นการครอบครองอิรักของสหรัฐ[27] ส่วนอะวาด ผู้เป็นพ่อ ทำหน้าที่ทางศาสนาในชุมชน[33] กล่าวกันว่าทั้งพ่อและปู่เป็นชาวไร่[27] ส่วนแม่ที่ไม่ทราบชื่อได้รับดารอธิบายเป็นผู้รักศาสนาและมีชื่อเสียงในชนเผ่าอัลบัดรี[34] อัลบัฆดาดีได้รับการกล่าวขานว่าอนุรักษ์นิยมและเคร่งศาสนามาก แม้แต่ในวัยเดียวกัน[8]

ดูเพิ่ม[แก้]

หมายเหตุ[แก้]

  1. รัฐอิสลามระบุตนเองเป็นรัฐเคาะลีฟะฮ์ และผู้นำของตนเป็นเคาะลีฟะฮ์ แต่ประชากรมุสลิมส่วนใหญ่ไม่ยอมรับ และนักวิชาการและนักเขียนมุสลิมหลายคนถกเถียงถึงประเด็นนี้[5][6][7]

อ้างอิง[แก้]

  1. "'Stations' of Abu Bakr al-Baghdadi's Life: Translation and Analysis". 7 November 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 September 2022. สืบค้นเมื่อ 21 September 2022.
  2. 2.0 2.1 Warrick, Joby (27 October 2019). "Abu Bakr al-Baghdadi, extremist leader of Islamic State, dies at 48". The Washington Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 April 2020. สืบค้นเมื่อ 27 October 2019.
  3. "Security Council Al-Qaida Sanctions Committee adds Ibrahim Awwad Ibrahim Ali al-Badri al-Samarrai to its Sanctions List" (Press release). United Nations Security Council, SC/10405. 5 October 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 February 2015. สืบค้นเมื่อ 20 July 2014.
  4. "Wanted: Information that brings to justice… Abu Bakr al-Baghdadi" (Press release). Rewards for Justice Program. 5 October 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 March 2019. สืบค้นเมื่อ 2 November 2019.
  5. Yusuf al-Qaradawi stated: "[The] declaration issued by the Islamic State is void under sharia and has dangerous consequences for the Sunnis in Iraq and for the revolt in Syria", adding that the title of caliph can "only be given by the entire Muslim nation", not by a single group./>Strange, Hannah (5 July 2014). "Islamic State leader Abu Bakr al-Baghdadi addresses Muslims in Mosul". The Daily Telegraph. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 January 2022. สืบค้นเมื่อ 6 July 2014.
  6. Bunzel, Cole (27 November 2019). "Caliph Incognito: The Ridicule of Abu Ibrahim al-Hashimi". www.jihadica.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 January 2020. สืบค้นเมื่อ 2 January 2020.
  7. Hamid, Shadi (1 November 2016). "What a caliphate really is—and how the Islamic State is not one". Brookings (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 April 2020. สืบค้นเมื่อ 5 February 2020.
  8. 8.0 8.1 8.2 Kamolnick, Paul (February 2017). The Al-Qaeda Organization and the Islamic State Organization: History, Doctrine, Modus Operandi, and U.S. Policy to Degrade and Defeat Terrorism Conducted in the Name of Sunni Islam. Strategic Studies Institute and U.S. Army War College Press.
  9. 9.0 9.1 9.2 "'Stations' of Abu Bakr al-Baghdadi's Life: Translation and Analysis". 7 November 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 September 2022. สืบค้นเมื่อ 21 September 2022.
  10. Hamming, Tore (2017). "The Al Qaeda–Islamic State Rivalry: Competition Yes, but No Competitive Escalation". Terrorism and Political Violence. Philadelphia, Pennsylvania: Taylor & Francis. 32: 20–37. doi:10.1080/09546553.2017.1342634. S2CID 148963694.
  11. The ahl al-hall wal-aqd are qualified individuals empowered to either elect or remove from position a caliph on behalf of an Islamic community – Definition of "ahl al-hall wal-aqd" เก็บถาวร 20 มีนาคม 2017 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Oxford Islamic Studies Online. Accessed 15 May 2017.
  12. Rewards for JusticeInformation that brings to justice... Abu Bakr al-Baghdadi Up to $25 Million Reward เก็บถาวร 24 กุมภาพันธ์ 2017 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  13. 13.0 13.1 "Who was Abu Bakr al-Baghdadi?". BBC. 27 October 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 October 2019. สืบค้นเมื่อ 27 October 2019.
  14. Callimachi, Rukmini; Hassan, Falih (27 October 2019). "Abu Bakr al-Baghdadi, ISIS Leader Known for His Brutality, Is Dead at 48". The New York Times. ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 January 2020. สืบค้นเมื่อ 27 October 2019.
  15. Gardner, Frank (29 October 2019). "Baghdadi death: What now for IS?". BBC News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 November 2019. สืบค้นเมื่อ 4 November 2019. The fact that Baghdadi was a serial rapist, forcing himself on, among others, the captured American aid worker Kayla Mueller, and presiding over the mass enslavement of Yazidi women and underage girls, does not seem to have troubled his followers at all.
  16. Warrick, Joby (27 October 2019). "Abu Bakr al-Baghdadi, extremist leader of Islamic State, dies at 48". The Washington Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 April 2020. สืบค้นเมื่อ 28 October 2019. Later, former hostages would reveal that Mr. Baghdadi also kept a number of personal sex slaves during his years as the Islamic State's leader
  17. "Statement from the President on the Death of Abu Bakr al-Baghdadi". whitehouse.gov (Press release). 27 October 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 March 2021. สืบค้นเมื่อ 1 March 2021 – โดยทาง National Archives.
  18. Gonzales, Richard (30 October 2019). "Head Of U.S. Central Command Says ISIS Leader Baghdadi Buried At Sea". NPR. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 January 2020. สืบค้นเมื่อ 31 October 2019.
  19. "Islamic State group names its new leader as Abu Ibrahim al-Hashemi". BBC. 31 October 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 October 2019. สืบค้นเมื่อ 31 October 2019.
  20. Calabresi, Massimo (2015). "Person of The Year: The Short List: Abu Bakr al-Baghdadi". Time. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 May 2019. สืบค้นเมื่อ 30 January 2017.
  21. Fealy, Greg; White, Sally (2008). Islam: Religious Life and Politics in Indonesia. Singapore: Institute of Southeast Asian Studies. p. 221. ISBN 978-9812308511. สืบค้นเมื่อ 17 February 2017.
  22. Goitein, S.D. (1967). A Mediterranean Society: The Jewish Communities of the Arab World as Portrayed in the Documents of the Cairo Geniza. Vol. 1. Berkeley, California: University of California Press. p. 357. ISBN 0520221583. สืบค้นเมื่อ 17 February 2017.
  23. "Muhammad". Britannica. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 February 2017. สืบค้นเมื่อ 1 February 2017.
  24. The Middle East and South Asia 2014. Malcolm Russell (2014) p. 163
  25. Gelvin, James (2015). The Arab Uprisings: What Everyone Needs to Know. p. 138.
  26. Atwan, Abdel Bari (10 October 2015). "A Portrait of Caliph Ibrahim". The Cairo Review of Global Affairs. London, England: Bloomsbury Publishing (Fall 2015). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 February 2017. สืบค้นเมื่อ 3 February 2017.
  27. 27.0 27.1 27.2 27.3 Hosken 2015, p. 122.
  28. "Security Council Al-Qaida Sanctions Committee adds Ibrahim Awwad Ibrahim Ali al-Badri al-Samarrai to its Sanctions List" (Press release). United Nations Security Council, SC/10405. 5 October 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 February 2015. สืบค้นเมื่อ 20 July 2014.
  29. "Wanted: Information that brings to justice… Abu Bakr al-Baghdadi" (Press release). Rewards for Justice Program. 5 October 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 March 2019. สืบค้นเมื่อ 2 November 2019.
  30. Chulov, Martin (6 July 2014). "Abu Bakr al-Baghdadi emerges from shadows to rally Islamist followers". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 July 2014. สืบค้นเมื่อ 6 July 2014. This article reported the university at which he studied as being in Adhamiya, the location of the Islamic University, but apparently misnamed it the University of Islamic Sciences.
  31. "Abu Bakr al-Baghdadi". Counter Extremism Project. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 October 2016. สืบค้นเมื่อ 29 September 2016.
  32. Warrick, Joby (27 October 2019). "Abu Bakr al-Baghdadi, extremist leader of Islamic State, dies at 48". The Washington Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 April 2020. สืบค้นเมื่อ 27 October 2019.
  33. "The Believer". The Brookings Essay. 1 September 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 October 2019. สืบค้นเมื่อ 12 November 2017.
  34. Hosken 2015, p. 123.

บรรณานุกรม[แก้]

  • Hosken, Andrew (2015). Empire of Fear: Inside the Islamic State. Oneworld Publications. ISBN 978-1-78074-933-4.


แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]