เกาะรัตนโกสินทร์

พิกัด: 13°45′N 100°30′E / 13.750°N 100.500°E / 13.750; 100.500
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เกาะรัตนโกสินทร์
พระบรมมหาราชวัง ศูนย์กลางของเกาะรัตนโกสินทร์
ภาพแผนที่เกาะรัตนโกสินทร์
เกาะรัตนโกสินทร์ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร
เกาะรัตนโกสินทร์
เกาะรัตนโกสินทร์
ที่ตั้งของหมู่เกาะรัตนโกสินทร์ในกรุงเทพมหานคร
ภูมิศาสตร์
ที่ตั้งแม่น้ำเจ้าพระยา, คลองรอบกรุง
พิกัด13°45′14″N 100°29′51″E / 13.7540249°N 100.4973646°E / 13.7540249; 100.4973646
ประเภทเกาะขุด
เกาะทั้งหมด2 เกาะ
เกาะหลักเกาะรัตนโกสินทร์ชั้นใน
พื้นที่4.1 ตารางกิโลเมตร (1.6 ตารางไมล์)
การปกครอง
เขตปกครองพิเศษกรุงเทพมหานคร
เขตพระนคร
แขวงพระบรมมหาราชวัง
วังบูรพาภิรมย์
วัดราชบพิธ
สำราญราษฎร์
ศาลเจ้าพ่อเสือ
เสาชิงช้า
บวรนิเวศ
ตลาดยอด
ชนะสงคราม
เมืองหลวงพระบรมมหาราชวัง (วังหลวง)
เสาชิงช้า (ศาลาว่าการ)
แขวงใหญ่สุดวังบูรพาภิรมย์ (ประชากร 8,489 คน)
ประชากรศาสตร์
เดมะนิมชาวพระนคร
ประชากร28,546 คน (2565)
ภาษาไทย, แต้จิ๋ว, หมิ่นใต้, ปัญจาบ, ฮินดี, คุชราต
กลุ่มชาติพันธุ์ไทยสยาม, ไทยเชื้อสายจีน, ไทยเชื้อสายอินเดีย
ข้อมูลอื่น ๆ
เขตเวลา
รหัสไปรษณีย์10200

เกาะรัตนโกสินทร์ เป็นพื้นที่ประวัติศาสตร์ในเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร[1] ฝั่งตะวันตกติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา ส่วนฝั่งตะวันออกติดกับคลองหลายสาย แต่เดิมเป็นที่อยู่ของชาวจีนในสมัยกรุงธนบุรี เกาะนี้เป็นที่ตั้งของพระบรมมหาราชวังกับศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร และสถานที่อื่นที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์[2]

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

เกาะรัตนโกสินทร์มีอาณาเขตอยู่ในเขตพระนครทั้งหมด ล้อมรอบด้วยแม่น้ำเจ้าพระยาและคลองรอบกรุง มีพื้นที่ประมาณ 4.1 ตารางกิโลเมตร หรือ 2,563 ไร่ แบ่งออกเป็น 2 ชั้น คือ

ในบางกรณี อาจจะนับเกาะรัตนโกสินทร์เพิ่มในช่วงพื้นที่ที่อยู่ระหว่างคลองรอบกรุงกับคลองผดุงกรุงเกษม ซึ่งจะหมายถึงเขตพระนครในแขวงที่เหลือ คือ แขวงบ้านพานถม แขวงบางขุนพรหม และแขวงวัดสามพระยา รวมทั้งเขตป้อมปราบศัตรูพ่ายและเขตสัมพันธวงศ์ทั้งเขต

ประวัติศาสตร์[แก้]

กรุงเทพมหานครได้สถาปนาขึ้นเป็นเมืองหลวงของไทยในปี พ.ศ. 2325 โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายเมืองหลวงจากกรุงธนบุรีมาตั้งที่ตำบลบางกอก ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา เนื่องจากเหตุผลดังนี้

  1. มีประชากรตั้งถิ่นฐานเพิ่มขึ้น ถ้าขยายเมืองออกไปทั้งสองฝั่งแม่น้ำจะไม่เหมาะสมแก่การปกป้องเมือง เพราะเมืองมีลักษณะเป็นเมืองอกแตก คือมีแม่น้ำไหลผ่านเมือง ทำให้ป้องกันข้าศึกได้ยาก และไม่สามารถขยายเมืองออกไปได้อีก
  2. ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยามีพื้นที่กว้างขวางกว่า สามารถขยายเมืองออกไปได้ในอนาคต

เมื่อ พ.ศ. 2520 ทางราชการได้กำหนดชื่อ "เกาะรัตนโกสินทร์" ขึ้น เพื่อกำหนดไว้เป็นเขตปรับปรุงปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ เพราะถือเป็นกรุงรัตนโกสินทร์ระยะแรกเริ่ม[3]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Bangkok Walking Tour: Rattanakosin Island". National Geographic. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-06-13. สืบค้นเมื่อ 14 October 2012.
  2. "Rattanakosin Island". Thai Websites. สืบค้นเมื่อ 16 July 2016.
  3. "ประวัติเกาะรัตนโกสินทร์". ศูนย์ข้อมูลเกาะรัตนโกสินทร์.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • คู่มือการท่องเที่ยว Bangkok/Rattanakosin จากวิกิท่องเที่ยว (ในภาษาอังกฤษ)

13°45′N 100°30′E / 13.750°N 100.500°E / 13.750; 100.500{{#coordinates:}}: ไม่สามารถมีป้ายกำกับหลักมากกว่าหนึ่งป้ายต่อหน้าได้