เซฟมายไลฟ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เซฟมายไลฟ์
สตูดิโออัลบั้มโดย
วางตลาด18 กันยายน พ.ศ. 2550
แนวเพลงอัลเทอร์เนทีฟร็อก โพสต์ฮาร์ดคอร์
ค่ายเพลงจีนี่เรคอร์ดส, จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่
โปรดิวเซอร์พูนศักดิ์ จตุระบุล
ลำดับอัลบั้มของบอดี้สแลม
บีลีฟ
(2548)บีลีฟ2548
เซฟมายไลฟ์
(2550)
คราม
(2553)คราม2553
ซิงเกิลจากเซฟมายไลฟ์
  1. "ยาพิษ"
    จำหน่าย: 26 สิงหาคม พ.ศ. 2550
  2. "อกหัก"
    จำหน่าย: 18 กันยายน พ.ศ. 2550
  3. "แค่หลับตา"
    จำหน่าย: 18 กันยายน พ.ศ. 2550[1]
  4. "นาฬิกาตาย"
    จำหน่าย: 18 กันยายน พ.ศ. 2550[2]

เซฟมายไลฟ์ (อังกฤษ: Save My Life) เป็นสตูดิโออัลบั้มชุดที่ 4 ของวงร็อค บอดี้สแลม และเป็นสตูดิโออัลบั้มชุดที่ 2 ที่ออกกับค่ายจีนี่เรคอร์ดส ใต้สังกัดจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ อัลบั้มนี้ พูนศักดิ์ จตุระบุล (อ๊อฟ บิ๊กแอส) เป็นโปรดิวเซอร์

อัลบั้มนี้เป็นอัลบั้มชุดแรกของบอดี้แสลมที่ได้มีแนวดนตรีโพรเกรสซีฟร็อกเพิ่มมากขึ้นในอัลบั้มชุดนี้ โดยมีเพลงฮิตอย่าง "ยาพิษ" "อกหัก" และ "แค่หลับตา"

เดิมที วงตั้งใจใช้ชื่ออัลบั้มว่า Music Save My Life เพราะอยากที่จะขอบคุณดนตรี ที่ทำให้พวกเขาใช้ชีวิตอย่างมีความสุข แต่ด้วยความที่อยากให้อัลบั้มนี้เป็นของทุกคน จึงตัดคำว่า Music ออก เพื่อให้ทุกคนย้อนคิดถึงสิ่งที่ทำแล้วรู้สึกดีแทน[3]

เนื้อหาเพลงในอัลบั้ม[แก้]

ซิงเกิลเปิดตัว "ยาพิษ" มีที่มาจากวันหนึ่งของการซ้อมดนตรี ที่ทุกคนพร้อมใจกันคิดอะไรไม่ค่อยออก ระหว่างพักซ้อม ตูน ได้หยิบกีตาร์ขึ้นมาเล่นไปเรื่อยๆ ในจังหวะช้าๆ แบบอาร์แอนด์บี จน ยอด มือกีตาร์ของวงได้ยินเข้าก็มาร่วมเล่นด้วย จากนั้น ปิ๊ด มือเบส ก็เข้ามาสมทบ ตามมาด้วย ชัช เข้ามาตีกลองด้วยอีกคน กระทั่งสุดท้าย อ๊อฟ โปรดิวเซอร์ของอัลบั้ม เข้ามาบอกให้ ชัช ตีกลองแบบดิสโก้ จึงได้ออกมาเป็นเพลง ยาพิษ[4]

หลายเพลงในอัลบั้มนี้มีภาษาสวยงามแฝงด้วยปรัชญาชีวิต เช่น เพลง "อกหัก" ที่สื่อถึงชีวิตที่โดนทำร้าย แต่ก็ต้องไม่โดนทำลายเพราะความรัก กับเพลง "คนมีตังค์" กล่าวถึงความพอเพียงของชีวิต

ในบางเพลง ยังมีศิลปินรับเชิญ เช่น นัท ปนัดดา เรืองวุฒิ ในเพลง "แค่หลับตา" และ โก้ เศกพล อุ่นสำราญ (โก้ Mr.Saxman) ที่มาบรรเลงแซ็กโซโฟนในเพลงช้าอย่าง "นาฬิกาตาย"

รายชื่อเพลง[แก้]

Save My Life
ลำดับชื่อเพลงประพันธ์ยาว
1."ยาพิษ"อาทิวราห์ คงมาลัย
ขจรเดช พรมรักษา
4:23
2."อกหัก"Mr.room4:07
3."ท่านผู้ชม"โป โปษยะนุกูล4:15
4."ยิ่งรู้ยิ่งไม่เข้าใจ"ขจรเดช พรมรักษา4:17
5."แค่หลับตา (ร่วมกับ ปนัดดา เรืองวุฒิ)"อาทิวราห์ คงมาลัย4:07
6."เสี้ยววินาที"โป โปษยะนุกูล4:11
7."คนมีตังค์"โป โปษยะนุกูล4:23 [5]
8."แสงแรก"วิรชา ดาวฉาย4:33
9."นาฬิกาตาย"ขจรเดช พรมรักษา3:53
10."ขอบคุณน้ำตา"อาทิวราห์ คงมาลัย4:20

บุคคลที่เกี่ยวข้อง[แก้]

บอดี้สแลม ในปี 2550
บอดี้แสลม

ดูเพิ่ม[แก้]

อื่นๆ[แก้]

ผลงานชุดนี้ทิ้งห่างจากอัลบั้มชุดที่ 3 ประมาณ 2 ปีกว่า เดิมทีตั้งใจใช้ชื่ออัลบั้มว่า Music Save My Life เพราะอยากที่จะขอบคุณดนตรี ที่ทำให้พวกเขาใช้ชีวิตอย่างมีความสุข แต่ด้วยความที่อยากให้อัลบั้มนี้เป็นของทุกคน จึงตัดคำว่า Music ออก เพื่อให้ทุกคนย้อนคิดถึงสิ่งที่ทำแล้วรู้สึกดีแทน[6]


อ้างอิง[แก้]