เทพพร เพชรอุบล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เทพพร เพชรอุบล
สารนิเทศภูมิหลัง
เกิด29 กันยายน พ.ศ. 2490
เทพพร บุญสุข
อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี
เสียชีวิต22 ตุลาคม พ.ศ. 2556 (66 ปี)
อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น
คู่สมรสพิกุล บุญสุข
อาชีพนักร้อง นักประพันธ์เพลง
สังกัดห้างแผ่นเสียงทองคำ
กรุงไทย ออดิโอ
ลองเพลย์ เร็ดคอร์ด
โรต้า
เอส เอ็น อาร์ต โปรโมชั่น
เอ็ม.ดี เทป

เทพพร เพชรอุบล คีตกวีเพลงลูกทุ่งอีสาน (29 กันยายน พ.ศ. 2490 - 22 ตุลาคม พ.ศ. 2556) เป็นนักร้องและนักประพันธ์เพลงลูกทุ่งอีสาน เทพพรประพันธ์เพลงให้แก่นักร้องลูกทุ่งมากมายส่งผลให้ศิลปินนักร้องเหล่านั้นมีชื่อเสียง และเป็นเจ้าของบทเพลงชื่อดังอย่าง " อีสานบ้านเฮา "

ประวัติ[แก้]

เทพพร เพชรอุบล มีชื่อจริงว่า เทพพร บุญสุข เกิดเมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2490 ที่บ้านเลขที่ 23/4 บ้านโนนใหญ่ ต.ก่อเอ้ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี เป็นบุตรคนสุดท้องในจำนวนพี่น้อง 2 คนของนายมี และนางคำเหรียญ บุญสุข สมรสกับนาง พิกุล บุญสุข[1] คนที่บ้านเรียกชื่อเล่นว่า อ๋อ เทพพรจบชั้น ป. 4 จากโรงเรียนในหมู่บ้าน ก่อนจะไปต่อชั้นมัธยมในตัวจังหวัด และจบการศึกษาชั้นสูงสุดปีที่ 3 แผนกช่างกลโรงงาน จากโรงเรียนองค์การสนธิสัญญาป้องกันเอเชียอาคเนย์ หรือ ร.ร.ส.ป.อ. ปัจจุบันคือโรงเรียนเทคนิคอุบลราชธานี เมื่อปี 2509[2]

หลังจบการศึกษา เขาเดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพื่อศึกษาต่อโรงเรียนเพาะช่าง สาขาประติมากรรม แต่เรียนได้ 2 ปีก็ลาออก เนื่องจากอยากเป็นนักร้อง เพราะมีพรสวรรค์ในการร้องรำทำเพลง สนใจดนตรีและเสียงเพลงมาตั้งแต่ยังเด็ก ระหว่างที่เรียนช่างกล ส.ป.อ. ก็เคยขึ้นร้องเพลงให้กับทางโรงเรียน โดยผู้ที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อการอยากเป็นนักร้องในยุคนั้นของเขาก็คือ พร ภิรมย์ ศิลปินนักร้องลูกทุ่งผู้โด่งดังในยุคนั้น ซึ่งเขาสามารถเลียนเสียงเพลงแหล่ของ พร ภิรมย์ ได้เหมือนมาก[3]

เพลง"คิดฮอดอ้ายแหน่เด้อ" และ "อีสานบ้านเฮา" ทำให้เทพพรโด่งดังและมีแฟนเพลงคับคั่งที่รอดูการแสดงของเทพพรเมื่อเดินสายการแสดงดนตรี ทำให้เทพพรมีงานแสดงต่อเนื่อง และจากการทำงานอย่างหนักเป็นผลให้ปลายปี พ.ศ. 2540 เขาล้มป่วยเนื่องจากเส้นเลือดในสมองอุดตัน เป็นผลให้ไม่สามารถพูดหรือเคลื่อนไหวและช่วยตนเองได้ในระดับหนึ่ง แต่ด้วยกำลังใจที่เข้มแข็งจากครอบครัว ทำให้เขาหายจากโรค และกลับมาสร้างสรรค์ผลงานเพลงได้อีกครั้ง โดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในการประพันธ์เพลงด้วยตนเอง

และในปลายปี พ.ศ. 2555 เทพพรเข้าโรงพยาบาลเป็นเวลา 12 วัน เพื่อทำการรักษาและวินิจฉัยโรคมะเร็งตับของเขา ท่ามกลางความห่วงใยจากลูกศิษย์ แฟนเพลง ศิลปินนักร้อง และครอบครัว ทำให้เทพพรกลับมารักษาตัวที่บ้านและต่อสู้กับโรคมะเร็งร้ายได้นับปี

เทพพร เพชรอุบล เสียชีวิตเนื่องจากโรคมะเร็งตับ ในวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2556 อย่างสงบที่บ้านพักในจังหวัดขอนแก่น และจัดพิธีพระราชทานเพลิงศพ ในวันอังคารที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2556 ณ วัดสว่างสุทธาราม อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น

ผลงาน รางวัล และเกียรติคุณ[แก้]

รางวัล[แก้]

  • รางวัลศิลปินดีเด่น สาขาศิลปะการแสดง จากศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดขอนแก่น ปี 2535
  • รางวัลศิลปินศิลปินมรดกอีสาน สาขาศิลปะการแสดง จากศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดขอนแก่น ปี 2554

ผลงานบริการสังคม[แก้]

  • เทพพรแต่งเพลงและร้องเพลงในเหตุการณ์พระธาตุพนมถล่ม เมื่อปี 2518 ทำให้คนไทยรำลึกถึงเหตุการณ์สะเทือนใจครั้งนั้นมิรู้ลืม
  • ร่วมแต่งเพลงและร้องเพลง จำหน่ายเพื่อการกุศลในวาระ 200 ปี จังหวัดอุบลราชธานี และวาระสมโภช 100 ปี จังหวัดอุดรธานี ปี 2535
  • สนับสนุนรณรงค์คนอีสานไม่กินปลาดิบ ร่วมกับสาธารณสุขจังหวัด ขอนแก่น และคณะเพชรพิณทอง ปี 2535
  • สนับสนุนรณรงค์ไม่สูบบุหรี่ ร่วมกับสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ ปี 2536
  • ได้รับเกียรติจากสมาคมนักแต่งเพลง ให้เป็นตัวแทนนักร้องของภาคอีสาน แต่งเพลงและร้องเพลงเนื่องในงานส่งพระวิญญาณสมเด็จย่า
  • ได้เดินทางไปเผยแพร่ศิลปะพื้นบ้านที่วัดพระศรีนครินทร์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

ผลงานภาพยนตร์[แก้]

  • มนต์รักแม่น้ำมูล (2520) รับบท เทพพร
  • ลูกแม่มูล (2523) รับบท เทพพร
  • ครูวิบาก (2524) รับบท พ่อครู
  • ทุ่งกุลาร้องไห้ (2524) รับบท เทพพร
  • สวรรค์บ้านนา (2526) รับบท เทพพร

คอนเสิร์ต[แก้]

  • คอนเสิร์ต ร้อยดวงใจสืบสานเพลงครู คีตกวี ลูกทุ่งอีสาน พงษ์ศักดิ์ จันทรุกขา (18 ธันวาคม 2554)

ผลงานเพลงที่มีชื่อเสียง[แก้]

เทพพร เพชรอุบล มีผลงานเพลงลูกทุ่งไม่น้อยกว่า 300 เพลง เพลงที่สร้างชื่อเสียงให้กับเทพพรมีดังนี้

  1. อาลัยพระธาตุพนม
  2. อีสานบ้านเฮา (ครูพงษ์ศักดิ์ จันทรุกขา ผู้แต่ง)
  3. คิดฮอดอ้ายแหน่เด้อ (แต่งให้ศักดิ์สยาม เพชรชมภูร้อง)
  4. สัญญาเดือนสาม (แต่งให้ศักดิ์สยาม เพชรชมภูร้อง)
  5. นัดวันให้น้องรอ
  6. คิดฮอดน้องแดง (แต่งให้ศักดิ์สยาม เพชรชมภูร้อง)
  7. สั่งฟ้าไปหาน้อง
  8. อาลัยสาวเรณู (แต่งให้ศักดิ์สยาม เพชรชมภูร้อง)
  9. ของแซบอีสาน
  10. ฝังใจเวียงจันทน์
  11. สาวเกลอเที่ยวกรุง
  12. ลำนำอีสาน
  13. หนุ่มจรอ้อนรัก
  14. บัวทองร้องไห้ (พรศักดิ์ ส่องแสงนำไปร้องใหม่)
  15. ก่องข้าวน้อยฆ่าแม่
  16. รำวงหาคู่
  17. หนาวเดือนห้า
  18. ครวญหาอังคนางค์
  19. จนแท้น้อ
  20. ร้องไห้ทำไม
  21. บ่ลืมบ้านนอก
  22. สัมภาษณ์เทพี
  23. ป๋ากันเถาะ
  24. ไก่จ๋าไก่
  25. คนอุ้มไก่
  26. กลับมาเถิดน้อง
  27. นับหมอนรถไฟ
  28. เสียงแคนแทนใจ
  29. คนขี่หลังควาย (ดาว บ้านดอน แต่ง)
  30. แปรจ๋า (ดาว บ้านดอน แต่ง)
  31. ลำเลาะทุ่ง
  32. ยอดตําลึงชุมแพ (ต้นฉบับ ดาว บ้านดอน)
  33. คนร้อยเอ็ด
  34. น.นม
  35. ค.แคน
  36. ของดีบ้านเฮา
  37. พ.พิณ
  38. หยอกสาว
  39. ไปนำอ้ายบ่
  40. รักบริสุทธิ์ (แต่งให้พรศักดิ์ ส่องแสงร้อง)

อัลบั้มเดี่ยว[แก้]

  1. ลำซิ่งปกทอง ชุด 2 (กุมภาพันธ์ 2543)

อัลบั้มร่วมกับศิลปินคนอื่น[แก้]

  1. เมดเล่ย์ สุดยอด ลูกทุ่งกึ่งศตวรรษ (กรกฎาคม 2538)
  2. 4 เด็ดเพชรอีสาน
  3. หมอลำเต็มร้อย (2543)
  4. หมอลำใจเกินร้อย (2545)
  5. 14 เพลงเอก มนต์เพลงลูกทุ่ง หมอลำพันล้าน (พฤษภาคม 2545)
  6. 16 ศิลปิน ย้อนรอยหมอลำดัง (2546)
  7. บ่ย้านบาป (2546)
  8. อีสานรวมฮิต ม่วนคักคัก
  9. แว่วเสียงอีสาน
  10. หมอลำแอ๊บแบ๊ว (2550)
  11. รวมฮิตหมอลำ ไทอีสาน (กุมภาพันธ์ 2558)
  12. อีสานรวมฮิต ม่วนบ่ชา
  13. ลูกทุ่งสามช่า
  14. ลูกทุ่งรวมดาวเพลงดัง

อ้างอิง[แก้]

  • หนังสือคิดฮอดอ้ายแหน่เด้อ ที่ระลึกงานพระราชเพลิงศพเทพพร เพชรอุบล. ขอนแก่น : หจก.โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา, พ.ศ. 2556. 97 หน้า. หน้า 3-7.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]