เทศบาลตำบลปากนคร

พิกัด: 8°28′13″N 100°2′48″E / 8.47028°N 100.04667°E / 8.47028; 100.04667
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เทศบาลตำบลปากนคร
ตราอย่างเป็นทางการของเทศบาลตำบลปากนคร
ตรา
คำขวัญ: 
ปากนครเมืองที่สภาพแวดล้อมสะอาด  ปราศจากมลพิษ เศรษฐกิจชุมชนเข้มแข็ง มีแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงาม
ทต.ปากนครตั้งอยู่ในจังหวัดนครศรีธรรมราช
ทต.ปากนคร
ทต.ปากนคร
พิกัด: 8°28′13″N 100°2′48″E / 8.47028°N 100.04667°E / 8.47028; 100.04667
ประเทศ ไทย
จังหวัดนครศรีธรรมราช
อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีปรีชา แก้วกระจ่าง
พื้นที่
 • ทั้งหมด1.902 ตร.กม. (0.734 ตร.ไมล์)
ประชากร
 • ทั้งหมด6,321 คน
 • ความหนาแน่น3,323.34 คน/ตร.กม. (8,607.4 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.05800108
ที่อยู่
สำนักงาน
สำนักงานเทศบาลตำบลปากนคร
ถนนปากนคร หมู่ที่ 1 ตำบลปากนคร อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช 80000
โทรศัพท์0 7535 7909
เว็บไซต์www.paknakhoncity.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ปากนคร เป็นเทศบาลตำบลที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช ห่างจากตัวเมืองนครศรีธรรมราช 9 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 1.902 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 1,189 ไร่ครอบคลุม 2 ตำบล 3 หมู่บ้าน คือ พื้นที่หมู่ที่ 1 และบางส่วนของหมู่ที่ 6 ตำบลปากนคร และพื้นที่หมู่ที่ 4 ตำบลท่าไร่

ประวัติ[แก้]

บ้านปากนครเดิมนั้น ตามประวัติศาสตร์ในสมัยโบราณ ที่มีผู้บอกกล่าวเล่าตามความเป็นมานั้น เขาเรียกกันว่า “บ้านทับเคย” ประชากรส่วนใหญ่ในอดีตนั้นประกอบอาชีพประมง เช่น ยอปีก วางอวน ดักซั่ง ราวเบ็ด เป็นต้น สาเหตุที่เรียกว่าบ้านทับเคยนั้น ก็คือมีการนำเอาลูกกุ้งตัวเล็กที่จับมาผสมกับเกลือ คนให้เข้ากันนำมาตากแดดให้แห้งแล้วนำมาบด ซึ่งตามภาษาในสมัยโบราณจะเรียกว่า “เชเคย” โดยการใช้ครกที่ทำด้วยไม้ขนาดใหญ่แล้วมีสาก ลักษณะคล้ายกับกระบอกใช้ตำหรือเชกุ้งตัวเล็กๆ ที่ผสมไว้นั้นให้ละเอียด จึงเรียกว่าการ “เชเคย” ในสมัยต่อมาใช้เครื่องบด จึงเปลี่ยนมารียกว่า “บดเคย” เมื่อมีประชากรเข้ามาอาศัยอยู่เพิ่มมากขึ้น จึงตั้งเป็นหมู่บ้าน และใช้ชื่อว่า “บ้านปากน้ำปากนคร” ซึ่งตั้งอยู่บริเวณหมู่ที่ 1 ต.ปากนคร อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช จากเหตุการณ์ที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ว่าลุ่มน้ำปากนครสายนี้ตลอดจนบ้านทับเคยหรือบ้านปากนคร มีความเป็นมาทางประวัติศาสตร์อันยาวนาน ที่พวกเราควรศึกษาเรียนรู้ถึงความเป็นมา และต่อมาได้มีการปกครองแบบสภาท้องถิ่น เรียกว่า “สุขาภิบาลปากนคร” ต่อมาได้ยกฐานะเป็น “เทศบาลตำบลปากนคร” เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ตามพระราชบัญญัติการเปลี่ยนแปลงฐานะสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. 2542 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2542

สภาพทั่วไป[แก้]

ลักษณะภูมิประเทศ สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่ของเทศบาลตำบลปากนคร เป็นพื้นที่ราบลุ่มและป่าชายเลน มีคลองปากนครกั้นกลางระหว่างหมู่ที่ 1 ตำบลปากนคร กับหมู่ที่ 4 ตำบลท่าไร่ มีคลองเล็กๆ ระบายน้ำลงสู่คลองปากนครอีกหลายสายและพื้นที่บางส่วนติดกับทะเลอ่าวไทย สภาพพื้นที่ของเทศบาลตำบลปากนคร จะมีสภาพภูมิอากาศค่อนข้างร้อน ในระหว่างเดือน มกราคม – พฤษภาคม ซึ่งเป็นฤดูร้อน โดยมีอุณหภูมิเฉลี่ย 26 – 28 องศาเซลเซียส และมีฤดูฝนระหว่างเดือน กรกฎาคม – ธันวาคม ของทุกปี

อาณาเขตติดต่อ[แก้]

เทศบาลตำบลปากนคร ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกขอตัวเมืองนครศรีธรรมราช

ชุมชน[แก้]

เทศบาลตำบลปากนครประกอบด้วยชุมชน 13 ชุมชน

  1. ชุมชนหัวถนน
  2. ชุมชนบางหัวแตก
  3. ชุมชนบางลุงสง
  4. ชุมชนบางลุงต้ม
  5. ชุมชนบางบางรังนก
  6. ชุมชนบางตาจุ้ย
  7. ชุมชนชายทะเล
  8. ชุมชนคลองขุด
  9. ชุมชนบางตาจันทร์
  10. ชุมชนสุวรรณวัตร
  11. ชุมชนบางหน้าบ้าน
  12. ชุมชนอนามัย
  13. ชุมชนสันติสุข

สาธารณสุข[แก้]

  • สถานีอนามัยวัดมุขธารา
  • สถานีอนามัยปากนคร

สถานศึกษา[แก้]

  • โรงเรียนวัดมุขธารา
  • โรงเรียนวัดนารีประดิษฐ์

วัด[แก้]

จำนวนวัดในเขตเทศบาลตำบลปากนคร มีทั้งหมด 2 วัด คือ

  • วัดมุขธารา
  • วัดนารีประดิษฐ์

สถานที่สำคัญ[แก้]

  • สถานีตำรวจภูธรตำบลปากนคร
  • สำนักงานพัฒนาลุ่มน้ำปากพนัง สาขาปากนคร

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]