เบบีควีน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
"เบบีควีน"
ซิงเกิลโดยกอริลลาซ
จากอัลบั้มแคร็กเกอร์ไอแลนด์
วางจำหน่าย4 พฤศจิกายน ค.ศ. 2022 (2022-11-04)
แนวเพลงดรีมป็อป[1]
ความยาว3:40
ค่ายเพลง
ผู้ประพันธ์เพลง
โปรดิวเซอร์
ลำดับซิงเกิลของกอริลลาซ
"นิวโกลด์"
(2022)
"เบบีควีน"
(2022)
"สกินนีเอป"
(2022)

"เบบีควีน" (อังกฤษ: Baby Queen) เป็นเพลงของวงกอริลลาซ ซึ่งเป็นวงดนตรีแนว virtual ของสหราชอาณาจักร เปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน ค.ศ. 2022 เป็นซิงเกิลลำดับที่สามของอัลบั้ม แคร็กเกอร์ไอแลนด์ และเปิดตัวครั้งแรกเมื่อวันที่ 30 กันยายน ค.ศ. 2022 ในฐานะเพลงในวิดีโอเกมฟีฟ่า 23[2]

เบี้องหลัง[แก้]

เพลงนี้เกิดจากแรงบันดาลในของเดมอน อัลบาร์น ซึ่งเคยจัดการแสดงคอนเสิร์ต เบลอร์ (Blur) เมื่อ ค.ศ. 1997 ที่กรุงเทพมหานคร[3] ในคอนเสิร์ตครั้งนั้นมีพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ เจ้านายฝ่ายในจากประเทศไทย ขณะนั้นมีพระชันษา 14 ปี ร่วมทอดพระเนตรการแสดงด้วย[4][5][6] ระหว่างที่เขากำลังเล่นเพลง "ซอง 2" (Song 2) พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ทรงลุกยืนบนพระเก้าอี้ซึ่งอยู่ข้างมิกซ์บอร์ด และทรงกระโดดลงไปหาราชองครักษ์ (Stage diving) แล้วทรงร่วมเต้นกับผู้ชมคนอื่น[5] ซึ่งอัลบาร์นรู้สึกประทับใจมาก[6] อัลบาร์นให้สัมภาษณ์ใน ลอสแอนเจลิสไทมส์ ว่าบทเพลงนี้เป็นความฝันเกี่ยวกับคอนเสิร์ตครั้งดังกล่าว หลังกลับไปดูคอนเสิร์ตนั้นอีกครั้งในรูปแบบสองมิติ[7] เนื้อเพลงเป็นความฝันของผู้แต่งว่าเจ้าหญิงพระองค์นั้นคงเติบใหญ่เป็นพระราชินีที่ต้องเผชิญกับความท้าทายและกฎระเบียบของสำนักพระราชวัง ซึ่งผู้แต่งได้ใช้เวลาร่วมกันกับเจ้าหญิงเพียงแค่ในฝันของเขาเท่านั้น[4][8]

ทั้งนี้ในเนื้อเพลงไม่มีการระบุพระนามของเจ้าหญิงไทยพระองค์นั้นโดยตรง แต่คาดว่าคือพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ พระธิดาในสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เพราะพระองค์ชื่นชอบศิลปินดังจำนวนมาก และทรงสวมเสื้อยืดของศิลปินแนวเฮฟวีเมทัลอยู่บ่อยครั้ง เช่น มาริลีน แมนสัน อะเว็นจด์เซเวนโฟลด์ เดฟโทนส์ เมกาเดท ซิสเตมออฟอะดาวน์ และมาสโตดอน[5][6]

ชาร์ต[แก้]

ชาร์ต (2022) อันดับสูงสุด
US Hot Rock & Alternative Songs (Billboard)[9] 47

อ้างอิง[แก้]

  1. Attard, Paul (22 February 2023). "Gorillaz Cracker Island Review: The Misfit Toys Take Aim at the Modern World and Misfire". Slant Magazine. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 February 2023. สืบค้นเมื่อ 24 March 2023.
  2. Skinner, Tom (22 September 2022). "EA reveals 'FIFA 23' soundtrack, featuring Gorillaz and Yeah Yeah Yeahs". NME. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 October 2022. สืบค้นเมื่อ 24 March 2023.
  3. Uitti, Jacob (5 November 2022). "Gorillaz Release New Song Inspired by Meeting with Thai Princess, "Baby Queen"". American Songwriter. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 November 2022. สืบค้นเมื่อ 24 March 2023.
  4. 4.0 4.1 Richards, Will (6 November 2022). "Gorillaz share 'Baby Queen', inspired by a stagediving Thai princess". NME. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 March 2023. สืบค้นเมื่อ 24 March 2023.
  5. 5.0 5.1 5.2 "Baby Queen จาก Gorillaz บทเพลงที่ไพเราะเพราะตราตรึงเจ้าหญิงไทย และ เจ้าหญิงองค์นั้นเป็นใคร?". เก่งจิ. 19 ธันวาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2024.
  6. 6.0 6.1 6.2 ""เดมอน อัลบาน" Gorillaz เผยแต่งเพลง Baby Queen มีแรงบันดาลใจจากองค์หญิงในเมืองไทย". ผู้จัดการออนไลน์. 3 กุมภาพันธ์ 2023. สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2024.
  7. Jones, Abby (4 November 2022). "Gorillaz Nod to an Unlikely Fan on New Single "Baby Queen": Stream". Consequence. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 January 2023. สืบค้นเมื่อ 24 March 2023.
  8. Wood, Mikael (23 January 2022). "For Damon Albarn, modern life is still pretty much rubbish". Los Angeles Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 March 2023. สืบค้นเมื่อ 24 March 2023.
  9. "Gorillaz Chart History (Hot Rock & Alternative Songs)". Billboard. สืบค้นเมื่อ 24 March 2023.