เยาวเรศ ชินวัตร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เยาวเรศ ชินวัตร
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด30 มกราคม พ.ศ. 2495 (72 ปี)
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองไทยรักไทย (2542—2549)
เพื่อไทย (2551—2561)
ไทยรักษาชาติ (2561—2562)
คู่สมรสวีรชัย วงศ์นภาจันทร์ (หย่า)

เยาวเรศ ชินวัตร ประธานที่ปรึกษามูลนิธิพัฒนาวิชาชีพสตรี นายกสมาคมชาวเหนือแห่งประเทศไทย นายกสมาคมสตรีไทยดีเด่นแห่งชาติ และ ที่ปรึกษาสภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ อดีตประธานสภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ คนที่ 20 อดีตนายกสภาประจำสถาบันราชภัฏอุบลราชธานี[1]เป็นผู้ดูแลพื้นที่ภาคใต้ของพรรคเพื่อไทย และเป็นน้องสาวของพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย และเป็นพี่สาวของ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย

ประวัติ[แก้]

เยาวเรศ เกิดเมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2495 เป็นบุตรคนที่ 3 และเป็นบุตรสาวคนที่ 2 ในจำนวน 10 คน ของ นาย เลิศ ชินวัตร และยินดี ชินวัตร ซึ่งเป็นธิดาของเจ้าจันทร์ทิพย์ ระมิงค์วงศ์ (หลานตาของเจ้าไชยสงคราม สมพมิตร ณ เชียงใหม่ ซึ่งสืบเชื้อสายจากพระเจ้าช้างเผือกธรรมลังกา พระเจ้านครเชียงใหม่) จบชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนดาราวิทยาลัย และสายพาณิชยการ จากวิทยาลัยเกริก จากนั้นได้ไปศึกษาต่อด้านการบริหารที่ประเทศอังกฤษจนจบอนุปริญญา เมื่อ พ.ศ. 2548 ได้เข้าศึกษาที่มหาวิทยาลัยนเรศวรในสาขาพัฒนาสังคม แต่ก็ได้ลาออกเมื่อปี พ.ศ. 2549

มีบุตร-ธิดา 3 คน เป็นชาย 2 คน หญิง 1 คน ชื่อ นางสาว ชยิกา วงศ์นภาจันทร์ (แซน) ข้าราชการการเมืองประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี นาย รัตนพล วงศ์นภาจันทร์ (ซัน) และ นาย ธนวัต วงศ์นภาจันทร์ (ซูน)

การทำงาน[แก้]

เยาวเรศ เริ่มต้นทำงานด้วยการเป็นเลขานุการ ต่อมาทำงานเป็นพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน (แอร์โฮสเตส) สายการบินแอร์สยาม จากนั้นลาออกมาทำธุรกิจโรงภาพยนตร์ของครอบครัว และทำธุรกิจส่วนตัวโดยเปิดร้านขายสินค้าชุมชนและงานศิลปะ และธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในนาม บริษัท ชินวัตร โฮม จำกัด โดยให้รัตนะ และชยิกา วงศ์นภาจันทร์ บุตรชายและบุตรสาวเข้ามาดูแลในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการและผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดและฝ่ายขายตามลำดับ ส่วนเยาวเรศดูแลภาพรวมในตำแหน่งซีอีโอ[2]

เยาวเรศ เคยสมรสกับนายวีรชัย วงศ์นภาจันทร์ นักธุรกิจไทยเชื้อสายจีน ปัจจุบันแยกทางกันแล้ว มีบุตร 3 คน ใช้นามสกุลของบิดาคือ นางสาวชยิกา นายรัตนพล และ นายธนวัต วงศ์นภาจันทร์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. รวมคำสั่ง“ทักษิณ-ยิ่งลักษณ์”ตั้งเครือญาติ 10 คนเป็น ขรก.การเมือง-บอร์ดรัฐ
  2. ถนอมศักดิ์ จิรายุสวัสดิ์ และ ปราณีย์ คชพร, 2554, หน้า 155
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕, เล่ม ๑๒๙, ตอน ๓๕ ข , ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ เก็บถาวร 2013-10-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2012-11-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘, ตอน ๒๔ ข, ๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔, หน้า ๑๙๓
  • ถนอมศักดิ์ จิรายุสวัสดิ์ และ ปราณีย์ คชพร (2554). บริหารคนบริหารงานสไตล์ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร. ปราชญ์ สำนักพิมพ์. ISBN 9786162520129.