เรียลกัมพูชา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เรียลกัมพูชา

สัญลักษณ์เงินเรียล
ISO 4217
รหัสKHR
การตั้งชื่อ
หน่วยย่อย
1/10กาค (កាក់ kăk) (ไม่ใช้แล้ว)
1/100เซน (សេន sén) (ไม่ใช้แล้ว)
สัญลักษณ์
ธนบัตร
 ใช้บ่อย100, 200, 500, 1,000, 2,000, 5,000, 10,000, 20,000, 50,000 เรียล
 ไม่ค่อยใช้50 (ไม่ตีพิมพ์แล้ว แต่ยังคงใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย); 15,000, 30,000, 100,000 เรียล (ธนบัตรที่ระลึก)
เหรียญ
 ไม่ค่อยใช้50, 100, 200, 500 เรียล
ข้อมูลการใช้
ผู้ใช้ธงของประเทศกัมพูชา กัมพูชา
การตีพิมพ์
ธนาคารกลางธนาคารแห่งชาติกัมพูชา
 เว็บไซต์www.nbc.org.kh
การประเมินค่า
อัตราเงินเฟ้อ1.4%
 ที่มาThe World Factbook, 2015 est.
ผูกค่ากับดอลลาร์สหรัฐที่ 1 USD ≈ 4,100 KHR

เรียล (เขมร: រៀល, อักษรโรมัน: riĕl, [riəl]; สัญลักษณ์: ៛; รหัส: KHR) เป็นสกุลเงินของประเทศกัมพูชา ได้มีสกุลเงินเรียลสองตัวที่แตกต่างกัน โดยแบบแรกตีพิมพ์ในช่วง ค.ศ. 1953 ถึงพฤษภาคม ค.ศ. 1975 ส่วนระหว่าง ค.ศ. 1975 ถึง 1980 ประเทศไม่มีระบบการเงิน หลังจากนั้น สกุลเงินที่สองซึ่งมีชื่อว่า "เรียล" ได้รับการออกให้ตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม ค.ศ. 1980 นับตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1990 พลเมืองใช้สกุลเงินเรียลควบกับดอลลาร์สหรัฐในอัตรา 4,000 KHR/USD สำหรับการชำระเงินรายย่อย[1]

ความเชื่อที่นิยมเชื่อกันแสดงให้เห็นว่าชื่อของสกุลเงินมาจากปลาแม่น้ำโขง คำว่า "เรียล" (แปลว่า "ปลาเล็ก" ในภาษาเขมร) มีความเป็นไปได้มากกว่าที่ชื่อดังกล่าวมาจากเงินระดับสูงที่เป็นสกุลเงินของดอลลาร์สเปน-อเมริกันที่มีค่า 8 เรอัล ซึ่งเป็นสกุลเงินที่ใช้งานในการค้าระหว่างประเทศในเอเชียและทวีปอเมริกาช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 ถึง 19[2]

ประวัติ[แก้]

เงินกัมพูชาโบราณ[แก้]

ก่อนปี พ.ศ. 2418 สกุลเงินของกัมพูชามีมูลค่าคล้ายระบบของไทย เนื่องอาณาจักรเขมรละแวก (สมัยละแวก) จนถึงอาณาจักรเขมรอุดง (สมัยอุดง) ได้รับอิทธิพลจากอาณาจักรอยุธยาจนถึงอาณาจักรรัตนโกสินทร์เป็นอย่างมาก

หน่วยเงิน มูลค่า หมายเหตุ
1 ตำลึง (តំឡឹង) 4 เรียล
1 เรียล 4 สลึง (ស្លឹង)
1 สลึง (ស្លឹង) 1/4 เรียล
1 เฟื้อง (ហ្វឿង) 1/8 เรียล
1 อัฐ (សាត) 1/64 เรียล
1 โสฬส หรือ โสฬศ (សូឡូត) 1/128 เรียล

ในช่วงรัชสมัยนักองค์ด้วงจนถึงพระนโรดมได้มีการใช้เหรียญเงินเป็นครั้งแรก

อย่างไรก็ตาม ผลจากการแทรกแซงของฝรั่งเศสในภูมิภาค ทำให้ค่านิยมในกัมพูชาถูกแทนที่ด้วยเงินฟรังก์กัมพูชา

ฟรังก์กัมพูชา[แก้]

เมื่อกัมพูชาตกเป็นอาณานิคมฝรั่งเศส ฟรังก์ได้เป็นสกุลเงินของกัมพูชา ระหว่างปี พ.ศ. 2418 ถึง พ.ศ. 2428 ซึ่งเท่ากับ ฟรังก์ฝรั่งเศส และแบ่งย่อยออกเป็น 100 เซนต์ ในทำนองเดียวกัน โดยมาแทนที่เงินกัมพูชาโบราณ

เรียลรุ่นแรก[แก้]

เมื่อกัมพูชาได้รับเอกราชจากฝรั่งเศส กัมพูชาได้ประกาศใช้เงินเรียลอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรก ต่อมาเมื่อเขมรแดงยึดอำนาจได้ประกาศยกเลิกระบบเงินตรา ทำให้ระหว่าง ค.ศ. 1975 ถึง 1980 กัมพูชาไม่มีระบบการเงินใช้ เมื่อเขมรแดงหมดอำนาจทำให้ระบบเงินตราได้รับการฟื้นฟูในเวลาต่อมา

เรียลที่สอง (ค.ศ. 1980–ปัจจุบัน)[แก้]

ธนบัตร[แก้]

ธนบัตรที่ใช้ในปัจจุบันประกอบด้วย ชนิดราคา 100, 200, 500, 1000, 2000, 5000, 10000, 20000 และ 50000 เรียล [3]

  • 100 เรียล (2001-08-09 และ 2015-01-14)
  • 200 เรียล (2022-11-14)
  • 500 เรียล (2002-04-04 และ 2014-01-14)
  • 1,000 เรียล (2006-01-06 และ 2017-10-25)
  • 2,000 เรียล (2008-01-03 และ 2022-11-14)
  • 5,000 เรียล (2001-04-06 และ 2017-10-25)
  • 10,000 เรียล (2001-04-06 และ 2015-05-07)
  • 20,000 เรียล (2008-05-12 และ 2018)
  • 50,000 เรียล (2001-04-06 และ 2014-05-06)
  • 100,000 เรียล (2013-05-14)[4]
ธนบัตรเรียลรุ่นแรกๆ ช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ ถึง รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระบรมนาถ นโรดม สีหมุนี
ภาพ มูลค่า ขนาด สีที่ใช้เป็นหลัก คำอธิบาย วันที่ประกาศใช้ในพระราชอาณาจักร
ด้านหน้า ด้านหลัง ด้านหน้า ด้านหลัง พิมพ์ผลิต ประกาศใช้ในพระราชอาณาจักร withdrawal lapse
50 เรียล 130 × 60 mm สีน้ำตาลเข้มและสีแทน โคปุระของปราสาทบันทายศรี เขื่อน พ.ศ. 2545 29 สิงหาคม พ.ศ. 2545 ปัจจุบัน
100 เรียล 130 × 60 mm สีม่วง,สีน้ำตาลและสีเขียว วิมานเอกราช (พนมเปญ) โรงเรียน พ.ศ. 2544 9 สิงหาคม พ.ศ. 2544 ปัจจุบัน
100 เรียล สีส้มและสีน้ำตาล เศียรพญานาค (ตำนานพระทอง-นางนาค), พระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุขณะทรงผนวช รูปปั้นเขมร, วัดพระแก้วมรกต (พนมเปญ) พ.ศ. 2557 14 มกราคม 2558 ปัจจุบัน
500 เรียล 138 × 64 mm สีแดงและสีม่วง นครวัด สะพานคีสูณาข้ามแม่น้ำโขง พ.ศ. 2545 4 เมษายน พ.ศ. 2546 ปัจจุบัน
500 เรียล สีชมพูและสีเทา เศียรพญานาค, พระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระบรมนาถ นโรดม สีหมุนี สะพานเนียกเลิง, สะพานคีสูณาข้ามแม่น้ำโขง, อนุสาวรีย์, ลายผ้าสักหลาด พ.ศ. 2557 14 มกราคม พ.ศ. 2557 ปัจจุบัน
1,000 เรียล 138 × 64 mm สีน้ำตาลและสีม่วงไลแล็ค ประตูทิศใต้ของปราสาทบายน ท่าเรือน้ำลึกสีหนุวิลล์, จังหวัดพระสีหนุ พ.ศ. 2549 6 มกราคม พ.ศ. 2549 ปัจจุบัน
1,000 เรียล 146 × 68 mm สีม่วงและสีฟ้า เศียรพญานาค (ตำนานพระทอง-นางนาค), ตราแผ่นดินของกัมพูชา, พระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ พระที่นั่งจันทฉายา พระบรมราชวังจตุมุขสิริมงคล (พนมเปญ), ขบวน "กินรี" ริ้วขบวนอัญเชิญพระบรมศพในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ พ.ศ. 2559 25 ตุลาคม พ.ศ. 2560 ปัจจุบัน
1,000 เรียล 146 × 68 mm สีม่วงและสีฟ้า เศียรพญานาค (ตำนานพระทอง-นางนาค), ตราแผ่นดินของกัมพูชา, พระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ พระที่นั่งเทวาวินิจฉัยมหัยมหาปราสาท พระบรมราชวังจตุมุขสิริมงคล (พนมเปญ), พระรูปมหินทสุวรรณสนองพระองค์ประทับอัสสพงศ์ (พระนโรดมทรงม้า), ปฎิมากรรม"กินรี" พ.ศ. 2559 25 ตุลาคม พ.ศ. 2560 ปัจจุบัน
2,000 เรียล 146 × 68 mm สีเขียว,สีดำและสีเหลือง โคปุระชั้นที่ 1 ปราสาทพระวิหาร นครวัดและทุ่งนา พ.ศ. 2550 3 มกราคม พ.ศ. 2551 ปัจจุบัน
5,000 เรียล 146 × 68 mm สีเขียวและสีเทา พระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ สะพานหินกำปงกะเดย (จังหวัดเสียมราฐ) พ.ศ. 2544 6 เมษายน พ.ศ. 2544 ปัจจุบัน
5,000 เรียล 146 × 68 mm สีม่วงและสีน้ำตาล Naga (mythical snake) head, vessel, King Norodom Sihanouk wearing beret Naga (mythical snake) head, Kampong Kdei bridge (Siemreap Province), freezes, chariot พ.ศ. 2558 25 ตุลาคม พ.ศ. 2560 ปัจจุบัน
10,000 เรียล 146 × 68 mm สีม่วง,สีน้ำตาลและสีฟ้า พระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ พระบรมราชวังจตุมุขสิริมงคล (พนมเปญ) พ.ศ. 2544 6 เมษายน พ.ศ. 2544 ปัจจุบัน
10,000 เรียล 146 × 68 mm สีฟ้า เศียรพญานาค (ตำนานพระทอง-นางนาค), พระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระบรมนาถ นโรดม สีหมุนี ปราสาทนาคพันธ์ (งูที่พันไว้) ซากปรักหักพังทางโบราณคดีของวัดพุทธบนเกาะวงกลมในปราสาทพระขรรค์, นครวัด; รูปปั้นหินของม้าพลาหะ พ.ศ. 2558 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 ปัจจุบัน
20,000 เรียล 155 × 72 mm พระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระบรมนาถ นโรดม สีหมุนี พระพักตร์ทั้งสี่ของพระโพธิสัตว์ พระอวโลกิเตศวรที่นครธม พ.ศ. 2551 5 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ปัจจุบัน
20,000 เรียล 155 × 72 mm เศียรพญานาค (ตำนานพระทอง-นางนาค), พระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระบรมนาถ นโรดม สีหมุนี, ทับหลังปราสาทบันทายศรี บรรณาลัยของปราสาทบันทายศรีที่จังหวัดเสียมราฐ, รูปปั้นนรสิงห์ พ.ศ. 2551 5 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ปัจจุบัน
50,000 เรียล 150 × 70 mm สีม่วง,สีน้ำตาลและสีฟ้า พระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ นครวัด พ.ศ. 2544 6 เมษายน พ.ศ. 2544 ปัจจุบัน
50,000 เรียล 155 × 72 mm สีน้ำตาล พญานาค (ตำนานพระทอง-นางนาค), พระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ โบราณสถานเกาะแกร์, รูปปั้นช้างอิศวรพงศ์ พ.ศ. 2556 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ปัจจุบัน

เหรียญ[แก้]

เหรียญรุ่นแรกเป็นเหรียญ 5 เรียลซึ่งสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2522 และทำจากอะลูมิเนียม ไม่มีการสร้างเหรียญอีกเลยจนถึงปี 2537 เมื่อมีการนำเหรียญ 50, 100, 200 และ 500 มาใช้ อย่างไรก็ตามมักไม่ค่อยพบในการหมุนเวียนเงินตรา[5]

เหรียญกษาปณ์หมุนเวียนสกุลเงินเรียลกัมพูชา
ภาพ มูลค่า เส้นผ่าศูนย์กลาง มวล ส่วนประกอบ ขอบ ด้านหน้า ด้านหลัง ปีที่ประกาศใช้
ด้านหน้า ด้านหลัง ปีที่ผลิตเหรียญ ถอน
50 เรียล 15.9 mm 1.6 g เหล็กกล้า เรียบ ค่า, ปีที่ผลิตเหรียญในพุทธศักราชและปฏิทินเกรกอเรียน วิมานเอกราชในพนมเปญ 1994
100 เรียล 17.9 mm 2 g เหล็กกล้า เรียบ ค่า, ปีที่ผลิตเหรียญในพุทธศักราชและปฏิทินเกรกอเรียน นครวัด 1994
200 เรียล 20 mm 2.4 g เหล็กกล้า เรียบ ค่า, ปีที่ผลิตเหรียญในพุทธศักราชและปฏิทินเกรกอเรียน พานทูลรัฐธรรมนูฐพระราชพิธี (พานแว่นฟ้า) 2 อัน ข้างบนเป็นสัญลักษณ์โอม (ในภาษาเขมร) ซึ่งมีแสงเปล่งออกมา 1994
500 เรียล 25.8 mm 6.5 g เหล็กกล้าตรงกลาง, ทองเหลืองที่ขอบวง ขอบเรียบและหยัก ค่า, ปีที่ผลิตเหรียญในพุทธศักราชและปฏิทินเกรกอเรียน ตราแผ่นดินของกัมพูชา (ขนาดเล็ก) 1994

อ้างอิง[แก้]

  1. "Cambodia's riel survives alongside the dollar - BBC News". BBC News. 30 March 2011.
  2. Filippi, Jean-Michel. "The strange adventure of the Cambodian currency". Phenom Penh Post. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-11-17. สืบค้นเมื่อ 16 March 2012.
  3. "ธนาคารแห่งกัมพูชา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-12-08. สืบค้นเมื่อ 2009-03-16.
  4. Cambodian Currency Collection Cambodian Currency Collection เก็บถาวร 2009-07-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  5. De Launey, Guy (30 March 2011). "Cambodia's riel survives alongside the dollar". BBC News. BBC. สืบค้นเมื่อ 18 March 2013.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]