โรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

โรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา หมายถึง โรงเรียนเอกชนที่วัดเป็นผู้ถือใบอนุญาต ตาม พระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2525 มาตรา 15 (1) และ (3) แห่งที่วัดเป็นผู้รับใบอนุญาต โดยมีคณะสงฆ์ พระภิกษุเป็นผู้บริหาร ดำเนินการ และเป็นเจ้าของ จัดการเรียนการสอน เพื่อให้บริการประชาชน "ด้านการศึกษาสงเคราะห์" ตั้งแต่ละดับชั้นปฐมวัย ประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย (ม.1-6) ทั้งสายวิทย์-คณิต สายศิลป์ และในระดับวิชาชีพ

ประวัติ[แก้]

พันธกิจทางพระพุทธศาสนาประการหนึ่ง คือการให้การสงเคราะห์แก่ประชาชน ตามหลักสังหวัตถุ การจัดการศึกษาถือว่าเป็นการะงานหนึ่งในการบริการสงคมของพระภิกษุในพระพุทธศาสนา โรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา จึงถือเป็นภาระงานร่วม ที่มีการดำเนินการจัดการศึกษาตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบัน พระภิกษุ ตั้งแต่ระดับเจ้าอาวาส ผู้ดำเนินการจัดตั้งโรงเรียน หรือมอบที่ดิน หรืออนุญาตให้ใช้ที่ดินของวัดเพื่อการจัดตั้งโรงเรียน ทั้งในส่วนที่เป็นโรงเรียนวัด (ภายใต้การบริหารงานของหน่วยงานภาครัฐ) และจัดตั้งโรงเรียนการกุศลที่สังกัดการศึกษาเอกชน บริหารงานโดยคณะสงฆ์ และรัฐเป็นผู้ให้การอุปถัมภ์ และสนับสนุน ดังนั้นโรงเรียนการกุศลของวัดจึงถูกจัดเป็นภาระงานหนึ่งของคณะสงฆ์ในการ ให้การสงเคราะห์สังคม และประชาชน เป็นสถานศึกษาของพระพุทธศาสนา เป็นโรงเรียนของพระพุทธเจ้าดังคำที่ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช มาเป็นประธานประกอบพิธีเปิดการสัมมนาโรงเรียนการกุศลของวัด ณ โรงเรียนวินิตศึกษา ในพระบรมราชูปถัมภ์ อ.เมือง จ.ลพบุรี เมื่อวันศุกร์ที่ 28 สิงหาคม 2552 ที่ผ่านมา "โรงเรียนการกุศลของวัด เป็นโรงเรียนของพระพุทธเจ้า นักเรียนทุกคนจึงเป็นลูกของพระพุทธเจ้า มีพระเป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้า ที่นำคำสอนสู่นักเรียน ยิ่งนักเรียนมีความเข้าเรื่องหลักธรรม นำหลักธรรมของพระพุทธศาสนามากใช้เท่าไร จะนำมาซึ่งความมั่นคงของสถาบันหลักทั้ง 3 สถาบัน ไม่เฉพาะแต่สถาบันพระพุทธศาสนาเท่านั้น ทำอย่างไรโรงเรียนการกุศลของวัดที่มีอยู่เกือบ 100 แห่ง จะประสานการทำงานไปในทิศทางเดียวกัน ภายใต้แนวความคิดที่ว่า โรงเรียนการกุศลของวัด เป็นโรงเรียนของพระพุทธเจ้า" [1]

โดยโรงเรียนลักษณะนี้เกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 6 เมื่อปีพุทธศักราช 2465 โดยพระญาณนายก (จัน) อดีตเจ้าอาวาสวัดอุดมธานี จ.นครนายก เปิดโรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดอุดมธานี ที่มีพระสงฆ์สอนหนังสือให้กับสามเณรรวมถึงสอนให้เด็กผู้ยากไร้และบุคคลทั่วไปโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ จนกระทั่งมีการแยกโรงเรียนออกมาเป็นโรงเรียนนายกวัฒนากรและรับรองวิทยฐานะโดยกระทรวงศึกษาธิการในปีพุทธศักราช 2477

พุทธศักราช 2488 รัฐบาลได้ประกาศใช้ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยโรงเรียนราษฎร์ของวัด เพื่อเปิดโอกาสให้วัด ได้เข้าไปมีบทบาทในการจัดการศึกษาแก่เยาวชน ในรูปแบบโรงเรียนเอกชน ในชื่อ "โรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา" ที่โรงเรียนสามารถจัดการเรียนการสอนได้ตั้งแต่ระดับปฐมวัย (อนุบาล)ถึงมัธยมศึกษา มีวัดเป็นผู้แทนรับใบอนุญาต พระภิกษุสงฆ์และ ฆราวาสเป็นผูบริหารรวมทั้งดำเนินการบริหาร จัดการการศึกษาของโรงเรียน เพราะแต่เดิมวัดส่วนใหญ่จัดการศึกษาอยู่แล้ว แต่ละแห่งไม่น้อยกว่า 30 - 40 ปี บางแห่งมีอายุการดำเนินการกว่า 60 ปี [2] โดยโรงเรียนแห่งแรก คือ โรงเรียนสุวรรณรังสฤษฎิ์วิทยาลัยอำเภอเมืองจังหวัดเพชรบุรี เปิดการเรียนการสอนตั้งแต่ พ.ศ. 2475 บริหารงานภายใต้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ได้รับเงินอุดหนุนบางส่วนจากภาครัฐ

ในปัจจุบันโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ในปีการศึกษา 2552 มีโรงเรียนที่เป็นสมาชิกกลุ่มฯ จำนวนกว่า 92 โรงเรียน เช่น โรงเรียนวัดใหม่กรงทอง จ.ปราจีนบุรี โรงเรียนวินิตศึกษา จ.ลพบุรี โรงเรียนวัดโคกสมานคุณ จ.สงขลา โรงเรียนวัดบ้านโป่ง (สามัคคีคุณูปถัมภ์) จ.ราชบุรี เป็นต้น[3] จำนวนนักเรียนรวมกันทั่วประเทศ 93,086 คน และคณะครู 4,126 คน[4]

โรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา[แก้]

ภาคเหนือ[แก้]

  • 0โรงเรียนเมตตาศึกษา ในพระราชูปถัมภ์ฯ จ.เชียงใหม่]
  • โรงเรียนวิสุทธิ์วิทยากร (วัดบุญวาทย์วิหาร พระอารามหลวง)
  • โรงเรียนศรีสุนทรสีลวิสุทธิ์ (วัดล้อมแรด) จ.ลำปาง
  • โรงเรียนศักดิ์สุนันท์วิทยา จ.ลำปาง
  • โรงเรียนธรรมราชศึกษา วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร จังหวัดเชียงใหม่ [5]
  • โรงเรียนพินิตประสาธน์ อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา [6]
  • โรงเรียนเมตตาศึกษา
  • โรงเรียนผดุงวิทย์(วัดศรีบุญเรือง)
  • โรงเรียนเมธีวุฒิกร จ.ลำพูน
  • โรงเรียนอนุบาลการกุศลวัดตระพังทอง จ.สุโขทัย
  • โรงเรียนวัดบุญเกิดมงคลวิสุทธิ์วิทยา อ.ดอกคำใต้ จ.พะเยา

ภาคใต้[แก้]

ภาคกลาง[แก้]

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ[แก้]

  • "โรงเรียนวัดเวฬุวัน" จ.กาฬสินธุ์
  • โรงเรียนอุบลวิทยากร จ.อุบลราชธานี
  • โรงเรียนวัดมหาพุทธาราม จ.ศรีสะเกษ [11]
  • โรงเรียนวัดสุทธจินดา จ.นครราชสีมา
  • โรงเรียนวัดท่ากกแห่วิทยาราม จ.อุบลราชธานี
  • โรงเรียนวัดหลวงวิทยา จ.ศรีสะเกษ
  • โรงเรียนปุญญสารวัดศรีโพธิ์ชัย อ.ตระการพืชผล จ.อุบลราชธานี
  • โรงเรียนสิงห์วงศ์ อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์
  • โรงเรียนอิสาณโกศลศึกษา อ.เมืองบุรีรัมย์ จ.บุรีรัมย์
  • โรงเรียนศรีธรรมวิทยา อ.เมืองยโสธร จ.ยโสธร
  • โรงเรียนอนุบาลการกุศลวัดประชาชุมพล อ.กุดชุม จ.ยโสธร
  • โรงเรียนการกุศล​วัด​หนอง​แวง​ อ.เมือง​ขอนแก่น​ จ.ขอนแก่น
  • โรงเรียนวัลลภวิทยา อ.น้ำเกลี้ยง จ.ศรีสะเกษ
  • โรงเรียนสุนทรพรหมคุณศึกษา อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น

อ้างอิง[แก้]

  1. ที่มา : ไตรเทพ ไตรงู, พระบทบาท เจ้าของโรงเรียน ใน "สังคม-ศิลปะ-วัฒนธรรม : ศาสนา": คมชัดลึก : วันพฤหัสบดีที่ 3 กันยายน 2552
  2. [http://archive.lib.cmu.ac.th/full/T/2552/mpa0952hk_ch1.pdf ชโยทิต น้ำดอกไม้, การบริหารงานปกครองนักเรียนของโรงเรียนเมตตาศึกษาในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกมารี จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการบริหารการศึกษา) บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,2556 หน้า 1-2]
  3. พระครูวชิรปัญญานุโยค (บุญเรือง รวิวํโส). การพัฒนาการบริหารจัดการโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา Development of Administrative Management for Charity School in Buddhist Temples [1]
  4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุทธิพงษ์ ศรีวิชัย การปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมของผู้บริหาร ครู และผู้ปกครอง กลุ่มโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา กรุงเทพมหานคร// คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย[ลิงก์เสีย]
  5. [สื่อออนไลน์ : โรงเรียนธรรมราชศึกษา วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร จังหวัดเชียงใหม่]
  6. [[ลิงก์เสีย] อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา]
  7. โรงเรียนสมานคุณวิทยาทาน จ.สงขลา โรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา 2 ถ.โชคสมาน ต.หาดใหญ่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา [2] เก็บถาวร 2020-07-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  8. [สื่อออนไลน์ โรงเรียนพุทธมงคลนิมิต จ.ภูเก็ต]
  9. [[รายงานประจำปีการศึกษา 2556 โรงเรียนวินิตศึกษา ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพพระรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี สถานศึกษารางวัลพระราชทาน ประจำปีการศึกษา 2548]]
  10. "พระไพศาล สุทฺธจิตฺโต (โนทายะ)การบริหารงานโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา จังหวัดราชบุรี THE ADMINISTRATION OF CHARITY SCHOOL OF BUDDHIST TEMPLES IN RATCHABURI PROVINCE.วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พุทธศักราช ๒๕๕๔" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-08-09. สืบค้นเมื่อ 2016-09-24.
  11. [[3]เก็บถาวร 2021-01-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สื่อออนไลน์ : โรงเรียนวัดมหาพุทธาราม จ.ศรีสะเกษ]